ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ประเทศคอซอวอ

คอซอวอ (เซอร์เบีย: ??????, Kosovo; แอลเบเนีย: Kosov?, Kosova) เป็นภูมิภาคหนึ่งในคาบสมุทรบอลข่าน ติดกับประเทศเซอร์เบียทางทิศเหนือ มอนเตเนโกรทางตะวันตก แอลเบเนียและสาธารณรัฐมาซิโดเนียทางใต้ ไม่มีทางออกสู่ทะเล คอซอวอได้ประกาศเป็นรัฐเอกราชแบบเอกภาคีในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ใช้ชื่อว่า สาธารณรัฐคอซอวอ (Republic of Kosovo) มีการรับรองจากบางประเทศ ในขณะที่เซอร์เบียยังคงถือว่าคอซอวอเป็นจังหวัดปกครองพิเศษของตน

เมืองหลวงของคอซอวอคือพริชตีนา (Pri?tina) จำนวนประชากรทั้งจังหวัดประมาณ 2 ล้าน 1 แสนคน ส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์แอลเบเนีย (ร้อยละ 92) ชาวเซิร์บ (ร้อยละ 5.3) และมีชาวตุรกี ชาวบอสนีแอก กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ อีกเล็กน้อย (รวมกันร้อยละ 2.7)

คอซอวออยู่ภายใต้การบริหารของสหประชาชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ในขณะที่เอกราชของเซอร์เบียนั้นเป็นที่ยอมรับในประชาคมโลก โดยแท้จริงแล้ว การปกครองของเซอร์เบียมิได้ปรากฏในจังหวัดนี้เลย องค์กรที่ปกครองคอซอวออยู่คือคณะทำงานสหประชาชาติในคอซอวอ (United Nations Mission in Kosovo: UNMIK) และสถาบันการปกครองตนเองชั่วคราวของท้องถิ่น (Provisional Institutions of Self-Government) โดยมีกองกำลังคอซอวอ (Kosovo Force: KFOR) ภายใต้การนำขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) เป็นผู้รักษาความมั่นคง

จังหวัดคอซอวอเป็นประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองและดินแดนมานานระหว่างชาวเซอร์เบีย (ก่อนหน้านี้คือชาวยูโกสลาฟ) กับชาวแอลเบเนียซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัด การเจรจาในระดับนานาชาติเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2549 เพื่อตัดสินสถานะสุดท้าย จากรายงานของสื่อแขนงต่าง ๆ คาดกันว่า การเจรจาจะนำมาซึ่งเอกราชของดินแดนแห่งนี้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 รัฐสภาของคอซอวอประกาศเอกราชของประเทศแต่เพียงฝ่ายเดียว

ชื่อ คอซอวอ นิยมใช้ในภาษาอังกฤษว่า Kosovo ซึ่งถอดรูปมาจาก ?????? ออกเสียง /?k?s?v?/ (คอซอวอ) ในภาษาเซอร์เบีย ในขณะที่ภาษาแอลเบเนียใช้ชื่อว่า Kosova ออกเสียง /k??s?va/ (คอซอวา) ส่วนเว็บไซต์ของราชบัณฑิตยสถานได้ระบุชื่อในภาษาไทยไว้เป็น "คอซอวอ"

ดินแดนคอซอวอมีผู้อาศัยดั้งเดิมตั้งแต่ยุคสำริด คือชาวอิลลีเรีย เผ่าดาร์ดานี โดยที่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ระบุถึงราชอาณาจักรดาร์ดาเนีย เมื่อ 400 ปีก่อนคริสตกาล ดินแดนคอซอวอถูกเรียกว่า ดาร์ดาเนีย มาจนถึงศตวรรษที่ 19 ต่อมาราว 100 ปีก่อนคริสตกาล ดาร์ดาเนียได้ตกอยู่ใต้การปกครองของโรมันและจักรวรรดิไบแซนไทน์ ชาวเซิร์บอพยพเข้ามาอยู่ในดินแดนนี้พร้อมคลื่นผู้อพยพกลุ่มต่าง ๆ ที่ทยอยกันมาจากเทือกเขาอูราลเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7-8 เพื่อมาตั้งรกรากในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป และกระจัดกระจายกันออกไปในนามต่าง ๆ กัน เช่น เซิร์บ โครแอต มาซิโดเนีย และสโลวีเนีย การอพยพเข้ามาของกลุ่มเหล่านี้ทำให้เกิดการปะทะกับเจ้าของดินแดนเดิม จนปี พ.ศ. 1749 ชาวเซิร์บจึงเข้ายึดครองดินแดนแถบคอซอวอได้ แต่ต่อมาก็ต้องเจอกับอำนาจที่เหนือกว่าคือจักรวรรดิมุสลิมออตโตมันเติร์ก ซึ่งได้เข้ายึดและปกครองดินแดนแถบนี้ 500 ปี เริ่มตั้งแต่สงครามคอซอวอ (พ.ศ. 1932) ไปจนถึง พ.ศ. 2455

