ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ประวัติศาสตร์รัสเซีย

ประวัติศาสตร์รัสเซีย เริ่มต้นขึ้นเมื่อชาวสลาฟตะวันออกก่อตั้งอาณาจักรคีวานรุส และรับเอาศาสนาคริสต์มาจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ในปี พ.ศ. 1531 ในปีพ.ศ. 1783 อาณาจักรคีวานรุสล่มสลายโดยรุกรานจากจักรวรรดิมองโกล

หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 13 มอสโกได้ค่อยพัฒนาเป็นศูนย์กลางของศิลปะและวัฒนธรรมทีละน้อย ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 รัฐมอสโกได้เป็นใหญ่ในจักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งได้มีการขยายอาณาเขตถึงโปแลนด์ ทางด้านตะวันออกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก จนถึงสมัยพระเจ้าซาร์อีวานที่ 3 ในปี พ.ศ. 2023 พระองค์หยุดส่งเครื่องบรรณาการให้มองโกเลีย และประกาศเอกราชไม่เป็นเมืองขึ้นของมองโกเลียอีกต่อไป หลังจากการเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่งผลให้รัสเซียเผชิญปัญหาในการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรม ความเป็นอยู่ประชาชนลำบากแร้นแค้น กำลังทหารและเศรษฐกิจรัสเซียเข้าขั้นวิกฤต ในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์จึงได้ก่อการปฏิวัติขึ้นในปี พ.ศ. 2460 นำไปสู่การก่อตั้งสหภาพโซเวียต เป็นประเทศแรกของโลกที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง สหภาพโซเวียตกลายมาเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกคู่กับสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามเย็น ในสมัยนั้น นโยบายของสหภาพโซเวียตได้เน้นการป้องกันประเทศและพัฒนาด้านอุตสาหกรรม แต่การเน้นพัฒนาทหารขนานใหญ่ ส่งผลทำให้เศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง ต่อมา เมื่อมิคาอิล กอร์บาชอฟ ขึ้นสู่อำนาจ เขาได้เริ่มนโยบายปฏิรูปด้านต่าง ๆ ทำให้สหภาพโซเวียตล่มสลายใน พ.ศ. 2534 สาธารณรัฐต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียจึงแยกตัวออกมาเป็นเป็นสหพันธรัฐรัสเซียในปัจจุบัน โดยที่รัสเซียได้รับสถานภาพตามกฎหมายในเวทีระหว่างประเทศมาจากสหภาพโซเวียต

จากหลักฐานการขุดค้นทางด้านโบราณคดี นักโบราณคดีได้ลงความเห็นว่าเขตทางภาคใต้ของรัสเซีย ซึ่งเรียกว่าเขตที่ราบสเตปป์ เป็นทางที่พวกเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์จากทวีปเอเชียมักจะเข้าไปตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่เนือง ๆ เนื่องจากว่าพวกเร่ร่อนเหล่านี้พบว่าเขตสเตปป์นี้เป็นเขตที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การกสิกรรมและเลี้ยงสัตว์เป็นอย่างมาก ดังนั้น กลุ่มชนเร่ร่อนทั้งหลายผู้มีอารยธรรมเป็นของตนเองจากทวีปเอเชียจึงมักจะเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน และมักจะทำการรบการพุ่งกันเองอยู่เนือง ๆ และกับกลุ่มผู้เร่ร่อนจากต่างถิ่น ผู้ได้ข่าวว่าดินแดนทางเขตสเตปป์ของรัสเซีย เป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ ดังนั้นดินแดนทางภาคใต้ของรัสเซียจึงเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด

ประวัติศาสตร์รัสเซียเริ่มขึ้นอย่างแท้จริงในปี พ.ศ. 1405 เนื่องจากในปีนั้นได้มีชนชาติสแกนดิเนเวียกลุ่มหนึ่งได้เข้ามารุกรานรัสเซียทางฝั่งทะเลบอลติก ชาวสแกนดิเนเวียเรียกตัวเองว่า "รุส" ในภาษานอร์แมนหรือพวกไวกิ้ง ยุโรปตะวันตกเรียกว่า "วาแรนเจียน" พวกชาวรุสกลุ่มนี้ได้โจมตีเมืองซูซอฟช์ในแคว้นไครเมีย และตั้งผู้นำของตัวเองที่ชื่อว่า รูริค เป็นเจ้าผู้ครองเมืองนอฟโกรอด (Grand prince of Novgorod) ในปี พ.ศ. 1405 รูริคครองนครนอฟโกรอด จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 1418 พระนัดดาของรูริคทรงพระนามว่า อิคเกอร์ ได้เข้ายึดอาณาจักรเคียฟในปี พ.ศ. 1425 ทำให้อาณาจักรนอฟโกรอดและอาณาจักรเคียฟมีกษัตริย์แห่งราชวงศ์รูริคครองเหมือนกันพวกเชื้อพระวงศ์รูริคทั้งหลายได้ปกครองเผ่าสลาฟตะวันออกเผ่าต่าง ๆ และได้ทำให้นครเคียฟมีความสำคัญและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมืองของเผ่าสลาฟต่าง ๆ เรื่อยมาจนกระทั่งถูกพวกมองโกลเข้ามารุกรานในราวคริสต์ศตวรรษที่ 13

เจ้าผู้ครองนครเคียฟได้มีการติดต่ออย่างใกล้ชิดกับจักรวรรดิไบแซนไทน์ ถึงกับที่เจ้าผู้ครองนครเคียฟองค์หนึ่งทรงพระนามว่า เจ้าชายวลาดีมีร์ที่ 1 แห่งเคียฟได้อภิเษกสมรสกับพระขนิษฐาของสมเด็จพระจักรพรรดิบาซิลที่ 2 แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Emperor Basil II) ทั้ง ๆ ที่พระองค์มีมเหสีถึง 7 พระองค์แล้ว การอภิเษกครั้งนี้ได้ทำให้เจ้าชายวลาดีมีร์ทรงยอมนับถือศาสนาคริสต์นิกายรัสเซียนออร์ทอดอกซ์ ในปีพ.ศ. 1531 พระองค์ได้ทรงประกาศให้ประชาชนนับถือศาสนาตามอย่างพระองค์ด้วยมีการสร้างโบสถ์ทั้งราชอาณาจักรและมีการสร้างโรงเรียนในวัด เฉพาะแต่เด็กชายมีศักดิ์เท่านั้นที่จะศึกษาเล่าเรียนได้

เจ้าผู้ครองเรือนนครเคียฟที่สำคัญที่สุด ทรงพระนามว่า เจ้าชายยาโรสลาฟผู้ชาญฉลาด พระองค์ได้ทรงขยายอาณาจักรไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่ทางทะเลบอลติกเรื่อยลงไปถึงที่ราบลุ่มแถบทะเลดำทั้งหมดทางแถวปากแม่น้ำวอลกา จนถึงเทือกเขาคาร์เพเทียน เจ้าชายยาโรสลาฟได้ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ โดยจัดการให้พระญาติวงศ์อภิเษกพวกราชวงศ์ของประเทศยุโรปตะวันตก พระองค์เองนั้นได้อภิเษกกับเจ้าหญิงแห่งประเทศสวีเดน พระโอรสทั้งสามพระองค์ได้อภิเษกกับพระราชธิดาพระเจ้าแผ่นดินประเทศฝรั่งเศส ฮังการี และนอร์เวย์ พระขนิษฐาองค์หนึ่งของพระองค์เป็นพระมเหสีแห่งกษัตริย์โปแลนด์ และพระขนิษฐาอีกองค์หนึ่งเป็นพระชายาเจ้าชายแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ นอกจากทรงจัดการให้ราชวงศ์ของพระองค์ได้มีความสัมพันธ์กับพวกราชวงศ์ของประเทศในแถบยุโรป โดยอภิเษกสมรสแล้ว เจ้าชายยาโรสลาฟยังทรงอนุญาตให้อาณาจักรเคียฟของพระองค์เป็นสถานที่ลี้ภัยของบรรดาผู้นำและเจ้าชายประเทศต่าง ๆ อีกด้วย เช่น เจ้าชายจากประเทศอังกฤษและฮังการีพระเจ้าแผ่นดินและพระโอรสแห่งประเทศนอร์เวย์

