ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ประวัติศาสตร์ลาว

ประวัติศาสตร์ยุคแรกๆ ของลาว เชื่อว่าอยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรน่านเจ้ามีตำนานโดยขุนบรม และขุนลอ มีลูกสืบหลานต่อๆ กันมา จนถึงรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มผู้รวบรวมอาณาจักรล้านช้างได้เป็นผลสำเร็จในช่วงสมัยพุทธศตวรรษที่ 19 และมีกษัตริย์ปกครองสืบทอดต่อกันมาหลายพระองค์ ที่สำคัญ เช่น

อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ และอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ต่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน และเพื่อชิงความเป็นใหญ่ต่างก็ขอสวามิภักดิ์ต่อเมืองเพื่อนบ้านเช่นไทย พม่า เพื่อขอกำลังมาสยบอาณาจักรลาวด้วยกัน ในลักษณะนี้ในที่สุดอาณาจักรลาวทั้ง 3 แห่งนี้จะตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรสยามในปี พ.ศ. 2321

พ.ศ. 2369 อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์มีพระเจ้าอนุวงศ์เป็นกษัตริย์ ได้รับราชการกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแห่งกรุงสยามมีความชอบมาก จึงประทานเมืองจำปาสักให้เจ้าราชบุตรโย้ ราชโอรสของเจ้าอนุวงศ์ปกครอง ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อมา เจ้าอนุวงศ์เห็นว่าเป็นช่วงเปลี่ยนแผ่นดินจึงคิดแยกตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นกับไทยอีกต่อไป จึงระดมกำลังรวมกับเจ้าราชบุตรโย้ซึ่งครองจำปาสักยกทัพมาตีสยามทางด้านภาคอีสานของไทยในปัจจุบัน พร้อมทั้งแสวงหาพันธมิตรจากหลวงพระบางและหัวเมืองล้านนาแต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง เนื่องจากหัวเมืองดังกล่าวฝักใฝ่กับฝ่ายไทยมากกว่า เมื่อกองทัพของเจ้าอนุวงศ์ยกทัพมาถึงเมืองนครราชสีมาเห็นจะทำการไม่สำเร็จจึงตัดสินใจเผาเมืองนครราชสีมาทิ้งและกวาดต้อนเชลยตามรายทางกลับไปเวียงจันทน์ ระหว่างทางเชลยที่ถูกกวาดต้อนก็ได้ลุกขึ้นต่อสู้กองทัพลาวที่ทุ่งสำริดจนเสียกำลังทหารลาวส่วนหนึ่งด้วย ด้านฝ่ายไทยซึ่งทราบข่าวค่อนข้างช้าก็ได้ส่งกองทัพภายใต้การนำของกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์และเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ขึ้นมาปราบปราม กองทัพเจ้าอนุวงศ์สู้ไม่ได้จึงแตกพ่าย ตัวเจ้าอนุวงศ์และราชวงศ์เชื้อสายก็ต้องหนีภัยไปพึ่งจักรวรรดิเวียดนาม ฝ่ายสยามจึงยึดกรุงเวียงจันทน์ไว้โดยยังมิได้ทำลายเมืองลงแต่อย่างใด เป็นแต่แต่งกองทหารจำนวนหนึ่งรักษาเมืองไว้เท่านั้น

ในปี พ.ศ. 2371 เจ้าอนุวงศ์ได้กลับมายังกรุงเวียงจันทน์โดยมากับขบวนราชทูตเวียดนามพามาเพื่อขอสวามิภักดิ์สยามอีกครั้ง แต่พอสบโอกาสเจ้าอนุวงศ์จึงนำทหารของตนฆ่าทหารไทยที่รักษาเมืองจนเกือบทั้งหมดและยึดกรุงเวียงจันทน์คืน กองทัพสยามจึงถอนกำลังเพื่อรวบรวมกำลังพลและยกทัพมาปราบปรามเจ้าอนุวงศ์อีกครั้ง ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์เมื่อสู้กองทัพไทยไม่ได้จึงไปหลบภัยที่เมืองพวน (แขวงเชียงขวางในปัจจุบัน) แต่เจ้าน้อยเมืองพวนกลับจับตัวเจ้าอนุวงศ์และพระราชวงศ์ที่เหลืออยู่ส่งลงมากรุงเทพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธเจ้าอนุวงศ์มากจึงทรงให้คุมขังเจ้าอนุวงศ์ประจานกลางพระนครจนสิ้นพระชนม์ ส่วนกรุงเวียงจันทน์ก็มีพระบรมราชโองการให้ทำลายจนไม่เหลือสภาพความเป็นเมือง และตั้งศูนย์กลางการปกครองฝ่ายไทยเพื่อดูแลอาณาเขตของอาณาจักรเวียงจันทน์ที่เมืองหนองคายแทน เมืองเวียงจันทน์ที่ถูกทำลายลงในครั้งนั้นมีเพียงแค่หอพระแก้วและวัดสีสะเกดเท่านั้นที่ยังคงสภาพสมบูรณ์มาจนถึงปัจจุบัน

