ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ประตูบรันเดนบูร์ก

ประตูบรันเดนบูร์ก (เยอรมัน: Brandenburger Tor) เป็นอดีตประตูเมืองที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นประตูชัยที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก (Neoclassical) และปัจจุบันถือว่าเป็นสถานที่สำคัญที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดีใน กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ประตูบรันเดนบูร์กตั้งอยู่ฝั่งตะวันของใจกลางกรุงเบอร์ลินบริเวณชุมทางระหว่างถนนหลวงอุนเทอร์ เดน ลินเดน (Unter den Linden) กับถนนอีบัทสทราสเซ่ (Ebertstra?e) และอยู่ทางทิศตะวันตกของจัตุรัสพาริเซอร์ (Pariser Platz) ห่างประตูออกไปทางเหนือหนึ่งบล็อก เป็นที่ตั้งของ อาคารรัฐสภาไรชส์ทาค

ประตูแห่งนี้เป็นอนุสรณ์ของทางเข้าสู่ถนนอุนเทอร์ เดน ลินเดน ซึ่งเป็นถนนหลวงที่มีชื่อเสียงมาจากต้นลินเดน (บางที่เรียกต้นทิเลีย หรือต้นไลม์) ซึ่งเป็นถนนที่ตรงไปสู่พระราชวังเมือง (Stadtschloss/Berlin City Palace) ของพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรปรัสเซีย (Prussia) พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 แห่งปรัสเซียทรงมีรับสั่งให้สร้างประตูบรันเดนบูร์กเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ใช้เวลาสร้างตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2331 ถึงปี 2334 โดยนายคาร์ล ก็อทท์ฮาร์ด แลงฮานส์ แล้วได้รับความเสียหายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาประตูบรันเดนเบิร์กก็ได้รับการบูรณะจนเสร็จสิ้นในช่วงปีพุทธศักราช 2543 ถึง 2545 โดยมูลนิธิอนุรักษ์อนุสาวรีย์เบอร์ลิน (Stiftung Denkmalschutz Berlin)

ในช่วงหลังสงครามที่ได้แบ่งประเทศเยอรมนีออกเป็นสองส่วน ประตูบรันเดนบูร์กตั้งอยู่ในเยอรมนีตะวันออก และได้แยกออกจากเยอรมนีตะวันตก ซึ่งมีกำแพงเบอร์ลินกั้นไว้ บริเวณโดยรอบประตูถือว่าเป็นจุดเด่นที่เด่นชัดที่สุดในการคุ้มครองสื่อในการเผยแพร่การเปิดผนังกำแพงในปีพุทธศักราช 2532 ตั้งแต่มีการสร้างประตู บ่อยครั้งเกิดเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเยอรมนีในบริเวณประตูบรันเดนบูร์ก และวันนี้ก็ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของความปั่นป่วนในประวัติศาสตร์ยุโรป แต่ก็เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นเอกภาพและสันติภาพของยุโรปด้วย

ปีพุทธศักราช 2231 ในรัชสมัยของพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 หลังผ่านเหตุการณ์สงครามสามสิบปี และก่อนการสร้างประตูบรันเดนบูร์กไม่นาน กรุงเบอร์ลินนั้นเต็มไปด้วยทางเดินเล็กๆ ภายในป้อมดาว (star fort) ที่มีประตูมากมายหลายชื่อ แต่ประตูบรันเดนเบิร์กไม่ใช่ส่วนหนึ่งของป้อมปราการเก่า แต่หนึ่งใน 18 ประตูของกำแพงเข้าเมืองเบอร์ลิน (Berlin Customs Wall) ซึ่งถูกสร้างในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1730 โดยสร้างทับไปกับป้อมปราการเก่าขยายไปถึงชานเมือง

ประตูบรันเดนบูร์กถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 เพื่อเป็นตัวแทนแห่งสันติภาพ ประตูถูกออกแบบโดยคาร์ล ก็อทท์ฮาร์ด แลงฮานส์ผู้อำนวยการสำนักงานศาลสิ่งก่อสร้าง ประตูบรันเดนบูร์กใช้เวลาก่อสร้างระหว่างปี พ.ศ. 2331 ถึง พ.ศ. 2334 เพื่อทดแทนประตูดั้งเดิมของกำแพงเข้าเมืองเบอร์ลิน ประตูนี้ประกอบไปด้วยเสาแบบดอริก 12 ต้น ด้านละ 6 ต้น และมี 5 ช่องทางเดิน ประชาชนทั่วไปอนุญาตให้เดินผ่านแต่ช่องทางเดินริมสุดของทั้งสองด้านเท่านั้น บนสุดเป็นปฏิมากรรมรูปควอดริก้า ซึ่งก็คือรถม้าลาก มีม้า 4 ตัว เป็นราชรถของวิคตอเรีย เทพแห่งชัยชนะ

