ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ประวัติศาสตร์อัฟกานิสถาน

ประวัติศาสตร์อัฟกานิสถาน เป็นประวัติศาสตร์ของประเทศอัฟกานิสถาน ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณรอยต่อระหว่างเอเชียกลาง เอเชียตะวันตก และเอเชียใต้ ทำให้ในประวัติศาสตร์ของอัฟกานิสถานเกี่ยวข้องกับกรอพยพของผุ้คนกลุ่มต่างๆ เข้ามาในบริเวณนี้ ชนกลุ่มใหญ่ในอัฟกานิสถานเป็นชนเชื้อสายอิหร่านที่พูดภาษากลุ่มอิหร่าน เช่น ภาษาพาซตู ภาษาดารีเปอร์เซีย อิทธิพลของชาวอาหรับที่เข้ามาพร้อมกับศาสนาอิสลามมีผลต่ออัฟกานิสถานยุคใหม่ นอกจากนั้น อัฟกานิสถานในยุคโบราณยังได้รลอิทธิพลจากกรีซ เอเชียกลาง ชาวปะกัน ชาวพุทธในอินเดีย และชาวฮินดู รวมทั้งผู้นับถือศาสนาโซโรแอสเตอร์ที่เข้ามาในบริเวณนี้

หลังจากสิ้นสุดยุคจักรวรรดิ อัฟกานิสถานปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ตั้งแต่ พ.ศ. 2290 – 2516 ในพุทธศตวรรษที่ 24 อัฟกานิสถานพบกับความยุ่งยากที่เกิดขึ้นจากการแผ่อำนาจของจักรวรรดินิยมอังกฤษและรัสเซีย ในด้านสังคมถือว่าศาสนาอิสลามฝังรากอย่างมั่นคงในอัฟกานิสถาน การรุกรานของมองโกลนำโดยเจงกีสข่านไม่อาจเปลี่ยนแปลงศรัทธาของชาวอัฟกันได้ ในที่สุดชาวมองโกลส่วนใหญ่กลายเป็นมุสลิมไปด้วย

ประวัติศาสตร์อัฟกานิสถานก่อนศาสนาอิสลามเริ่มด้วยการเข้ามาของชาวอารยันเมื่อ 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช ตามมาด้วยชาวเปอร์เซีย ชาวเมเดีย ชาวกรีก ชาวเมารยะและชาวแบกเทรีย ราชวงศ์เมารยะในอินเดียแผ่อำนาจเข้าควบคุมอัฟกานิสถานตอนใต้รวมทั้งกรุงคาบูลและกันดะฮาร์ ราชวงศ์นี้ปกครองอยู่ได้ 100 – 120 ปี มีการเผยแพร่ศาสนาพุทธเข้ามาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

ในสมัยราชวงศ์กุษาณ อัฟกานิสถานเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมและการศึกษา หลังจากนั้นจึงเข้าสู่ยุคที่อยู่ใต้อิทธิพลของเปอร์เซีย จนกระทั่งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชปราบจักรวรรดิเปอร์เซียลงได้เมื่อ พ.ศ. 872 พระองค์ได้ยกทัพมาถึงดินแดนที่เป็นประเทศอัฟกานิสถานปัจจุบันเพื่อเข้าตีแบกเทรีย และยังรวมอยู่กับเปอร์เซียจนถึงช่วงการรุกรานของชาวเติร์กเมื่อพุทธศตวรรษที่ 15

