ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ประสาทสัมผัส

ประสาทสัมผัส (อังกฤษ: Sense) เป็นสมรรถภาพในสรีระของสิ่งมีชีวิตที่ให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการรับรู้ (perception) มีการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับการทำงาน การจำแนกประเภท และทฤษฎีของประสาทสัมผัส ในวิชาหลายสาขา โดยเฉพาะในวิทยาศาสตร์ประสาท จิตวิทยาปริชาน (หรือประชานศาสตร์) และปรัชญาแห่งการรับรู้ (philosophy of perception) ระบบประสาทของสัตว์นั้นมีระบบรับความรู้สึกหรืออวัยวะรับความรู้สึก สำหรับความรู้สึกแต่ละอย่าง

มนุษย์เองก็มีประสาทสัมผัสหลายอย่าง การเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การได้กลิ่น การถูกต้องสัมผัส เป็นประสาทสัมผัสห้าทางที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณ แต่ว่า ความสามารถในการตรวจจับตัวกระตุ้นอื่น ๆ นอกเหนือจากนั้นก็ยังมีอยู่ รวมทั้ง อุณหภูมิ ความรู้สึกเกี่ยวกับเคลื่อนไหว (proprioception) ความเจ็บปวด (nociception) ความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว และความรู้สึกเกี่ยวกับตัวกระตุ้นภายในต่าง ๆ (เช่นมีเซลล์รับความรู้สึกเชิงเคมี คือ chemoreceptor ที่ตรวจจับระดับความเข้มข้นของเกลือและคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อยู่ในเลือด) และความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเรียกว่าเป็นประสาทสัมผัสโดยต่างหากได้เพียงไม่กี่อย่าง เพราะว่า ประเด็นว่า อะไรเรียกว่า ประสาทสัมผัส (sense) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทำให้ยากที่จะนิยามความหมายของคำว่า ประสาทสัมผัส อย่างแม่นยำ

สัตว์ต่าง ๆ มีตัวรับความรู้สึกเพื่อสัมผัสโลกรอบ ๆ ตัว มีระดับความสามารถที่ต่าง ๆ กันไปแล้วแต่สปีชีส์ เมื่อเทียบกันแล้ว มนุษย์มีประสาทสัมผัสทางจมูกที่ไม่ดี และสัตว์เหล่าอื่นก็อาจจะไม่มีประสาทสัมผัส 5 ทางที่กล่าวถึงไปแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตว์บางอย่างอาจจะรับข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นและแปลผลข้อมูลเหล่านั้นต่างไปจากมนุษย์ และสัตว์บางชนิดก็สามารถสัมผัสโลกโดยวิธีที่มนุษย์ไม่สามารถ เช่นมีสัตว์บางชนิดสามารถสัมผัสสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก สามารถสัมผัสแรงดันน้ำและกระแสน้ำ

คำนิยามแบบกว้าง ๆ ของประสาทสัมผัสที่เป็นที่ยอมรับก็คือ "ระบบที่ประกอบด้วยเซลล์รับความรู้สึกประเภทต่าง ๆ แต่ละอย่างทำการตอบสนองต่อปรากฏการณ์ทางกายภาพเฉพาะอย่าง และเขตในสมองที่รับและแปลสัญญาณของปรากฏการณ์ทางกายภาพนั้น" ไม่มีการตกลงที่ชัดเจนว่า มีประสาทสัมผัสกี่ทาง เนื่องจากมีนิยามต่าง ๆ กันว่า อะไรเรียกว่าประสาทสัมผัส

สัตว์อื่นนอกจากมนุษย์อาจจะมีประสาทสัมผัสอื่น ๆ ที่มนุษย์ไม่มี เช่นการรับรู้สนามไฟฟ้า (electroreception) และการรับรู้แสงโพลาไรส์

ในศาสนาพุทธ คำว่า อายตนะที่แปลว่า เครื่องเชื่อมรับรู้ รวมจิตใจว่าเป็น "ประสาท" รับความรู้สึก เพิ่มขึ้นจากประสาทสัมผัสโดยทั่วไป 5 อย่าง ที่เพิ่มจิตใจขึ้นอย่างนี้ อาจเป็นเพราะการเน้นเรื่องสภาวะจิตใจในปรัชญาและข้อปฏิบัติของชาวพุทธ คือ ใจโดยลำพังได้รับการพิจารณาว่าเป็นทวารคือทางเข้า แห่งปรากฏการณ์ธรรมชาตินานาชนิดต่างจากข้อมูลที่ได้รับทางประสาทสัมผัสทางกายภาพ การพิจารณาระบบการรับรู้ของมนุษย์อย่างนี้ แสดงถึงความสำคัญของความรู้สึกที่เป็นไปในภายใน และของการรับรู้อื่น ๆ ที่บูรณาการประสบการณ์เกี่ยวกับโลกภายนอก