ประตูบรันเดนบูร์กออกแบบโดยมีประตูโพรไพเลีย (Propylaea) ของป้อมปราการอะโครโพลิส กรุงเอเธนส์เป็นต้นแบบ ผสมผสานกับประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมของเบอร์ลินในยุคคลาสสิค (ยุคแรก, บารอก, และพาลเลเดียน) และปฏิมากรรมควอดริก้าถูกแกะสลักโดยโจฮานน์ ก็อทฟริด ชาโดว์

ตั้งแต่มันถูกสร้างเสร็จ รูปแบบหลักของประตูบรันเดนบูร์กยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเป็นเช่นไรก็ตามในช่วงประวัติศาสตร์เยอรมนีหลังจากนั้น ต่อมา (พ.ศ. 2349) ปรัสเซียได้พ่ายแพ่สงครามในสมรภูมิจีน่า-ออสเตรดท์ (Battle of Jena-Auerstedt) นโปเลียน โบนาปาร์ตก็เป็นบุคคลแรกที่ใช้ประตูบรันเดนบูร์กจัดขบวนแห่ฉลองชัย และได้เอาควอดริก้ากลับไปยังกรุงปารีส

หลังจากนโปเลียนแพ้สงครามในปี พ.ศ. 2357 อาณาจักรปรัสเซียเข้ายึดครองกรุงปารีสโดยนายพลเอิร์นส์ ฟอน ฟิว (Ernst Von Pfuel) และได้นำเอาควอดริก้ากลับมาบูรณะยังกรุงเบอร์ลิน ทั้งยังได้เพิ่มมงกุฎใบโอ้คให้เทพวิคตอเรีย และเพิ่มสัญลักษณ์กางเขนเหล็ก (Iron cross) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ใหม่ที่แสดงอำนาจของปรัสเซีย และหัวหน้าไปทางทิศตะวันออกเช่นเดิมที่เคยเป็นมา โดยทั่วไปแล้วมีแค่พระราชวงศ์เท่านั้นที่อนุญาตให้ผ่านทางเดินช่องกลาง แต่กระนั้นตระกูลของฟิวและเหล่าเอกอัคราชทูตที่มาส่งสาส์นให่แก่สภาก็ได้รับอนุญาตให้ผ่านทางเดินช่องกลางด้วยเช่นกัน

เมื่อกองทัพนาซีขึ้นมามีอำนาจก็ได้ใช้ประตูแห่งนี้เป็นสัญลักษณ์ของพรรค ประตูบรันเดนบูร์กรอดพ้นจากสงครามโลกครั้งที่สองมาได้ แต่ก็ได้รับความเสียหายมากจากกระสุนและระเบิดที่เกิดขึ้นบริเวณใกล้เคียง ชิ้นส่วนโครงสร้างบางส่วนยังคงอยู่ในจัตุรัสพาริเซอร์ ส่วนที่เหลือเก็บไว้ที่สถาบันวิจิตรศิลป์ (Academy of Fine Arts) ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย หลังจากที่เยอรมันยอมยกธงขาวและสงครามสิ้นสุดลง คณะบริหารของเบอร์ลินตะวันออกและเบอร์ลินตะวันตกได้ร่วมกันซ่อมแซมบูรณะประตูขึ้นอีกครั้ง แต่ก็ยังเห็นรอยปะรอยซ่อมแซมอยู่นานหลายปีหลังการบูรณะ

ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2533 ควอดริก้าถูกย้ายออกจากประตู เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินการปรับปรุงโดยเจ้าหน้าที่ของเยอรมันตะวันออก หลังจากการทำลายกำแพงเบอร์ลินในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2533 ประเทศเยอรมนีก็รวมกันอย่างเป็นทางการ

ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ประตูบรันเดนบูร์กได้รับการตกแต่งฟื้นฟูใหม่โดยองค์กรเอกชน ใช้งบประมาณ 6 ล้านยูโร

ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ครบรอบ 12 ปีของการรวมประเทศเยอรมนี ประตูบรันเดนบูร์กก็เปิดตัวครั้งใหม่ หลังจากได้รับการปรับปรุงซ่อมแซมอย่างมากมาย

