ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ มีอักษรย่อว่า ป.จ.ว. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานเฉพาะฝ่ายหน้า (บุรุษ) เท่านั้น โดยไม่จำกัดจำนวน ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษจัดเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติอันดับที่ 4 และถือเป็นชั้นสูงสุดของเครื่องอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2416 โดยสถาปนาในคราวแรกนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ปฐมจุลจอมเกล้า) ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ, ทุติยจุลจอมเกล้า) และชั้นที่ 3 ตติยาจุลจอมเกล้า (ตติยจุลจอมเกล้า , ตติยานุจุลจอมเกล้า) หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2443 พระองค์มีพระราชดำริเห็นสมควรเพิ่มชั้นพิเศษสำหรับชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้เป็นเกียรติยศและประโยชน์แก่ผู้รับราชการยิ่งขึ้น เรียกว่า "ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ" โดยทรงเพิ่มดวงตราตติยานุจุลจอมเกล้าเป็นเครื่องหมายเพิ่มเติมสำหรับชั้นปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ จัดเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดมีสายสะพายและดารา มีลำดับเกียรติอันดับที่ 4 และถือเป็นชั้นสูงสุดของเครื่องอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า โดย 1 สำรับ ประกอบด้วย
สำหรับการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษนั้น ให้สวมสายสร้อยพร้อมดวงตราหรือสายสะพายพร้อมดวงตราอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่หมายกำหนดการระบุไว้ ถ้าหากสวมสายสร้อยจุลจอมเกล้าร่วมกับการสวมสายสะพาย ให้สวมสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลอื่นที่ได้รับพระราชทาน
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษนั้นจะได้รับพระราชทานเครื่องประกอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ได้แก่ พานหมากทองคำลายสลัก เครื่องพร้อม คนโทน้ำลายสลักพร้อมพานรอง กาน้ำทองคำลายสลักพร้อมโต๊ะทองคำ กระโถนทองลายสลัก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีระเบียบกำหนดเครื่องยศประกอบ แต่ก็มิได้พระราชทานให้ครอบครองอย่างประเพณีเดิม คงเชิญเครื่องยศมาตั้งประกอบในพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าเท่านั้น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษนั้นสามารถสืบตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้และมีความพิเศษกว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าชั้นอื่น ๆ เนื่องจากผู้สืบตระกูลของผู้ได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษจะได้รับพระราชทานตราตติยจุลจอมเกล้าตั้งแต่บิดายังมีชีวิตอยู่ เมื่อบุตรชายใหญ่ผู้ได้รับตราสืบตระกูลแล้วล่วงลับไป จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราตติยานุจุลจอมเกล้าแก่หลานเหลนใหญ่โดยตรงและให้รับสืบตลอดไปจนหาตัวผู้สืบสายโลหิตเป็นชายมิได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษเฉพาะฝ่ายหน้า (บุรุษ) สามารถพระราชทานโดยไม่จำกัดจำนวน ผู้ได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ ตั้งแต่สถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นนี้ เช่น