ชาวอาหรับแผ่อิทธิพลมาถึงประเทศอัฟกานิสถานพร้อมกับนำศาสนาอิสลามเข้ามาตั้งแต่ พ.ศ. 1185 ก่อนหน้านั้นดินแดนอัฟกานิสถานอยู่ภายใต้อิทธิพลของราชวงศ์ถัง อิทธิพลอาหรับ-เปอร์เซียครอบงำอัฟกานิสถานจนถึงยุคจักรวรรดิคาซนาซิดเมื่อ พ.ศ. 1541 มุดแห่งกาซนีเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในยุคนี้และย้ายศูนย์กลางมาอยู่ที่กัซนี ราชวงศ์คาซนาวิดสิ้นอำนาจเมื่อ พ.ศ. 1689 โดยพ่ายแพ้ต่อคูริดส์ คาซนาวิดข่านยังคงมีอำนาจในกัซนีจนถึงพุทธศตวรรษที่ 24 เจ้าชายหลายองค์และเซลจุกเติร์กเข้ามามีอำนาจในส่วนต่างๆของประเทศ จนกระทั่ง ชาห์มูฮัมหมัดที่ 2 แห่งจักรวรรดิควาเรสมิดแห่งเปอร์เซียขยายอำนาจเข้ามาเมื่อ พ.ศ. 1748 ต่อมา พ.ศ. 1762 อัฟกานิสถานถูกมองโกลยึดครอง

การรุกรานของเจงกีสข่านทำให้พื้นที่ทางการเกษตรเสียหายมาก เมื่อเจงกีสข่านถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 1767 ดินแดนนี้จึงอยู่ภายใต้การควบคุมของติมูรลัง ทายาทของเจงกีสข่าน ซึ่งรวมอัฟกานิสถานเข้าในจักรวรรดิเอเชียของเขา บาบุร ทายาทของติมูรซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุลได้สถาปนากรุงคาบูลเป็นเมืองหลวงของอัฟกานิสถาน

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 – 23 อัฟกานิสถานถูกแบ่งแยกเป็นหลายส่วน ทางเหนืออยู่ภายใต้การควบคุมของอุซเบก ทางตะวันตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ซาฟาวิด ทางตะวันออกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์โมกุลและชาวพาซตุนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2252 ชาวพาซตุนเข้ายึดดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ซาฟาวิดและได้ครอบครองดินแดนอิสฟาฮานของอิหร่านในช่วง พ.ศ. 2262 – 2272

นาดิร ชาห์แห่งเปอร์เซีย ยึดดินแดนคืนได้เมื่อ พ.ศ. 2272 ต่อมาใน พ.ศ. 2281 นาดิร ชาห์ เข้ายึดครอง กันดะฮาร์ กัซนี คาบูลและลาฮอร์ ได้ภายในปีเดียวกัน หลังจากนาดิร ชาห์สวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2290 ดุรรานี ชาวพาซตุน เข้ายึดครองดินแดนเหล่านี้กลับมาเป็นของอัฟกานิสถานได้อีก

อาห์เหม็ด ชาห์ ดุรรานี ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิดุรรานีขึ้นครองอำนาจเมื่อพ.ศ. 2290 โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กันดาฮาร์ อาเหม็ด ชาห์ ซึ่งเป็นชาวพาซตุนจากเผ่าอับดาลีได้รับเลือกเป็นกษัตริย์โดยสภาชนเผ่า (โลยา จิรกา) หลังจากนาดิรชาห์เสียชีวิต อาเหม็ด ชาห์ได้รวบรวมประเทศอัฟกานิสถานที่แยกเป็นส่วนๆรวมเข้าด้วยกันอีกครั้งหนึ่ง โดยเขตการปกครองเริ่มจากมัสอัดทางตะวันตกไปถึงแคชเมียร์และเดลฮีทางตะวันออก และจากแม่น้ำอมูทางเหนือไปจนถึงทะเลอาระเบียทางใต้ ถือว่าวงศ์ดุรรานีมีอำนาจในอัฟกานิสถานตั้งแต่ครั้งนั้นจนถึงพ.ศ. 2521 ยกเว้นช่วงสั้นๆ 9เดือน เมื่อ พ.ศ. 2472 โดยผู้มีอำนาจหลัง พ.ศ. 2321 มาจากเผ่าโมฮัมเหม็ด ไซ.