ปัจจุบันประตูบรันเดนบูร์กไม่อนุญาตให้รถยนต์สัญจรผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่ของจัตุรัสพาริเซอร์เป็นถนนคนเดินที่ปูด้วยหิน มีถนน 17 มิถุนา (Stra?e des 17. Juni) ผ่านทางทิศตะวันตกของประตู ประตูบรันเดนบูร์กถือว่าเป็นรวมตัวจุดหนึ่งของเบอร์ลินที่ผู้คนนับล้านรวมตัวกันเพื่อชมการแสดงบนเวที, งานเฉลิมฉลอง, และชมดอกไม้ไฟที่จุดขึ้นตอนเที่ยงคืนของคืนวันปีใหม่

ยานพาหนะและคนเดินถนนสามารถท่องเที่ยวชมประตูบรันเดนบูร์กได้ฟรี ประตูบรันเดนบูร์กตั้งอยู่ในเยอรมนีตะวันออกในช่วงที่ยังคงมีกำแพงเบอร์ลินอยู่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ช่องข้ามกำแพงเบอร์ลินบางส่วนถูกเปิดออกมาจากเยอรมนีตะวันออก โดยทั่วไปแล้วช่องข้ามนี้จะไม่เปิดให้ชาวเบอร์ลินตะวันออกหรือชาวเยอรมันตะวันออกข้ามไปแต่อย่างใด มันเป็นเรื่องยากมากที่พวกเขาเหล่านั้นจะขอวีซ่าเดินทางออกนอกประเทศไปไหนได้ ในวันที่ 14 ตุลาคม ชาวเยอรมันตะวันตกได้รวมตัวกันบริเวณกำแพงฝั่งตะวันตกเพื่อแสดงการต่อต้านการมีอยู่ของกำแพงเบอร์ลิน ท่ามกลางกระแสของนายกเทศมนตรีเบอร์ลินตะวันตก นายวิลลี่ แบรนด์ท ผู้ที่กลับมาจากการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งระดับชาติของเยอรมนีตะวันตกในช่วงรุ่งสางของวันเดียวกัน

ภายใต้ข้ออ้างที่เหล่าผู้ชุมนุมประท้วงจากเยอรมนีตะวันตกต้องการ เยอรมนีตะวันออกได้ทำการปิดด่านตรวจคนเข้าเมืองบริเวณประตูบรันเดนบูร์กในวันเดียวกัน จนกว่าจะมีการประกาศสถานการณ์ที่เป็นไปจนถึงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2532

กำแพงถูกสร้างเป็นทางโค้งล้ำไปทางทิศตะวันตก ตัดขาดการเข้าถึงกับเบอร์ลินตะวันตก ทางฝั่งตะวันออกมีกำแพงเล็กๆ เรียกว่า "Baby Wall" กั้นอยู่สุดทางของจัตุรัสพาริเซอร์ เป็นการจำกัดการเข้าถึงของชาวเยอรมันตะวันออกเช่นกัน

เมื่อเกิดการปฏิวัติขึ้นในปี พ.ศ. 2532 มีการทำลายกำแพงเบอร์ลิน ประตูบรันเดนบูร์กจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของอิสรภาพและความปรารถนาในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเบอร์ลิน คนนับพันชุมนุมกันที่บริเวณกำแพงเพื่อเฉลิมฉลองการพังทลายของมันในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ต่อมาวันที่ 22 ธันวาคมปีเดียวกัน ทางข้ามกำแพงตรงประตูบรันเดนบูร์กก็เปิดอีกครั้งโดยนายเฮลมุต โคห์ล นายกรัฐมนตรีแห่งเยอรมนีตะวันตก เมื่อเขาเดินผ่านทางข้ามก็ได้รับการต้อนรับจากนายฮานส์ โมโดรว นายกรัฐมนตรีแห่งเยอรมนีตะวันออก ส่วนการรื้อถอนกำแพงส่วนที่เหลือก็เกิดขึ้นในปีถัดไป

ประตูบรันเดนบูร์กกลายเป็นสถานที่หลักในการจัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปีของการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินหรือ "เทศกาลแห่งอิสรภาพ" (Festival of Freedom) เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จุดสนใจของงานนี้คือการล้มกระเบื้องโฟมโดมิโนสีสันสดใสสูง 2.5 เมตรกว่า 1000 ชิ้น ที่ตั้งอยู่ตามเส้นแนวกำแพงเก่ากลางเมืองเบอร์ลิน มาบรรจบชนกันพอดีตรงประตูแห่งนี้

