ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ประวัติศาสตร์เบลารุส

ประวัติศาสตร์เบลารุสเริ่มจากการตั้งถิ่นฐานของชาวสลาฟ เกิดเป็นราชอาณาจักร ภายหลังสวามิภักดิ์ต่อราชอาณาจักรเคียฟ ต่อมาถูกลิธัวเนียยึดครอง เมื่อประกาศเอกราชได้ไม่นานก็ถูกสหภาพโซเวียตเข้ายึดครองอีก ได้เป็นเอกราชอีกครั้งเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายไป

ดินแดนที่เป็นประเทศเบลารุสในปัจจุบันมีผู้คนอยู่อาศัยตั้งแต่ยุคหินเก่า ชาวสลาเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเบลารุสตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 11 และจัดตั้งราชอาณาจักรโปตอตสด์เมื่อราว พ.ศ. 1405 และได้สวามิภักดิ์ต่อราชอาณาจักรเคียฟเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 15 และได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์และรับอิทธิพลศิลปวัฒนธรรมจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ หลังจากราชอาณาจักรเคียฟล่มสลายเมื่อ พ.ศ. 1783 เบลารุสจึงถูกลิทัวเนียปกครองเป็นเวลา 400 ปี

ช่วงที่อยู่ภายใต้การปกครองของลิธัวเนีย ลิธัวนียรับอิทธิพลทางด้านศิลปวัฒนธรรมจากเบลารุสไปมาก รวมทั้งการนับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ จนกระทั่งซาร์อีวานที่ 4 แห่งราชอาณาจักรมอสโกวีขยายอำนาจเข้าไปในยุโรปตะวันออก ลิทัวเนียหันไปสร้างความสัมพันธ์กับโปแลนด์ และหันไปนับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนำไปสู่การจัดตั้งเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียใน พ.ศ. 2112 อย่างไรก็ตาม ภายหลังโปแลนด์ได้แผ่อิทธิพลเข้าครอบงำเบลารุสด้วย แต่เบลารุสต่อต้านและแยกตัวออกมาเป็นอิสระ จนพุทธศตวรรษที่ 23 โปแลนด์จึงขยายอำนาจเข้าครอบครองเบลารุสสำเร็จ บังคับให้เลิกใช้ภาษาเบลารุสและสั่งปิดศาสนสถานของนิกายออร์ทอดอกซ์

เมื่อโปแลนด์เสื่อมอำนาจลงและถูกปรัสเซีย ออสเตรียและรัสเซียเข้ามาแบ่งแยกดินแดน 3 ครั้ง ใน พ.ศ. 2315 2336 และ2338 เบลารุสถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย รัสเซียได้ดำเนินนโยบายเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นรัสเซีย ในพ.ศ. 2382 บังคับให้ศาสนจักรของเบลารุสรวมเข้ากับศาสนจักรของรัสเซีย และห้ามใช้ภาษาเบลารุสในช่วง พ.ศ. 2402 - 2449 จนนำไปสู่การเคลื่อนไหวต่อต้านรัสเซียของกลุ่มชาวนาเมื่อ พ.ศ. 2406 - 2407 แต่ถูกปราบปรามจนราบคาบ ผลที่ตามมาจากเหตุการณ์นี้คือการก่อตั้งองค์กรลับของปัญยาชนชาวเบลารุสเพื่อต่อต้านรัสเซีย

เมื่อเกิดการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์โรมานอฟในรัสเซีย กลุ่มผู้รักชาติชาวเบลารุสประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนไบโลรัสเซียเมื่อ พ.ศ. 2459 แต่เมื่อพรรคบอลเชวิกขึ้นมามีอำนาจใน พ.ศ. 2460 ได้ส่งกองทัพแดงเข้ายึดครองเบลารุส เมื่อรัสเซียถอนตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2460 ดินแดนเบลารุสส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การยึดครองของเยอรมัน ดังนั้นเมื่อเยอรมันแพ้สงคราม เบลารุสจึงประกาศเอกราชเมื่อ 25 มีนาคม พ.ศ. 2460 แต่ต่อมาก็ถูกสหภาพโซเวียตยึดครอง เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2461 เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐในสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต ในอีก 1 เดือนต่อมา เบลารุสรวมกับลิทัวเนียเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย-เบโลรัสเซีย

ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2462 เกิดสงครามระหว่างรัสเซียกับโปแลนด์ โปแลนด์บุกเข้ายึดครองทั้งลิทัวเนียและเบลารุส กองทัพแดงของโซเวียตยึดกรุงมินส์ เมืองหลวงของเบลารุสคืนได้ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2463 ทำให้ลิทัวเนียประกาศแยกตัวเป็นเอกราช และมีการลงนามในสนธิสัญญาแห่งริการะหว่างรัสเซียกับโปแลนด์เมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2463 โดยเบลารุสตะวันตกเป็นของโปแลนด์ เบลารุสตะวันออกเป็นของรัสเซีย

ต่อมา เบโลรัสเซีย ยูเครน สหพันธรัฐรัสเซีย สาธารณรัฐทรานส์คอเคเซียรวมกันจัดตั้งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเมื่อ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2465 ต่อมาสหภาพโซเวียตคืนอำนาจการปกครองเบลารุสตะวันออกให้แก่สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบโลรัสเซียใน พ.ศ. 2469 ระหว่าง พ.ศ. 2464 - 2471 โซเวียตส่งเสริมเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีและให้เสรีภาพทางวัฒนธรรมแก่เบลารุส ภาษาเบลารุสกลายเป็นภาษาสำคัญทางการศึกษาจนถึงสมัยของโจเซฟ สตาลินจึงใช้นโยบายการรวมอำนาจการผลิตแบบนารวม ทำให้ชาวเบลารุสก่อการจลาจลอย่างต่อเนื่อง โซเวียตปราบปรามการจลาจลอย่างรุนแรง ทำให้ชาวเบลารุสรักชาติและปัญญาชนถูกฆ่าตายมากในช่วง พ.ศ. 2429 - 2482