ในสมัยที่สหราชอาณาจักร และ จักรรวรรดิรัสเซีย ได้แผ่อิทธิพลเข้ามาในอัฟกานิสถานนั้น โคสต์ โมฮัมเหม็ด ข่าน ครองอำนาจอยู่ที่กรุงคาบูล การแย่งชิงอำนาจระหว่างของทั้งสองชาติอังกฤษรัสเซีย หรือ"เกมที่ยิ่งใหญ่" ส่งผลให้กองทัพบริเตนทำสงครามกับอัฟกานิสถาน 2 ครั้ง เพื่อลดทอนอิทธิพลของกองทัพจักรวรรดิรัสเซียไม่ให้ยึดครองอัฟกานิสถานไปเสียก่อน

อิทธิพลที่เพิ่มสูงขึ้นของเปอร์เซียในอัฟกานิสถานนำไปสู่การโจมตีที่เฮรัตเมื่อ พ.ศ. 2380 - 2381 ซึ่งเป็นการสู้รบระหว่างกองทัพบริเตนกับชาวอัฟกันและมีการปิดล้อมเฮรัตโดยฝ่ายบริเตน อันเป็นชนวนเหตุของสงครามอังกฤษ-อัฟกานิสถานอีก 2 ครั้ง สงครามครั้งแรก (พ.ศ. 2382 - 2385) กองทัพบริเตนเป็นฝ่ายแพ้ สูญเสียทหารมาก แต่เข้ายึดครองอัฟกานิสถานไม่ได้ สงครามครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2421 - 2423) เกิดขึ้นเมื่ออามีร ชีร อาลี ปฏิเสธการยอมรับอำนาจของสหราชอาณาจักรเหนือกรุงคาบูล ผลของความขัดแย้งนี้ทำให้ อามีร อับดุรเราะห์มาน ขึ้นเป็นกษัตริย์ของอัฟกานิสถาน ระหว่าง พ.ศ. 2423 - 2454 ในยุคนี้เป็นยุคที่ทั้งสองชาติทำข้อตกลงเรื่องพรมแดนกับอัฟกานิสถาน จนกลายเป็นพรมแดนในปัจจุบัน นอกจากนั้น หลังจากสงครามครั้งที่ 2 อังกฤษยังเข้ามาควบคุมกิจการต่างประเทศของอัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถานเป็นกลางในสงครามโลกครั้งที่ 1 แม้ว่ากลุ่มต่อต้านบริเตนในประเทศจะสนับสนุนจักรวรรดิเยอรมันและมีการก่อการกบฏตามแนวพรมแดนกับบริติชราช การวางตัวเป็นกลางของกษัตริย์ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนเท่าที่ควร ฮาบิบุลลอห์ บุตรของอับดุรเราะห์มานถูกลอบสังหารเมื่อ พ.ศ. 2462 ซึ่งอาจเป็นฝีมือของกลุ่มต่อต้านบริเตน บุตรคนที่ 3 คือ อมานุลเลาะห์เข้าควบคุมกิจการต่างประเทศของอัฟกานิสถานและประกาศสงครามครั้งที่ 3 ด้วยการโจมตีกองทัพบริเตนในปีเดียวกัน ผลของสงครามทำให้สหราชอาณาจักรยอมยกเลิกการควบคุมกิจการต่างประเทศของอัฟกานิสถานเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2462 ชาวอัฟกันจึงเฉลิมฉลองวันที่ 19 สิงหาคมเป็นวันชาติ

กษัตริย์อามานุลลอห์มีความประสงค์จะปฏิรูปประเทศให้ทันสมัย พระองค์ได้ไปเยือนยุโรปและตุรกีเมื่อ พ.ศ. 2470 ทรงสนับสนุนการศึกษาของสตรี และจัดให้มีโรงเรียนสหศึกษา การปฏิรูปของอามานุลลอห์ไม่สำเร็จ และไม่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายผู้นำศาสนาในประเทศ ในที่สุดพระองค์ต้องสละราชสมบัติเมื่อกรุงคาบูลตกอยู่ภายใต้การควบคุมของฮาบิบุลลอห์ กาลากานี

เจ้าชายโมฮัมหมัด นาดีร ข่าน ญาติของพระเจ้าอมานุลเลาะห์เข้ายึดอำนาจและฆ่าฮาบิบุลลอห์ กาลากานี ในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน ชนเผ่าพาซตุนเสนอให้นาดีรข่านขึ้นเป็นกษัตริย์ เขาพยายามปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย แต่ในที่สุดก็ถูกลอบสังหารโดยนักศึกษาในกรุงคาบูลเมื่อ พ.ศ. 2476

