ปฏิทินจันทรคติไทย (อังกฤษ: Thai lunar calendar) คือ ปฏิทินที่นับตามคติการโคจรของดวงจันทร์ โดยหมายดูจากปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม สำหรับปฏิทินจันทรคติ ของไทย จะมีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้
การนับช่วงเวลาในปฏิทินจันทรคติไทย เป็นการนับโดยถือเอาการเปลี่ยนแปลงของดวงจันทร์เป็นหลัก ดังนี้
การอ่านวันตามแบบจันทรคติจะอ่านเป็นตัวเลขโดยเริ่มที่วันอาทิตย์เป็นหนึ่ง และนับต่อไปตามลำดับจนถึงวันเสาร์นับเป็นเจ็ด และมีการกำหนดดิถีดวงจันทร์และตัวเลขเดือนกำกับอย่างย่อ โดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวเลข ดังตัวอย่าง ๖ ๓ฯ ๓ อ่านว่า วันศุกร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3
การนับวันทางจันทรคติ เริ่มนับวันขึ้น 1 ค่ำ จนถึงขึ้น 15 ค่ำ แล้วจึงขึ้นวันแรม 1 ค่ำ ถึงวันแรม 14 ค่ำ ในเดือนคี่ และวันแรม 15 ค่ำ ในเดือนคู่ จึงทำให้เดือนคี่มี 29 วัน เดือนคู่มี 30 วัน การนับเดือนทางจันทรคติ เริ่มต้นนับเดือนธันวาคมเป็นเดือน 1 เรียกว่าเดือนอ้าย มกราคมเป็นเดือนที่ 2 เรียกว่า เดือนยี่ และนับเดือน 3 เดือน 4 ไปจนถึงเดือน 12 ยกเว้นเขตภาคเหนือตอนบน หรือดินแดนล้านนาเดิม ที่มีการนับเดือนเร็วกว่า 2 เดือน กล่าวคือ ในวันลอยกระทง ตรงกับเดือน 12 ใต้ และตรงกับเดือน 2 เหนือ (12, 1, 2) ส่วนวันมาฆบูชา ตรงกับเดือน 3 ใต้ และ เดือน 5 เหนือ
การนับปีทางจันทรคติ นับตามเวลาการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก 1 รอบ ใช้เวลา 29 วันครึ่งในเวลา 1 เดือน ถ้านับ 29 วัน เวลาจะขาดไป 12 ชั่วโมง แต่ถ้านับ 30 วัน เวลาจะเกินไป 12 ชั่วโมง จึงต้องนับ 59 วัน เป็น 2 เดือน โดยให้นับเดือนคี่มี 29 วัน และเดือนคู่มี 30 วัน โดยเดือนคี่เป็นเดือนต้น เดือนคู่เป็นเดือนรองถัดไป สลับจนครบ 12 เดือน แล้วเริ่มต้นใหม่ ถ้านับวันปีทางจันทรคติจะมีเพียง 354 วัน ซึ่งมีวันน้อยกว่าปีทางสุริยคติถึง 11 วันต่อปี เมื่อรวม 3 ปี จะได้ 33 วัน ดังนั้นในทุกๆ 3 ปีทางจันทรคติ จะมีเดือน 8 สองหน คือจะมี 13 เดือน เรียกปีนั้นว่า ปีอธิกมาส
สรุป ดวงจันทร์โคจรรอบโลก 1 รอบ ใช้เวลา 29 วัน กับอีก 12 ชั่วโมง เพราะ 1 วัน มี 24 ชั่วโมง ครึ่งวัน = 12 ชั่วโมง ซึ่ง 12 ชั่วโมง คือ คริสเตียนจักร ดังนั้น จึงต้องใช้วิธีคิดแบบคริสเตียนจักร คือ ปัญหาเกิดจากเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน หรือ 29 วัน ตามแบบคริสจักร ถ้าปีคริสศักราชที่เป็นเลขคู่ ให้ปีคริสศักราช หารด้วย 4 (สี่ฤดูกาล)แล้วลงตัว ไม่เหลือเศษ หมายถึง เดือนกุมภาพันธ์ ปีคริสศักราชนั้น มี 28 วัน คือขาดวันที่ 29 ในเดือนกุมภาพันธ์ปีคริสศักราชนั้น