ปฏิบัติการบอดีการ์ด ซึ่งดำเนินการในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นแผนการลวงทางยุทธศาสตร์โดยรวมของฝ่ายสัมพันธมิตรในทวีปยุโรป ระหว่างปี ค.ศ. 1944 โดยเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมการการรุกรานนอร์ม็องดี จุดประสงค์หลักของแผนการดังกล่าวคือการชักจูงให้ฝ่ายเยอรมันเชื่อว่าการรุกรานทวีปยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือจะเกิดขึ้นช้าว่าที่วางแผนไว้จริง และคุกคามจะโจมตีในสถานที่อื่นนอกเหนือไปจากเป้าหมายที่แท้จริง รวมทั้งจังหวัดปาดกาแล, คาบสมุทรบอลข่าน, ประเทศฝรั่งเศสตอนใต้, นอร์เวย์ และการโจมตีของโซเวียตในบัลแกเรียและตอนเหนือของนอร์เวย์
ส่วนหลักของปฏิบัติการบอดีการ์ดคือการใช้อุบายหลอกลวงข้าศึกเกี่ยวกับการกะเวลา น้ำหนัก และทิศทางของการรุกรานอร์ม็องดี โรเจอร์ เฮสเต็ธ ผู้ซึ่งช่วยวางแผนและดำเนินการตามปฏิบัติการในขณะที่ทำงานอยู่ใน "อ็อบส์บี" ภาคการหลอกลวงของกองบัญชาการทหารสูงสุดของกองกำลังรบนอกประเทศสัมพันธมิตร ได้บันทึกในหนังสือของเขาถึงเป้าหมายสามประการของปฏิบัติการบอดีการ์ด ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ละไว้ในภาคผนวกวายของคอสแซค (COSSAC) แผนการหลอกลวงก่อนหน้า เป้าหมายดังกล่าวประกอบด้วย:
แผนบอดีการ์ดถูกสร้างขึ้นโดยส่วนควบคุมลอนดอน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประชุมเตหะรานในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1943 ปฏิบัติการดังกล่าวถูกแบ่งออกเป็นสามปฏิบัติการย่อย: ปฏิบัติการฟอร์ติจูด ซึ่งประกอบด้วยส่วนทางเหนือ (ถูกออกแบบมาเพื่อลวงฝ่ายเยอรมันว่าจะมีการรุกรานนอร์เวย์) และส่วนทางใต้ (ซึ่งลวงฝ่ายเยอรมันว่าจะมีการรุกรานที่ปาส์-เดอ-กาเลส์) อีกปฏิบัติการหนึ่ง คือ ปฏิบัติการเซเพลิน เพื่อแสดงความต้องการว่าจะมีการยกพลขึ้นบกบนเกาะครีตหรือในโรมาเนีย นอกจากนี้ยังมีอีก 36 ปฏิบัติการย่อยซึ่งไม่ขึ้นกับส่วนควบคุมลอนดอน