โมฮัมหมัด ซาฮีร ชาห์ บุตรชายวัย 19 ปีของนาดีร ชาห์ ขึ้นเป็นกษัตริย์ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 – 2516 โดยในช่วงแรกจนถึง พ.ศ. 2489 ลุงของพระองค์คือ โมฮัมหมัด ฮาซัม ข่านเป็นผู้สำเร็จราชการและนายกรัฐมนตรี ต่อมา พ.ศ. 2489 ลุงของซาฮีร ชาห์อีกคนคือ ซารดาร ชาห์ มาห์มุด ข่าน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งเขาได้เริ่มให้เสรีภาพทางการเมืองมากขึ้น พ.ศ. 2496 โมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เขามีความใกล้ชิดกับโซเวียตและปากีสถาน ความขัดแย้งกับปากีสถานใน พ.ศ. 2506 ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศจนต้องลาออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้น ซาฮีร ชาห์เข้ามามีบทบาทในการบริหารมากขึ้น

พ.ศ. 2507 ซาฮีร ชาห์ สนับสนุนให้มีการเลือกตั้งในบางส่วนของประเทศซึ่งเป็นการเตรียมการสำหรับประชาธิปไตย ในช่วงนี้เกิดพรรคการเมืองมากมายรวมทั้งพรรคประชาธิปไตยประชาชนอัฟกานิสถาน (PDPA) ซึ่งมีความใกล้ชิดกับโซเวียต

เมื่อ พ.ศ. 2510 พรรคคอมมิวนิสต์อัฟกานิสถานแบ่งออกเป็นสองส่วนคือพรรคคัลก์ นำโดยนูร์ มูฮัมหมัด ตะรากี และฮะฟีซอลลาห์ อะมีน ที่สนับสนุนโดยหน่วยทหารกับส่วนปาโรฮัม ที่นำโดยบาบรัค คาร์มาล ทั้งสองส่วนพยายามแย่งชิงอำนาจจากราชวงศ์ดุรรานี

อดีตนายกรัฐมนตรี โมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน ปฏิวัติด้วยกำลังทหารเมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 ซาฮีร ชาห์ลี้ภัยไปยังประเทศอิตาลี ดาอูดประกาศล้มเลิกราชวงศ์และตั้งสาธารณรัฐอัฟกานิสถาน โดยตัวเขาเองเป็นประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีคนแรก

ต่อมา 21 เมษายน พ.ศ. 2521 พรรคคอมมิวนิสต์อัฟกานิสถานทำการปฏิวัตินองเลือดล้มล้างรัฐบาลของดาอูด ดาอูดและครอบครัวถูกฆ่า นูร์ มูฮัมหมัด ตะรากี เลขาธิการทั่วไปของพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นเป็นประธานของสภาปฏิวัติและนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐประชาธิปไตยอัฟกานิสถานที่ได้รับการสนับสนุนจากโซเวียต

พรรคคอมมิวนิสต์พยายามปฏิรูปประเทศตามแบบลัทธิคอมมิวนิสต์ การปฏิบัติตนตามหลักศาสนาถูกสั่งห้าม พรรคคอมมิวนิสต์เชิญโซเวียตเข้ามีส่วนร่วมในการปรับปรุงประเทศ เช่นสร้างถนน โรงเรียน โรงพยาบาล และเหมืองแร่ ภายใต้อิทธิพลของโซเวียต มีการตัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อต่อต้านโซเวียตโดยใช้ความรุนแรง รัฐบาลพยายามปราบด้วยความรุนแรงแต่ไม่สำเร็จ

