ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน

เบือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุค [(เยอรมัน: B?rgerliches Gesetzbuch) ; ย่อ: เบเกเบ (เยอรมัน: BGB)] หรือ ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน เป็นประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศเยอรมนีซึ่งเริ่มร่างเมื่อ ค.ศ. 1881 (พ.ศ. 2424) และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1900 (พ.ศ. 2443) นับเป็นโครงการขนาดมหึมาและไม่ปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์โลกโครงการหนึ่ง กับทั้งกลายมาเป็นแม่แบบของประมวลกฎหมายแพ่งแห่งประเทศอื่น ๆ ที่ใช้ระบบซีวิลลอว์ อาทิ โปรตุเกส จีนแผ่นดินใหญ่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน กรีซ ยูเครน และรวมถึงไทย เองด้วย

การประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสหรือประมวลกฎหมายนโปเลียน (ฝรั่งเศส: Code Napol?on) เมื่อ ค.ศ. 1804 (พ.ศ. 2347) ส่งอิทธิพลมายังประเทศเยอรมนีครั้งที่ยังเป็นสมาพันธรัฐให้จัดทำประมวลกฎหมายแพ่งดุจกัน อันจะเป็นการจัดระบบและรวบรวมกฎหมายที่ต่างแบบกันทั้งหลายซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน แต่หนทางไปสู่ความฝันครั้งนี้ของประเทศเยอรมนียังขรุขระนัก เนื่องเพราะช่วงนั้นยังไม่มีองค์กรนิติบัญญัติที่เหมาะสม กับทั้งได้รับเสียงคัดค้านอย่างหนักจากสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์เยอรมันที่นำโดย ฟรีดริช คาร์ล ฟอน ซาวิจนือ (เยอรมัน: Friedrich Carl von Savigny)

กระนั้น ใน ค.ศ. 1871 (พ.ศ. 2414) รัฐต่าง ๆ ในประเทศเยอรมันร่วมกันนำพาประเทศเข้าสู่ระบอบจักรวรรดิ ซึ่งในช่วงแรกรัฐต่าง ๆ ยังบริหารอำนาจนิติบัญญัติอย่างเอกเทศ กระทั่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิเยอรมนีเมื่อ ค.ศ. 1873 (พ.ศ. 2416) ส่งผลให้เกิดการจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้นทำหน้าที่องค์กรกลางในการนิติบัญญัติ และมีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการหลายคณะเพื่อร่างกฎหมาย เพื่อใช้เป็นรากฐานในการจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งใช้บังคับตลอดจักรวรรดิแทนที่กฎหมายที่ใช้บังคับเฉพาะถิ่นอย่างเดิม

ประมวลกฎหมายแพ่งฉบับแรกร่างเสร็จใน ค.ศ. 1888 (พ.ศ. 2431) แต่ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์เชิงลบอย่างท่วมท้น คณะกรรมการชุดใหม่จึงได้รับการแต่งตั้งขึ้น ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิยี่สิบสองคนจากหลายสาขา อาทิ ผู้แทนนักนิติศาสตร์ ผู้แทนนักเศรษฐศาสตร์ และผู้แทนนักปรัชญา ทำหน้าที่ร่างประมวลกฎหมายแพ่งฉบับใหม่ ได้แก่ "เบือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุค" นี้ ซึ่งต่อมาผ่านการพิจารณาสำคัญหลายครั้งกระทั่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติเยอรมนีลงมติรับรองให้ใช้เป็นกฎหมายได้ใน ค.ศ. 1896 (พ.ศ. 2439) และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1900 (พ.ศ. 2443) ตราบวันนี้

ในยุคนาซี รัฐบาลนาซีมีแผนการจะยกเลิกเบือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุคทั้งหมด แล้วประกาศใช้ประมวลกฎหมายใหม่ที่ตั้งใจจะให้เรียก "โฟคส์เกเซทซ์บุค" (เยอรมัน: Volksgesetzbuch) หรือ "ประมวลกฎหมายแห่งปวงชน" แทนที่ โดยประมวลกฎหมายใหม่ที่จัดทำขึ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับอุดมคติของรัฐบาลนาซี มากกว่าเจตนารมณ์แบบเสรีนิยมของเบือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุค แต่แผนการครั้งนี้มิเคยกลายเป็นจริง