การเห็นเป็นความสามารถของตาที่จะโฟกั้สและจับภาพที่เกิดจากแสงในความถี่ที่เห็นได้ที่ตกกระทบล งบนเซลล์รับแสง (Photoreceptor cell) ในเรตินาของตาแต่ละข้าง เป็นผลให้เกิดศักยะงานส่งข้อมูลไปยังระบบประสาทกลางเกี่ยวกับสีและความสว่าง มีเซลล์รับแสงสองอย่างคือเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวย เซลล์รูปแท่งไวแสงมาก แต่ไม่ทำการแยกแยะสี เปรียบเทียบกับเซลล์รูปกรวยที่แยกแยะสี แต่ไวแสงน้อยกว่า นี่จึงเป็นที่ถกเถียงกันว่า นี่เป็นประสาทสัมผัสหนึ่งทาง สองทาง หรือสามทางกันแน่ แต่ว่า นักกายวิภาคโดยทั่ว ๆ ไปพิจารณาว่าเป็นประสาทสัมผัส 2 ทาง เพราะว่าเป็นตัวรับความรู้สึกต่าง ๆ กันที่รับรู้สีและความสว่าง บางพวกกล่าวว่า แม้แต่ stereopsis คือการรับรู้ระยะทาง (ความลึก) โดยใช้ตาสองข้าง ก็เป็นประสาทสัมผัสอย่างหนึ่ง แต่โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว การรับรู้อย่างนี้ได้รับการพิจารณาว่าเป็นส่วนของประชาน (cognition) (คือการรับรู้ที่เกิดขึ้นหลังการรับข้อมูลจากประสาทสัมผัส) ที่เกิดขึ้นภายในคอร์เทกซ์สายตาภายในสมอง ซึ่งเป็นที่ที่ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุและรูปแบบต่าง ๆ รับการแปลผลและการระบุ (ว่าเป็นอะไร) โดยเทียบกับประสบการณ์ที่เคยมีมาก่อนที่เรียกว่า ความทรงจำทางตา (visual memory)

ความไม่สามารถที่จะเห็นเรียกว่าตาบอด ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากความเสียหายต่อลูกตา โดยเฉพาะต่อเรตินา ความเสียหายที่เส้นประสาทตาที่เชื่อมตากับสมอง หรือจากโรคหลอดเลือดในสมอง (ที่มีผลเป็นเนื้อสมองตายเหตุขาดเลือด) นอกจากนั้นแล้ว ความบอดแบบชั่วคราวหรือถาวรก็สามารถเกิดขึ้นได้เพราะสารพิษหรือยา

สำหรับบุคคลที่ตาบอดเนื่องจากความเสื่อมหรือความเสียหายต่อคอร์เทกซ์สายตา แต่ยังมีตาที่ใช้ได้อยู่ อาจจะมีการเห็นในบางระดับและมีปฏิกิริยาต่อตัวกระตุ้นทางตาที่ไม่ประกอบด้วยการเห็น เป็นภาวะที่เรียกว่าภาวะเห็นทั้งบอด (blindsight) บุคคลผู้มีภาวะนี้จะไม่มีการสำนึกว่าตนเองทำปฏิกิริยาต่อข้อมูลที่มาจากตา แต่พฤติกรรมของตนจะปรับเปลี่ยนไปตามตัวกระตุ้นทางตา ที่ไม่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ

ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 นักวิจัยได้พัฒนาอุปกรณ์ใช้ฝังในประสาทที่ให้ความสามารถในการรับรู้แสงอินฟราเรดกับหนู ซึ่งเป็นการให้ประสาทสัมผัสใหม่ ๆ แทนที่จะเป็นแค่การทดแทนหรือการเพิ่มสมรรถภาพของความสามารถที่มีอยู่แล้ว

