ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ปฏิทินจีน

ปฏิทินจีน หมายถึง ปฏิทินสุริยคติหรือปฏิทินจันทรคติซึ่งชาวจีนหรือชาวต่างประเทศเชื้อสายจีนใช้ในทางราชการและการกำหนดวันสำคัญต่าง ๆ

ในการติดต่อราชการ-ธุรกิจ ชาวจีนใช้ปฏิทินสุริยคติสากลเช่นเดียวกับชาวตะวันตกและอีกหลายประเทศทั่วโลก แต่การกำหนดประเพณีสำคัญจะอาศัยปฏิทินจันทรคติเป็นหลักเสมอ ปฏิทินสุริยคติจีน กำหนดให้เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ดับที่ใกล้กับวันเหมายัน หรือวันที่ซีกโลกเหนือมีกลางวันสั้นที่สุด ส่วนปฏิทินจันทรคติจีน กำหนดให้เริ่มขึ้นปีนักษัตรใหม่ในวันลี่ชุน แต่เริ่มปีใหม่ในวันตรุษจีน ซึ่งเป็นวันจันทร์ดับต้นฤดูใบไม้ผลิ มักอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์หรือปลายเดือนมกราคมของทุกปี

ปฏิทินโบราณแบบหนึ่งซึ่งจัดพิมพ์ในสมัยหวงตี้เตี้ยวลี่ (จีนตัวเต็ม: ????; จีนตัวย่อ:????; พินอิน: Hu?ngd? Di?ol?') เป็นปฏิทินชนิดหลายปีซึ่งมี 8 ปีปกติมาส และ 4 ปีอธิกมาส จัดเรียงกันแล้วแต่จังหวะดิถีของดวงจันทร์ที่สังเกตหรือคำนวณได้ ตั้งต้นเดือนแรกที่วันตงจื้อ อนึ่ง ปฏิทินชนิดนี้ได้มีการจัดทำมานานตั้งแต่ก่อนพุทธศักราช 3834 ปี จะต่างกันก็ตรงที่เดือนแรกของปฏิทินแตกต่างกันออกไป ย้อนกลับไปยุคราชวงศ์ซาง ปฏิทินแบบดังกล่าวก็ได้ถูกพัฒนาแล้ว แต่เขียนไว้บนกระดูกเสี่ยงทาย ในปฏิทินนั้นมีการเพิ่มเดือนอธิกมาส 1 - 2 เดือน โดยอาศัยการสังเกตเป็นหลัก ทำให้ขาดความแม่นยำ ครั้นถึงราชวงศ์โจว (หลัง) การจัดเรียงเดือนก็พัฒนาให้เป็น 29 วัน สลับกับ 30 วัน โดยอาจมีเดือนอธิกมาสเพิ่มขึ้นมาก็ได้ กระนั้นข้อมูลก็ยังยึดตามการสังเกตเป็นหลัก จนในที่สุด เทคนิคทางคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์สมัยยุคจ้านกว๋อ ก็ได้ทำให้ปฏิทินมีความแม่นยำสูงขึ้น ครานั้นเอง ได้มีการกำหนดให้หนึ่งปีสุริยคติมี 365? วัน คล้ายกับปฏิทินจูเลียน และกำหนดให้ 19 ปี มี 235 เดือน เรียกว่า วัฏจักรเมตอน (Metonic cycle)

ครั้นราชวงศ์ฉิน ปฏิทินจีนก็ถูกปรับอีกครั้งหนึ่ง โดยให้วันแรกของเดือนแรกไปอยู่ที่วันจันทร์ดับของต้นฤดูหนาว แต่ถึงกระนั้นก็มีปฏิทินที่ใช้หลักเกณฑ์เดิมอันตกทอดมาแต่โบราณ ซึ่งยังมิได้เลิกใช้ ถึงกระนั้นปฏิทินเหล่านั้นก็สูญหายไปตามกาลเวลา เมื่อการพิมพ์พัฒนาขึ้น ชาวจีนได้จัดพิมพ์ปฏิทินลงในสมุดกระดาษ โดยมีหลักฐานชิ้นแรก ๆ พบที่ตุนหวง (??)