ในสมัยยาโรสลาฟนี้ รัสเซียได้มีกฎหมายเป็นครั้งแรกชื่อว่า "The Russian Justice" ในปี พ.ศ. 1579 จากกฎหมายฉบับนี้ทำให้ผู้สนใจประวัติศาสตร์รัสเซียสมัยอาณาจักรเคียฟ จะได้ทราบถึงสภาพสังคมและการดำรงชีวิตของอาณาจักรเคียฟได้เป็นอย่างดี นอกจากมีกฎหมายขึ้นใช้ในสมัยนี้แล้วเจ้าชายยาโรสลาฟยังทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ทางด้านศิลปะและด้านสถาปัตยกรรม มีการสร้างโบสถ์ฮาเกียโซเฟีย ในปี พ.ศ. 1580 ขึ้นในราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังทรงจัดการให้มีโรงเรียนและห้องสมุดขึ้นในราชอาณาจักรเคียฟนี้ด้วย

นครเคียฟมีสำคัญและมีอิทธิพลสูงสุดแต่เพียงสมัยของเจ้าชายยาโรฟสลาฟเท่านั้น นครต่าง ๆ ในราชอาณาจักรรัสเซียต่างยอมอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเคียฟมาตลอด ในช่วงศตวรรษที่ 11 เคียฟเป็นนครหลวง ศูนย์รวมของอำนาจกษัตริย์และเป็นศูนย์กลางของคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ ในขณะที่เมืองอื่น ๆ ก็มีประชากรก่อตั้งขึ้นมาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้กล่าวอ้างถึงมอสโกครั้งแรกในปี พ.ศ. 1690 ว่ามกุฎราชกุมารแห่งนครเคียฟ เจ้าชายยูริ ดอลโกรูคี มีรับสั่งให้สร้างป้อมปราการไม้ หรือเครมลินขึ้นที่เนินเขาโบโรวิตสกายา ริมน้ำมอสควา และตั้งชื่อเมืองว่า มอสโก

แต่หลังจากที่ยาโรสลาฟสิ้นพระชนม์แล้ว บรรดาเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ พยายามปลีกตัวเป็นอิสระจากอาณาจักรเคียฟและประกอบกับการถูกโจมตีจากพวกเร่ร่อนกลุ่มต่าง ๆ อาณาจักรเคียฟจึงเริ่มเสื่อมโทรมลง ประชาชนต่างพากันอพยพโยกย้ายไปอยู่ตามชานแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นบริเวณทางภาคกลางของรัสเซีย ส่วนที่เป็นทวีปยุโรปในสมัยปัจจุบัน ประกอบได้มีการก่อตั้งนครใหม่ ๆ ขึ้นหลายนคร เช่น รอสตอฟ (Rostov) ซุซดัล (Suzdal) โปลอตสค์ (Polotsk) เป็นต้น

ชาวมองโกล หรือที่เรียกว่ากันในหมู่ชาวรัสเซีย ตาตาร์ เป็นเชื้อสายของเตมูจิน หรือที่เรารู้จักกันในนามว่าเจงกิสข่าน พวกมองโกลได้รุกรานเข้าโจมตีอาณาจักรจีน และเข้าตีอาณาจักรของชาวมุสลิมทางตอนกลางของทวีปเอเชีย พวกมองโกลได้นำทัพข้ามเทือกเขาคอเคซัสมาถึงทางภาคใต้ของรัสเซีย และได้ชนะชาวรัสเซีย ตีอาณาจักรโปลอตสค์บนฝั่งแม่น้ำกัลป์กา ในปี พ.ศ. 1766 แต่หลังที่เจงกิสข่านเสียชีวิตลง อาณาจักรมองโกลได้ออกเป็นส่วน ๆ ให้แก่ลูกชายทั้ง 4 คนของเขา แต่ชาวมองโกลมีธรรมเนียมที่ว่าประมุขมองโกลจะต้องมี 1 คน และดำรงตำแหน่งข่านผู้ยิ่งใหญ่ ออคได ลูกชายคนที่ 3 ของเจงกีสข่านได้รับตำแหน่งนี้ ออคไดได้ดำเนินนโยบายครองโลกตามบิดา โดยยกทัพไปรุกรานแคว้นเตอร์กีสถาน อาร์มีเนีย จอร์เจีย และเมืองต่าง ๆ บริเวณเทือกเขาคอเคซัส นอกจากนั้นพวกมองโกลยังได้ยกทัพไปตีเมืองต่าง ๆ บนลุ่มแม่น้ำวอลกา เมืองของพวกบัลคาร์ในรัสเซีย อาณาจักรเมโสโปเตเมีย ซีเรีย เกาหลี และอาณาจักรจีนทั้งประเทศ กุบไลข่าน เชื้อสายของเจงกีสข่าน (โอรสพระราชบุตรองค์ที่ 4 ของเจงกีสข่าน) ได้เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์หยวนขึ้นในประเทศจีน ค.ศ.1240 มองโกลตั้งเมือง ?????? ???? เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรขึ้นตรงต่อ บาตูข่าน ประมุขชาว มองโกล ในรัสเซีย ซึ่งประทับอยู่ที่ นคร คาซาน อีกที ถึงแม้มองโกลจะยึดรัสเซียไว้เป็นประเทศราช แต่มองโกลก็ให้อิสระแก่เจ้าชายต่าง ๆ ในการปกครองตนเอง และยังอนุญาตให้ชาวรัสเซียนับถือและประกอบศาสนกิจตามหลัก ศาสนาคริสต์นิกายรัสเซียนออทอดอกซ์ ได้อยู่เช่นเดิม ทำให้ชาวรัสเซียสามารถรักษาวัฒนธรรมของตนไว้ได้ในระดับหนึ่ง ชาวนากับขุนนางต้องอยู่อย่างลำบากแร้นแค้น ชาวนาถูกบังคับให้ทำงานหนักเพื่อเลี้ยงดูกองทัพมองโกล ถ้าหากต่อต้านข่าน จะถูกบังคับให้ส่งส่วยมากขึ้น คริสต์ศตวรรษที่ 14 อิทธิพลในทางการปกครองของพวกมองโกลที่มีต่อชาวรัสเซียได้หมดไปอย่างสิ้นเชิงในสมัยของพระเจ้าอีวานที่ 3 เหลือเพียงแต่ทางด้านวัฒนธรรมบางอย่างเท่านั้น ที่กษัตริย์ของอาณาจักรรัสเซียต่าง ๆ ก็พยายามที่จะให้ชาวรัสเซียได้มีวัฒนธรรมและอารยธรรมเทียบเท่าอารยประเทศในยุโรปตะวันออกในเวลาต่อมา

เจ้าชาย ยูริ ดาลการูกี้ยได้สร้างมอสโกขึ้นที่กลางแม่น้ำ มีป่าไม้และบึงเป็นปราการธรรมชาติ ต่อมามอสโกได้กลายเป็นศูนย์กลางของศาสนาคริสต์นิกายรัสเซียนออร์ทอดอกซ์