สงครามเจ้าอนุวงศ์ที่เกิดขึ้นในเวลานั้น ต่อมาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรสยามและจักรวรรดิเวียดนาม จนกระทั่งเกิดสงครามที่เรียกว่า "อานามสยามยุทธ" เป็นระยะเวลาถึง 14 ปี เพราะทั้งสองอาณาจักรล้วนต้องการขยายอิทธิพลของตนเข้าไปในดินแดนลาวและเขมร ทั้งสงครามนี้ยังเป็นประวัติศาสตร์บาดแผลระหว่างไทยกับลาวสืบเนื่องต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ครั้นถึงช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ต่อช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ประเทศฝรั่งเศสเริ่มให้ให้ความสนใจที่จะขยายอำนาจเข้ามาสู่ดินแดนในแถบลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อหาทางเข้าถึงดินแดนตอนใต้ของจีนเพื่อเปิดตลาดการค้าแห่งใหม่แข่งกับอังกฤษ ซึ่งสามารถยึดเวียดนามได้ก่อนหน้านั้นแล้ว โดยฝรั่งเศสเริ่มจากการยึดครองแคว้นโคชินจีนหรือเวียดนามใต้ก่อนในปี พ.ศ. 2402 รุกคืบเข้ามาสู่ดินแดนเขมรส่วนนอกซึ่งไทยปกครองในฐานะประเทศราชในปี พ.ศ. 2406 (ไทยตกลงยอมสละอำนาจเหนือเขมรส่วนนอกอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2410) จากนั้นจึงได้ขยายดินแดนในเวียดนามต่อจนกระทั่งสามารถยึดเวียดนามได้ทั้งประเทศในปี พ.ศ. 2426 พรมแดนของสยามทางด้านประเทศราชลาวจึงประชิดกับดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศสอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในระยะเวลาเดียวกัน ในประเทศจีนได้เกิดเหตุการณ์กบฏไท่ผิงต่อต้านราชวงศ์ชิง กองกำลังกบฏชาวจีนฮ่อที่แตกพ่ายได้ถอยร่นมาตั้งกำลังซ่องสุมผู้คนอยู่ในแถบมณฑลยูนนานของจีน ดินแดนสิบสองจุไทย และตามแนวชายแดนประเทศราชลาวตอนเหนือ กองกำลังจีนฮ่อได้ทำการปล้นสะดมราษฏรตามแนวพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง สร้างปัญหาปกครองของทั้งฝ่ายไทยและฝรั่งเศสอย่างยิ่ง เพราะส่งกำลังไปปราบปรามหลายครั้งก็ยังไม่สงบ เฉพาะกับอาณาจักรหลวงพระบางนั้น ทางกรุงเทพถึงกับต้องปลดพระเจ้ามหินทรเทพนิภาธร เจ้าผู้ครองนครหลวงพระบางออกจากตำแหน่ง เนื่องจากไม่สามารถรักษาเมืองและปล่อยให้กองทัพฮ่อเข้าปล้นสะดมและเผาเมืองหลวงพระบางลง และตั้งเจ้าคำสุกขึ้นเป็นพระเจ้าสักรินทรฤทธิ์ปกครองดินแดนแทน