ชาวจีนโบราณใช้นาฬิกาแดดและนาฬิกาน้ำเป็นเครื่องมือบอกเวลา บนนาฬิกาแดดมีช่วงแบ่งเป็น 12 ช่วง แต่ละช่วงหมายถึงหนึ่งชั่วยาม (จีนตัวย่อ: ?; จีนตัวเต็ม: ?; คำอ่าน: สือ) ซึ่งกินเวลา 2 ชั่วโมง ส่วนนาฬิกาน้ำจะแบ่งเวลา 24 ชั่วโมงออกเป็นชั่วรอยขีด (?;เค่อ) จำนวน 100 ช่วง แต่ละช่วงกินเวลา 14 นาที 36 วินาที นอกจากนี้แล้ว ในหนึ่งวันยังแบ่งได้เป็น 10 เกิง (?) เกิงหนึ่งกินเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที และหนึ่งคืน 5 เกิง แต่ละเกิงกินเวลา 2 ชั่วโมง 24 นาที โดยหน่วยย่อยของเกิงคือเตี่ยน (จีนตัวย่อ: ?; จีนตัวเต็ม:?) ซึ่งกินเวลา 24 นาที

ในปฏิทินจีน มักมีการกำหนดให้วัน เดือน ปี หรือแม้แต่ยุคประกอบไปด้วยอักษรจีนประจำ ซึ่งอักษรนั้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนภูมิสวรรค์-พิภพ อักษรประจำสวรรค์มีทั้งหมด 10 ตัว ส่วนอักษรประจำพิภพ มีทั้งหมด 12 ตัว ดังแสดงในตาราง

อักษรในแผนภูมิพิภพมี 12 ตัว แต่ละตัวแทนปีนักษัตร อนึ่ง ในช่องปีนักษัตรจีน อักษรจีนที่แสดงในวงเล็บ คือ อักษรจีนตัวย่อ ส่วนนอกวงเล็บเป็นอักษรจีนตัวเต็ม

อักษรภาคสวรรค์และพิภพสามารถนำมาจับคู่กัน ซึ่งมีคู่ที่เป็นไปได้ทั้งหมด 60 คู่ด้วยกัน ได้แก่

สังเกตว่า เมื่อนำอักษรภาคสวรรค์และพิภพมาจับคู่กัน จะได้เป็นอักษรคู่ซึ่งแสดงถึงปีนักษัตรและธาตุได้ ในปี พ.ศ. 2543 มีอักษรประจำปีเป็น ?? อันมีความหมายเป็น ?? หรือมังกรทอง ส่วนปี พ.ศ. 2553 หรือ 10 ปีให้หลัง จะได้ว่าอักษรประจำปีเป็น ?? ซึ่งมีความหมายว่าเสือทอง (??)

นอกเหนือจากการใช้อักษรภาคสวรรค์และพิภพบ่งบอกปีแล้ว ยังสามารถนำอักษรเหล่านี้ไประบุยุคได้อีกด้วย

ปฏิทินสุริยคติจีน ยึดถือตามวันบัวลอย วันตงจื้อ หรือวันเห'มายัน ของปีหนึ่งไปจนถึงอีกปีหนึ่ง ในหนึ่งปีถูกแบ่งออกเป็น 24 ฤดูกาล แต่ละฤดูกาลหมายถึงสภาพอากาศที่แตกต่างกันออกไป ในยุคชุนชิว (179 ปีก่อนพุทธศักราช - พ.ศ. 63) ปีสุริยคติถูกกำหนดไว้ที่ 365.25 วันในเวลาต่อมา ปฏิทินในรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นบู๊เต้ได้ระบุว่าปีสุริยคติมีความยาว ต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงโดยนักทำปฏิทินอีกหลายท่าน อาทิ หลี่ฉุนเฟิ่ง (???) จางสุ้ย (??) และกัวโส่วจิ้ง (???) ซึ่งในชั้นหลังนี้กัวโส่วจิ้งได้ปรับปรุงปฏิทินให้มีความยาวปีสั้นลงเท่ากับของปฏิทินเกรกอเรียน นั่นคือ 365.2425 โดยอาศัยงานที่เสิ่นคั่ว (??) ได้ทำไว้ในสาขาตรีโกณมิติเชิงทรงกลม ปีสุริยคติจีนสามารถแบ่งได้เป็นระยะ แต่ละระยะจะมีอักษรภาคดิน 12 ตัว กำกับอยู่ ดังนี้

ชื่อเดือนซึ่งใชีในปฏิทินสุริยคติ มักจะใช้ตัวเลขต่อด้วยคำว่า เยวฺ่ (?) ซึ่งหมายถึงเดือน ตัวอย่างเช่น ?? หมายถึงเดือนมกราคม ?? หมายถึงเดือนกุมภาพันธ์ เรื่อยไปจนถึง ???

