ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (อังกฤษ: Turkey; ตุรกี: T?rkiye) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (อังกฤษ: Republic of Turkey; ตุรกี: T?rkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง

ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต ค.ศ. 1071 รัฐสุลต่านรูมเซลจุคปกครองอานาโตเลียจนมองโกลบุกครองใน ค.ศ. 1243 ซึ่งสลายเป็นเบย์ลิก (beylik) เติร์กเล็ก ๆ หลายแห่ง

ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ออตโตมันรวมอานาโตเลียและสร้างจักรวรรดิซึ่งกินพื้นที่กว้างใหญ่ของยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันตกและแอฟริกาเหนือ กลายเป็นมหาอำนาจในยูเรเซียและทวีปแอฟริการะหว่างสมัยใหม่ตอนต้น จักรวรรดิเรืองอำนาจถึงขีดสุดระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึง 17 โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างรัชกาลสุลต่านสุลัยมานผู้เกรียงไกร หลังการล้อมเวียนนาครั้งที่สองของออตโตมันใน ค.ศ. 1683 และการสิ้นสุดมหาสงครามเติร์กใน ค.ศ. 1699 จักรวรรดิออตโตมันเข้าสู่ระยะเสื่อมอันยาวนาน การปฏิรูปแทนซิมัตในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งมุ่งทำให้รัฐออตโตมันทันสมัย ไม่เพียงพอในหลายสาขาและไม่อาจหยุดยั้งการสลายของจักวรรดิได้ จักรวรรดิออตโตมันเข้าร่วมสงรครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเข้ากับฝ่ายมหาอำนาจกลางและแพ้ในที่สุด ระหว่างสงคราม รัฐบาลออตโตมันก่อความป่าเถื่อนใหญ่หลวงต่อพลเมืองอาร์มีเนีย อัสซีเรียและกรีกพอนทัส หลังสงคราม ดินแดนและประชาชนกลุ่มใหญ่ซึ่งเดิมประกอบเป็นจักรวรรดิออตโตมันถูกแบ่งเป็นหลายรัฐใหม่ สงครามประกาศอิสรภาพตุรกี (ค.ศ. 1919–22) ซึ่งมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์กและเพื่อนร่วมงานของเขาในอานาโตเลียเป็นผู้เริ่ม ส่งผลให้มีการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกีสมัยใหม่ใน ค.ศ. 1923 โดยอตาเติร์กเป็นประธานาธิบดีคนแรก

ตุรกีเป็นประเทศสองทวีปที่มีดินแดนอยู่ทั้งในทวีปเอเชียและทวีปยุโรป ตุรกีในฝั่งเอเชียซึ่งครอบคลุมบริเวณส่วนใหญ่ของคาบสมุทรอานาโตเลีย นับเป็นพื้นที่ร้อยละ 97 ของประเทศ และถูกแยกจากตุรกีฝั่งยุโรปด้วยช่องแคบบอสพอรัส ทะเลมาร์มะรา และช่องแคบดาร์ดะเนลส์ (ซึ่งรวมกันเป็นพื้นน้ำที่เชื่อมระหว่างทะเลดำกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) ตุรกีในฝั่งยุโรปซึ่งตั้งอยู่บนคาบสมุทรบอลข่านมีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 3 ของทั้งประเทศ ดินแดนของตุรกีมีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความยาวมากกว่า 1,600 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 800 กิโลเมตร ตุรกีมีพื้นที่ (รวมทะเลสาบ) ประมาณ 783,562 ตารางกิโลเมตร

ตุรกีถูกล้อมรอบด้วยทะเลสามด้าน ได้แก่ทะเลอีเจียนทางตะวันตก ทะเลดำทางเหนือ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ นอกจากนี้ ยังมีทะเลมาร์มะราในเขตตะวันตกเฉียงเหนือ

ตุรกีฝั่งเอเชียที่มักเรียกว่าอานาโตเลียหรือเอเชียไมเนอร์ประกอบด้วยที่ราบสูงในตอนกลางของประเทศ อยู่ระหว่างเทือกเขาทะเลดำตะวันออกและเกอรอลูทางตอนเหนือกับเทือกเขาเทารัสทางตอนใต้ และมีที่ราบแคบ ๆ บริเวณชายฝั่ง ทางตะวันออกของตุรกีมีลักษณะเป็นภูเขาและเป็นต้นน้ำของแม่น้ำหลายสายเช่น แม่น้ำยูเฟรติส แม่น้ำไทกริส และแม่น้ำอารัส นอกจากนี้ยังมีทะเลสาบวัน และยอดเขาอารารัด ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของตุรกีที่ 5,165 เมตร