ไทย (หรือสยามในเวลานั้น)จึงร่วมกับฝรั่งเศสปราบฮ่อจนสำเร็จ โดยทั้งสองฝ่ายไล่ตีกองกำลังจีนฮ่อจากอาณาเขตของแต่ละฝ่ายให้มาบรรจบกันที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟูในปัจจุบัน) แต่ก็เกิดปัญหาใหม่ คือ ฝ่ายฝรั่งเศสฉวยโอกาสอ้างสิทธิปกครองเมืองแถงและสิบสองจุไทย โดยไม่ยอมถอนกำลังทหารออกจากเมืองแถงเพราะอ้างว่าเมืองนี้เคยส่งส่วยให้เวียดนามมาก่อน ปัญหาดังกล่าวนี้มีที่มาจากภาวะการเป็นเมืองสองฝ่ายฟ้าของเมืองปลายแดน ซึ่งจะส่งส่วยให้แก่รัฐใหญ่ทุกรัฐที่มีอิทธิพลของตนเองเพื่อความอยู่รอด

พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) แม่ทัพฝ่ายไทย เห็นว่าถ้าตกลงกับฝรั่งเศสไม่ได้จะทำให้ปัญหาโจรฮ่อบานปลายแก้ยาก จึงตัดสินใจทำสัญญากับฝรั่งเศสในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2431 ให้ฝ่ายไทยตั้งกำลังทหารที่เมืองพวน (เชียงขวาง) ฝรั่งเศสตั้งกำลังทหารที่สิบสองจุไทย ส่วนเมืองแถงเป็นเขตกลางให้มีทหารของทั้งสองฝ่ายดูแลจนกว่ารัฐบาลทั้งสองชาติจะเจรจาเรื่องปักปันเขตแดนได้ ผลจากสนธิสัญญานี้แม้จะทำให้ฝ่ายไทยร่วมมือปราบฮ่อกับฝรั่งเศสจนสำเร็จ และสามารถยุติความขัดแย้งเรื่องแคว้นสิบสองจุไทย เมืองพวน และหัวพันทั้งห้าทั้งหกยุติลงไปชั่วคราว แต่ก็ต้องเสียดินแดนสิบสองจุไทยโดยปริยายไป

ดินแดนลาวทั้งหมดก็เปลี่ยนไปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ประเทศฝรั่งเศส จากการใช่เล่ห์เหลี่ยมของโอกุสต์ ปาวี กงสุลฝรั่งเศส โดยใช้เรือรบมาปิดอ่าวไทยเพื่อบังคับให้ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมทั้งดินแดนอื่น ๆ ลาวถูกรวมเข้าเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2436

หลังฝรั่งเศสแพ้ต่อนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลก พลตรี แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีของไทย ตัดสินใจว่าความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสจะยิ่งให้ไทยมีโอกาสทวงดินแดนที่เคยเสียไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับคืนมามากกว่า การปกครองอาณานิคมของอินโดจีนฝรั่งเศสถูกตัดขาดจากความช่วยเหลือและกำลังบำรุงจากภายนอก และหลังจากการบุกครองอินโดจีนของญี่ปุ่นเมื่อเดือนกันยายน 2483 ซึ่งฝรั่งเศสถูกบีบให้อนุญาตให้ญี่ปุ่นตั้งฐานทัพ เป็นการชวนให้รัฐบาลแปลกเชื่อว่าวิชีฝรั่งเศสจะไม่สามารถต้านทานการเผชิญหน้ากับไทยอย่างจริงจังได้ รัฐบาลไทยจึงได้ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลฝรั่งเศสให้ถือเอาร่องแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน และขอให้ฝรั่งเศสรับรองว่าถ้าฝรั่งเศสไม่สามารถปกป้องได้ ก็คืนลาวและกัมพูชาให้แก่ไทย

การสู้รบดำเนินมาจนวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นเกรงว่าการสู้รบครั้งนี้จะเป็นอุปสรรคต่อนโยบายของญี่ปุ่นจึงเสนอตัวเข้ามาไกล่เกลี่ยทั้งสองฝ่ายจำต้องยินยอม จนในที่สุดการไกล่เกลี่ยผลปรากฏว่าไทยได้ดินแดนที่เป็นข้อพิพาทกลับคืนมา

