ประวัติศาสตร์อินเดีย อารยธรรมอินเดีย อารยธรรมอินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองและมีอายุเก่าแก่ไม่แพ้อารยธรรมแหล่งอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (ประมาณ 2,500-1,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) ถือว่าเป็นสมัยอารยธรรม “กึ่งก่อนประวัติศาสตร์” เพราะมีการค้นพบหลักฐานจารึกเป็นตัวอักษรโบราณแล้วแต่ยังไม่มีผู้ใดอ่านออก และไม่แน่ใจว่าเป็นตัวอักษรหรือภาษาเขียนจริงหรือไม่ ศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่เมืองโมเฮนโจ – ดาโร และเมืองฮารัปปา ริมฝั่งแม่น้ำสินธุประเทศปากีสถานในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าเป็นอารยธรรมของชนพื้นเมืองเดิม ที่เรียกว่า “ทราวิฑ” หรือพวกดราวิเดียน (Dravidian)
2. สมัยพระเวท (ประมาณ 1,500-600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นอารยธรรมของชนเผ่าอินโด-อารยัน (Indo-Aryan) ซึ่ง อพยพมาจากเอเชียกลาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุและคงคาโดยขับไล่ชนพื้น เมืองทราวิฑให้ถอยร่นลงไปทางตอนใต้ของอินเดีย สมัยพระเวทแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ หลักฐานที่ทำให้ทราบเรื่องราวของยุคสมัยนี้ คือ “คัมภีร์พระเวท” ซึ่งเป็นบทสวดของพวกพราหมณ์ นอกจากนี้ยังมีบทประพันธ์มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่อีก 2 เรื่อง คือ มหากาพย์รามายณะและมหาภารตะ บางทีจึงเรียกว่าเป็นยุคมหากาพย์
3. สมัยพุทธกาล หรือสมัยก่อนราชวงศ์เมารยะ (Maurya) ประมาณ 600-300 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นช่วงที่อินเดียถือกำเนิดศาสนาที่สำคัญ 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธและศาสนาเชน
4. สมัยจักรวรรดิเมารยะ (Maurya) ประมาณ 321-184 ปี ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าจันทรคุปต์ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์เมารยะได้รวบรวมแว่นแคว้นในดินแดนชมพู ทวีปให้เป็นปึกแผ่นภายใต้จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรกของอินเดีย
สมัยราชวงศ์เมารยะ พระพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์ให้เจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (Asoka) ได้ เผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนทั้งใกล้และไกล รวมทั้งดินแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเผยแพร่เข้าสู่แผ่นดินไทยในยุคสมัยที่ยังเป็นอาณาจักรทวารวดี
