บทความว่าด้วย ลักษณะประชากรไทย กล่าวถึง ชนชาติ เชื้อชาติ ศาสนา ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องด้วยประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
สถิติจำนวนประชากรไทยนั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแหล่งอ้างอิงและวิธีการเก็บข้อมูล แต่โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ราว 66-67 ล้านคน คิดเป็นอันดับที่ 4 ในกลุ่มประเทศอาเซียนรองจาก อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ข้อมูลทังหลาย อาทิ
และจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งจะมีการจัดทำสำมะโนประชากรและเคหะ ทุก 10 ปี ตามข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติ ประเทศไทยมีประชากร 65,479,453 คน แบ่งเป็น ประชากรหญิง 33.4 ล้านคน (ร้อยละ 51.0) และชาย 32.1 ล้านคน (ร้อยละ 49.0) หรือคิดเป็นอัตราส่วนเพศ ชาย 96.2 คนต่อหญิง 100 คน เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย 62.3 ล้านคน (ร้อยละ 95.1) และผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยอีก 3.2 ล้านคน (ร้อยละ 4.9)
ทั้งนี้ทั้งนั้น จากข้อมูลโดยสหประชาชาติ ประเทศไทยเป็นประเทศลำดับที่สามในทวีปเอเชียที่โครงสร้างประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (รองจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้) โดยคาดหมายว่าสัดส่วนประชากรวัยทำงาน (อายุ 15 - 64 ปี) ของประเทศไทยจะถึงจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 2017 คืออยู่ที่ร้อยละ 72 ของประชากรทั้งหมด และจะลดต่ำลงต่ำกว่าร้อยละ 60 ของประชากรก่อนปี ค.ศ. 2050 ในขณะเดียวจำนวนประชากรผู้สูงอายุ (มากกว่า 65 ปีขึ้นไป) จากอยู่ที่อัตราร้อยละ 8.9 ของประชากรทั้งหมดในปี ค.ศ. 2010 จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 19.5 ของประชากรทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งจะส่งผลต่อจำนวนประชากรไทยในอนาคตที่คาดว่าจะลดลงและความสามารถในการพัฒนาประเทศในที่สุด
ประชากรแต่ละภาค ตามเกณฑ์แบ่งของราชบัณฑิตยสถาน ข้อมูล ณ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ประชากรอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป จานวน 55.2 ล้านคน มีผู้สมรสทั้งสิ้น 31.0 ล้านคน (ร้อยละ 56.2) โดยมีสัดส่วนชายและหญิงที่สมรสแล้วใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 56.6 และ 55.9 ชายมีสัดส่วนที่เป็นโสดสูงกว่าหญิงคือ ร้อยละ 33.6 และ 26.9 และพบว่าหญิงมีสัดส่วนที่เป็นหม้าย หย่า แยกกันอยู่ สูงกว่าชายถึง 2.2 เท่า
หากพิจารณาภาวะเจริญพันธุ์ของหญิงเคยสมรสอายุ 15 - 49 ปี พบว่า หญิง 1 คน มีบุตรเกิดรอดเฉลี่ย 1.51 คน ลดลงจากปี 2543 (1.88 คน) และเมื่อพิจารณาในระดับภาคพบว่า ภาคใต้มีจำนวนบุตรฯ เฉลี่ยสูงสุดและใกล้เคียงกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (1.77 และ 1.75 คน) ส่วนกรุงเทพมหานครมีจำนวนบุตรฯ เฉลี่ยต่ำสุด (1.20 คน)