การได้ยินก็คือการรับรู้เสียง ซึ่งเป็นเรื่องของการรับรู้ความสั่นสะเทือนล้วน ๆ คือ ตัวรับแรงกล (mechanoreceptor) ที่อยู่ในหูชั้นใน แปลความสั่นสะเทือนในสื่อ (เช่นอากาศ) ไปเป็นพลังงานประสาทที่เป็นไฟฟ้า เนื่องจากเสียงเป็นความสั่นสะเทือนที่เดินทางไปในสื่อเช่นอากาศ การตรวจจับความสั่นสะเทือน (การได้ยิน) เป็นประสาทสัมผัสเชิงกลเพราะว่า มีการสื่อนำความสั่นสะเทือนไปโดยแรงกลจากแก้วหูผ่านกระดูกหูเล็ก ๆ ในชั้นต่าง ๆ ไปสู่ปลายประสาทที่ปรากฏเหมือนขนในหูชั้นใน ซึ่งสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวเชิงกลในระดับความถี่ 20-20,000 เฮิรตซ์ โดยมีความแตกต่างกันไปพอสมควรในระหว่างบุคคล แต่การได้ยินในระดับความถี่สูงเสื่อมลงเมื่ออายุมากขึ้น ความไม่สามารถในการได้ยินเรียกว่า หูหนวก หรือเป็นความบกพร่องในการได้ยิน เสียงสามารถตรวจจับโดยเป็นความสั่นสะเทือนผ่านร่างกายได้เช่นกันคือผ่านระบบรับความรู้สึกทางกาย เสียงความถี่ต่ำที่สามารถได้ยินได้ตรวจจับได้โดยวิธีนี้ คนหูหนวกบางพวกสามารถกำหนดทิศทางและตำแหน่งของแรงสั่นสะเทือนผ่านเท้าของตน

การลิ้มรสก็เป็นการรับรู้ที่รู้จักกันดีอย่างหนึ่งในประสาทสัมผัส 5 อย่าง เป็นคำหมายถึงความสามารถในการตรวจจับรสของสิ่งต่าง ๆ เช่นอาหาร เกลือแร่ และสารพิษเป็นต้น แต่พึงสังเกตว่า "ความอร่อย" ของอาหารนั้นมักจะหมายถึงความรู้สึกที่ได้จากทางประสาทต่าง ๆ กัน ซึ่งรวมทั้งรสชาติ กลิ่น สัมผัส และอุณหภูมิ มนุษย์รับรสชาติจากอวัยวะรับความรู้สึกที่เรียกว่า ปุ่มรับรส (taste bud) หรือ gustatory calyculi ซึ่งมีอยู่ที่ผิวด้านบนของลิ้น มีรส 5 รสคือ หวาน ขม เปรี้ยว เค็ม และอุมามิ (รสกลมกล่อม) รสอย่างอื่นเช่นรสแคลเซียม และรสกรดไขมันฟรี (free fatty acids) อาจจะเป็นรสชาติอื่น ๆ ที่สามารถรับรู้ได้แต่ยังไม่ได้รับการยอมรับโดยสากล

การได้กลิ่นเป็นทางประสาทสัมผัสเชิงเคมีอย่างหนึ่ง และไม่เหมือนการลิ้มรส มีตัวรับกลิ่น (olfactory receptor) เป็นร้อยชนิด (388 ชนิดโดยแหล่งข้อมูลหนึ่ง) แต่ละตัวทำปฏิกิริยาต่อโมเลกุลที่มีลักษณะเฉพาะ โมเลกุลมีกลิ่นมีลักษณะต่าง ๆ มากมายและกระตุ้นตัวรับกลิ่นเฉพาะอย่างในระดับต่าง ๆ สัญญาณตอบสนองจากตัวรับกลิ่นหลาย ๆ ตัวที่มารวมกัน เป็นสิ่งที่นำไปสู่การรับรู้ว่าเป็นกลิ่นใดกลิ่นหนึ่ง ในสมอง ส่วนการแปลผลข้อมูลกลิ่นเกิดขึ้นในระบบรับกลิ่น (olfactory system) เซลล์ประสาทรับกลิ่นในจมูกมนุษย์ต่างจากเซลล์ประสาทในที่อื่น ๆ เพราะว่าเซลล์ประสาทรับกลิ่นมีอายุจำกัดและต้องมีการสร้างทดแทนใหม่เสมอ ๆ ความไม่สามารถในการรับกลิ่นเรียกว่า ภาวะเสียการรู้กลิ่น (anosmia) มีเซลล์ประสาทในจมูกบางส่วนที่ทำหน้าที่รับรู้ pheromone โดยเฉพาะ

การถูกต้องสัมผัสเป็นความรู้สึกที่เริ่มจากการทำงานของเซลล์รับความรู้สึก ซึ่งทั่ว ๆ ไปมีอยู่ในผิวหนังรวมทั้งปุ่มขน (hair follicle) แต่ก็มีอยู่ที่ลิ้น คอ และเยื่อเมือกด้วย มีตัวรับแรงกด (pressure receptor) ที่ตอบสนองต่อแรงกดแบบต่าง ๆ (แบบหนักแน่น แบบผ่าน ๆ แบบคงที่) ความรู้สึกคันที่เกิดจากแมลงกัดหรือภูมิแพ้เกี่ยวข้องกับเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่เฉพาะที่อยู่ที่ผิวหนังและในไขสันหลัง ความสูญเสียหรือความเสื่อมของสมรรถภาพในความรู้สึกสัมผัสเรียกว่า อาการไม่รู้สึกสัมผัส (tactile anesthesia) ส่วนอาการความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน (paresthesia) เป็นความรู้สึกจักจี้ เหน็บชา ร้อนคัน หรือเหมือนถูกเข็มจิ้ม อัดดาก เป็นผลจากความเสียหายทางประสาท และอาจจะเป็นแบบถาวรหรือชั่วคราว