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้รุกเข้ามาในลาวและดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศสอื่นๆ เมื่อญี่ปุ่นใกล้แพ้สงคราม ขบวนการลาวอิสระซึ่งเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อกู้เอกราชลาวในเวลานั้นประกาศเอกราชให้ประเทศลาวเป็นประเทศ ราชอาณาจักรลาว หลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสก็กลับเข้ามามีอำนาจในอินโดจีนอีกครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจากการที่เวียดมินห์ปลดปล่อยเวียดนามได้ จึงเป็นการสั่นคลอนอำนาจฝรั่งเศสจนยอมให้ลาวประกาศเอกราชบางส่วนในปี พ.ศ. 2492 และได้เอกราชสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2496 ภายหลังฝรั่งเศสรบแพ้เวียดนามที่เดียนเบียนฟู ผู้ที่มีบทบาทในการประกาศเอกราชคือ เจ้าสุวรรณภูมา เจ้าเพชรราช และ เจ้าสุภานุวงศ์ โดยมีเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ามหาชีวิต (พระมหากษัตริย์) จากอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางเดิม และได้รวมทั้ง 3 อาณาจักรคือ ล้านช้างหลวงพระบาง ล้านช้างเวียงจันทน์ และ ล้านช้างจำปาศักดิ์ เข้าด้วยกันเป็นราชอาณาจักรลาว

พ.ศ. 2502 เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์เสด็จสวรรคต เจ้าสว่างวัฒนาจึงขึ้นครองราชย์เป็นเจ้ามหาชีวิตแทน เหตุการณ์ในลาวยุ่งยากมาก เจ้าสุภานุวงศ์ 1 ในคณะลาวอิสระประกาศตนว่าเป็นพวกฝ่ายซ้ายนิยมคอมมิวนิสต์ และเป็นหัวหน้าขบวนการประเทศลาว ได้ออกไปเคลื่อนไหวทางการเมืองในป่า เนื่องจากถูกฝ่ายขวาในลาวคุกคามอย่างหนัก ถึงปี 2504 ร้อยเอกกองแลทำการรัฐประหาร รัฐบาลเจ้าสุวรรณภูมา แต่ถูกกองทัพฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายรุมจนพ่ายแพ้ กองแลต้องลี้ภัยไปสหรัฐจนถึงปัจจุบัน

เหตุการณ์ทางการเมืองในระยะเวลาไม่นานหลังจากนั้นบังคับให้ลาวต้องตกอยู่ท่ามกลางสงครามอินโดจีนครั้งที่สอง ซึ่งรุนแรงยิ่งกว่าครั้งแรก และเป็นปัจจัยก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองและรัฐประหารหลายครั้งด้วยกัน จนถึงปี พ.ศ. 2518 พรรคประชาชนปฏิวัติลาวซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต และคอมมิวนิสต์เวียดนามโดยนำของ เจ้าสุภานุวงศ์ ก็ล้มล้างรัฐบาลประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของเจ้ามหาชีวิตสว่างวัฒนา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาสำเร็จ จึงนำเจ้ามหาชีวิตและมเหสีไปคุมขังในค่ายกักกันจนสิ้นพระชนม์ และสถาปนาประเทศลาวเป็น "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518

สภาพการปกครอง และการบริหารด้านเศรษฐกิจของลาวเริ่มผ่อนคลายมากขึ้นในระยะหลังของทศวรรษ 1980 ต่อมาเมื่อเจ้าสุภานุวงศ์สละตำแหน่งจากประธาน ผู้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อจากเจ้าสุภานุวงศ์คือ ท่านไกสอน พมวิหาน และเมื่อท่านไกสอนถึงแก่กรรมกะทันหัน ท่าน หนูฮัก พูมสะหวัน ก็ได้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อมา ยุคนี้ลาวกับไทยเปิดสะพานมิตรภาพ ไทย - ลาว ในปี พ.ศ. 2538 ต่อมาท่านหนูฮักสละตำแหน่ง ท่านคำไต สีพันดอนรับดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อ จนถึงปี พ.ศ. 2549 ท่านคำไตลงจากตำแหน่ง ท่านจูมมะลี ไซยะสอน จึงเป็นผู้รับตำแหน่งประธานประเทศลาวคนปัจจุบัน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406