ซึ่งก็คือเวลาการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก 1 รอบ ถ้านับ 30 วัน เวลาจะเกิน 12 ชั่วโมง ถ้าปีคริสศักราชที่เป็นเลขคี่ ให้ปีคริสศักราช หารด้วย 4 (สี่ฤดูกาล)แล้วไม่ลงตัว เหลือเศษ หมายถึง เดือนกุมภาพันธ์ ปีคริสศักราชนั้น มี 29 วัน คือเกินวันที่ 28 ในเดือนกุมภาพันธ์ปีคริสศักราชนั้น ซึ่งก็คือเวลาการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก 1 รอบ ถ้านับ 29 วัน เวลาจะขาดไป 12 ชั่วโมง. เพราะฉะนั้นเวลาแก้ไขปฏิทินก็ให้แก้แต่เฉพาะ วันที่ตรงกลางของปฏิทินไทย-จีน ส่วนการนับจันทรคติมันเป็นแบบอัตโนมัติอยู่แล้ว คือ 31 ธันวาคม XXXX วันต่อไปคือ 1 มกราคม XXXX ส่วนเทศกาลในแต่ละเดือนให้คงที่เอาไว้ เพราะ จันทรคติเคลื่อนที่ไปข้างหน้า คือ อนาคตกาล แต่เทศกาลมันถูกคงที่ไว้ในแต่ละเดือน(ไม่ใช่จันทรคติ) คือ อดีตกาล ห้ามแก้ไขมาเล่นเพื่อฆ่าคน(คดีฆาตกรรม).
จันทรคติ คือ Counter (ตัวนับเรื่อยๆ) เป็น อนาคตกาล เช่น แรมขึ้น หรือ แรมลง แต่ เทศกาล คือ ประเพณี เป็น อดีตกาล.
สาเหตุที่มนุษย์ไม่หนาวหรือถูกน้ำท่วมตายเพราะ ดาวจันทร์ ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลแรงโน้มถ่วงของโลกไม่ให้หลุดจากวงโคจร มีส่วนช่วยลดและเพิ่มระดับน้ำในทะเลในเวลากลางคืนเมื่อ พระจันทร์ ทอแสงสว่างเต็มดวง. (น้ำขึ้น และ น้ำลง)
สาเหตุที่มนุษย์มีชีวิตอยู่บนโลกได้เพราะ ดวงอาทิตย์ ทำหน้าที่ให้แสงสว่างและฆ่าเชื้อโรคในเวลากลางวันและห่างจากโลกโดยประมาณ 149,600,000 กิโลเมตร แสงสว่าง เรียก รังสี Ultra-Violet โดยมีชั้นโอโซนแบ่งเป็น 4-7 ชั้น แบ่งตามชั้นบรรยากาศได้ 4 ระดับ แบ่งตามความถี่ ได้ 7 ย่านความถี่ เพื่อกรองแสง UV จากดวงอาทิตย์ตามระดับความสูงของโลกถึงอวกาศ.
ดังนั้นใน รัชสมัยรัชกาลที่ 6 จึงทรงคิดค้น ประดิษฐ์กล้องดูดาวแบบวัดองศาได้ โรงเหรียญกษาปก์ไทย พิพิธภัณฑ์ท้องฟ้าจำลอง เมืองจำลองขนาดเล็ก ศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล และ ปฏิทินไทย(ดาราศาสตร์) รวมถึงเรือนหน้าปัดนาฬิกาฝรั่งคล้องโซ่กับเข็มขัดโจงกะเบน(รัชกาลที่ 6) และ ดาบฝรั่งวงพระจันทร์และปืนฝรั่งเฮนรี่(รัชกาลที่7).
สรุป มันคือ นาฬิกาปฏิทินเทพจันทราดับ-เทพวีนัสเกิด(VENUS ClOCK With The Frog) ของ ผู้หญิง ตัวนาฬิกาจะมี 3 เข็ม เข็ม 1 บอกวัน ON February 28-29 เข็ม 2 บอกเดือนทั้ง 12 เดือน เข็ม 3 บอกปี -. ส่วนพวกขึ้น15 เดือน 1-12 และ แรม 1 ค่ำ เดือน 1-12 มันคือ การนับประจำเดือนผู้หญิงแบบคติไทย. และ คนไทยเขาเข้าใจผิด คิดว่า ดวงจันทร์(ดำ-ขาว-ขาว-ดำ) คือ ดาววีนัส(สีเหลือง) จริงๆแล้ว ดาววีนัส คือ พระจันทร์เคลื่อนที่ต่างเส้นรุ้งที่3 บนแกน (X,Y,Z).