การรับรู้การทรงตัว (balance) หรือเรียกว่า vestibular sense หรือเรียกว่า การรับรู้ความสมดุล (equilibrioception) เป็นความรู้สึกที่ยังสิ่งมีชีวิตให้รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของกาย ทิศทางการเคลื่อนไหว และความเร่ง เพื่อรักษาความสมดุลของท่าทางในร่างกาย อวัยวะที่รับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ มีการเคลื่อนไหวของกายเป็นต้นเหล่านี้ก็คือ ปลายประสาทของ vestibular system ที่อยู่ในอวัยวะ 5 อย่างในหูชั้นในแต่ละข้าง อวัยวะเหล่านี้มีหน้าที่รับรู้ความรู้สึกสองอย่างคือ ความเร่งของโมเมนตัมเชิงมุม และความเร่งเชิงเส้น (ซึ่งเป็นอันเดียวกับความรู้สึกเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง) โดยเรียกรวม ๆ กันว่าการรับรู้ความสมดุล (equilibrioception)

เส้นประสาท vestibular nerve สื่อข้อมูลจากตัวรับความรู้สึกใน osseous ampullae (กระเปาะกระดูกหู) 3 ส่วนที่รับรู้ความเคลื่อนไหวของของเหลวใน หลอดกึ่งวงกลม (semicircular canal) 3 หลอด เป็นความเคลื่อนไหวที่เกิดจากการหมุนหัว (คือความเร่งของโมเมนตัมเชิงมุม) นอกจากนั้นแล้ว เส้นประสาท vestibular nerve ก็ยังสื่อข้อมูลจากอวัยวะอื่นในหูชั้นในคือ utricle และ saccule ซึ่งมีตัวรับความรู้สึกมีรูปร่างคล้ายขนที่งอได้เพราะน้ำหนักของ otolith ซึ่งเป็นผลึกเล็ก ๆ ของแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งเป็นตัวให้ความเฉื่อยเพื่อตรวจจับความเร่งเชิงเส้น (แบบตรง ๆ) และทิศทางของแรงโน้มถ่วง

การรับรู้อุณหภูมิ (thermoception) เป็นความรู้สึกต่อความร้อนหรือความปราศจากความร้อน (คือความเย็น) ทางผิวหนังรวมทั้งทางช่องต่าง ๆ ภายในร่างกาย หรือต่อฟลักซ์ความร้อน (heat flux) คืออัตราการไหลของความร้อน ในอวัยวะเหล่านั้น มีตัวรับความรู้สึกเฉพาะอย่างสำหรับรับความเย็นและความร้อน ตัวรับความเย็นมีบทบาทสำคัญในการรับรู้กลิ่นคือเป็นตัวบอกทิศทางของลม (และของกลิ่น) ตัวรับความร้อนมีความไวต่อรังสีอินฟราเรดและอาจจะมีอยู่ในอวัยวะพิเศษเช่นในสัตว์วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง ตัวรับอุณหภูมิ (thermoceptor) ที่ผิวหนังต่างจากตัวรับอุณหภูมิในสมองเขตไฮโปทาลามัส ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับภาวะธำรงดุล (homeostasis) คือให้ข้อมูลกับสมองเกี่ยวกับอุณหภูมิภายในร่างกาย

การรับรู้อากัปกิริยา (proprioception) หรือประสาทสัมผัสเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (kinesthetic sense) ให้ข้อมูลต่อสมองกลีบข้างเกี่ยวกับตำแหน่งเชิงเปรียบเทียบของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย ประสาทแพทย์ตรวจสอบประสาทสัมผัสนี้โดยให้คนไข้ปิดตาแล้วแตะจมูกของตนด้วยปลายนิ้ว ถ้าการรับรู้อากัปกิริยาเป็นปกติ คนไข้จะไม่เสียความสำนึกว่ามืออยู่ที่ตำแหน่งไหนจริง ๆ แม้ว่าจะไม่มีการรับรู้โดยประสาทสัมผัสอื่น ๆ การรับรู้อากัปกิริยาและการรับรู้สัมผัสมีความเกี่ยวข้องกันอย่างละเอียดสุขุม และความเสื่อมในประสาทสัมผัสเหล่านั้นมีผลเป็นความบกพร่องทางการรับรู้และพฤติกรรมที่ลึกซึ้งและน่าประหลาดใจ