ต่อมาในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 กองทัพมองโกลนำโดยบาตูข่าน เข้ารุกรานรัสเซีย และยึดเมืองเคียฟได้สำเร็จ หลังจากนั้นรัสเซียก็ถูกตัดจากโลกภายนอก ถูกควบคุมทางการเมือง การปกครอง และต้องจ่ายภาษีให้กับมองโกล กษัตริย์และพระราชาคณะจึงย้ายศูนย์กลางอำนาจมาทางตอนเหนือ ในปี พ.ศ. 1871 พระเจ้าอีวานที่ 1 แห่งรัสเซีย ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ พระองค์ทรงมีฉายาว่า lvan kalita หรืออีวานถุงเงิน เนื่องจากทรงเก็บส่วยและเครื่องบรรณาการให้มองโกล และในยุคนี้เองที่กษัตริย์ได้ย้ายที่ประทับมาที่มอสโก ต่อมาในยุคของพระเจ้าอีวานที่ 2 แห่งรัสเซีย มองโกลเริ่มเสื่อมอำนาจเจ้าชายดมิตรี ดอนสกอย โอรสแห่งพระเจ้าอีวานที่ 2 ทรงขับไล่มองโกลได้สำเร็จในสงครามกูลิโกโว บนฝั่งแม่น้าดอนในปี 1380 พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็น ดมีตรี ดอนสกอย (ดมีตรีแห่งแม่น้ำดอน) และได้รวมเมืองวลาดีมีร์และซุลดัช เป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรมอสโกและยังได้บูรณะเครมลินเป็นกำแพงหินขาวแทนไม้โอ๊ก มอสโกจึงมีอีกชื่อเรียกว่า "เมืองกำแพงหินขาว" ในยุคนั้น แต่ไม่นานพวกตาตาร์ก็กลับมาทำลายเครมลินจนพินาศ รัสเซียต้องเป็นเมืองขึ้นของตาตาร์อีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 1925

ในสมัยของพระเจ้าอีวานที่ 3 แห่งรัสเซีย หรือ พระเจ้าอีวานมหาราช (พ.ศ. 2005-พ.ศ. 2048) ในยุคของพระองค์ได้ทรงรวบรวมดินแดนให้กลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2023 ทรงขับไล่กองทัพตาตาร์ของพระเจ้าบาตูข่านออกจากรัสเซียจนหมดสิ้นและทรงทำลายโกลเดนฮอร์ด (Golden Horde) ซึ่งประกอบด้วย 3 อาณาจักรใหญ่ของชาวมองโกลได้แก่ อาณาจักรไวท์ฮอร์ด (White Horde) ที่ก่อตั้งขึ้นโดยพระเจ้าโอดาข่าน, อาณาจักรกลุ่มบลูฮอร์ด (Blue Horde) ที่ก่อตั้งโดยพระเจ้าบาตูข่านและอาณาจักรเกรทฮอร์ด (Great Horde) ที่ก่อตั้งโดยพระเจ้าเคอชุก มุฮัมหมัด ปิดฉากสองศตวรรษภายใต้การปกครองของมองโกล

ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 อาณาจักรรัสเซียได้ฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ หลังจากที่จักรวรรดิของพวกมองโกลระส่ำระสายลง ผู้ แห่งอาณาจักรมอสโก พระองค์ได้ตั้งองค์เป็นกษัตริย์แห่งชาวรัสเซียทั้งปวง ในปี พ.ศ. 2036 พระเจ้าอีวานที่ 3 ได้ทรงสถาปนากรุงมอสโกเป็นราชธานี ชาวรัสเซียในสมัยนี้ถือว่าพวกตนเป็นทายาทอันชอบธรรมของจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์

เนื่องจากการที่พระเจ้าอีวานที่ 3 อภิเษกสมรสครั้งที่ 2 (พระมเหสีองค์แรกสิ้นพระชนม์เมื่อพระองค์ครองราชย์ได้ 5 ปี) กับเจ้าหญิงโซเฟียแห่งไบแซนไทน์ หรือ โซอี พาลีโอ โลกัส พระเจ้าหลานเธอของจักรพรรดิแห่งอาณาจักรไบแซนไทน์องค์สุดท้ายพระนามจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 พาลาโอโลกอส ซึ่งสวรรคตบนกำแพงเมืองกรุงคอนสแตนติโนเปิลในการโจมตีครั้งสุดท้ายของจักรวรรดิออตโตมันทำให้เกิดการเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล ในแต่ละส่วนแยกออกจากกันโดยมีป้อมปราการล้อมรอบ มีแม่น้ำมอสควาไหลผ่าน พวกช่างฝีมือและกรรมกร อาศัยอยู่ในบริเวณเมืองที่สร้างด้วยไม้ พวกพ่อค้าและพวกขุนนางอาศัยอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าเมืองสีขาว (คือสิ่งก่อสร้างด้วยหินสีขาว ส่วนนี้จะเรียกว่า White City ถัดจาก White City จะเป็นส่วนที่เรียกว่า Kitatgrod) และพระองค์ทรงรับอินทรีสองเศียรเป็นสัญลักษณ์ของรัสเซีย

ซาร์อีวานมหาราชได้ทรงนำช่างชาวอิตาลีมาออกแบบสร้างพระราชวังป้อมปราการต่าง ๆ และพระวิหารในพระราชวังเครมลิน และที่อื่น ๆ ด้วยเช่น โปรดให้โรดอลโฟฟี โอราแวงเต สร้างมหาวิหารอัสสัมชัญ เป็นที่สำหรับซาร์ ทำพิธีบรมราชาภิเษกในพระราชวังเครมลินในกรุงมอสโก ในปี พ.ศ. 2042 ซาร์อีวานมหาราชโปรดให้สร้างพระราชวังที่ประทับชื่อว่า Kremlin’s Terem Palace และสถาปัตยกรรมชิ้นสุดท้ายที่สุดที่พระองค์โปรดให้สร้างสถาปนิกชาวมิลาน ชื่อ อาเลสซีโอนอฟ สร้างมหาวิหารอาร์คันเกล มิคาอิล ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นที่ฝังพระศพซาร์กษัตริย์แห่งรัสเซียในเวลาต่อมา

พระเจ้าซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย หรือ "อีวานผู้โหดร้าย" เพราะพระองค์ทรงปกครองอาณาจักรด้วยความเหี้ยมโหด ปราศจากความเมตตา ว่ากันว่ามีรับสั่งให้ควักลูกตาสถาปนิกผู้ออกแบบสร้างมหาวิหารเซนต์บาซิล เพื่อมิให้สร้างสิ่งก่อสร้างที่งดงามเช่นนี้ได้ที่ใดอีก พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าซาร์วาซิลีที่ 3 แห่งรัสเซีย และเป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าอีวานที่ 3 พระองค์ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าผู้ครองนครมัสโกโวท์ที่ได้ตั้งองค์เป็นตำแหน่งซาร์ อย่างเป็นทางการ ซาร์อีวานที่ 4 ครองราชย์สมบัติตั้งแต่พระชนม์ได้ 3 ชันษา โดยที่พระองค์ยังทรงพระเยาว์อยู่ พระนางเยเลนา กลินสกายาพระราชมารดาทรงเป็นผู้สำเร็จราชการ

อย่างไรก็ตามเมื่อซาร์อีวานที่ 4 ได้ทรงทำพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อปี พ.ศ. 2090 และในปีเดียวกันนี้ได้ทรงอภิเษกกับอะนัสตาเซียแห่งสกุลราชวงศ์โรมานอฟ เป็นชื่อสกุลขุนนางที่สืบมาจากตระกูลเยอรมันชั้นสูงตระกูลหนึ่ง ซึ่งได้อพยพมาจากเยอรมนี ไปยังกรุงมอสโกในตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 14 และได้เปลี่ยนสกุลใหม่ว่าสกุลคอชกิน สกุลนี้ได้รับราชการในพระราชสำนักของราชวงศ์รูริคตลอดมาเป็นเวลาร่วม 200 ปี ครั้งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 บุรุษในตระกูลคอชกินผู้หนึ่งชื่อว่า โรมานอฟ ยูริวิช เกิดความรู้สึกว่านาม "คอชกิน" นั้นยังไม่มีสำเนียงเป็นภาษารัสเซียพอ เขาจึงได้เปลี่ยนนามสกุลใหม่ โดยตั้งชื่อตามชื่อแรกของตัวคือ "โรมานอฟ"