อนึ่งหากใส่คำว่า ตี้ (?) ไว้ด้านหน้าตัวเลข จะทำให้ความหมายผิดไป เช่น ??? หมายถึงเดือนที่สอง (ของกิจกรรมหรือการกระทำอื่นใด) แทนที่จะเป็นเดือนกุมภาพันธ์

ในหนึ่งปี จะมีภาวะอยู่ 24 ภาวะ (อังกฤษ:solar term; จีนตัวเต็ม:??; จีนตัวย่อ: ??; พินอิน: ji?q?; คำอ่าน: เจี๋ยชี่) (มักเรียกว่า สารท แต่ไม่ถูกความหมายเสียทีเดียว)[ม 2] อันหมายถึงความเป็นไปของสิ่งแวดล้อมรอบตัวในรอบปี และมักมีการเลี้ยงฉลองและบูชาบรรพบุรุษกันในแต่ละภาวะ ภาวะในปฏิทินจีนมีดังนี้

อนึ่ง องศาของดวงอาทิตย์ที่แสดงไว้ในตาราง จะสัมพันธ์กับโหราศาสตร์ระบบสายนะ (tropical astrology) ซึ่งยึดโยงการเปลี่ยนราศีตามฤดูกาล ไม่เหมือนกับระบบนิรายนะ (sidereal astrology) ที่อาศัยจุดบนท้องฟ้ากำหนดราศี (ดู โหราศาสตร์สากล)

วันลี่ชุน เป็นภาวะหนึ่งในปฏิทินจีนซึ่งหมายถึงการเริ่มของฤดูใบไม้ผลิ และถือว่า ปีนักษัตรใหม่เริ่มต้นวันนี้ (ไม่ใช่วันตรุษจีน)

ในสมัยโบราณ ชาวจีนมักเรียกปีแต่ละปีเป็นตัวเลขประกอบด้วยนามศักราช เช่น ในรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นบู๊เต้ ก็กำหนดให้เรียกศักราชสมัยนั้นว่า อี๋กงหยวน (???) เช่น อี๋กงหยวนศก ปีที่ 1 ปีที่ 2... เป็นต้น ในเวลาต่อมา เมื่อ พ.ศ. 431 พระองค์ทรงกำหนดให้เรียกศกย้อนหลังตั้งแต่ พ.ศ. 404 ว่า เจี้ยนหยวนศก ปีที่ 1 ปีที่ 2 โดยลำดับ ธรรมเนียมนี้มีการรักษามาจนถึงสมัยสาธารณรัฐจีน ซึ่งกำหนดให้เรียกปีที่หนึ่งของสาธารณรัฐว่า หมินกั๋ว หรือมิ่นก๊ก (??) ศก ปีที่ 1 และมีการใช้ต่อมาจนถึงปัจจุบัน แม้จะได้มีการนำคริสต์ศักราช (??;กงหยวน) มาใช้แทนก็ตาม

ปฏิทินฮั่นมีระบบยุค ซึ่งกำหนดให้ 129,600 ปี แทนหนึ่งมหายุค (?;หยวน) แต่ละมหายุคจะแบ่งออกเป็น 12 จุลยุค ซึ่งกินเวลา 10,800 ปี เรียกว่า หุ้ย (?/?) เช่นเดียวกันกับหนึ่งปีที่แบ่งเป็น 12 เดือน แต่ละจุลยุค มีอักษรภาคดินประจำนับตั้งแต่ฮ่าย (?) ไปจนถึงซวี (?) จุลยุคสามจุลยุค รวมกันเป็นหนึ่งยุค (?;กู่) ซึ่งมีได้ดังนี้

นอกจากนี้ หนึ่งจุลยุค แบ่งออกได้เป็น 30 รอบใหญ่ แต่ละรอบใหญ่มี 12 รอบน้อย รอบน้อยหนึ่งกินเวลา 30 ปี

ปฏิทินจันทรคติจีนเป็นปฏิทินจันทรคติอย่างที่ใช้กำหนดวันสำคัญต่าง ๆ ตามประเพณีจีน ในหนึ่งปีปฏิทินมีสิบสองเดือน แต่ละเดือนอาจมี 29 หรือ 30 วันแล้วแต่จังหวะของดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลก ซึ่งเดือนที่มี 29 วัน เรียกว่า เดือนขาด (??; พินอิน: xi?o yu?; คำอ่าน: เสี่ยวเยวฺ่) ส่วนเดือนที่มี 30 วัน เรียกว่า เดือนเต็ม (??; พินอิน: d?yu?; คำอ่าน: ต้าเยฺว่)[ม 1] การกำหนดว่าเดือนใดเป็นเดือนเต็มหรือขาด มักจะอาศัยผลการคำนวณวันจันทร์ดับทางดาราศาสตร์ที่ทำไว้ดีแล้ว โดยนับวันจันทร์ดับของเดือนหนึ่งเป็นดิถีที่หนึ่ง จนถึงวันก่อนวันจันทร์ดับถัดไป ซึ่งจะได้ 29 หรือ 30 วัน ตัวอย่างเช่น ปี พ.ศ. 2559 ขณะยังเป็นปีมะแม เดือน 12 วันจันทร์ดับกำหนดที่วันที่ 10 มกราคม เวลา 9:30 และวันที่ 8 กุมภาพันธ์ เวลา 22:39 จากนั้น ให้นับ 1 ที่วันที่ 10 มกราคม จนสุดที่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ ได้ทั้งหมด 29 วัน ได้ว่าเดือนดังกล่าวเป็นเดือนขาด

