กินี (อังกฤษ: Guinea; ฝรั่งเศส: Guin?e) หรือ สาธารณรัฐกินี (อังกฤษ: Republic of Guinea; ฝรั่งเศส: R?publique de Guin?e) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนด้านทิศเหนือจรดกินีบิสเซา และเซเนกัล พรมแดนด้านทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือจรดประเทศมาลี ตะวันออกเฉียงใต้จรดโกตดิวัวร์ ทิศใต้จรดไลบีเรีย และตะวันตกจรดเซียร์ราลีโอน เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำไนเจอร์ แม่น้ำเซเนกัล และแม่น้ำแกมเบีย ชื่อกินี (ในทางภูมิศาสตร์แล้วเป็นชื่อที่ใช้เรียกดินแดนในเขตชายฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกา ตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา และตอนเหนือของอ่าวกินี) มีต้นกำเนิดจากภาษาเบอร์เบอร์สามารถแปลได้ว่า "ดินแดนของคนผิวดำ"
วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552 เหตุการณ์นองเลือดในกินี หลังทหารสลายชุมนุมต้านประธานาธิบดีที่มาจากรัฐประหาร
ศพผู้เสียชีวิต 58 รายถูกนำไปยังโรงเก็บศพแห่งหนึ่งในกรุงโกนากรี หลังจากกองกำลังความมั่นคงของกินีปฏิบัติปราบปรามการชุมนุมของฝ่ายค้านซึ่งออกมาต่อต้านความพยายามของประธานาธิบดีซึ่งมาจากรัฐประหารที่ต้องการลงทำศึกเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามเชื่อกันว่าตัวเลขที่แท้จริงน่าจะสูงกว่านี้มาก หลังเจ้าหน้าที่กาชาดรายหนึ่งบอกกับเอเอฟพีว่าผู้บัญชาการกองทัพได้มีคำสั่ง ให้นำศพของผู้เสียชีวิตไปยังค่ายทหารอัลฟา ยายา ดิอัลโล แทนที่จะส่งมายังห้องเก็บศพตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ขณะที่แหล่งข่าวทางการแพทย์ของโรงพยาบาล Ignace Deen ให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพีว่ารถบรรทุกของทหารได้ขนศพผู้เสียชีวิตหลายสิบศพออกไป และไม่ทราบจุดหมายปลายทางอดีตนายกรัฐมนตรี 2 คนซึ่งอยู่ในกลุ่มผู้ประท้วง เชลลู ดาเลียน ดิอัลโล และ ซิดยา ตูเร ได้รับบาดเจ็บเมื่อเหตุชุมนุมปะทุเข้าสู่ความรุนแรง จากนั้นก็ถูกควบคุมตัวไปยังค่ายทหารอัลฟา ยายา ดิอัลโล
การชุมนุมครั้งนี้มีขึ้นเพื่อคัดค้านความพยายามของหัวหน้าคณะรัฐ ประหารที่ก้าวขึ้นสู่อำนาจเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้ง ขณะที่ตัวประธานาธิบดี มัวซา ดาดิส คามารา ก็ตกอยู่ภายใต้แรงกดดันจากนานาชาติให้ลงจากอำนาจ
ผู้ประท้วงเริ่มต้นรวมตัวกันบริเวณด้านนอกของสนามกีฬาใหญ่ที่สุดใน กรุงโกนากรี ท่ามกลางการเฝ้าระวังของเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนมาก ทั้งนี้แม้คณะรัฐประหารได้ประกาศห้ามชุมนุม แต่พรรคการเมืองหลายพรรค สหภาพการค้าและองค์กรพลเรือนยังเดินหน้าจัดการประท้วงขึ้น ซึ่งในที่สุดก็เกิดเหตุปะทะกันขึ้นเมื่อตำรวจปราบจลาจลพยายามเข้าสลายผู้ ชุมนุม
ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีรายงานว่าเห็นผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส 3 คนนอนกระจัดกระจายบริเวณด้านหน้าป้อมตำรวจแห่งหนึ่งใกล้กับสนามกีฬา โดยรายหนึ่งถึงขั้นขาหักเป็นสองท่อน นอกจากนี้ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยอีก 8 ราย และวัยรุ่นราว 30 คนถูกจับกุม