โนซิเซ็ปชั่น (nociception) เป็นกระบวนการส่งสัญญาณเกี่ยวกับความเสียหายต่อเส้นประสาทหรือต่อเนื้อเยื่อ มีโนซิเซ็ปเตอร์ (nociceptor) คือปลายประสาทรับรู้โนซิเซ็ปชั่น 3 ประเภทคือที่ผิวหนัง ที่กายส่วนอื่น ๆ (ที่ข้อต่อและกระดูก) และที่อวัยวะภายใน (visceral) ก่อนหน้านี้ เชื่อกันว่า ความเจ็บปวดเกิดจากความรู้สึกจากตัวรับแรงกดดัน (pressure receptor) แต่ว่า งานวิจัยในครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 แสดงว่า ความเจ็บปวดเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างหากที่เป็นไปร่วมกับความรู้สึกประเภทอื่น ๆ เช่นการสัมผัส ในครั้งหนึ่ง ความเจ็บปวดได้รับการพิจารณาว่าเป็นประสบการณ์ที่เป็นอัตวิสัย (และคนอื่นไม่สามารถรู้ได้) แต่งานวิจัยภายหลังกลับแสดงว่า ความเจ็บปวดปรากฏเป็นผลในรอยนูนสมอง anterior cingulate gyrus ความเจ็บปวดมีหน้าที่หลักในการดึงความสนใจของเราไปสู่ภัยอันตราย และกระตุ้นให้เราหลีกเลี่ยงอันตรายเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น มนุษย์หลีกเลี่ยงที่จะถูกต้องเข็มแหลม ๆ หรือวัตถุที่ร้อน หรือยืดแขนเกินระยะที่ปลอดภัย เนื่องจากว่า ประสบการณ์เหล่านั้นอาจเป็นอันตราย ดังนั้น จึงก่อให้เกิดความเจ็บปวด ถ้าปราศจากความเจ็บปวด ชนทั้งหลายอาจจะทำสิ่งที่เป็นภัยหลายอย่างโดยไม่เข้าใจถึงอันตราย

การรับรู้เวลา (time perception) หมายถึงกระบวนการรับรู้และประสบการณ์ของการรับรู้เวลาที่ผ่านไป แม้ว่า ความรู้สึกเกี่ยวกับเวลา (sense of time) จะไม่เป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง งานวิจัยของนักจิตวิทยาและนักวิทยาศาสตร์ประสาทแสดงว่า สมองมนุษย์มีระบบควบคุมกลไกการรับรู้เวลา ประกอบด้วยระบบต่าง ๆ ที่กระจายไปในสมองรวมทั้งในเปลือกสมอง (cerebral cortex) ซีรีเบลลัม และ basal ganglia องค์ประกอบอย่างหนึ่งก็คือ suprachiasmatic nucleus ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับจังหวะรอบวัน (circadian rhythm)

การรับรู้โดยประสาทสัมผัสภายในเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า interoception ซึ่งเป็น "ความรู้สึกอย่างหนึ่งที่ปกติมีการกระตุ้นที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย" เป็นความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับตัวรับความรู้สึกมากมายหลายประเภทภายในอวัยวะภายใน เช่นตัวรับแรงยืด (stretch receptor) ที่เชื่อมต่อกับสมอง ตัวอย่างของตัวรับความรู้สึกก็คือ

สิ่งมีชีวิตอื่นมีตัวรับความรู้สึกเกี่ยวกับโลกรอบตัว รวมทั้งประสาทสัมผัสที่กล่าวมาแล้วในมนุษย์ แต่ว่า กลไกและสมรรถภาพของประสาทสัมผัสเหล่านั้นอาจจะแตกต่างกันมาก

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนอกจามนุษย์โดยมากมีประสาทสัมผัสเกี่ยวกับกลิ่นที่ดีกว่ามนุษย์ แม้ว่าจะมีกลไกที่คล้าย ๆ กัน ปลาฉลามใช้การได้กลิ่นและการรับรู้เวลาที่เฉียบคมในการกำหนดทิศทางของกลิ่น คือ จะว่ายไปทางรูจมูกที่ตรวจจับกลิ่นได้ก่อน ส่วนแมลงมีตัวรับกลิ่น (olfactory receptor) ที่หนวด (antenna)

สัตว์หลายชนิดรวมทั้งซาลาแมนเดอร์ สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางประเภทมีอวัยวะที่เรียกว่า vomeronasal organ ซึ่งอยู่ติดกันกับช่องปาก ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อวัยวะนี้ใช้ในการตรวจจับ pheromones หรือทำเครื่องหมายอาณาเขต เส้นทาง หรือภาวะทางเพศ ส่วนสัตว์เลื้อยคลานเช่นงูและสัตว์วงศ์เหี้ย ใช้อวัยวะนี้เป็นอวัยวะดมกลิ่น โดยส่งโมเลกุลมีกลิ่นไปที่อวัยวะด้วยปลายลิ้นที่แฉก เป็นอวัยวะที่เรียกว่า Jacobsons organ ในสัตว์เลื้อยคลาน ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นี้เป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมอย่างหนึ่งที่เรียกว่า flehman response ซึ่งปรากฏโดยม้วนหรือยกริมฝีปากด้านบนขึ้น ซึ่งส่ง pheromone ไปที่ vomeronasal organ