สภาพภูมิประเทศที่หลากหลายนั้นเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายพันปี และยังคงปรากฏให้เห็นในปัจจุบันในรูปของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ และภูเขาไฟระเบิดในบางครั้ง ช่องแคบบอสฟอรัสและช่องแคบดาร์ดะเนลส์ก็เกิดจากแนวแยกของเปลือกโลกที่วางตัวผ่านตุรกีทำให้เกิดทะเลดำขึ้น ทางตอนเหนือของประเทศมีแนวแยกแผ่นดินไหววางตัวในแนวตะวันตกไปยังตะวันออก ซึ่งเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปีพ.ศ. 2542

ชายฝั่งด้านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน กล่าวคือหน้าร้อนอากาศร้อนและแห้งแล้ง ส่วนหน้าหนาวอากาศอบอุ่นและมีฝนตก เทือกเขาที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งเป็นตัวกั้นทำให้ภูมิอากาศตอนกลางของประเทศเป็นแบบภาคพื้นทวีป ซึ่งมีความแตกต่างระหว่างฤดูอย่างเห็นได้ชัด ฤดูหนาวบริเวณที่ราบสูงตอนกลางหนาวมาก อุณหภูมิลดลงถึง -30 ถึง -40? อาจมีหิมะปกคลุมนานถึง 4 เดือนต่อปี

ฝั่งตะวันตกมีอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาวต่ำกว่า 1 ? ฤดูร้อนร้อนและแห้งแล้ง ในตอนกลางวันมีอุณหภูมิสูงกว่า 30? ปริมาณหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ยต่อปีประมาณ 400 มิลลิเมตร ซึ่งปริมาณจริงแตกต่างกันไปตามระดับความสูง บริเวณที่แห้งแล้งที่สุดคือที่ราบกอนยาและที่ราบมาลาตยาซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยนต่อปีต่ำกว่า 300 มิลลิเมตร เดือนที่มีฝนมากที่สุดคือเดือนพฤษภาคม และเดือนที่แล้งที่สุดคือเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม

คาบสมุทรอานาโตเลีย (หรือที่เรียกว่าเอเชียไมเนอร์) ซึ่งเป็นที่ตั้งของพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตุรกี เป็นดินแดนที่มีการตั้งถิ่นฐานอย่างต่อเนื่องมายาวนานเพราะอยู่ในตำแหน่งที่เชื่อมต่อระหว่างทวีปเอเชียและยุโรป ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานในตอนต้นของยุคหินใหม่ เช่น ชาตัลเฮอยืค (?atalh?y?k), ชาเยอนู (?ay?n?), เนวาลี โจลี (Nevali Cori), ฮาจิลาร์ (Hacilar), เกอเบกลี เทเป (G?bekli Tepe) และ เมร์ซิน (Mersin) นับได้ว่าเป็นการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดในโลก การตั้งถิ่นฐานในเมืองทรอยเริ่มต้นในยุคหินใหม่และต่อเนื่องไปถึงยุคเหล็ก ในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ ชาวอานาโตเลียใช้ภาษาอินโดยูโรเปียน, ภาษาเซมิติก และภาษาคาร์ตเวเลียน และยังมีภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษา นักวิชาการบางคนเสนอว่าอานาโตเลียเป็นศูนย์กลางที่ภาษากลุ่มอินโดยูโรเปียนนั้นกระจากออกไป

จักรวรรดิแห่งแรกของบริเวณอานาโตเลียคือจักรวรรดิของชาวอิไตต์ ซึ่งรุ่งเรืองขึ้นประมาณศตวรรษที่ 18 ถึง 13 ก่อนคริสตกาล หลังจากนั้น อาณาจักรฟรีเจียซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองกอร์ตีอุมมีอำนาจขึ้นมาแทนจนกระทั่งถูกทำลายโดยชาวคิมเมอเรียในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล แต่ชาวคิมเมอเรียก็พ่ายแพ้ต่ออาณาจักรลีเดียซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองซาร์ดีสในเวลาต่อมา ลีเดียเป็นอาณาจักรที่ร่ำรวยและเป็นผู้คิดค้นเหรียญกษาปณ์