5. สมัยราชวงศ์กุษาณะ (ประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ.320 ) พวกกุษาณะ (Kushana)เป็น ชนต่างชาติที่เข้ามารุกรานและตั้งอาณาจักรปกครองอินเดียทางตอนเหนือ กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้ากนิษกะ รัชสมัยของพระองค์อินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวิทยาการแขนงต่างๆ โดยเฉพาะด้านการแพทย์ นอก จากนั้น ยังทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา (นิกายมหายาน) ให้เจริญรุ่งเรือง โดยจัดส่งสมณทูตไปเผยแพร่พระศาสนายังจีนและทิเบต มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีศิลปะงดงาม และสร้างเจดีย์ใหญ่ที่เมืองเปชะวาร์
6. สมัยจักรวรรดิคุปตะ (Gupta) ประมาณ ค.ศ.320-550 พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 ต้นราชวงศ์คุปตะได้ทรงรวบรวมอินเดียให้เป็นจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอินเดีย มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การเมือง การปกครอง ปรัชญาและศาสนา ตลอดจนการค้าขายกับต่างประเทศ
7. สมัยหลังราชวงศ์คุปตะ หรือยุคกลางของอินเดีย (ค.ศ.550 – 1206) เป็นยุคที่จักรวรรดิแตกแยกเป็นแคว้นหรืออาณาจักรจำนวนมาก ต่างมีราชวงศ์แยกปกครองกันเอง
8. สมัยสุลต่านแห่งเดลฮี หรืออาณาจักรเดลฮี (ค.ศ. 1206-1526) เป็นยุคที่พวกมุสลิมเข้ามาปกครองอินเดีย มีสุลต่านเป็นผู้ปกครองที่เมืองเดลฮี
9. สมัยจักรวรรดิโมกุล (Mughul) ประมาณ ค.ศ. 1526 – 1858 พระเจ้าบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุลได้รวบรวมอินเดียให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นจักรวรรดิอิสลามและเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย โดยอินเดียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี ค.ศ. 1858กษัตริย์ราชวงศ์โมกุลที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้าอักบาร์มหาราช (Akbar) ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน และในสมัยของชาห์ เจฮัน (Shah Jahan) ทรงสร้าง “ทัชมาฮัล” (Taj Mahal) ซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรัก เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานศิลปะอินเดียและเปอร์เซียที่มีความงดงามยิ่ง
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเป็นอารยธรรมโลหะอารยธรรมแรกของอินเดีย เป็นอารยธรรมสำริด รุ่งเรืองเมื่อประมาณ 2600 ปีถึง 1900 ปีก่อนค.ศ. มีการขุดค้นพบแหล่งอารยธรรมสินธุขนาดใหญ่ที่สำคัญที่เมืองฮารัปปา และโมเฮน-โจดาโร อารยธรรมสินธุมีการสร้างบ้านด้วยอิฐ มีระบบผังเมืองและชลประทานที่ก้าวหน้า
สาเหตุที่อารยธรรมสินธุจบสิ้นลงมีหลายข้อสันนิษฐาน ข้อสันนิษฐานแรกคือถูกชาวอารยันรุกราน โดยชาวอารยันนั้นด้อยวัฒนธรรมกว่าจึงทำให้อารยธรรมสินธุเสื่อมลง