ในมนุษย์ อวัยวะนี้เป็นอวัยวะเหลือค้าง (vestigial - คือเหลือให้เห็น) แต่ว่า นิวรอนที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะนี้ไม่ปรากฏว่าให้ความรู้สึกอะไร ๆ กับสมอง

แมลงวันและผีเสื้อมีอวัยวะรู้รสที่เท้า ทำให้สามารถรู้รสของวัตถุสิ่งของที่มันไปจับ ส่วนปลาตระกูลปลาหนังมีอวัยวะรู้รสในทั้งร่างกาย และสามารถรู้รสของทุกอย่างที่มันสัมผัส รวมทั้งสารเคมีต่าง ๆ ในน้ำ

แมวมีความสามารถในการเห็นในที่แสงสลัว เพราะว่า กล้ามเนื้อที่อยู่รอบ ๆ ม่านตาหดและขยายรูม่านตาพร้อมกับเยื่อ tapetum lucidum ซึ่งเป็นเยื่อสะท้อนแสงที่เพิ่มระดับแสงให้กับตัวรับแสง (photoreceptor) ในเรตินา ส่วนงูในวงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง วงศ์งูเหลือม และวงศ์งูโบอา มีอวัยวะตรวจจับแสงอินฟราเรด คืองูเหล่านั้นสามารถรับรู้ความร้อนในร่างกายของเหยื่อ ส่วนเจ้าค้างคาวแวมไพร์ธรรมดาอาจจะมีอวัยวะตรวจจับแสงอินฟราเรดที่จมูก นอกจากนั้นแล้ว นกและสัตว์อื่น ๆ เป็น tetrachromat คือสัตว์ที่มีเซลล์รูปกรวย 4 ประเภท (เทียบกับ 3 ในมนุษย์) ซึ่งทำให้สามารถที่จะเห็นแสงอัลตราไวโอเลตที่มีความยาวคลื่นสั้นจนถึง 300 นาโนเมตร ส่วนผึ้งและแมลงปอ สามารถเห็นแสงในระดับอัลตราไวโอเลตเช่นเดียวกัน ส่วนเจ้ากั้งสามารถรับรู้แสงโพลาไรส์ และสามารถเห็นภาพในแสงหลายสเปกตรัม และเป็น dodecachromat คือสัตว์ที่มีเซลล์รูปกรวย 12 ประเภท

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายประเภทมี statocyst ซึ่งเป็นตัวรับความรู้สึกเกี่ยวกับความเร่งและการกำหนดทิศทาง เป็นอวัยวะที่มีการทำงานที่แตกต่างอย่างมากจาก semicircular canal (ช่องครึ่งวงกลม) ในหูของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

พืชบางชนิดเช่นพืชวงศ์ผักกาดมียีนที่สำคัญเพื่อการรับรู้ทิศทางของแรงโน้มถ่วง ถ้ายีนเหล่านี้ไม่ทำงานเนื่องจากการกลายพันธุ์ พืชนั้นจะไม่สามารถเติบโตขึ้นในแนวตั้ง

สัตว์บางชนิดรวมทั้งค้างคาวและสัตว์อันดับวาฬและโลมา มีความสามารถในการกำหนดทิศทางของวัตถุอื่น ๆ โดยแปลข้อมูลที่ได้รับจากเสียงสะท้อน (เหมือนโซนาร์) เพื่อหาเส้นทางในสิ่งแวดล้อมที่มีแสงสลัว หรือเพื่อระบุและติดตามเหยื่อ ในปัจจุบันนี้ยังมีความไม่ชัดเจนว่า นี่เป็นเพียงแค่ระบบประมวลผลหลังการรับรู้เสียงที่ได้รับการพัฒนา หรือว่านี่เป็นประสาทสัมผัสอีกทางหนึ่ง การจะตอบคำถามนี้จะต้องใช้การสร้างภาพในสมองของสัตว์ในขณะที่กำลังใช้การกำหนดตำแหน่งวัตถุโดยเสียงสะท้อน ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังทำไม่ได้ง่าย

คนตาบอดบางพวกรายงานว่า สามารถหาเส้นทาง และในบางกรณี สามารถแม้ระบุวัตถุ โดยแปลงเสียงสะท้อน (โดยเฉพาะเสียงเท้าของตน) เป็นความสามารถที่เรียกว่า human echolocation (การกำหนดตำแหน่งวัตถุโดยเสียงสะท้อนในมนุษย์)