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเยอรมนีแบ่งออกเป็นสองฟาก ฟากตะวันตกยึดถือระบอบประชาธิปไตยแบบทุนนิยม ส่วนฟากตะวันออกยึดถือระบอบสังคมนิยม กระนั้น เบือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุคยังคงทำหน้าที่เป็นกฎหมายแพ่งของทั้งสองฟากอยู่ กระทั่งฟากตะวันค่อย ๆ ประกาศใช้กฎหมายใหม่ที่ละอย่างสองอย่างเพื่อแทนที่เบือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุค โดยเริ่มประกาศใช้ประมวลกฎหมายครอบครัวก่อนใน ค.ศ. 1966 (พ.ศ. 2509) และกฎหมายอื่น ๆ จนสิ้นสุดลงที่การประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งใหม่ทั้งฉบับใน ค.ศ. 1976 (พ.ศ. 2519) เรียก "ซีวิลเกเซทซ์บุค" (เยอรมัน: Zivilgesetzbuch) และรัฐบัญญัติว่าด้วยสัญญา ค.ศ. 1982 (พ.ศ. 2525) แต่ฟากตะวันตกนั้นยังใช้เบือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุคอยู่ กระทั่งมีการสร้างเอกภาพใหม่ในเยอรมนีเพื่อรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวเมื่อ ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) เบือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุคจึงกลับมีผลใช้บังคับทั่วประเทศเยอรมนีอีกครั้ง

ในฟากตะวันตกตลอดมาจนเมื่อสร้างเอกภาพใหม่ในเยอรมนี เบือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุคได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาหลายครานับแต่ประกาศใช้เป็นครั้งแรกมา ครั้งสำคัญได้แก่ใน ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) ที่มีการชำระขนานใหญ่ซึ่งบรรพ 3 อันว่าด้วยหนี้ ส่งผลให้แนวทางของศาลในการปรับใช้และตีความกฎหมายแพ่งต้องพัฒนาเป็นการใหญ่ไปด้วย

เบือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุคยังคงมีบทบาทเป็นศูนย์กลางของระบบซีวิลลอว์ในประเทศเยอรมนี มีอิทธิพลเหนือกฎเกณฑ์หลัก ๆ ที่ตราขึ้นต่อ ๆ มา แม้ปัจจุบัน ดังนั้น ในประมวลกฎหมายพาณิชย์เยอรมันจึงเป็นแต่กฎเกณฑ์พิเศษที่กำหนดขึ้นมาควบคุมห้างหุ้นส่วนสามัญและห้างหุ้นส่วนจำกัด เพื่อประกอบกฎเกณฑ์ทั่วไปที่มีแล้วในเบือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุค

ระบบควบคุมสังคมตามเบือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุคเป็นแนวความคิดอันเป็นแบบอย่างทางนิติศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 (พุทธศตวรรษที่ 24) เมื่อแรกประกาศใช้ก็ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์เซ็งแซ่ว่าไม่ได้คำนึงถึงการกำหนดให้ทุกฝ่ายมีความรับผิดชอบต่อสังคม นักนิติศาสตร์ก็ช่วยกันปรับปรุงระบบดังกล่าวเรื่อยมาเพื่อให้ใช้การได้ดีที่สุด และเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยอิทธิพลของกฎหมายแห่งสหภาพยุโรปอันเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ เบือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุคก็ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมอย่างมากเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศนี้ ทั้งนี้ นักนิติศาสตร์มองว่าการปรับปรุงเบือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุค เป็นไปเพื่อยังให้เกิดผลจริงซึ่งการทำให้กฎหมายว่าด้วยหนี้เกิดความทันสมัยขึ้นตามแนวความคิดสมัยใหม่ใน ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545)

เบือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุคมีโครงสร้างที่ได้รับการดัดแปลงจากกฎหมายโรมันจนพิสดาร หรือที่เรียกว่า "กฎหมายพิสดาร" (อังกฤษ: pandect) โดยมีเนื้อหาสาระครอบคลุมกฎเกณฑ์เกี่ยวกับบุคคล ทรัพย์ ครอบครัว และมรดก เช่นเดียวกับประมวลกฎหมายของชาติอื่น ๆ ที่ได้รับอิทธิพลจากกฎหมายโรมัน แต่ต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสหรือ "ประมวลกฎหมายนโปเลียน" (ฝรั่งเศส: Code Napol?on) และประมวลกฎหมายแพ่งออสเตรียหรือ "อัลเกไมส์เบือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุค" (เยอรมัน: Allgemeines b?rgerliches Gesetzbuch) ตรงที่เบือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุคประมวลบทบัญญัติทั่วไปมาไว้เป็นส่วนแรกสุด ทำให้เข้าใจบทบัญญัติในส่วนอื่น ๆ ได้ง่าย

"หากไม้ยืนต้นเจริญคาบขอบที่ดินสองที่ ผู้อยู่ข้างเคียงขอบที่ดินเช่นว่าย่อมมีสิทธิเสมอกันในสิ่งงอกเงยจากไม้ยืนต้นนั้น และในลำต้นแห่งไม้ยืนต้นนั้นเมื่อถูกโค่นลง"


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301