ประมาณ 2000 ถึง 1500 ปีก่อนค.ศ. ชาวอินโด-อารยันจากเอเชียกลางอพยพเข้ามาในอินเดีย และพบกับอารยธรรมสินธุ ทั้งสองอารยธรรมผสมผสานรวมกันเป็นอารยธรรมพระเวท เป็นอารยธรรมเหล็ก หลักฐานที่สำคัญที่สุดของอารยธรรมนี้คือพระเวท เป็นวรรณกรรมทางศาสนาในภาษาสันสฤต อันเป็นที่มาของชื่อสมัยนี้
ช่วงแรกของสมัยพระเวท เรียกว่า สมัยฤคเวท เป็นสมัยที่ชาวอารยันเข้ามาในอินเดียใหม่ๆ เป็นชนเผ่าเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ คัมภีร์ฤคเวทเป็นพระเวทที่เก่าแก่ที่สุด ต่อมีจึงปรากฏมียชุรเวท สามเวท และอาถรรพเวท มีการเปลี่ยนแปลงทางภาษาหลายครั้ง ตามมาด้วยคัมภีร์เสริมอื่นๆ ได้แก่ สามหิตา อรัญญิก อุปนิษัท และพราหมณ์
มหากาพย์ทั้งหลาย ได้แก่ รามายณะและมหาภารตะ ถือกำเนิดในช่วงประมาณพุทธกาล ตอนปลายสมัยพระเวท ชาวอารยันในอินเดียอยู่กันเป็นเผ่า เลี่ยงสัตว์เร่ร่อนแต่ต่อมาเริ่มรู้จักเพาะปลูกตั้งรกราก มี การค้าขายทำให้บางเผ่ารวบรวมตั้งตนเป็นอาณาจักรใหญ่ได้ และเริ่มมีระบบวรรณะ ชัดเจน
ปลายสมัยพระเวทประมาณ 600 ปีก่อนค.ศ. ชาวอารยันในอินเดียสามารถรวมตัวเป็นอาณาจักรเล็กๆประมาณ 16 อาณาจักรได้ แต่ละอาณาจักรเรียกว่า มหาชนบท ตามลุ่มแม่น้ำคงคา-สินธุ ชุมชนเมืองเติบโตอีกครั้งหลังจากการล่มสลายของอารยธรรมสินธุ ทั้ง 16 มหาชนบทมีการปกครองที่แตกต่างกัน บางอาณาจักรปกครองโดยกษัตริย์ บางอาณาจักรปกครองโดยสภาเมือง เป็นสาธารณรัฐ
ภาษาที่ใช้ของชาวอารยันในหมู่ชนชั้นสูงคือภาษาสันสกฤต ขณะที่ชาวบ้านทั่วไปใช้ภาษาบาลี กำเนิดศาสนาสองศาสนา คือ พระพุทธศาสนา โดยเจ้าชายสิทธัตถะ โคตมะ และศาสนาเชน โดยมหาวีระ ทั้งสองศาสนาเน้นเรื่องการละความสุขทางโลก และสอนเป็นภาษาบาลี จึงเข้าถึงผู้คนได้มาก
พ.ศ. 23 พระเจ้าดาริอุสแห่งเปอร์เซียแผ่อิทธิพลเข้ามาในปัญจาบและคันธาระ และใน พ.ศ. 209 พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเข้าบุกอินเดียและเอาชนะพระเจ้าปุรุแห่งแคว้นเปารพที่แม่น้ำไฮดาสพ์ (Hydaspes) พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ตั้งข้าหลวง (Satrap) ปกครองแคว้นต่างๆ รวมถึงอินเดีย แคว้นคันธาระจึงกลายเป็นเบ้าหลอมทางวัฒนธรรมระหว่างกรีกและอินเดีย ทำให้เกิดอารยธรรมอินเดีย-กรีก และศิลปะพระพุทธศาสนาแบบกรีก เกิดพระพุทธรูปเป็นครั้งแรกและส่งอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการทางศิลปะของพระพุทธศาสนา
ประมาณพ.ศ. 200 แคว้นมคธภายใต้ราชวงศ์นันทาแผ่อิทธิพลไปทั่วอินเดียเหนือกลืนกินมหาชนบททั้งหลายจนหมดแล้ว แต่ในพ.ศ. 223 โกติลยะ จนักขยะ ปราชญ์คนหนึ่งได้ขอเข้ารับราชการกับทางแคว้นมคธ แต่พระเจ้าธนาแห่งนันทาทรงปฏิเสธ ทำให้โกติลยะแค้นจึงยุยงเจ้าชายจันทรคุปต์ โมริยะ เข้ายึดบัลลังก์จากราชวงศ์นันทา ตั้งราชวงศ์โมริยะ พระเจ้าจันทรคุปต์ทรงขับพวกกรีกออกจากปัญจาบและคันธาระ และได้ดินแดนจากเปอร์เซียมาบางส่วน และบุกลงไปทางใต้ ยึดได้อินเดียเกือบทั้งทวีป ยกเว้นกลิงครัฐ
