ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ประจันตคีรีเขตร์

จังหวัดปัจจันตคิรีเขตร หรือบางเอกสารจะเรียกว่า ปัตจันตคีรีเขตร์ บ้าง ประจันต์คิรีเขตต์บ้าง เป็นเมืองเดิมของราชอาณาจักรขอม (เขมร) ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นเมืองหน้าด่านทางชายฝั่งทะเลตะวันออกที่มีความสำคัญเทียบเท่าจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด ในอดีต มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เกาะกง เขตจังหวัดเกาะกงในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน ดินแดนจังหวัดนี้ตกเป็นของฝรั่งเศสพร้อมกับหัวเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขง คือ แขวงไซยะบุลีและแขวงจำปาสัก เมื่อ พ.ศ. 2447

แต่เดิมมาเกาะกงเป็นจังหวัดของราชอาณาจักรเขมร แต่มาถึงสมัยที่เขมรตกเป็นประเทศราชอยู่ในอำนาจของสยาม พระเจ้ากรุงสยามก็มีพระบรมราชโองการให้ตั้งเกาะกงให้เป็นส่วนหนึ่งของเมืองตราด

เมื่อปี พ.ศ. 2398 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการให้ตั้งเกาะกง โดยพระราชทานนามเมืองนี้ว่า เมืองปัจจันตคีรีเขตต์ เพื่อให้เป็นเมืองหน้าด่านทางชายฝั่งทะเลตะวันออกของไทย เนื่องจากมีเขตติดต่อกับเขมรและญวน

เหตุที่รัชกาลที่ 4 พระราชทานนามเกาะกงว่า ปัจจันตคิรีเขตร ก็เพื่อให้คล้องจองกับชื่อเมืองประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งอยู่ทางด้านภาคตะวันตกของไทย ซึ่งตั้งอยู่ในแนวรุ้ง (Latitude) เดียวกัน

ถึง พ.ศ. 2422 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์จัดตั้งสถานีทหารเรือขึ้นตามชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกที่เมืองชลบุรี บางพระ อำเภอบางละมุง เมืองระยอง เมืองแกลง เมืองจันทบุรี อำเภอขลุง เมืองตราด เมืองปัจจันตคิรีเขตร และเกาะเสม็ดนอก เพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากฝรั่งเศสทางทะเล

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2435 ฝรั่งเศสได้เริ่มดำเนินการทางทหารใช้กำลังเข้าบีบบังคับสยาม โดยยกกองทัพมาเข้าขับไล่ทหารไทยให้ถอยร่นออกจากดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ทำให้ความยุ่งยากทางชายแดนเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการปรึกษาการป้องกันพระราชอาณาเขตขึ้น และจัดกองบัญชาการทัพอยู่ตามหัวเมืองชายทะเลแต่ละด้านขึ้นด้วย

ในปี พ.ศ. 2436 รัฐบาลสยามได้แต่งตั้งให้นายพลเรือจัตวาพระยาชลยุทธโยธินทร์ (Andr? du Pl?sis de Richelieu) เป็นผู้จัดการป้องกันพระราชอาณาเขตทางหัวเมืองฝ่ายตะวันออก ทางกระทรวงการต่างประเทศได้มีคำสั่งมายังผู้ว่าราชการเมืองแถบนี้ ซึ่งรวมทั้งเมืองตราดและเมืองปัจจันตคิรีเขตรด้วย ให้ช่วยพระยาชลยุทธโยธินทร์จัดการทุกอย่างที่เกี่ยวกับการป้องกันพระราชอาณาเขต

วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 เกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เรือรบฝรั่งเศสสามารถฝ่าแนวป้องกันของสยามเข้ามาทอดสมอในกรุงเทพฯ ได้ ฝ่ายฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ฝ่ายไทยปฏิบัติตามเมื่อ 20 กรกฎาคม โดยให้เวลาตอบ 48 ชั่วโมง ฝ่ายไทยได้ตอบข้อเรียกร้องเมื่อ 22 กรกฎาคม แต่ไม่เป็นที่พอใจของฝ่ายฝรั่งเศส ดังนั้นในวันที่ 24 กรกฎาคม ฝรั่งเศสจึงประกาศตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย สองวันถัดมา (26 กรกฎาคม) ฝรั่งเศสได้สั่งให้ผู้บัญชาการกองเรือภาคตะวันออกไกลที่ไซ่ง่อนปิดล้อมอ่าวไทย ตั้งแต่แหลมเจ้าลายถึงบริเวณแหลมกระบัง และในวันที่ 29 กรกฎาคม ฝรั่งเศสได้ประกาศปิดล้อมอ่าวไทยครั้งที่ 2 โดยขยายเขตเพิ่มบริเวณเกาะเสม็ด จนถึงแหลมลิง รวม 2 เขต ฝ่ายไทยจำต้องยอมรับคำขาดของฝรั่งเศสที่ยื่นไว้แต่เดิมในวันเดียวกันนั้นเอง แต่ในวันรุ่งขึ้นฝรั่งเศสถือโอกาสยื่นคำขาดเพิ่มเติมอีก โดยประกาศยึดปากน้ำและเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกัน และบังคับให้ไทยถอนตัวออกจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงอีกด้วย ไทยจำเป็นต้องยอมรับโดยไม่มีทางเลือก เมื่อฝ่ายไทยปฏิบัติตามคำขาดนั้นแล้ว ฝรั่งเศสจึงได้ยกเลิกการปิดอ่าวในวันที่ 3 สิงหาคม เวลา 12.00 น. แต่การยึดปากน้ำและเมืองจันทบุรียังคงยึดไว้ตามเดิม

ต่อมาได้มีการทำสัญญาสงบศึกกันโดยหนังสือสัญญาฉบับลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) ในหนังสือสัญญาฉบับนี้ มีข้อความระบุไว้ในอนุสัญญาผนวกต่อท้ายหนังสือสัญญาข้อ 6 ว่า "คอนเวอนแมนต์ (Government - รัฐบาล) ฝรั่งเศสจะได้ตั้งอยู่ต่อไปที่เมืองจันทบุรี จนกว่าจะได้ทำการสำเร็จแล้วตามข้อความในหนังสือสัญญานี้…"

แม้ทางฝ่ายไทยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ฝรั่งเศสบีบบังคับทุกอย่าง ฝรั่งเศสก็ยังไม่ยอมถอนทหาร ยังคงยึดจันทบุรีไว้อีกเป็นเวลานานถึง 10 ปี เป็นเหตุให้ต้องมีการตกลงทำสัญญาขึ้นใหม่อีกฉบับหนึ่งคือ อนุสัญญาลงวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2445 แต่หนังสือฉบับนี้ฝรั่งเศสไม่ยอมให้สัตยาบันและไม่ถอนกำลังออกจากจันทบุรี จึงได้ตกลงมีสัญญาอีกฉบับหนึ่ง คือ สัญญาลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 คราวนี้ฝรั่งเศสจึงถอนกำลังออกจากจันทบุรี แต่ได้เข้ายึดครองเมืองตราดและบรรดาเกาะทั้งหลายภายใต้แหลมลิงลงไปซึ่งรวมถึงเกาะกงแทน ฝ่ายไทยจำต้องมอบเมืองตราดและเมืองประจันตคีรีเขตให้แก่ฝรั่งเศส ในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2447

พื้นที่ดังกล่าวได้ตกอยู่ในการยึดครองของฝรั่งเศส จนถึงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 จึงได้มีการตกลงทำหนังสือสัญญาขึ้นอีกฉบับหนึ่งเรียกว่า "หนังสือสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับเปรสสิเดนต์แห่งรีปัปลิคฝรั่งเศส" ฝรั่งเศสจึงคืนเมืองตราดให้ไทยตามเดิม แต่ฝ่ายไทยจะต้องยอมยกดินแดนเขมรส่วนใน (มณฑลบูรพา) คือ เมืองพระตะบอง เมืองเสียมราฐ และเมืองศรีโสภณ เป็นเงื่อนไขแลกเปลี่ยน แต่ปรากฏว่าเมืองปัจจันตคิรีเขตร (เกาะกง) นั้นฝรั่งเศสมิได้คืนให้ไทยแต่ประการใด ปัจจุบันเมืองปัจจันตคิรีเขตร (เกาะกง) จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของกัมพูชาไปโดยปริยาย

การสูญเสียแผ่นดินเกาะกงในสมัยนั้น ประวัติศาสตร์ของชาติไทยมิได้มีบันทึกการเสียดินแดนเกาะกงไว้แต่อย่างใด คงกล่าวโดยรวมในกรณีของดินแดนจังหวัดตราดเท่านั้น เพราะในขณะนั้นไทยต้องการดินแดนเขมรสูงเป็นอย่างมาก ซึ่งก็คือดินแดนอีสานตอนใต้ในปัจจุบัน โดยให้ยึดทิวเขาพนมดงรักเป็นเส้นเขตแดน ซึ่งฝรั่งเศสก็ยินยอม


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406