ธงของสหภาพโซเวียตโบกสะบัดอยู่ยอดเสาบนของประตูบรันเดนบูร์กตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 จนถึง พ.ศ. 2500 ต่อมาเปลี่ยนเป็นธงของเยอรมันตะวันออกแทน จนกระทั่งประเทศเยอรมนีรวมเป็นหนึ่ง ก็ได้นำเอาธงและเสาธงออกจากประตูบรันเดนบูร์ก

ในปี พ.ศ. 2506 จอห์น เอฟ. เคนเนดี ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเดินทางมาบริเวณประตูบรันเดนบูร์ก โซเวียตทำการแขวนป้ายสีแดงขนาดใหญ่เพื่อป้องกันมิให้เขามองเข้ามายังเยอรมนีตะวันออก

ในคริสต์ทศวรรษที่ 1980 การสืบข่าวระหว่างเยอรมันทั้งสองฝั่งยังคงเกิดขึ้น นายริชาร์ด ฟอน ไวซ์แซคเกอร์นายกเทศมนตรีของเยอรมนีตะวันตกในขณะนั้นกล่าวว่า "ความคลางแคลงใจของชาวเยอรมันยังคงมีอยู่ตราบใดที่ประตูบรันเดนบูร์กยังถูกปิด"

ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2530 โรนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ปราศัยแก่ชาวเยอรมนีตะวันตกบริเวณประตูบรันเดนบูร์ก ว่ามีความประสงค์อยากจะรื้อถอนกำแพงเบอร์ลิน โดยได้กล่าวถึงเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตมีฮาอิล กอร์บาชอฟว่า

วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2532 เกือบสองเดือนหลังจากกำแพงเริ่มถูกทำลาย นายเลนนาร์ด เบิร์นสไตน์ วาทยกรชื่อดังชาวอเมริกัน ร่วมกับคณะซิมโฟนีเบอร์ลิน บรรเลงเพลงซิมโฟนีหมายเลข 9 ของลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน ที่ประตูบรันเดนบูร์ก ในตอนจบของเพลงได้เปลี่ยนคำร้องของคณะประสานเสียงจาก "Joy" ที่แปลว่าความปีติยินดี เป็น "Freiheit" ที่แปลว่าอิสรภาพ เพื่อเฉลิมฉลองการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินและการรวมประเทศที่ใกล้ที่เกิดขึ้น

วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ประธานาธิดีสหรัฐอเมริกาบิล คลินตัน ได้ปราศัยถึงสันติภาพหลังสงครามเย็นในยุโรป ที่ประตูแห่งนี้

วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีหญิงของเยอรมนี ร่วมด้วยนายมีฮาอิล กอร์บาชอฟ อดีตผู้นำสหภาพโซเวียต และนายเลช วาเลซาอดีตประธานาธิบดีโปแลนด์ในช่วงที่เกิดการทุบทำลายกำแพง ได้เดินทางไปยังประตูบรันเดนบูร์กเพื่อเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองครบ 20 ปีการพังทลายกำแพงเบอร์ลิน

วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554 วันครบรอบ 50 ปีของการสร้างกำแพงเบอร์ลิน มีการรำลึกและไว้อาลัยแก่ผู้ที่เสียชีวิตจากความพยายามที่จะหนีไปยังฝั่งตะวันตก นายเคล้าส์ โวเวอไรท์ นายกเทศมนตรีกรุงเบอร์ลินกล่าวว่า "มันเป็นความรับผิดชอบร่วมกันที่จะระลึกถึงการที่มีชีวิตอยู่และที่จะผ่านไปยังคนรุ่นต่อไป เป็นการยืนหยัดเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยเพื่อให้แน่ใจว่าความอยุติธรรมจะไม่เกิดขึ้นอีกครั้ง" ส่วนนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ผู้ที่เกิดในส่วนที่เป็นเยอรมนีตะวันออก ได้เข้าร่วมระลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย ประธานาธิบดีเยอรมนีนายคริสเตียน วูล์ฟฟ์ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า "มันได้แสดงให้เห็นว่า เสรีภาพจะคงอยู่ยืนนานให้ตอนจบ ไม่มีกำแพงใดถาวรที่จะปิดกั้นความปรารถนาต่ออิสรภาพ"


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301