คอสตาริกา (สเปน: Costa Rica) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐคอสตาริกา (สเปน: Rep?blica de Costa Rica) เป็นประเทศในภูมิภาคอเมริกากลาง มีอาณาเขตจรดประเทศนิการากัว ทางทิศเหนือ จรดประเทศปานามาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จรดมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันตกและทิศใต้ และจรดทะเลแคริบเบียนทางทิศตะวันออก ประเทศนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของภูมิภาคในเรื่องการมีเสถียรภาพทางการเมือง และบางครั้งได้ชื่อว่าเป็น "สวิตเซอร์แลนด์ของอเมริกากลาง"
มีพื้นที่ประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร เทียบกับประเทศไทยแล้วเล็กกว่ากันถึง 10 เท่า มีจำนวนประชากรเพียง 5 ล้านคน เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ทำให้มีพืชพันธุ์ไม้อุดมสมบูรณ์ที่ไม่สามารถพบได้ในประเทศอื่น มีพื้นที่เป็นเขตป่าสงวนมากถึงร้อยละ 25 ของประเทศ และถือเป็นประเทศแรกในทวีปอเมริกาที่ออกกฎหมายห้ามล่าสัตว์ทุกชนิด และเคยถูกมูลนิธินิวอีโคโนมิค (NEF) ประกาศให้มีความเขียวชอุ่ม หรือมีป่าไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดในโลกอีกด้วย
ประธานาธิบดี ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งจะอยู่ในตำแหน่งได้เป็นระยะเวลา 4 ปีเพียงครั้งเดียว นาย Oscar ARIAS Sanchez (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2549) นาง Laura Chinchilla จากพรรค (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2553)
ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นระบบรัฐสภาเดียว มีสมาชิกสภานิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง 57 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ฝ่ายตุลาการ ศาลสูงสุดของประเทศ (Supreme Court) มาจากการเลือกตั้งโดย สมาชิกสภานิติบัญญัติ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปี การเลือกตั้งครั้งต่อไป กุมภาพันธ์ 2548 พรรคการเมืองสำคัญ Social Christian Unity Party (PUSC) (พรรครัฐบาล) Democrat Party National Liberation Party (Partido Liberacion Nacional)
คอสตาริกาให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในการดำเนินความร่วมมือภายใต้กรอบ Organization of the American States (OAS) และความใกล้ชิดกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะในเรื่องการป้องกันประเทศซึ่งคอสตาริกาได้ยกเลิกกองกำลังทหาร ตั้งแต่ปี 2492นอกจากนี้ คอสตาริกายังให้ความสำคัญกับการต่อต้านการค้ายาเสพติด โดยเป็นประเทศแรกในอเมริกากลางที่ลงนามใน Maritime Counter-Narcotics Agreement กับสหรัฐฯ ซึ่งเป็นความร่วมมือเพื่อต่อต้านการลักลอบขนส่งยาเสพติดในน่านน้ำคอสตาริกา
ดัชนีกิจกรรมทางเศรษฐกิจของคอสตาริกาประจำเดือนธันวาคม 2553 ชี้ว่าเศรษฐกิจของประเทศยังเติบโตต่ำ และเป็นไปในแนวทางเดียวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศที่ขยายตัวลดลงเรื่อยๆ ตลอดปีที่ผ่านมา เมื่อเดือนธันวาคม 2553 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศลดลงอีกร้อยละ 2.3จากเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 ไปอยู่ในจุดที่ต่ำที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี มีบางภาคเศรษฐกิจที่ยังคงขยายตัวได้ ได้แก่ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการ ซึ่งขยายตัวร้อยละ 9.10 รวมทั้งอุตสาหกรรมการขนส่ง การสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งขยายตัวร้อยละ 6.42 ส่วนภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ไม่มีความเปลี่ยนแปลงมากนัก ในขณะที่ภาคธุรกิจก่อสร้าง การผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งภาคการเหมืองแร่ และเหมืองหินมีอัตราการเจริญเติบโตที่ติดลบ
สินค้าส่งออกของคอสตาริกาที่สำคัญและถือเป็นสินค้าที่สำคัญและมีชื่อเสียงที่สุด คือ กล้วยหอม
1. CAFTA-DR (ข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างกลุ่มประเทศอเมริกากลาง และสาธารณรัฐคอมินิกัน กับสหรัฐอเมริกา) ลงนามเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2547 มีผลบังคับในคอสตาริกาเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2552 ทั้งนี้ กลุ่มประเทศอเมริกากลางเป็นตลาดส่งออกอันดับสามในกลุ่มละตินอเมริกาสำหรับสหรัฐฯ หลังจากเม็กซิโกและบราซิล การส่งออกจากสหรัฐฯ ไปยังกลุ่มประเทศ CAFTA-DR มีมูลค่า 26.3 พันล้านเหรียญฯ ในปี 2551
2. ข้อตกลงเขตการค้าเสรีพหุภาคีกับกลุ่มประเทศคาริบเบียน (CARICOM) ลงนามเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2547 มีผลบังคับในคอสตาริกาเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 โดยมีเงื่อนไขข้อตกลง 4 ระดับซึ่งเจรจากันระหว่างแต่ละประเทศอีกต่างหาก ได้แก่ การเปิดเสรีอัตโนมัติ การลดภาษีใน 4 ปี ข้อยกเว้นเป็นรายสินค้า และข้อยกเว้นสำหรับสินค้าเกษตรตามฤดูกาลสำหรับข้อตกลงเขตการค้าเสรีในระดับทวิภาคี คอสตาริกาได้ลงนามข้อตกลงไว้ 5 ประเทศ คือ กับเม็กซิโก (มีผลบังคับตั้งแต่ปี 2538) แคนาดา (2544) ชิลี (2545) สาธารณรัฐโดมินิกัน (2538) และปานามา (2551) และได้เริ่มกระบวนการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับ ประเทศจีน เมื่อปี 2550 และกับสหภาพยุโรป (AACUE) เมื่อปี 2549
มีเส้นทางการเดินทางแบบถนน 35,330 กิโลเมตร ทางรถไฟ 278 กิโลเมตร ทางน้ำ 730 กิโลเมตรที่ใช้เดินเรือได้เฉพาะเรือขนาดเล็ก สนามบิน 151 แห่ง มีท่อส่งก๊าซและน้ำมัน 796 กิโลเมตร ท่าเรือสำคัญ 2 แห่ง