ประมาณ 1200 ปีก่อนคริสตกาล ชายฝั่งตะวันตกของอานาโตเลียถูกครอบครองโดยชาวกรีกไอโอเลียนและอีโอเนียน ชาวเปอร์เซียแห่งจักรวรรดิอาเคเมนิดสามารถพิชิตพื้นที่ทั้งหมดได้ในศตวรรษที่ 6 ถึง 5 ก่อนคริสตกาล แต่หลังจากนั้นดินแดนแห่งนี้ก็ตกเป็นของอเล็กซานเดอร์มหาราช ในปี 334 ก่อนคริสตกาล อานาโตเลียจึงถูกแบ่งออกเป็นดินแดนเฮลเลนิสติกขนาดเล็กหลายแห่ง (รวมทั้ง บิทูเนีย คัปปาโดเกีย แพร์กามอน และพอนตุส) ซึ่งดินแดนเหล่านี้ตกเป็นของจักรวรรดิโรมันในกลางศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล ในปี ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เลือกเมืองไบแซนเทียมให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของจักรวรรดิโรมัน และตั้งชื่อให้ว่า โรมใหม่ (ภายหลังกลายเป็นคอนสแตนติโนเปิล และอิสตันบูล) หลังจากที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกเสื่อมลง เมืองนี้ก็กลายเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์

ตระกูลเซลจุกเป็นสาขาหนึ่งของโอกุสเติร์ก ซึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 9 อาศัยอยู่บริเวณตอนเหนือของทะเลแคสเปียนและทะเลอารัล ในคริสต์วรรษที่ 10 พวกเซลจุกเริ่มอพยพออกจากบ้านเกิดมาทางตะวันออกของอานาโตเลีย ซึ่งในที่สุดกลายเป็นดินแดนแห่งใหม่ของเผ่าโอกุสเติร์ก หลังจากสงครามแมนซิเกิร์ตในปี 1071 ชัยชนะของเซลจุกในครั้งนี้ทำให้เกิดสุลต่านเซลจุกในอานาโตเลีย ซึ่งเป็นเสมือนอาณาจักรย่อยของอาณาจักรเซลจุกซึ่งปกครองบางส่วนของเอเชียกลาง อิหร่าน อานาโตเลีย และตะวันออกกลาง

ตุรกีปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบรัฐสภา นับตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐในปี พ.ศ. 2466 การเป็นรัฐโลกวิสัยเป็นส่วนสำคัญของการเมืองตุรกี ประมุขแห่งรัฐของตุรกีคือประธานาธิบดี ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง ดำรงตำแหน่งเป็นเวลาห้าปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบ้นคืออับดุลลาห์ กืล ขึ้นดำรงตำแหน่งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 อำนาจบริหารของตุรกีใช้โดยนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ในขณะที่อำนาจนิติบัญญัติใช้โดยรัฐสภาของตุรกี

นับตั้งแต่การเป็นสาธารณรัฐ ตุรกีได้มีแนวทางเข้าหาการนิยมอำนาจรัฐ โดยมีการควบคุมจากรัฐบาลในด้านการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน การค้าต่างประเทศ และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังปี 2526 ตุรกีเริ่มมีการปฏิรูป นำโดยนายกรัฐมนตรีตุรกุต เออซัล ตั้งใจปรับจากเศรษฐกิจแบบอำนาจรัฐเป็นแบบของตลาดและภาคเอกชนมากขึ้น การปฏิรูปนี้ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ก็สะดุดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยและวิกฤติทางการเงินในปี 2537 2542 และ 2544 เป็นผลให้มีการเจริญเติบโตของจีดีพีเฉลี่ยต่อปีตั้งแต่ปี 2524 ถึง 2546 อยู่ที่ 4 เปอร์เซนต์ การขาดหายของการปฏิรูปเพิ่มเติม กอปรกับการขาดดุลงบประมาณของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นอย่างมากและคอร์รัปชัน ทำให้เกิดเงินเฟ้อสูง ภาคการธนาคารที่อ่อนแอ และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจมหภาคที่เพิ่มขึ้น

นับตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจปี 2544 และการปฏิรูปที่เริ่มโดยรัฐมนตรีคลังในขณะนั้น เกมัล เดร์วึช อัตราเงินเฟ้อได้ลดลงเหลือเป็นเลขหลักเดียว ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และการว่างงานลดลง ไอเอ็มเอฟพยากรณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 2551 ของตุรกีไว้ที่ 6 เปอร์เซนต์ ตุรกีได้พยายามเปิดกว้างระบบตลาดมากขึ้นผ่านการปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยลดการควบคุมจากรัฐบาลด้านการค้าต่างประเทศและการลงทุน และการแปรรูปอุตสาหกรรมของรัฐ การเปิดเสรีในหลายด้านไปสู่ภาคเอกชนและต่างประเทศได้ดำเนินต่อไปท่ามกลางการโต้เถียงทางการเมือง