การรับรู้สนามไฟฟ้า (electroception) เป็นความสามารถในการตรวจจับสนามไฟฟ้า เป็นความสามารถของปลาหลายสปีชีส์ ปลาฉลาม และปลากระเบน ในการรู้สึกความเปลี่ยนแปลงของสนามไฟฟ้าในที่ใกล้ ๆ สำหรับปลากระดูกอ่อน (เช่นฉลามและกระเบน) การตรวจจับเกิดขึ้นในอวัยวะเฉพาะเรียกว่า Ampullae of Lorenzini ปลาบางชนิดรู้สึกสนามไฟฟ้าที่อยู่ใกล้ ๆ ที่มีอยู่, บางพวกสร้างสนามไฟฟ้าอย่างอ่อน ๆ ของตนเองและรู้สึกรูปแบบความต่างศักย์บนผิวกายของตน, และบางพวกใช้ความสามารถในการสร้างและการตรวจจับสนามไฟฟ้าในการสื่อสารต่อกันและกัน ปลาที่สามารถรับรู้สนามไฟฟ้าสร้างแบบจำลองของปริภูมิในสมอง จากความแตกต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ของความต่างศักย์โดยเปรียบเทียบยอดสัญญาณไฟฟ้าที่ได้รับในเวลาต่าง ๆ กันในที่ต่าง ๆ ของกาย

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถตรวจจับสนามไฟฟ้าคือปลาโลมามหาสมุทร (dolphin) และสัตว์อันดับโมโนทรีมเช่นตุ่นปากเป็ด ในบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ตุ่นปากเป็ดมีประสาทสัมผัสรับรู้สนามไฟฟ้าที่ไวที่สุด

โลมามหาสมุทรสามารถตรวจจับสนามไฟฟ้าในน้ำโดยใช้ตัวตรวจจับสนามไฟฟ้าในหนวด (vibrissa) ที่มีเป็นคู่ ๆ บนจะงอยปากซึ่งมีวิวัฒนาการมาจากหนวดที่ตรวจจับความเคลื่อนไหว ตัวรับสนามไฟฟ้าเหล่านี้ สามารถตรวจจับสนามไฟฟ้าแม้อ่อนจนถึงระดับ 4.6 ไมโครโวลต์ต่อเซนติเมตร เช่นสนามไฟฟ้าที่เกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อที่กำลงหดตัวและเหงือกที่กำลังปั๊มน้ำของสัตว์ที่อาจเป็นเหยื่อ ประสาทสัมผัสนี้ทำให้โลมามหาสมุทรสามารถกำหนดตำแหน่งของเหยื่อได้ที่ก้นทะเล ซึ่งเป็นที่ที่ฝุ่นตะกอนจะจำกัดการเห็นและการกำหนดตำแหน่งวัตถุโดยเสียงสะท้อน

กลุ่มบุคคลที่ชอบประดับร่างได้ทำการทดลองใช้อุปกรณ์แม่เหล็กฝังเพื่อเลียนแบบประสาทสัมผัสแบบนี้ แต่ว่า โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ (และเชื่อว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นด้วย) สามารถตรวจจับสนามไฟฟ้าโดยอ้อมโดยกำหนดผลที่เกิดขึ้นที่ขน ตัวอย่างเช่น ลูกโป่งที่มีชารจ์ไฟฟ้าจะมีแรงกดที่ขนแขนของมนุษย์ ซึ่งสามารถรู้สึกได้ทางกายสัมผัส และสามารถระบุได้ว่ามีเหตุมาจากไฟฟ้าสถิต ไม่ได้มาจากลมหรือเหตุอื่น ๆ แต่ว่า นี่ไม่ใช่เป็นการรับรู้สนามแม่เหล็ก แต่เป็นกระบวนการรับรู้หลังระบบรับความรู้สึก

การรับรู้สนามแม่เหล็กเป็นความสามารถในการตรวจจับทิศทางอาศัยสนามแม่เหล็กโลก ความสำนึกรู้ในทิศทางอย่างนี้พบบ่อยที่สุดในนก และก็ปรากฏในแมลงเช่นผึ้งด้วย แม้ว่าจะเป็นที่ตกลงกันดีว่า ประสาทสัมผัสอย่างนี้มีอยู่ในนก เพราะเป็นประสาทสัมผัสที่สำคัญในการหาทิศทางของนกที่ย้ายถิ่น แต่ก็เป็นปรากฏการณ์ที่ยังไม่มีความเข้าใจที่ดี งานวิจัยหนึ่งพบว่า ปศุสัตว์มีการรับรู้สนามแม่เหล็กด้วย เพราะมักจะทำแนวกายของตนไปในแนวเหนือใต้ แบคทีเรียประเภท Magnetotactic สร้างแม่เหล็กเล็ก ๆ ในตนแล้วใช้แม่เหล็กในการกำหนดแนวทิศทางของตนเปรียบเทียบกับสนามแม่เหล็กโลก คำถามว่า การรับรู้สนามแม่เหล็กอาจจะเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างไรเป็นประเด็นในงานวิจัยประเด็นหนึ่ง