ทั้งนี้ผู้เห็นเหตุการณ์บอกว่าบรรดาแกนนำฝ่ายค้านซึ่งพยายามมุ่งหน้า ไปยังสนามกีฬาถูกขัดขวางโดยตำรวจ จนนำไปสู่เหตุปะทะกันระหว่างตำรวจปราบจลาจลที่ใช้แก๊สน้ำตาเข้าปราบปรามและ ผู้ประท้วงหลายพันคนที่มีหินเป็นอาวุธ
เฟเดริค โคลี รัฐมนตรีมหาดไทยประกาศผ่านสถานีโทรทัศน์แห่งชาติว่า "ทุกการประท้วงภายในราชอาณาจักรแห่งนี้ถูกสั่งห้ามจนกระทั่งวันหยุดแห่งชาติ 2 ตุลาคม"
มาตรการสั่งห้ามชุมนุมมีขึ้นหนึ่งวันหลังจาก คามารา เดินทางไปยังลาเบ เมืองใหญ่อันดับ 2 ของกินีและฐานที่มั่นของฝ่ายค้าน ซึ่งนับเป็นการออกนอกกรุงโกนากรี ครั้งแรกนับตั้งแต่ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งจากรัฐประหารเมื่อเดือนธันวาคมปีก่อน
แหล่งข่าวฝ่ายค้านคาดหมายว่า คามารา จะใช้การเดินทางช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ประกาศถึงเจตนาที่ต้องการลงชิงชัยใน ศึกเลือกตั้งในเดือนมกราคม 2010 แต่ผิดคาดเมื่อเขากลับปราศรัยเกี่ยวกับความสามัคคีของคนในชาติ ขณะเดียวกันก็วิพากษ์วิจารณ์ฝ่ายต่อต้านด้วย
ทั้งนี้กินีเป็นประเทศในแอฟริกาฝั่งตะวันออกตอนกลางของทวีป ทางเหนือติดกับประเทศกินีบัสเซา และเซเนกัล ส่วนตะวันตกติดกับมาลี ทิศใต้ติดกับเซียล่ารีโอน และไรบีเรีย มีผู้นับถือศาสนาอิสลามมากถึง 85% ของประชากรทั้งหมด
เศรษฐกิจและสังคม กินีเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ ธาตุ โดยเฉพาะบอกไซต์ ซึ่งมีปริมาณเกือบครึ่งหนึ่งของโลก และเป็นผู้ผลิตแร่บอกไซต์รายใหญ่เป็น อันดับ 6 ของโลก นอกจากนี้ ยังมีทองคำและเพชรและแร่ธาตุอื่นๆ นับแต่ปี 2547 ความต้องการแร่ธาตุและราคาซื้อขายในตลาดโลกได้ส่งผลให้กินีมี การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และภาคเหมืองแร่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคิดเป็นร้อยละ 70 ของมูลค่าการส่งออก
ภาคเกษตรกรรมยังคงเป็นหัวใจหลักของกินี โดยประชากรกว่าร้อยละ 70 ของประเทศอยู่ในภาคเกษตรกรรม สินค้าเกษตรที่สำคัญได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าว และข้าวโพด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผลิตผลทางด้านเกษตรกรรมยังคงมีมูลค่าเพียงร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และคิดเป็นร้อยละ 10 ของมูลค่าการส่งออก
แม้ว่ากินีจะมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม กินียังคงประสบปัญหา การพัฒนาทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากความไม่มั่นคงทางการเมือง การคอรัปชั่นที่มีอยู่สูง ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เอื้ออำนวยลงทุน การขาดแรงงานมีฝีมือ ประกอบกับสถานการณ์การสู้รบในกินีบิสเซา เซียร์ราลีโอน และไลบีเรีย ซึ่งส่งผลให้มีการอพยพจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในกินี ทั้งนี้ กินียังถูกจัดไว้เป็นลำดับที่ 9 ในตารางประเทศล้มเหลว (failed states)
อย่างไรก็ตาม กีนีเริ่มพยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์กับภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) เพื่อ รื้อฟื้นโครงการพัฒนาและความช่วยเหลือเพื่อการปลดหนี้ที่เคยถูกยกเลิกไป ตั้งแต่ปี 2546
