ประมุขแห่งรัฐ (อังกฤษ: head of state) เป็นคำที่ใช้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายระหว่างประเทศ รัฐศาสตร์และพิธีการทูตเมื่อหมายถึงข้าราชการ (official) ที่ดำรงตำแหน่งสูงสุดในรัฐเอกราชหนึ่ง ๆ และมีอำนาจเด็ดขาดหรือจำกัดที่จะปฏิบัติเป็นผู้แทนสาธารณะสูงสุด (chief public representative) ของรัฐ ประมุขแห่งรัฐในประเทศส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดาที่ดำรงตำแหน่ง หากในบางประเทศ คณะบุคคลอยู่ในตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ เช่น สภาสหพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ ประธานาธิบดีบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และผู้ครองนครร่วม (Captains Regent) ซานมารีโน
คำว่า "ประมุขแห่งรัฐ" มักใช้เพื่อแยกความแตกต่างจากคำว่า "หัวหน้ารัฐบาล" ยกตัวอย่าง ในอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ข้อ 7 และอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมที่กระทำต่อบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองระหว่างประเทศ รวมทั้งตัวแทนทางทูต ข้อ 1 เช่น ระบบรัฐสภาอย่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พระมหากษัตริย์และประธานาธิบดีได้รับการยอมรับเป็นประมุขแห่งรัฐในสองประเทศนี้ตามลำดับ ขณะที่นายกรัฐมนตรีได้รับการยอมรับเป็นหัวหน้ารัฐบาล อย่างไรก็ดี ในสาธารณรัฐที่มีระบบประธานาธิบดี เช่น สหรัฐอเมริกาและสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ประธานาธิบดีได้รับการยอมรับเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งบุคคลที่เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลยังอาจเกิดได้ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชและบางครั้งเช่นเดียวกับระบอบเผด็จการอื่น ๆ
บทบาทของประมุขแห่งรัฐโดยทั่วไป รวมทั้งการใช้อำนาจทางการเมือง และหน้าที่ ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประเทศนั้น ๆ อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูตปฏิบัติภายใต้ข้อสันนิษฐานว่า หัวหน้าคณะทูต (คือ เอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต) ของประเทศผู้ส่งถูกถือว่าเป็นของประมุขแห่งรัฐรัฐผู้รับ มักคิดกันว่าประมุขแห่งรัฐเป็น "ผู้นำ" อย่างเป็นทางการของรัฐชาติหนึ่ง ๆ ปัจจุบัน หลายประเทศคาดหวังให้ประมุขแห่งรัฐของตนรวมค่านิยมของชาติในแบบนิยมที่คล้ายกัน
แต่ละประเทศมีรูปแบบของประมุขแห่งรัฐที่แตกต่างกัน ขึ้นกับรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศได้ระบุไว้ แบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
ประมุขแห่งรัฐประเภทนี้จะไม่มีอำนาจในการปกครองต่อรัฐบาล เป็นเพียงสัญลักษณ์ทางการเมือง และศูนย์รวมจิตใจของประชาชน มีบทบาทในทางพิธีการเท่านั้น เช่น
ตามระบอบรัฐสภา ประมุขแห่งรัฐอาจมีบทบาทเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศเฉพาะในนาม เช่น รัฐบาลของสหราชอาณาจักร ถูกเรียกว่าเป็นรัฐบาลของสมเด็จพระราชินี ไม่ใช่รัฐสภา ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ผู้ใช้อำนาจเหล่านั้นคือนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐบาลอยู่ใต้อำนาจของสภานิติบัญญัติ แทนที่จะเป็นประมุขแห่งรัฐ
ระบอบรัฐสภามีความแตกต่างในรายละเอียดตามแต่ละประเทศ ในบางประเทศ ประมุขแห่งรัฐสามารถให้คำแนะนำ ให้กับคณะรัฐบาลได้โดยไม่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ
ระบอบประธานาธิบดีคือระบอบที่ตั้งให้ประมุขแห่งรัฐมีอำนาจสูงสุดอย่างเต็มที่ คณะรัฐบาลอยู่ใต้อำนาจของประมุขแห่งรัฐ เช่น อำนาจในการแต่งตั้งหรือถอดถอนคณะรัฐบาล ในรัฐธรรมนูญของบางประเทศอาจให้มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีควบคู่ไปกับประธานาธิบดีได้ แต่ส่วนมากนายกรัฐมนตรีในระบอบประธานาธิบดีจะไม่มีอำนาจเท่ากับในระบอบรัฐสภา
ระบอบกึ่งประธานาธิบดีเป็นการผสมผสานระหว่างระบอบประธานาธิบดีกับระบอบรัฐสภาเข้าด้วยกัน รัฐบาลอยู่ใต้อำนาจของทั้งประธานาธิบดีและสภานิติบัญญัติ ตัวอย่างเช่น ฝรั่งเศส (ในยุคสาธารณรัฐที่ห้า) ประธานาธิบดีมีสิทธิ์แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี แต่นายกรัฐมนตรีเองต้องได้รับเสียงข้างมากจากสภานิติบัญญัติด้วยเช่นกัน
บทบาทของประมุขแห่งรัฐแตกต่างกันตามแต่ละประเทศ แต่สามารถแบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ที่พบบ่อยดังนี้