ส่วนการกำหนดเลขเดือน จะต้องให้วันวสันตวิษุวัต อุตรายัน ศารทวิษุวัต และทักษิณายัน อยู่ภายในเดือนจันทรคติที่ 2, 5, 8 และ 11 ตามลำดับเสมอไป หากจำเป็น จะต้องเติมเดือนอธิกมาสลงในปฏิทินข้างต้น โดยถือว่าเดือนที่ไม่มีภาวะเลขคู่ (เช่น อวี๋สุ่ย ชุนเฟิน กู๋อวี่,..., ต้าหาน) เป็นเดือนอธิกมาส ใช้ลำดับเลขเหมือนของเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้เพื่อมิให้วันตรุษจีนต้องผิดไปจากเดิมมากนัก

จากข้อมูลขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้กำหนดวันที่ซึ่งดวงจันทร์มีดิถีต่าง ๆ กัน เราสามารถคำนวณว่า เดือนใดขาด เดือนใดเต็ม ได้ตามวิธีการข้างบน ดังตารางต่อไปนี้

ระวัง เวลาที่แสดงในข้อมูลต้นฉบับเป็นเวลาสากลเชิงพิกัด ดังนั้นจะต้องแปลงเป็นเวลามาตรฐานประเทศจีนเสียก่อน โดยเอา 8 บวกชั่วโมง แล้วจึงคำนวณ

เมื่อทราบความยาวแต่ละเดือนแล้ว ก็เรียงดิถีตั้งแต่ 1 ถึง 29 หรือ 30 (คล้ายดิถีตลาดในปฏิทินไทย) ตั้งแต่วันจันทร์ดับไปถึงวันก่อนวันจันทร์ดับถัดไป ในปฏิทินจีน วันต้นเดือนมักจะระบุว่าเดือนใดขาดหรือเต็ม เช่น เดือน 2 ปีมะแม จากตารางเป็นเดือนขาด ก็เขียน ??? ที่วันต้นเดือนเป็นต้น ในเดือนดังกล่าว ก็ให้กำหนดวันที่ 1 เป็นวันที่ 9 มีนาคม นับไปจนถึงวันที่ 6 เมษายน เป็นวันที่ 29 วันต่อจากนั้นก็ขึ้นเดือน 3 ทำซ้ำเช่นนี้จนครบปฏิทินตามความต้องการ

จากตารางจะสังเกตได้ว่า ปี พ.ศ. 2560 มีเดือนหกสองครั้ง จึงถือเป็นปีอธิกมาสตามแบบจีน นอกจากนี้ยังถือได้ว่า ปี พ.ศ. 2563, 2566 และ 2568 เป็นปีอธิกมาสอีกด้วย ทั้งนี้ ปีอธิกมาสตามแบบจีน อาจจะเป็นปีปกติมาสหรืออธิกมาสตามแบบไทยก็ได้ เนื่องจากวิธีการคำนวณไม่เหมือนกัน

ชื่อเดือนในปฏิทินจันทรคติจีน คล้ายกับที่ใช้ในปฏิทินสุริยคติ แต่ต่างกันที่เดือนแรกและเดือนสุดท้าย ซึ่งใช้ชื่อ ?? (เจิงเยฺว่) และ ?? (ล่าเยฺว่) ตามลำดับ

ในแต่ละเดือน จะมีส่วนย่อยเป็นดิถี หรือวันจันทรคติ นับตั้งแต่หนึ่งไปจนถึงวันสิ้นเดือน วันที่ในปฏิทินจีน เรียงลำดับจากวันที่หนึ่ง ไปจนถึงวันที่สามสิบ ได้ดังนี้[ม 5]

โดยกำหนดให้วันที่หนึ่ง ของเดือนเจิง หรือเดือนอ้ายจีน เป็นวันตรุษจีน อนึ่ง การนับดิถีแบบจีนจะยึดเป็นวัน ๆ ไป โดยมิได้คำนึงถึงวันทางจันทรคติแท้จริง ซึ่งการนับลักษณะนี้คล้ายกับดิถีตลาดในปฏิทินไทย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301