สหประชาชาติจัดให้กินีอยู่ในอันดับที่ 160 จาก 177 ประเทศ ที่มีดัชนีการพัฒนาคน (Human development index-HDI) ต่ำที่สุด ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นมาตรฐานสุขภาพที่ย่ำแย่ของชาวกินีและสาธารณูปโภค ที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในกลุ่มแรงงานเหมืองแร่
ภายหลังการยึดอำนาจ ร้อยเอก Camara ได้ประกาศระงับการผลิต และส่งออกทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะบ๊อกไซด์ ทองและเพชร ซึ่งจะได้มีการเจรจากับบริษัทที่รับสัมปทานเพื่อให้กินีได้รับผลประโยชน์ตอบ แทนมากที่สุด
นโยบายต่างประเทศ ภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดี Conte กินีเอนเอียงเข้าหาตะวันตก โดยเฉพาะฝรั่งเศสและ EU ซึ่งปัจจุบันมีความสำคัญต่อกินีทั้งในด้านการค้าและการให้ความช่วยเหลือ ความสัมพันธ์ระหว่างกินีและประเทศเพื่อนบ้านไม่ค่อยราบรื่น เนื่องจากรัฐบาลกินีมักเข้าแทรกแซงกิจการภายในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอยู่ในสภาวะสงครามกลางเมือง อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างไลบีเรียและเซียร์ราลีโอนได้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น เนื่องมาจากการคลี่คลายของปัญหาทางการเมืองของทั้งสองประเทศ
กินีและแอฟริกาใต้มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น หลังจากการเยือนกินีของประธานาธิบดี Thabo Mbeki ในเดือนกรกฎาคม 2548 โดยแอฟริกาใต้ได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงโคนักรีของกินี รวมทั้ง บริษัทเพชร De Beers ได้เข้าไปดำเนินกิจการในกินีอีกครั้ง
กินีประสบปัญหาการอพยพเข้ามาของประเทศเพื่อนบ้าน นับแต่ปี 2543 มีจำนวนผู้อพยพจากเซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย กินีบิสเซา เข้ามาในกินีประมาณ 750,000 คน โดยกินีได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เข้ามาแก้ปัญหานี้ ในปัจจุบัน กินียังมีผู้อพยพอยู่ประมาณ 39,000 คน
ประชาคมระหว่างประเทศได้ออกมาประณามการยึดอำนาจของร้อยเอก Camara และเรียกร้องให้มีการคืนอำนาจให้กับประชาชนโดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดี Abdoulaye Wade แห่งเซเนกัลได้แถลงที่ประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2551 ว่าทุกฝ่ายควรให้การสนับสนุนร้อยเอก Camara โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านไม่ควรแทรกแซงกิจการภายในของกินี แต่ควรให้เวลากินีผลัดเปลี่ยนอำนาจอย่างสันติ ซึ่งคำแถลงดังกล่าวเป็นที่ประหลาดใจของหลายฝ่าย เนื่องจากสวนทางกับการประณามการยึดอำนาจโดยสหภาพยุโรป สหรัฐฯ รวมทั้งสหภาพแอฟริกา ซึ่งได้ประกาศยุติสมาชิกภาพของกินีในสหภาพ แอฟริกาเป็นการชั่วคราว นอกจากนี้ รัฐบาลของร้อยเอก Camara ยังได้รับการสนับสนุนจากนาย Muammar AL Gaddafi ประธานาธิบดีลิเบียซึ่งได้เดินทางเยือนกินีเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2552 อีกด้วย