ในปี พ.ศ. 2550 ตุรกีมีประชากร 70.5 ล้านคน และมีอัตราการเติบโตร้อยละ 1.04 ต่อปี ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 92 คนตารางกิโลเมตร ความหนาแน่นของประชากรในแต่ละจังหวัดแตกต่างกันตั้งแต่ 11 คนต่อตารางกิโลเมตร (ในตุนเจลี) จนถึง 2,420 คนต่อตารางกิโลเมตร (ในอิสตันบูล) ค่ามัธยฐานของอายุประชากรคือ 28.3 จากข้อมูลของทางการในปี พ.ศ. 2548 อายุคาดหมายเฉลี่ยของประชากรทั้งหมดคือ 71.3 ปี

ประชากรส่วนใหญ่ของตุรกีมีชื่อสายเตอร์กิช ซึ่งมีอยู่ประมาณ 50 ถึง 55 ล้านคน ชนชาติอื่น ๆ ที่สำคัญได้แก่ชาวเคิร์ด, เซอร์ซาสเซียน, ซาซา บอสเนีย, จอร์เจีย, อัลเบเนีย, โรมา (ยิปซี), อาหรับ และอีก 3 ชนชาติที่ได้รับการยอมรับจากทางการได้แก่พวกกรีก, อาร์มีเนีย และยิว ในบรรดาชนชาติเหล่านี้ กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือชาวเคิร์ด (ประมาณ 12.5 ล้านคน) ซึ่งมักจะอาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวตุรกีจำนวนมากอพยพไปยังยุโรปตะวันตก (โดยเฉพาะเยอรมนีตะวันตก) เนื่องจากความต้องการแรงงานในยุโรปเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดชุมชนชาวตุรกีนอกประเทศขึ้น แต่ในระยะหลังตุรกีกลับกลายเป็นจุดหมายของผู้อพยพจากประเทศข้างเคียง ซึ่งมีทั้งผู้อพยพที่ปักหลักอยู่ในประเทศตุรกี และผู้ที่ใช้ตุรกีเป็นทางผ่านต่อไปยังประเทศกลุ่มยุโรป

การศึกษาในประเทศตุรกีเป็นแบบภาคบังคับ และไม่เก็บค่าเล่าเรียนสำหรับนักเรียนตั้งแต่อายุ 6 ถึง 15 ปี อัตราการรู้หนังสือคือร้อยละ 95.3 ในผู้ชาย ร้อยละ 79.6 ในผู้หญิง และเฉลี่ยรวมร้อยละ 87.4 การที่อัตราการรู้หนังสือของผู้หญิงต่ำกว่าชายป็นเพราะในเขตชนบทยังคงมีแนวความคิดแบบเก่าที่ไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือ

ประเทศตุรกีมีภาษาทางการเพียงภาษาเดียวคือภาษาตุรกี ซึ่งภาษาตุรกียังเป็นภาษาที่พูดในหลายพื้นที่ในยุโรป เช่นไซปรัส ทางตอนใต้ของคอซอวอ มาเซโดเนีย และพื้นที่ในคาบสมุทรบอลข่านที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน เช่น แอลเบเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บัลแกเรีย กรีซ โรมาเนีย และเซอร์เบีย นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่ใช้ภาษาตุรกีมากกว่า 2 ล้านคนอาศัยอยู่ในเยอรมนี และมีกลุ่มผู้ใช้ภาษาตุรกีในประเทศออสเตรีย เบลเยียม ฝรั่งเศส อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร

ร้อยละ 99 นับถือศาสนาอิสลาม (31,129,845 คน) ที่เหลือเป็นคริสต์นิกายกรีกออร์ทอดอกซ์ (73,725 คน) คริสต์นิกายจอร์เจียนออร์ทอดอกซ์ (69,526 คน) คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (25,833 คน) คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (22,983 คน) และยิว (38,267 คน)

รากฐานทางสังคมของตุรกีมีมีลักษณะเป็นครอบครัวแบบขยายที่มีความสัมพันธ์กันทั้งสายเลือดและแต่งงาน โดยยึดถือการสืบทอดทางฝ่ายชาย สมาชิกทุกคนยึดถือปฏิบัติตามหลักศาสนา ผู้ชายทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัว ในปัจจุบันมีความพยายามส่งเสริมเรื่องความเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย โดยผู้หญิงสามารถออกไปทำงานนอกบ้านได้ ทั้งรัฐบาลและภาคเอกชน แต่ผู้ชายก็ยังมีความคิดว่าผู้หญิงด้อยกว่าทั้งทางด้านร่างกายและอารมณ์


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301