ซาร์อีวานที่ 4 ได้ทรงเลือก อนาสตาเซียแห่งรัสเซียเป็นคู่อภิเษก พระองค์ทรงหลงรักเจ้าสาวของพระองค์อย่างดื่มด่ำมาโดยตลอด ดังนั้นเมื่อพระนางอนาสตาเซียสิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ. 2103 ทำให้พระราชสวามีทรงโศกเศร้ามากถึงกับเสียสติไปและคอยทรงระแวงผู้คนตลอดเวลา โดยคิดว่าเขาเหล่านั้นได้วางยาพิษพระมเหสีสุดที่รักความแค้นเคืองเหล่านี้เลยทำให้พระองค์ทรงมีสติวิปลาสไป เวลาที่ซาร์อีวานที่ 4 จะเสด็จพระราชดำเนินไปไหน พระองค์จะทรงถือพระแสงหอกไปด้วยเสมอและเมื่อข้าราชบริพารคนใดทำสิ่งใดให้พิโรธ พระองค์ก็จะทรงใช้พระแสงนั้นทิ่มแทงผู้ที่เคราะห์ร้ายนั้นเสีย

ซาร์อีวานที่ 4 ทรงอภิเษกสมรสอีก 6 ครั้ง แต่ก็ไม่ทำให้พระองค์มีอาการดีขึ้นในบั้นปลายแห่งพระชนม์ชีพ อีวานทรงประสบกับการหลอกหลอนจากกรรมต่าง ๆ ที่ได้ทรงกระทำไว้ในอดีตจนพระเกศาร่วงหมดและทรงร้องครวญครางอยู่ทุกคืน กล่าวกันว่า พระองค์สวรรคตในปี พ.ศ. 2127 ด้วยพระชนม์เพียง 54 ชันษา

พระราชโอรสของซาร์อีวานที่ 4 ทรงพระนามว่า ซาร์เฟโอดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ได้ครองราชย์ต่อจากซาร์อีวานที่ 4 พระองค์ทรงอ่อนแอมาก ราชการแผ่นดินตกอยู่กับบอริส โกดูนอฟ ผู้เป็นพี่เขยของพระองค์ บอริส โกดูนอฟ ตั้งตนขึ้นเป็นซาร์ เมื่อเฟโอดอร์สวรรคต มีผู้กล่าวว่าเขาเป็นผู้ปลงพระชนม์เจ้าชายดมีตรี พระอนุชาของของเฟโอดอร์พระชนม์ 9 พรรษาครึ่งผู้ซึ่งประสูติจากพระมเหสีองค์ที่ 7 ของซาร์อีวานผู้โหดร้าย ซึ่งควรจะเป็นรัชทายาทของราชบัลลังก์รัสเซียต่อ เจ้าชายดมีตรีได้ประทับอยู่ในเมืองเล็ก ๆ ชื่อว่า อูกลิช (Uglich) ถูกลอบปลงพระชนม์โดยถูกตัดคอหอย ประวัติศาสตร์รัสเซียในสมัยโกดูนอฟครองราชย์อยู่นั้นเรียกว่า "สมัยแห่งความวุ่นวาย" คือมีสงครามทั้งภายในและภายนอกอาณาจักร และมีผู้อ้างตัวเป็นซาร์กันหลายครั้งหลายหน โกดูนอฟบังคับให้คณะเซมสกีซอเบอร์หรือคณะสมัชชาแห่งชาติเลือกเขาเป็นซาร์ต่อจากเฟโอดอร์

มีการแย่งชิงราชบัลลังก์ระหว่างราชวงศ์รูริคกับราชวงศ์โรมานอฟ ในที่สุดสมัชชาแห่งชาติและพระราชาคณะแห่งคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ ก็มีมติเลือกมิคาอิล โรมานอฟ ขึ้นเป็นซาร์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์โรมานอฟ ซาร์มิคาอิลที่ 1 แห่งรัสเซีย ได้ขึ้นครองราชสมบัติหลังจากที่ความวุ่นวายทั่วราชอาณาจักรได้สิ้นสุดลงแล้ว เหตุผลที่พระองค์ได้ขึ้นครองราชย์ เนื่องจากว่าทรงมีเชื้อสายของพระนางอะนัสตาเซียและมเหสีสุดที่รักของซาร์อีวานที่ 4 ซึ่งชาวรัสเซียไม่เคยลืมคุณงามความดีของพระนางเลยประชาชนจึงพร้อมใจกันเลือกเชื้อสายของพระนางอะนัสตาเซียให้เป็นกษัตริย์องค์ใหม่ มิคาอิลทรงขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2156 ด้วยพระชนม์เพียง 16 ชันษา พระองค์ทรงเป็นซาร์พระองค์แรกในราชวงศ์โรมานอฟ

รัชสมัยของซาร์ปีเตอร์มหาราชจัดเป็นยุคใหม่ในประวัติศาสตร์รัสเซีย ประวัติศาสตร์รัสเซียในสมัยนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า "สมัยจักรวรรดิรัสเซีย" เพราะองค์เจ้าซาร์เป็นผู้สร้างยุคของพระองค์ขึ้นพระองค์ทรงได้เป็นซาร์ตั้งแต่ยังมีพระชันษาเพียง 10 ชันษาเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2225 และในปีนั้นเองพระองค์ก็ต้องได้รับการแต่งตั้งใหม่ให้เป็นซาร์คู่กับพระเจ้าน้องยาเธอต่างพระราชมารดา คือ ซาร์อีวานที่ 5 แห่งรัสเซีย เมื่อซาร์อีวานที่ 5 สิ้นพระชนม์ ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 มหาราชจึงมีพระราชอำนาจโดยแท้จริง ในยุคของพระองค์ทรงขยายอาณาเขตรัสเซียออกไปทางตะวันออกถึงวลาดีวอสตอค และทรงใช้นโยบายสู้ตะวันตก ทรงนำรัสเซียเข้าสู่ยุคใหม่

ในปี พ.ศ. 2242 (ค.ศ. 1699) ซาร์ปีเตอร์ก็ทรงคิดประดิษฐ์ธงชาติตามแบบอย่างชาติตะวันตก ประกอบด้วยแถบสีขาว น้ำเงิน แดงในแนวนอนเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศและสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวรัสเซียและของภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ ซึ่งธงสามสีดังกล่าวนี้ก็ได้ใช้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ยกเว้นในช่วงเวลางระหว่างที่รัสเซียเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยม

ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ทรงพยายามเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมของรัสเซียที่มีลักษณะเป็นแบบตะวันออกให้เป็นตะวันตกโดยประกาศพระราชโองการให้ประชาชนโกนหนวดเคราทิ้งให้สอดคล้องกับความนิยมของนานาประเทศในยุโรปตะวันตกขณะนั้น เพราะพระองค์ถือว่าหนวดเคราเป็นสัญลักษณ์ของ "โลกเก่า" หรือโลกตะวันออกที่ล้าหลัง หากผู้ใดขัดขืนจะถูกลงโทษ นอกจากนั้นยังทรงนำปฏิทินจูเลียน (Julian Calendar) ที่นิยมกันในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์มาบังคับใช้ในรัสเซียในปี พ.ศ. 2242 (ค.ศ. 1699) แทนปฏิทินแบบเก่าที่นับปีตั้งแต่มีการสร้างโลก ซี่งมีปีศักราชมากกว่าปฏิทินตะวันตก 6,508 ปี โดยในปฏิทินใหม่ให้ถือเอาวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2243 (ค.ศ. 1700) เป็นวันเริ่มปีและศักราชใหม่ของรัสเซีย (เดิมใช้วันที่ 1 กันยายน เป็นวันขึ้นปีใหม่) เพื่อให้นับวันเวลาเดียวกันกับประเทศเหล่านั้น นอกจากนี้ในปี ดังกล่าวและปีต่อมายังทรงออกประกาศบังคับให้ชาวรัสเซียเปลี่ยนแปลงการแต่งกายจากเสื้อคลุมยาวหลวมรุ่มร่ามไม่กระชับตัว เสื้อคลุมมีขนาดยาวประมาณหัวเข่า พร้อมกับมีการจัดแสดงแบบเครื่องแต่งกายทั้งชายหญิงไว้ในที่สาธารณะ เพื่อให้ดูเป็นตัวอย่างซึ่งแบบการแต่งกายที่เริ่มนิยมกันในประเทศอังกฤษในปลายราชวงศ์สจ๊วต ผู้ฝ่าฝืนที่ปรากฏตัวที่ประตูเมืองในชุดเสื้อคลุมยาว จะไม่ได้รับอนุญาตให้ผ่านประตูเมืองจนกว่าจะยอมตัดชายเสื้อคลุมให้มีขนาดสั้นขึ้น

เมื่อปี พ.ศ. 2248 (ค.ศ. 1705) พระองค์ทรงออกพระราชโองการเก็บ “ภาษีหนวดเครา” กับผู้ที่ฝ่าฝืนซึ่งเห็นว่าหนวดเคราเป็นสิ่งที่พระเป็นเจ้าประทานหรือกำหนดให้ผู้ชายต้องมี และการโกนหนวดเคราจึงถือว่าเป็นบาปโดยทรงกำหนดอัตราภาษีหนวดเคราสูงถึง 60-100 รูเบิล กับชนชั้นต่าง ๆ นับแต่พวกราชสำนัก พ่อค้า ชาวเมือง คนรับใช้ คนขับรถม้า คนขับเกวียน และชาวมอสโกทุกคน (ยกเว้นพวกพระและนักเทศน์) ส่วนชาวนาที่ยากจนก็ถูกกำหนดให้จ่ายภาษีหนวดเคราครั้งละ 2.5 โคเปก ทุกที่เดินเข้าออกประตูเมืองกรุงมอสโก อีกทั้งได้มีการพิมพ์หนังสือสมบัติผู้ดีชื่อ The Hunourable Miror of Youth (พ.ศ. 2260) ขึ้นเพื่อให้เยาวชนลูกผู้ดีมีสกุลได้เรียนรู้กิริยามารยาทในการเข้าสังคมแบบตะวันตกอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2255 ทรงย้ายเมืองหลวงจากมอสโกมาที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของอ่าวฟินแลนด์เพื่อเป็น “หน้าต่างแลยุโรป” และเป็นครั้งแรกที่มีการจัดตั้งกองทหารราชนาวีขึ้นในรัสเซีย ทั้งยังทรงนำช่างฝีมือจากฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ มาสร้างวิหารและพระราชวังที่งดงามอีกมากมาย และทรงนำพาจักรวรรดิรัสเซียให้เป็นที่รู้จักเกรียงไกรในสังคมโลก

พระเจ้าปีเตอร์ได้ทรงแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 เขตแดน (guberny) ได้แก่ มอสโก อินเกอร์แมนแลนด์ เคียฟ สโมเลนสค์ คาซาน อาร์คันเกลสค์ อาซอฟ และไซบีเรีย ทุกเขตแดนยกเว้นมอสโกจะมีข้าหลวงซึ่งเป็นคนสนิทของซาร์ออกไปประจำอยู่ ข้าหลวงดังกล่าวมีอำนาจสูงสุดในเขตแดน ทั้งในด้านการบริหาร ตุลาการ การคลัง ตลอดจนการรักษาความปลอดภัย การรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางในลักษณะนี้เป็นการลดอำนาจของขุนนางท้องถิ่น อย่างไรก็ดี ต่อมาในปี พ.ศ. 2262 (ค.ศ. 1719) ได้มีการแบ่งเขตแดนออกอีกเป็น 45 มณฑล (ภายหลังเป็น 50 มณฑล) แต่ละมณฑลปกครองโดย "นายทหารข้าหลวง" มีการแบ่งการปกครองเขตมณฑลย่อยลงเป็นเขต (district) และให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นดูแลปกครองตามแบบอย่างการปกครองท้องถิ่นของสวีเดน แต่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นก็ไม่สามารถเก็บภาษีได้ตามเป้าหมาย โดยเฉพาะภาษีบุคคลจึงมอบอำนาจให้ทหารปกครองเขตแทนในปี พ.ศ. 2265 (ค.ศ. 1722)

ส่วนพวกขุนนางเก่าถูกบังคับให้มอบมรดกที่ดินแก่บุตรชายคนโตเพียงคนเดียวและให้ส่งลูกชายคนรอง ๆ เข้ารับราชการทหารและราชการพลเรือน ยกเลิกยศขุนนางระดับสูงที่เรียกว่า "โบยาร์" และให้ใช้ยศเคานต์ (count) และบารอน (baron) แบบยุโรปตะวันตกแทน พวกขุนนางหนุ่มดังกล่าวก็จะถูกส่งตัวไปรับการศึกษาในประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตกเพื่อนำเอาความรู้ใหม่ ๆ มาพัฒนาประเทศ แต่ขณะเดียวกันซาร์ปีเตอร์ก็ทรงพยายามลดบทบาทของขุนนางโดยทำให้สภาโบยาร์หมดความสำคัญลงด้วย โดยทรงใช้วิธีจัดตั้งสภาองคมนตรี เพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา

เมื่อจักรพรรดินีเอลิซาเบทแห่งรัสเซียสวรรคตในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2259 ซาร์ปีเตอร์ที่ 3 แห่งรัสเซียได้ขึ้นครองราชย์ พระองค์ก็ทรงบริหารจักรวรรดิแบบตามอำเภอใจ ทรงถอยทัพขณะบุกปรัสเซีย ซึ่งทรงชื่นชอบชาติปรัสเซียมากกว่าเชื้อชาติรัสเซียในตัวพระองค์เอง ทรงเปลี่ยนเครื่องแบบราชสำนักรัสเซียให้กลายเป็นสีของทางราชสำนักปรัสเซีย สร้างความไม่พอใจให้ทั้งกองทัพ ประชาชนชาวรัสเซีย พวกขุนนาง แม้แต่พระนางแคเทอรินมเหสีด้วย และเมื่อถึงขีดสุด วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2305 หลังจากที่ปกครองจักรวรรดิได้เพียงแค่ 6 เดือน ก็ทรงถูกพระนางเจ้าแคเทอรินยึดอำนาจอธิปไตยทั้งหมด และถูกนำตัวไปกักขังในคุกชานกรุงเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก หลังจาก 3 วันหลังยึดอำนาจกองทัพก็ได้พระกาศให้พระนางแคเทอรินเป็นจักรพรรดินีแคเทอรินที่ 2 แห่งรัสเซียครองรัสเซียสืบไป

สมัยพระนางเจ้าแคเทอรินที่ 2 การพัฒนาทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมในราชอาณาจักรรัสเซียไม่ค่อยได้สัดส่วนกับการพัฒนาทางด้านการเมือง ตัวอย่างที่เห็นได้ว่าคือเมื่อสิ้นสุดของคริสต์ศตวรรษที่ 18 แล้วรัสเซียได้ถีบตัวเองให้ก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจ แต่เมื่อเทียบกับสภาพชีวิต สังคม และวัฒนธรรมของประชาชนแล้ว อาจกล่าวได้ว่าความเป็นอยู่และการดำเนินชีวิตของชาวรัสเซียนั้นล้าหลังมากเมื่อเทียบกับสภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของประชาชนของประเทศยุโรปตะวันตก