พืชบางชนิดมีอวัยวะรับความรู้สึก เช่นในพืชกาบหอยแครง ที่ตอบสนองต่อความสั่นสะเทือน แสงสว่าง ของเหลว กลิ่น หรือสารเคมีบางประเภท พืชบางชนิดสามารถรับรู้ตำแหน่งของพืชอื่น ๆ แล้วโจมตีและกินส่วนของพืชนั้น แต่ว่า พืชไม่มีตัวรับความเจ็บปวดที่เดินทางผ่านเซลล์ประสาทไป และไม่มีการรับรู้แบบถ่ายโอนสนามไฟฟ้าไปเป็นพลังประสาท (คือตัวรับรู้สนามไฟฟ้า) ดังที่ได้รับการยืนยันแล้วในการทดลองหลายอย่าง

ในยุคของนายวิลเลียม เชกสเปียร์ (กวีเอกชาวอังกฤษ ค.ศ. 1564-1616) เชื่อกันโดยทั่วไปว่ามีประสาทสัมผัส 5 ทาง ความคิดเกี่ยวประสาทสัมผัส 5 ทางที่สืบต่อกันมานี้ ก็ยังเป็นสิ่งที่ยอมรับโดยทั่วไปในทุกวันนี้

ประสาทสัมผัส 5 อย่างนี้เรียกว่า อินทรีย์ 5 ในพระพุทธศาสนา ปรากฏในคัมภีร์อุปนิษัทของพวกพราหมณ์ (ยุคก่อนและหลังพุทธกาล) โดยรถม้ามีม้า 5 ตัว เป็นอุปมาของกาย และโดยคนขับเป็นอุปมาของใจ

การแสดงประสาทสัมผัสที่สืบกันมาโดยอุปมา เป็นตีมที่นิยมสำหรับนักจิตรกรรมชาวยุโรปในคริสต์วรรษที่ 17 โดยเฉพาะของชาวเนเธอร์แลนด์ (จิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์) และชาวฟลามส์ (จิตรกรรมยุคบาโรกของเฟล็มมิช) ตัวอย่างก็คือจิตรกรรม "อุปมานิทัศน์ของประสาทสัมผัสทั้ง 5 (Allegory of the Five Senses)" (ค.ศ. 1668) ของ G?rard de Lairesse ซึ่งบุคคลแต่ละคนเป็นตัวแทนของประสาทสัมผัสแต่ละทาง การเห็นก็คือเด็กชายที่นอนอยู่กับกระจกนูน การได้ยินก็คือเด็กคล้ายคิวปิดถือเครื่องดนตรีประเภทเคาะเป็นสามเหลี่ยม การได้กลิ่นเป็นเด็กหญิงถือดอกไม้ การลิ้มรสเป็นหญิงถือผลไม้ และการสัมผัสเป็นหญิงกับนก

มีคัมภีร์ไวยากรณ์ภาษาของคนทมิฬชื่อว่า Tolkappiyam ที่เชื่อกันว่า เป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของโลกที่แสดงประสาทสัมผัส 6 ทางที่มีความสืบต่อกับอวัยวะภายนอก คือ มีบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า "สัตว์ที่มีประสาทสัมผัสเดียวเป็นสัตว์ที่มีประสาทสัมผัสเกี่ยวกับสัมผัส สำหรับสัตว์ที่มีประสาทสัมผัส 2 ทาง เป็นสัตว์ที่มีประสาทสัมผัสเกี่ยวกับรสเพิ่มขึ้นอีก สำหรับสัตว์ที่มีประสาทสัมผัส 3 ทาง มีประสาทสัมผัสเกี่ยวกับกลิ่นเพิ่มขึ้นอีก สำหรับสัตว์ที่มีประสาทสัมผัส 4 ทาง มีประสาทสัมผัสเกี่ยวกับการเห็นเพิ่มขึ้นอีก สำหรับสัตว์ที่มีประสาทสัมผัส 5 ทาง มีประสาทสัมผัสเกี่ยวกับการได้ยินเพิ่มขึ้นอีก สำหรับสัตว์ที่มีประสาทสัมผัส 6 ทาง มีประสาทสัมผัสเกี่ยวกับใจเพิ่มขึ้นอีก"


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406