หลังสงครามบอลข่านใน พ.ศ. 2455 เซอร์เบียก็เข้ายึดครองคอซอวอ และกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของยูโกสลาเวียใน พ.ศ. 2461 จากนั้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศได้ถูกปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม (ไม่ขึ้นต่อสหภาพโซเวียต) โดยมีนายพลติโต เป็นประธานาธิบดี และเมื่อระบอบคอมมิวนิสต์ล่มสลายในปี พ.ศ. 2532 รัฐต่างๆ ที่ประกอบกันเป็นยูโกสลาเวียก็พากันแยกตัวเป็นประเทศอิสระ ได้แก่ สโลวีเนีย โครเอเชีย มาซิโดเนีย บอสเนีย มอนเตเนโกร

คอซอวอเองเจอปัญหาจากความคลั่งชาติของอาชญากรสงคราม สลอบอดัน มีลอเชวิช มาตั้งแต่ พ.ศ. 2533 จนกระทั่งเหตุการณ์ตึงเครียดสุดเมื่อเซอร์เบียส่งกองทัพเข้าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวมุสลิมในคอซอวอในปี พ.ศ. 2541 ทำให้นาโต ต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ โดยส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดจนเซอร์เบียต้องยอมถอนทหาร และในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 กองทหารนาโต 40,000 คนเข้ารักษาความมั่นคงในคอซอวอ เป็นการยุติบทบาทของเซอร์เบียในคอซอวอ ทำให้ตั้งแต่ปี นั้นเป็นต้นมา คอซอวอจึงเป็นจังหวัดหนึ่งของเซอร์เบียเพียงแต่ในนาม ในขณะที่การบริหารงานทุกอย่างอยู่ภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ โดยมีโดยกองกำลังทหารของสหประชาชาติ นำโดยนาโต รักษาความปลอดภัยในประเทศ

ทั้งนี้ หลังจากรัฐสภาคอซอวอลงมติเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ ฮาชิม ทาชี นายกรัฐมนตรีคอซอวอ ได้ประกาศแยกคอซอวอออกจากเซอร์เบียเป็นประเทศอิสระ ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยมีประเทศหลักที่ให้การสนับสนุนการประกาศเอกราชของคอซอวอคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป

หลังจากการประกาศเอกราชของคอซอวอ มีหลายประเทศให้การรับรองการประกาศเอกราช เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร ตุรกี แอลเบเนีย เยอรมนี สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และอีกหลายประเทศ ในขณะเดียวกัน มีหลายประเทศที่ประกาศชัดเจนว่า ไม่รับรองเอกราชของคอซอวอ นอกจากเซอร์เบียซึ่งเป็นคู่กรณีแล้ว มีรัสเซีย สเปน ไซปรัส และอีกหลายประเทศ ส่วนไทยเป็นประเทศลำดับที่ 104 ที่ให้การรับรองคอซอวอ โดยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปี พ.ศ. 2556

สโลวีเนีย, โครเอเชีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา วอยวอดีนา และอ่าวโคตาร์เป็นส่วนหนึ่งของ ออสเตรีย–ฮังการี (ถึง ค.ศ. 1918)ดู รัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ และบานัต บัชกา และบารันยาเสรีรัฐฟีอูเม (รีเยกา) (ค.ศ. 1920–1924)ถูกผนวกเข้ากับอิตาลีในปี ค.ศ. 1924, เป็นส่วนหนึ่งของยูโกสลาเวียในปี ค.ศ. 1947

นาซีเยอรมนี ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของสโลวีเนีย(ค.ศ. 1941–1945)ฟาสซิสต์อิตาลี ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของสโลวีเนีย โครเอเชีย และมอนเตเนโกร(ค.ศ. 1941–1943)

บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา(ตั้งแต่ ค.ศ. 1992)ประกอบด้วย สหพันธรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และ สาธารณรัฐเซิร์บ ตั้งแต่ ค.ศ. 1995 และ เขตเบิร์ชโก ตั้งแต่ ค.ศ. 2000

เซอร์เบีย(ค.ศ. 2006–2008) *คอซอวอ เป็นจังหวัดปกครองตนเองของเซอร์เบียภายใต้การบริหารของสหประชาชาติ

แอลเบเนีย ผนวกส่วนใหญ่ของคอซอวอ ทางตะวันตกของมาซิโดเนีย และทางตะวันออกเฉียงใต้ของมอนเตเนโกร(ค.ศ. 1941–1944)


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301