พระนางทรงการยึดคาบสมุทรไครเมียมาจากจักรวรรดิออตโตมัน เพื่อที่รัสเซียจะได้มีทางออกสู่ทะเลดำ และพระนางเจ้าแคเทอรินก็ทรงมีชัยเหนือจักรวรรดิออตโตมันในการครอบครองแหลมไครเมียเป็นพระองค์แรก

ตลอดการครองราชสมบัติของพระนางเจ้าแคเทอริน พระองค์ทรงทำนุบำรุงจักรวรรดิ ปฏิรูปประเทศ วางตัวเหมาะสมเพื่อให้เป็นที่สนใจ และยังนำเบี้ยกำนัลจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นของขวัญให้กับชาวไร่ชาวนาและทาสมากมาย พระนางเจ้าแคเทอรินมีพระโอรส 1 พระองค์ นามว่าพอล พอลเป็นโอรสของพระนางแคเทอรินกับพระเจ้าปีเตอร์ที่ 3 ถึงแม้พระนางแคเทอรินจะมีสามีใหม่ พอลก็ไม่ค่อยจะยอมรับสักเท่าไหร่ ถึงแม้ระยะครองราชย์จะยาวนานแต่ไม่ว่ากิจการใดที่เป็นหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ แคเทอรินก็ไม่เคยย่อท้อ เมื่อพอลอภิเษกสมรสก็มีโอรส 1 พระองค์นามว่า อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ซึ่งแคเทอรินหวังจะให้เป็นองค์รัชทายาทสืบไปหลังจากที่แคเทอรินทรงเล็งเห็นว่าพอลไม่สามารถเป็นซาร์ได้ เสด็จสวรรคตโดยปกครองจักรวรรดิ 34 ปี การปกครองของพระองค์เป็นการอธิบายถึงการเป็น พระประมุขสูงสุดที่ทรงภูมิธรรม (an enlightened despot)

ในสมัยซาร์พอลล์ที่ 1 แห่งรัสเซียมีพระชนมายุ 42 ชันษา การกระทำแรกของพระองค์ในการเป็นพระจักรพรรดิคือการสั่งให้ไต่สวนเรื่องที่เกิดขึ้น เมื่อทราบแน่ชัดแล้วว่าพระราชมารดาสวรรคตจริงจึงได้ออกคำสั่งให้ทำลายพินัยกรรมของพระมารดาทิ้ง ซึ่งเป็นที่กล่าวลือกันว่าพินัยกรรมฉบับนี้เขียนขึ้นจากความปรารถนาที่แคทเธอรีนต้องการจะกีดกันพระองค์จากราชบัลลังก์รัสเซียและยกให้อเล็กซานเดอร์ พระนัดดาพระองค์โตแทน ซึ่งจากความกลัวนี้เองที่น่าจะทำให้พระองค์ประกาศพระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์รัสเซียปี พ.ศ. 2340 หรือเป็นที่รู้จักในนาม "กฎหมายพอลล์ไลน์" เพื่อเป็นการจำกัดหลักในการสรรหารัชทายาทขึ้นสืบราชบัลลังก์ในราชวงศ์โรมานอฟ ซึ่งก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยรัชทายาทของพระองค์เลย พระองค์ขึ้นครองราชย์ ได้เพียง 4 ปี ก็สวรรคต ต่อมาสมัยของซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ทรงเป็นซาร์ของรัสเซียที่เปิดศักราชของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของรัสเซียในช่วงที่อเล็กซานเดอร์ครองราชย์อยู่นั้น นักประวัติศาสตร์รัสเซียได้แบ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยของพระองค์ออกเป็น 3 สมัยคือ

อาณาจักรโปแลนด์ ความฝันของซาร์ตอรีสกีที่ต้องการเห็นประเทศชาติของเขาได้มีอาณาเขตเท่ากับก่อนที่จะถูกแบ่งแยกให้กับชาติมหาอำนาจ 3 ชาติ เมื่อครั้งสมัยพระนางเจ้าแคเทอรินเกือบจะเป็นความจริง เนื่องจากที่ประชุมใหญ่แห่งเวียนนาได้ลงมติให้มี "อาณาจักรโปแลนด์" ขึ้นมาโดยให้มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ

จักรวรรดิรัสเซียในช่วงปี พ.ศ. 2368- พ.ศ. 2391 เป็นสมัยที่ชาวรัสเซียทั่วไปต้องประสบกับการถูกควบคุมตัวอย่างใกล้ชิดจากสถาบันสูงสุดของชาติ เนื่องจากซาร์ที่ปกครองรัสเซียในสมัยนี้คือซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซียนั้น ทรงปกครองประเทศอย่างเข้มงวดเด็ดขาดมาก เนื่องจาก พระองค์นั้นทรงยึดมั่นในทฤษฎีการเป็นกษัตริย์ตามแบบเทวสิทธิ์ที่ว่า กษัตริย์ทรงเป็นผู้ที่พระผู้เป็นเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้นมา สถาบันกษัตริย์จึงเปรียบเทียบได้ว่าเป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้าบนพื้นพิภพ ดังนั้น อำนาจของกษัตริย์จึงเป็นอำนาจสูงสุดที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้ ผู้ใดที่บังอาจคิดร้ายต่อสถาบันกษัตริย์ ต้องถือว่าเป็นกบฏเป็นอาชญากรรมอย่างร้ายแรง ซาร์นิโคลัสที่ 1 ได้ทรงตั้งจุดประสงค์ในการครองราชย์ของพระองค์ซึ่งทางราชการเรียกว่า "Official-Nationality" ในปี พ.ศ. 2376 อันมีคำขวัญว่า อนุรักษนิยม อัตตาธิปไตย และสัญชาติ ผู้ที่ถวายความคิดนี้ คือ เคานต์เซียร์เกย์ อูวารอฟ ดังนั้น ในสมัยนี้จึงจัดว่าเป็นสมัยที่ชาวรัสเซียต้องกระทบกระเทือนกับระบบกลไกต่าง ๆ ของรัฐบาล

มีฮาอิล บาคูนิน ผู้รู้จักกันในนามบิดาแห่งอนาธิปไตย เขาออกจากรัสเซียไปยุโรปตะวันตกในปี พ.ศ. 2385 และกลายเป็นนักสังคมนิยมหลังจากเขามีส่วนร่วมในการปฏิวัติที่เดรสเดินในปีพ.ศ. 2392 เขาถูกจำคุกไปที่ไซบีเรีย ในที่สุดเขาก็หลบหนีมาได้และกลับไปยุโรป เผยแพร่ทฤษฎีอนาธิปไตยจนแพร่หลายในยุโรป ทฤษฎีสังคมของเขาเป็นประโยชน์มากสำหรับกลุ่มหัวรุนแรงที่ต่อต้านระบอบกษัตริย์และพระราชวงศ์ เป็นเหตุให้มีการปฏิวัติขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ เขาคัดค้านลัทธิคอมมิวนิสต์ของคาร์ล มาร์กซ ด้วยเหตุผล ที่ว่าลัทธิคอมมิวนิสต์รวมอำนาจทุกชนิดของสังคมเข้าสู่รัฐ และลงท้ายด้วยการรวมกรรมสิทธิ์ไว้กับรัฐ ซึ่งเขาเห็นว่าจะมีชนชั้นหนึ่งได้ผลประโยชน์จากการให้คงมีรัฐอยู่เสมอ และในกรณีของรัฐคอมมิวนิสต์คือชนชั้นข้ารัฐการ

ตั้งแต่รัสเซียประสบกับความพ่ายแพ้ในสงครามไครเมียแล้ว สถานการณ์ดังกล่าวนี้ได้ทำให้ชาวรัสเซียทั้งมวลทุกชั้นวรรณะ ตลอดจนพระองค์ซาร์เองก็ได้มีความเห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันถึงความจำเป็นในการที่อาณาจักรรัสเซียควรจะเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองและสภาพสังคมในแทบทุก ๆ เรื่อง