กลุ่มเหล่านี้เป็นที่รู้จักในชื่อมุญาฮิดีนหรือนักรบมุสลิมผู้ศักดิ์สิทธิ์ พ.ศ. 2522 เกิดการโจมตีจากกลุ่มต่อต้านไปทั่วอัฟกานิสถาน โซเวียตส่งกองทหารเข้ามาช่วยเหลือรัฐบาลคอมมิวนิสต์ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2522 กองทัพโซเวียตบุกถึงกรุงคาบูล ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการยึดครองอัฟกานิสถานและทำให้เกิดสงครามต่อต้านโซเวียตตามมา สงครามนี้ยุติลงในพ.ศ. 2532 หลังจากโซเวียตถอนทหารออกไปเมื่อ พ.ศ. 2531

ภายในช่วง 9 ปีที่โซเวียตเข้ายึดครองอัฟกานิสถาน กลุ่มมุญาฮิดีนก่อกบฏต่อต้านโซเวียต โดยกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ซาอุดิอาระเบียและปากีสถาน และมีนักรบมุสลิมจากต่างชาติเข้าร่วม

ในกลุ่มคนต่างชาติเหล่านี้ หนึ่งในนั้นคืออุซามะฮ์ บิน ลาดิน ผู้ซึ่งเข้าไปฝึกฝนมุญาฮิดีนและส่งมอบอาวุธให้ ในพ.ศ. 2531 บิน ลาดิน แตกออกจากกลุ่ม Maktab al-khidamat เดิม ไปตั้งกลุ่มใหม่ของตนคืออัลกออิดะฮ์ เพื่อต่อต้านโซเวียตและร่วมมือกับกองกำลังมุสลิมทั่วโลก โซเวียตถอนทหารออกหมดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 แต่ยังคงช่วยเหลือรัฐบาลของโมฮัมหมัด นาญิบุลลอฮ์ต่อไป ความช่วยเหลือจากสหรัฐและซาอุฯ ให้กับมุญาฮิดีนยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนสหภาพโซเวียตล่มสลาย รัฐบาลของนาญิบุลลอฮ์จึงล้มลงเมื่อ 18 เมษายน พ.ศ. 2535 อับดุลซาอิด ดอสตุม และอาหมัด ชาห์ มาซูด เข้าครอบครองกรุงคาบูลและจัดตั้งรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน

เมื่อมุญาฮิดีนเข้ายึดกรุงคาบูลได้ ก็เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่าง ๆทำให้สงครามกลางเมืองยังคงดำเนินต่อไป มีการจัดตั้งสภาอิสลามญิฮาดเฉพาะกาล เริ่มแรกนำโดยซิบฆัตตุลลอฮ์ โมญัดเดดี เป็นเวลา 2 เดือน จากนั้นจึงนำโดย บูร์ฮานุดดีน รับบานี ผลจากการสู้รบในสงครามกลางเมืองเผ่าพาซตุนไม่มีอำนาจในคาบูล กลุ่มตาลีบันซึ่งเป็นขบวนการของนักศึกษาศาสนาและเคยเป็นมุญาฮิดีนมาก่อน จึงปรากฏตัวทางตอนใต้ของจังหวัดกันดะฮาร์ กลุ่มนี้ได้ขยายตัวจนครอบครองดินแดนได้ 95% ของประเทศในปี พ.ศ. 2543 ยกเว้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพียงเล็กน้อยที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของพันธมิตรฝ่ายเหนือ ซึ่งเป็นกลุ่มที่สหประชาชาติให้การรับรอง

ผลจากเหตุการณ์ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 สหรัฐและพันธมิตรเข้ารุกรานอัฟกานิสถานและล้มล้างรัฐบาลตาลีบัน สหประชาชาติได้เชิญตัวแทนกลุ่มต่าง ๆ ในอัฟกานิสถานไปประชุมร่วมกันที่กรุงบอนน์ ประเทศเยอรมัน และคัดเลือกตัวแทนตั้งรัฐบาลชั่วคราว ภายใต้การนำของฮาร์มิด การ์ไซ ชาวพาซตุน หลังจากนั้นอีก 6 เดือน กษัตริย์ ซาฮิร ชาห์ เรียกประชุมสภาชนเผ่าและรับรองให้การ์ไซเป็นประธานาธิบดีของอัฟกานิสถาน จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2557 อัชราฟ กานี ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301