ต่อมาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงมุ่งมั่นมากที่จะยึดกลิงครัฐ ประมาณพ.ศ. 270 จึงทรงทำสงครามอย่างหนักทำให้ชาวแคว้นกลิงครัฐตายเป็นเบือ พระเจ้าอโศกทรงสำนึกและหันเข้าหาพระพุทธศาสนาเพื่อชดเชยบาปที่ทรงเคยก่อ หลักฐานที่สำคัญในสมัยพระเจ้าอโศกคือเสาต่างที่พระเจ้าอโศกทรงให้สลักพระราชโองการลงไป เรียกว่า เสาพระเจ้าอโศก ซึ่งกระจายทั่วอินเดีย พระเจ้าอโศกทรงส่งสมณทูตออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามดินแดนต่างๆ เป็นการแพร่กระจายพระพุทธศาสนาไปยังดินแดนอื่น
ประมาณพ.ศ. 300 อิทธิพลของราชวงศ์โมริยะในอินเดียใต้เสื่อมลง ทำให้อาณาจักรต่างๆตั้งตนเป็นอิสระอีกครั้ง ราชวงศ์คันธาระ ตั้งประเทศขึ้นในอินเดียกลางใน ราชวงศ์โจฬะ และราชวงศ์ปัณฑยะ
ส่วนราชวงศ์โมริยะเองก็ถูกโค่นไปในพ.ศ. 358 โดยราชวงศ์สังกะ อำนาจของแคว้นมคธอ่อนแอลง พระเจ้าเดเมตริอุสที่ 1 แห่งแบคเทรีย เป็นพันธมิตรกับราชวงศ์โมริยะจึงนำทัพเข้าบุกอินเดีย ตั้งอาณาจักรกรีกขึ้นในแคว้นปัญจาบ ต่อมาพระเจ้าเมนันเดอร์ (พระเจ้ามิลินท์) สามารถยกทัพบุกปาฏลีบุตร เมืองหลวงของแคว้นมคธได้ อาณาจักรกรีก-อินเดียรุ่งเรืองภายใต้พระเจ้าเมนันเดอร์ ศิลปะแบบกรีผสมผสานกับพระพุทธศาสนากลายเป็นพระพุทธรูปองค์แรก
ในทางกลับกัน ราชวงศ์สังกะกลับกดขี่พระพุทธศาสนา ทำให้ชาวพุทธจำนวนมากหนีไปอยู่ที่อาณาจักรกรีก-อินเดีย ประมาณพ.ศ. 400 ราชวงศ์คันธาระบุกปาฏลีบุตร และยึดมัธยประเทศได้ ราชวงศสังกะจึงถูกราชวงศ์คันวะ ล้มในพ.ศ. 468 ราชวงศ์คันวะอยู่ได้ไม่นาน ก็ถูกล้มโดยราชวงศ์คันธาระในพ.ศ. 517
ประมาณพ.ศ. 500 พวกซิเทียน (Scythians) จากเอเชียกลางบุกเข้าอินเดีย ทำลายอาณาจักรกรีก-อินเดีย และยึดลุ่มแม่น้ำคงคาได้ ชาวอินเดียเรียกว่าซิเทียนว่าพวกสักกะ (Sakas) จนพวกสักกะตั้งอาณาจักรย่อยมากมายเรียกว่ากษัตริย์ตะวันตก (Western Kshatrapas หรือ Western Satraps) ทางตะวันตกของราชวงศ์คันธาระในแคว้นมัลละ
ราชวงศ์คันธาระถูกพวกสักกะรุกรานอย่างหนัก จนพระเจ้าโคตรมีบุตร สัตตการณ์ แห่งคันธาระ เอาชนะพวกสักกะได้ในพ.ศ. 621 แต่ต่อมาพ.ศ. พระเจ้ารุทราดามันของพวกสักกะก็เข้าถล่มราชวงศ์คันธาระจนย่อยยับ ประมาณพ.ศ. 700 อำนาจของราชวงศ์คันธาระเสื่อมลง อาณาจักรต่างๆแยกตัวออกไป
พวกเย่จื่อ (Yuezhi) เป็นชนเผ่าทางตะวันตกของจีน เร่ร่อนอ้อมเทือกเขาหิมาลัยจนมาถึงอินเดียประมาณพ.ศ. 600 กุจุฬา กุษาณะ รวบรวมเผ่าเย่จื่อ หรือพวกกุษาณะ ขึ้นเป็นอาณาจักร พวกกุษาณะพบกับชาวกรีก-อินเดีย จึงรับอารยธรรมกรีกและพระพุทธศาสนา ราชวงศ์กุษาณะเรืองอำนาจสมัยพระเจ้ากนิษกะ พ.ศ. 670 แผ่อิทธิพลไปทั่วทั้งลุ่มแม่น้ำคงคา ขับพวกสักกะลงไปทางใต้