ดังนั้นหลังจากที่ได้มีการเซ็นสัญญาสงบศึกกับสัมพันธมิตรเพื่อสงบศึกไครเมียแล้ว ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซียจึงทรงปรึกษาหารือกับบรรดาขุนนาง ถึงการที่จะมีพระราชโองการปลดปล่อยทาสติดที่ดิน ในตอนนี้ปัญหาที่ว่ายังไม่มีถึงเวลาที่จะปลดปล่อยทาสนั้นได้หมดสิ้นไปแล้ว แต่ในที่สุดก็ได้มีปัญหาใหม่ว่าการปลดปล่อยทาสนั้นจะมีวีการอย่างไร แต่ในที่สุดก็ได้มีพระราชโองการปลดปล่อยทาสได้ในที่สุด และผลที่ตามมาก็คือ รัสเซียได้ปฏิรูปงานบริหารราชการแผ่นดินอีกหลายอย่าง รวมทั้งระบบเศรษฐกิจ การทหาร การปกครองในจังหวัดต่าง ๆ และทางด้านการศึกษา

ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ทรงตั้งพระทัยที่จะเปลี่ยนการปกครองเป็นประชาธิปไตยแต่ในตอนเช้าของวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2424 ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ขณะมีพระชนมพรรษา 62 พรรษา ทรงถูกปลงพระชนม์ในขณะเสด็จกลับจากการตรวจแถวทหารมายังพระราชวังฤดูหนาว และพระองค์ก็เสด็จสวรรคตในอีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา พระองค์ถูกปลงพระชนม์โดยพวกอนาธิปไตย

รัสเซียในช่วง พ.ศ. 2424 จนถึง พ.ศ. 2437 เป็นสมัยที่ชาวต่างชาติมักจะมองกันว่ารัสเซียสงบราบรื่น ถึงขนาดที่มีผู้ให้สมญาซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย ว่าทรงเป็น "ซาร์แห่งสันติภาพ" ซึ่งผู้ที่ให้สมญาดังกล่าวอาจจะมองรัสเซียอย่างผิวเผินเฉพาะเหตุการณ์ทางด้านการต่างประเทศ และความสงบจากการที่รัสเซียสามารถแก้ปัญหาจากการปฏิวัติทุกรูปแบบภายในประเทศได้สำเร็จ ทางด้านการต่างประเทศนั้น รัสเซียได้ดำเนินนโยบายเป็นมิตรสนิทกับจักรวรรดิเยอรมนีและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จนกระทั่งเกิดปัญหาเรื่องดินแดนในคาบสมุทรบอลข่านในช่วงปลายปี พ.ศ. 2413 ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับออสเตรียและเยอรมนีก็เริ่มเสื่อมคลายลง รัสเซียจึงเปลี่ยนนโยบายไปเป็นมิตรสนิทสนมกับฝรั่งเศสและอังกฤษ ในรัชสมัยของซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 กลุ่มต่อต้านระบอบกษัตริย์เงียบหายไปอย่างรวดเร็ว มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งได้พยายามวางแผนลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระจักรพรรดิในงานครบรอบหกปีการเสด็จสวรรคตของพระชนกนาถ ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ที่จัดขึ้น ณ ป้อมปีเตอร์และปอล มหาวิหารสุสานหลวงแห่งราชวงศ์โรมานอฟในกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เหล่านักวางแผนก่อการร้ายได้ยัดระเบิดลงไว้ในไส้ข้างในของหนังสือเรียนที่พวกเขาตั้งใจจะขว้างใส่จักรพรรดิขณะเสด็จกลับจากมหาวิหาร อย่างไรก็ตาม ตำรวจลับรัสเซียได้เปิดโปงแผนการร้ายก่อนที่ถูกทำให้สำเร็จลุล่วง นักศึกษาจำนวนห้าคนถูกจับแขวนคอ รวมทั้งอเล็กซานเดอร์ อูลยานอฟ เขามีน้องชายที่มีพรสวรรค์คนหนึ่ง ซึ่งมีความคิดทางการเมืองในเชิงปฏิบัติดังเช่นพี่ชาย เด็กชายคนนั้นคือ วลาดีมีร์ เลนิน ซึ่งอีกหลายปีต่อมาได้ใช้เวลาส่วนมากกับขบวนการปฏิวัติใต้ดินอยู่ในทวีปยุโรปในการหล่อหลอมแนวคิดและทฤษฎีทางการเมืองที่เขาจะนำมาใช้ในประเทศรัสเซียหลังจากการกลับมาในปี พ.ศ. 2460 เพื่อล้างแค้นให้กับการตายของพี่ชาย ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนพ.ศ. 2437 ณ พระราชวังลิวาเดีย ที่ประทับตากอากาศบนแหลมไครเมีย ขณะมีพระชนมพรรษาได้ 49 พรรษา

หลังจากซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งรัสเซียสวรรคต มกุฎราชกุมารนิโคลัสได้ครองราชสมบัติต่อเป็นซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของรัสเซีย พระองค์ขึ้นครองราชย์พร้อมกับการเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส ไม่สามารถตกลงอะไรกันได้กับอังกฤษ ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นจักรพรรดิที่อ่อนแอ ไม่สามารถจัดการกับสถานการณ์ที่ปั่นป่วนของประเทศ พ่ายแพ้การรบทางเรือในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2447-พ.ศ. 2448 ได้ทรงเข้าบัญชาการรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่พระองค์ไม่สามารถควบคุมกองทัพได้

ในปีพ.ศ. 2458 หลังเกิดสงครามโลกเพียงปีเดียว ได้ทรงเข้าเป็นผู้บัญชาการกองทัพรัสเซียเพื่อสู้รบการฝ่ายทหารส่วนกลางและกลุ่มชนชั้นกลางซึ่งเป็นฝ่ายปฏิวัติ ทำให้ราษฎรไม่พอใจลุกขึ้นต่อต้านเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังทรงปล่อยให้ เกรกอรี รัสปูติน พระนอกรีตลึกลับ เข้าไปมีมีอิทธิพลในราชสำนักโดยเฉพาะช่วงที่ขณะออกสงคราม และมีจักรพรรดินีอเล็กซานดราทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ทรงถูกครอบงำ พระองค์จึงถูกโค่นราชบัลลังก์โดยถูกพวกบอลเชวิคที่เป็นฝ่ายปฏิวัติบังคับให้สละราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. 2460 ถูกนำไปกักขังไว้และถูกยิงสิ้นพระชนม์พร้อมพระราชวงศ์หลายพระองค์ นับเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์โรมานอฟอันยาวนาน

การตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ของซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ได้นำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ทั้งชีวิตของทหารและชาวรัสเซียนับล้าน และเกิดการจลาจลขึ้นทั่วประเทศ ในที่สุดปี พ.ศ. 2460 จึงเกิดการปฏิวัติล้มล้างระบบซาร์ พระเจ้านิโคลัสที่ 2 สละราชสมบัติ และได้มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลเฉพาะกิจเคอเรนสกีขึ้นบริหารประเทศ แต่พรรคบอลเชวิค นำโดย วลาดีมีร์ เลนิน ก็ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการบริหารประเทศไว้ได้ โดยเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งประกาศให้ประเทศเป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต

สงครามกลางเมืองรัสเซีย เกิดขึ้นนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2461 กองทัพแดงของพรรคบอลเชวิคถูกคุกคามจากรอบด้าน โดยในยูเครนนั้น เยอรมนีได้สนับสนุนรัฐบาลแยกดินแดนชาวยูเครน ส่วนทางใต้นายทหารซาร์คือ นายพลเดนีกิน (Denikin) ได้จัดตั้งกองทัพอาสาสมัคร มีกำลังสำคัญคือ ทหารคอสแซคขับไล่พวกแดงออกจากเทือกเขาคอเคซัส ในเทือกเขาอูราลและไซบีเรีย นายพลสมัยซาร์คือ นายพล เอ. วี. คอลชัค (A.V. Kolchak) จัดตั้งกองทัพของตนขึ้นมาพร้อมกับประกาศตนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในรัสเซียในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2461 กองกำลังของทั้งสองฝ่ายต่างมุ่งเข้าโจมตีมอสโกใน พ.ศ. 2462 แต่กองทัพคอลแชคถูกกองทัพแดงขับไล่ไปยังไซบีเรียในปี พ.ศ. 2463 ต่อมา กองทัพของนายพลเดนีกินถูกทำลายใน ค.ศ. 1920 และเมื่อมีกองทัพของอดีตนายพลสมัยซาร์อีกคนหนึ่งคือ ยูเดนิช ซึ่งได้ยกจากเอสโตเนีย สู่เปโตรกราด ในฤดูร้อน พ.ศ. 2462 ก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้เช่นเดียวกัน การคุกคามครั้งสำคัญเกิดขึ้นอีกเมื่อโปแลนด์ยกกองทัพบุกยูเครน ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2463 กองทัพแดงขับไล่ทหารโปแลนด์ถอยร่นไปถึงแม่น้ำวิสตูลา แต่ชาวโปลผู้รักชาติสามารถร่วมมือกันรักษากรุงวอร์ซอไว้ได้ และทั้งสองฝ่ายได้ลงนามสงบศึกในเดือนตุลาคม

ความพ่ายแพ้ของฝ่ายขาวทุกด้าน ทำให้บอลเชวิคสามารถขยายอิทธิพลเข้าไปในทุกภูมิภาค แห่งสุดท้ายคือ วลาดีวอสตอค ซึ่งได้รับการฟื้นฟูขึ้นภายหลังการยึดครองของญี่ปุ่นพ.ศ. 2461 ได้ถอนตัวออกไปใน พ.ศ. 2465

ชัยชนะของบอลเชวิคเกิดขึ้นด้วยหลายปัจจัย เช่น การที่เลออน ตรอตสกี (Leon Trotsky) สามารถระดมกำลังทหารของซาร์จัดเป็นกองทัพแดงที่แข็งแกร่ง การควบคุมเขตอุตสาหกรรมสำคัญทางภาคกลาง และความสามารถในการส่งกำลังจากมอสโกออกไปยังที่ที่ต้องการได้เป็นรัศมีกว้าง

เลนินถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2467 โจเซฟ สตาลินขึ้นบริหารประเทศแทนด้วยความเผด็จการ และกวาดล้างทุกคนผู้ที่มีความคิดต่อต้าน เขาเปิดการพัฒนาประเทศสู่อุตสาหกรรมสมัยใหม่จนเทียบเคียงสหรัฐอเมริกา แต่ปัญหาความอดอยากที่เรื้อรังมานานก็ยากเกินเยียวยา และยิ่งเลวร้ายเมื่อฮิตเลอร์สั่งล้อมมอสโกไว้ โดยเฉพาะที่เลนินกราดถูกปิดล้อมไว้นานถึง 900 วันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ชาวรัสเซียเรียกสงครามครั้งนั้นว่า The Great Patriotic War กระนั้นสตาลินก็มีบทบาทในการพิชิตนาซีเยอรมนี ในสงครามโลกครั้งที่สอง

สมัยเริ่มต้นสงครามเย็น น่าจะอยู่ในสมัยวิกฤตการณ์ทางการทูตในตอนกลางและปลาย พ.ศ. 2490 เมื่อสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตเกิดขัดแย้งเรื่องการจัดตั้งองค์การสันติภาพในตุรกี ยุโรปตะวันออก และเยอรมนี ซึ่งทำให้สหรัฐอเมริกาเริ่มตระหนักว่าเป็นหน้าที่ของตนที่จะต้องเป็นผู้นำต่อต้านแผนการยึดครองโลกของสหภาพโซเวียตที่เป็นผู้นำฝ่ายคอมมิวนิสต์

ปี พ.ศ. 2498 นิกิตา ครุสชอฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำโดยมีแนวคิดในการบริหารประเทศที่เน้นการอยู่ร่วมกัน มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนผ่อนคลายความเข้มงวดให้น้อยกว่าสมัยสตาลิน รวมถึงเปิดพระราชวังเครมลินเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชนได้เข้าชมอีกด้วย ปี พ.ศ. 2507 ครุชชอฟลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคแทน เบรจเนฟแผ่อิทธิพลไปถึงจีน คิวบา และอัฟกานิสถาน เพิ่มความเครียดไปทั่วโลก เขาจึงนำนโยบายต่างประเทศที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อ การผ่อนคลายความตึงเครียด มาใช้โดยปีพ.ศ. 2523 มอสโกได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 22

มิคาอิล กอร์บาชอฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมิวนิสต์ และขึ้นเป็นประธานาธิบดีแทนนายอังเดร โกรมิโกรที่ลาออกในปี พ.ศ. 2531 เขาเป็นผู้นำการปฏิรูปโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เรียกว่า เปเรสตรอยกา (Perestroyka) โดยนำพาประเทศเข้าสู่ระบบทุนนิยม มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และพัฒนาฝีมือแรงงานรวมถึงเสนอนโยบายเปิดกว้างกลาสนอสต์ (Glasnost) คือให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชน มีการติดต่อด้านการค้ากับตะวันตก รวมถึงถอนกำลังออกจากยุโรปตะวันออกและอัฟกานิสถานและยังได้เข้าร่วมกับองค์การนาโต้หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ในปี พ.ศ. 2533 กอร์บาชอฟได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ รวมถึงได้รับยกย่องจากนิตยสารไทม์ให้เป็นบุรุษแห่งทศวรรษ (Man of the Decade) กระนั้นปัญหาขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค และความล้าหลังทางการผลิตที่สั่งสมมานานก็ทำให้นโยบายเปเรสตรอยกาล้มเหลว ความนิยมในกอร์บาชอฟเริ่มตกลง

ต่อมาเกิดรัฐประหารขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534 โดยกลุ่มคอมมิวนิสต์หัวเก่าที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงสู่ตลาดเสรี แต่บอริส เยลต์ซิน ก็สามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ กอร์บาชอฟจึงสิ้นคะแนนนิยมอย่างแท้จริง เขาประกาศลาออกจากตำแหน่ง รวมถึงประกาศยกเลิกพรรคคอมมิวนิสต์ต่อหน้ามหาชน พร้อมด้วยการก้าวขึ้นเป็นผู้นำของเยลต์ซิน สหภาพโซเวียตจึงล่มสลาย สาธารณรัฐต่าง ๆ 15 แห่งประกาศแยกตัวเป็นอิสระ หนึ่งในนั้นคือสาธารณรัฐรัสเซียซึ่งใช้ใหม่ชื่อว่า สหพันธรัฐรัสเซีย โดยมี 11 รัฐที่รวมตัวกันตั้งเป็นเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent Stage หรือ CIS) ซึ่งมีรัสเซีย, ยูเครนและเบลารุส เป็นแกนนำสำคัญ กับการบริหารปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยที่ส่งให้เยลต์ชินดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีถึง 2 สมัย ปี พ.ศ. 2543 มีการเลือกตั้งครั้งที่ 3 นายวลาดีมีร์ ปูติน ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจนถึง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ก็หมดวาระ ประธานาธิบดีคือ ดมิตรี มิดเวดิฟ และต่อมานายวลาดีมีร์ ปูตินได้ชนะการเลือกตั้งดำรงต่อในปัจจุบัน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301