ในสงครามโลกครั้งที่สอง สหภาพโซเวียตลงนามเป็นพันธมิตรกับเยอรมันในกติกาสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างนาซ๊-โซเวียตเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2482 จากกติกาสัญญานี้ โซเวียตเข้ายึดครองเบลารุสตะวันตกของโปแลนด์และดินแดนรัฐบอลติกทั้งสาม ต่อมา เยอรมันได้ละเมิดข้อตกลงนี้ บุกเข้าโจมตีมอสโกผ่านทางเบลารุสเมื่อ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2484 เบลารุสถูกโจมตีเสียหายอย่างหนักและมีองค์กรใต้ดินต่อต้านนาซีเกิดขึ้นทั่วไป จน พ.ศ. 2487 โซเวียตจึงปลดปล่อยเบลารุสจากการยึดครองของเยอรมันสำเร็จ

ในการประชุมยัลตาเมื่อ 4-11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 สหรัฐและอังกฤษยอมรับแนวพรมแดนเดอร์เซินซึ่งเป็นเส้นแบ่งแดนของโปแลนด์และโซเวียตทำให้เบลารุสตะวันตกถูกรวมเข้ากับเบลารุสตะวันออกของโซเวียตอย่างเป็นทางการ นอกจากนั้น เบลารุสยังได้เป็นหนึ่งใน 51 ประเทศที่ร่วมก่อตั้งสหประชาชาติเมื่อ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ด้วย

หลังสงคราม เบลารุสมีการฟื้นฟูประเทศโดยเน้นที่อุตสาหกรรมหนัก มีชาวรัสเซียเข้าไปตั้งรกรากมากจนเกิดความขัดแย้งทางด้านวัฒนธรรม ต่อมาภาษาเบลารุสถูกห้ามใช้ ให้ใช้ภาษารัสเซีนเป็นภาษาราชการแทน จนกระทั่งมิคาอิล กอร์บาชอฟเริ่มนโยบายกลาสนอสต์-เปเรสตรอยกา ปัญญาชนชาวเบลารุสเริ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องให้พรรคคอมมิวนิสต์เบลารุสปฏิรูปประเทศและรณรงค์ให้ใช้ภาษาเบลารุสอีกครั้ง กลุ่มปัญญาชนได้จัดตั้งแนวร่วมประชาชนเบโลรัสเซียและผลักดันให้รัฐบาลออกกฎหมายประกาศให้ภาษาเบลารุสเป็นภาษาประจำชาติสำเร็จเมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2533

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2534 เบลารุสสนับสนุนร่างสนธิสัญญาร่วมสหภาพใหม่ของกอร์บาชอฟ ในขณะที่กลุ่มอนุรักษนิยมที่ไม่เห็นด้วยก่อรัฐประหารในโซเวียตแต่ไม่สำเร็จ ผลจากเหตุการณ์นี้ รัฐสภาสูงสุดของเบลารุสประกาศเอกราชเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2534 และสั่งควบคุมพรรคคอมมิวนิสต์ ต่อมาจึงประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐเบลารุสเมื่อ 19 กันยายน

เบลารุส รัสเซียและยูเครนได้จัดประชุมร่วมกันและลงนามจัดตั้งกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช ต่อมากลุ่มผู้นำสาธารณรัฐโซเวียต 11 ประเทศ ประชุมร่วมกันที่คาซัคสถานเมื่อ 21 ธันวาคม และประกาศข้อตกลงร่วมกันในการจัดตั้งเครือรัฐเอกราช ทำให้กอร์บาชอฟลาออกเมื่อ 25 ธันวาคม และนำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

หลังได้รับเอกราช เบลารุสได้ดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับนานาประเทศโดยเฉพาะรัสเซีย มีการลงนามความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับรัสเซีย ความใกล้ชิดกับรัสเซียมากขึ้นเมื่อ อัลยัคซันเดียร์ ลูคาเชนโคขึ้นเป็นประธานาธิบดีเมื่อ พ.ศ. 2537 ลูคาเชนโคใช้เส้นทางประชาธิปไตยในการรวบอำนาจ สั่งปิดหนังสือพิมพ์ที่ต่อต้าน และใช้กำลังตำรวจทำร้ายสมาชิกรัฐสภาฝ่ายตรงข้าม ลูคาเชนโคได้ให้มีการลงประชามติเพื่อให้ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการ ใช้ธงชาติเดิมแทนธงชาติใหม่ และเพิ่มอำนาจของประธานาธิบดีให้มากขึ้น

อย่างไรก็ตามประเทศตะวันตกต่อต้านการปกครองของลูคาเชนโคและปฏิเสธการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของเบลารุส ใน พ.ศ. 2547 สภาแห่งยุโรปโจมตีเบลารุสในการที่รัฐบาลขัดขวางการไต่สวนสืบคดีการหายสาบสูญของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล รัฐบาลสหรัฐได้ขึ้นบัญชีดำเบลารุสว่ามีการปกครองแบบเผด็จการในเวลาต่อมา การถูกปฏิเสธจากประเทศตะวันตกยิ่งทำให้เบลารุสดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับรัสเซียมากขึ้น


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301