แต่พ.ศ. 783 ราชวงศ์ซาสสานิด (Sassanid dynasty) จากเปอร์เซียเข้าบุกยึดอินเดียและขับพวกกุษาณออกไปทางเหนือ พระเจ้าชาร์ปูร์แห่งเปอร์เซียตั้งข้าหลวงปกครองอินเดีย เรียกว่า กุชานชาห์ (Kushanshah) แปลว่า เจ้าแห่งกุษาณ
เมื่อไม่มีพวกกุษาณะเป็นโอกาสให้แคว้นมคธเรืองอำนาจอีกครั้งภายใต้พวกลิจฉวี ในพ.ศ. 863 จันทรคุปต์ แต่งงานกับลูกสาวพวกลิจฉวี จึงได้ครองแคว้นมคธภายใต้ราชวงศ์คุปตะ พระโอรสคือพระเจ้าสมุทรคุปต์ แผ่ขยายอิทธิพลคุปตะไปทางใต้แทนที่ราชวงศ์คันธาระ ประมาณพ.ศ. 900 ราชวงศ์คุปตะก็ได้อินเดียไปครึ่งทวีป และพ.ศ. 952 พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 ปราบพวกสักกะในแคว้นมัลละได้หมด
สมัยคุปตะเป็นสมัยที่ศิลปวัฒนธรรมอินเดียรุ่งเรือง เป็นยุคทองของศาสนาฮินดูและพุทธ คัมภีร์ปุราณะก็ถือกำเนิดในสมัยนี้ แต่ราชวงศ์คุปตะก็เสื่อมลง ด้วยการรุกรานจากพวกหุนะ หรือ พวกฮั่น (Huns) หรือ เฮฟทาไลท์ (Hephthalites) จากเอเชียกลาง พวกหุนะบุกทะลุทะลวงเข้ามายึดได้ตั้งแต่เทือกเขาฮินดูกูชถืงแคว้นมัลละ ราชวงศ์คุปตะอ่อนแอลงและแตกออกเป็นอาณาจักรย่อยๆ ขณะที่ราชวงศ์คุปตะยังคงครองแคว้นมคธอยู่แต่สูญเสียการควบคุมอาณาจักรอื่น
ส่วนทางใต้ในพ.ศ. 888 ราชวงศ์คาดัมบา (Kadamba dynasty) เป็นราชวงศ์คันนาดา เป็นพวกฑราวิท ตั้งตนขึ้นมามีอำนาจแทนราชวงศ์คันธาระเดิมและต้านทานอินธิพลของราชวงศ์คุปตะได้ นอกจากพวกทมิฬแล้วราชวงศ์คาดัมบาเป็นราชวงศ์ดราวิเดียนราชวงศ์แรกที่ได้ปกครองตนเอง ขณะที่พวกทมิฬก็สูญเสียเอกราขให้แก่ราชวงศ์กัลพร์ (Kalabhras)
มุสลิมเชื้อสายเติร์ก(เอเชียกลาง) ได้ขยายอำนาจเข้ามาปกครองลุ่มแม่น้ำสินธุ ตั้งราชวงศ์ปกครองอินเดีย ให้เมืองเดลีเป็นเมืองหลวง การเผยแผ่ศาสนาของเติร์ก มุ่งใช้วิธีปราบปรามและบีบบังคับ และมีการเก็บภาษีจิซซา (jizya) จากประชาชนที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามในอัตราที่สูง
ผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้มีการหาทางออกจากผู้ที่เลื่อมใสในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ซึ่งได้ประยุกหลักของศาสนาให้เข้ากับศาสนาอิสลาม และเกิดศาสนาใหม่ขึ้น คือศาสนาสิข
จนกระทั่งพวกมุคัลได้ล้มอำนาจสุลต่านแห่งเดลี และสถาปนาราชวงศ์ใหม่ คือราชวงศ์มุคัล แต่กระนั้นก็มีการก่อกบฏอยู่หลายครั้ง จนกระทั่งการเข้ามาของจักวรรดิอังกฤษในยุคล่าอาณานิคม ราชวงศ์มุคลแพ้สงครามกับอังกฤษหลายครั้ง จนกระทั่งตกเป็นรัฐอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 1858