คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ย่อ: คณะกรรมการ ป.ป.ช.) (อังกฤษ: National Anti-Corruption Commission) เป็นคณะบุคคลซึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก 8 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา ผู้ได้รับการเสนอชื่อและได้รับเลือกเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต้องเป็นผู้ซึ่งมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 256 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 9-11
การสรรหาและการเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาตรา 5/1เมื่อมีกรณีที่ต้องสรรหาและคัดเลือกกรรมการ ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ในการสรรหากรรมการ ให้คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดินสรรหาและเสนอรายชื่อบุคคลผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๖ และมาตรา ๗ (๔) องค์กรละห้าคน ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุทำให้ต้องมีการสรรหาและคัดเลือก กรรมการ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการคัดเลือก สำหรับกรณีสรรหาเพื่อแต่งตั้งกรรมการ แทนตำแหน่งที่ว่าง ให้องค์กรดังกล่าวแต่ละองค์กรเสนอรายชื่อเท่าจำนวนกรรมการที่ว่างลง
2. ให้มีคณะกรรมการคัดเลือก ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นกรรมการคัดเลือก โดยให้เลือกกันเอง เป็นประธานกรรมการคัดเลือกคนหนึ่ง ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งใดหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้ทำการแทน ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้น ทำหน้าที่กรรมการคัดเลือกแทน
3. ให้คณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาคัดเลือกบุคคลเป็นกรรมการจากรายชื่อบุคคลตาม (๑) ให้ได้จำนวนตามที่จะต้องแต่งตั้ง
4. ในกรณีที่คณะกรรมการคัดเลือกคัดเลือกบุคคลได้ไม่ครบจำนวนตาม (๓) ให้แจ้งให้องค์กร ตาม (๑) แต่ละองค์กรเสนอรายชื่อบุคคลใหม่เป็นจำนวนเท่ากับจำนวนกรรมการที่ยังขาดอยู่ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีการคัดเลือกบุคคลได้ไม่ครบจำนวนดังกล่าว และให้คณะกรรมการคัดเลือกดำเนินการคัดเลือก เพิ่มเติมตาม (๓) เป็นกรรมการเพิ่มเติมจากที่มีการคัดเลือกบุคคลเป็นกรรมการไว้แล้ว
5. เมื่อได้มีการคัดเลือกบุคคลเป็นกรรมการครบจำนวนแล้ว ให้ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการ ประชุมเลือกกันเองเพื่อเป็นประธานกรรมการคนหนึ่ง และให้คณะกรรมการคัดเลือกแจ้งรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือก เป็นประธานกรรมการและกรรมการ พร้อมเอกสารหลักฐานตามมาตรา ๗ วรรคสอง รวมทั้งความยินยอม ของบุคคลดังกล่าวต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกกรรมการตาม (๓) และ (๔) ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการคัดเลือก กำหนด
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 9 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
สิ้นสุดวาระก่อนกำหนด จากคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้จำคุกจำเลยคนละ 2 ปี แต่เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยทั้ง 9 แล้ว โทษจำคุกศาลให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี ฐานกระทำผิดทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีขึ้นค่าตอบแทนให้ตนเอง
แต่งตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549
เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. - สรรเสริญ พลเจียก รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. - วรวิทย์ สุขบุญ ชูศักดิ์ ปริปุญโญ นายชัยรัตน์ ขนิษฐบุตร นายประหยัด พวงจำปา นายยงยุทธ มะลิทอง**นายธรรมนูญ เรืองดิษฐ์ นางณัชชา เกิดศรี
รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แก่ นายประหยัด พวงจำปา นายธรรมนูญ เรืองดิษฐ์ นางณัชชา เกิดศรี นายศักดิ์ชัย เมทินีพิศาลกุล นาย ชูศักดิ์ ปริปุญโญ พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 นาย วิทยา อาคมพิทักษ์ พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557 นาย ชัยรัตน์ ขนิษฐบุตรพ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559
นิวยอร์กไทมส์ รายงานว่า อดีตสมาชิกรัฐสภา 269 คนถูก ป.ป.ช. ขู่ดำเนินคดีซึ่งสะเทือนจุดยืนทางกฎหมายเพราะรัฐธรรมนูญซึ่งนักการเมืองดังกล่าวถูกกล่าวหาว่าละเมิดนั้น ถูกแม่ทัพประกาศให้เป็นโมฆะเมื่อยึดอำนาจ
รายงานของบริษัท พอลิทิคัลแอนด์อีโคโนมิกริสก์คอนซัลทันซี จำกัด (Political and Economic Risk Consultancy, Ltd.) เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2557 จัดให้ ปปช. ของไทยอยู่รั้งท้ายเทียบกับ 12 องค์การต่อต้านทุจริตในประเทศทวีปเอเชีย โดยว่า ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศที่มีการทุจริตมากในระยะยาว แต่องค์การต่อต้านทุจริตเป็นองค์การที่ถูกใช้ทางการเมืองมากที่สุด เช่นกรมสอบสวนคดีพิเศษในสมัยนายธาริต เพ็งดิฐ ดำรงตำแหน่งอธิบดี องค์การช่วยเหลือรัฐบาลทหารทำลายความน่าเชื่อถือของนักการเมืองและป้องกันคนเหล่านี้ไม่ให้กลับมามีอำนาจ ปปช. ยังเสนอมาตรการเพื่อเล่นงานนักโทษชาย ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ ปปช. มีบทบาทโค่นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรที่มาจากการเลือกตั้งและมีคดีทุจริตการรับจำนำข้าวซึ่งเป้นการทุจริตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ แต่ละเลยคดีทุจริตซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เป็นจำเลย ทำให้ ปปช. เสื่อมความน่าเชื่อถือและทำหน้าที่ได้ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ
วันที่ 16 ตุลาคม 2558 ประธานอนุกรรมการไต่สวนกรณีที่มีกล่าวหาว่าพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดาขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกกับพวกจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดจีที 200 โดยมิชอบ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องลึกลับ และว่าประสิทธิภาพของจีที 200 ไม่ได้คุณภาพ แต่การจะวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ทุจริตหรือไม่ยังต้องการอะไรมากกว่าเรื่องของประสิทธิภาพ
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/ปปช.