เฟสของดวงจันทร์ที่ใช้เพื่อใช้จัดทำปฏิทินจันทรคติไทย ใช้เวลาเที่ยงคืน ในการคำนวณหาเฟสของดวงจันทร์เสมือน ที่ถือว่าโคจรรอบโลกด้วยอัตราเร็วคงที่ ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับการสังเกตเห็นเฟสดวงจันทร์ในท้องฟ้าจริง (อาจคลาดเคลื่อนไปจากดวงจันทร์ได้ถึง 0.65 วัน)
ปฏิทินจันทรคติไทยพบว่ามีความคลาดเคลื่อนจากการสังเกตดวงจันทร์ในท้องฟ้าจริง ซึ่งอาจจะเกิดจากความคลาดเคลื่อนในการคำนวณเฟสของดวงจันทร์ในปฏิทินจันทรคติไทย 2 ส่วน คือ ส่วนการทดวัน (ทางปฏิทิน) ซึ่งมีค่าได้ถึง 0.5วัน โดยเฉพาะในเดือน 6 ของปีอธิกวารเป็นช่วงที่รอทดวัน กับส่วนความเป็นวงรีของ วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก (ทางดาราศาสตร์) ซึ่งมีค่าได้ถึง 0.65 วัน อีกส่วนหนึ่ง
วันจันทร์เพ็ญอาจเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ หรือแรม 1 ค่ำก็ได้ ผู้ที่เคยสังเกตดวงจันทร์จะทราบดีว่า เป็นการยากมากที่จะบอกได้ว่า วันไหนเป็นวันเพ็ญ เพราะมักจะเห็นว่าเต็มดวงอยู่ 2 วัน บางท่านอาจเห็น 4 วัน ต้องใช้รูปถ่ายที่ขยายแล้วนำมาเทียบกัน การดูจันทร์เพ็ญอย่างง่ายในเขตร้อน เช่นประเทศไทย ให้ดูเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกดังนี้
2.ถ้าดวงจันทร์อยู่สูงเกิน 7 องศา แสดงว่ายังไม่ถึงวันจันทร์เพ็ญ ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าดวงจันทร์ด้านล่างยังแหว่งอยู่ เป็นข้างขึ้น เช่น ขึ้น 14 ค่ำ (หรืออาจเป็นขึ้น 15 ค่ำก็ได้ในบางเดือน)
3.ถ้าดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้วราว 1/2 ชั่วโมง แต่ดวงจันทร์ยังไม่ขึ้นเลย และเมื่อดวงจันทร์ขึ้นแล้วให้สังเกตว่า ดวงจันทร์ด้านบนจะแหว่งไปเล็กน้อย กรณีนี้เป็นแรม 1 - 2 ค่ำ
วันจันทร์ดับอาจเป็นวันแรม 14-15 ค่ำ หรือขึ้น 1 ค่ำก็ได้ (มีโอกาส ราว 50%) การดูจันทร์ดับอย่างง่ายในเขตร้อน เช่นประเทศไทย ให้ดูเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกดังนี้
1.ถ้าคืนนั้นดวงจันทร์ยังไม่ดับ จะไม่เห็นดวงจันทร์เลย เพราะดวงจันทร์ตกขอบฟ้าไปก่อนดวงอาทิตย์ เช่น วันแรม 13-14-15 ค่ำ
2.ถ้าคืนนั้นเป็นคืนจันทร์ดับพอดี อาจไม่เห็นดวงจันทร์ก็ได้ เพราะดวงจันทร์จะตกไล่เลี่ยกับดวงอาทิตย์ คือตกก่อนหรือหลังดวงอาทิตย์ไม่เกิน ครึ่งชั่วโมง เช่น แรม 14-15 ค่ำ ขึ้น 1 ค่ำ
3.ถ้าคืนนั้นเป็นคืนอมาวสี(จันทร์ดับ) คือ คืนถัดจากคืนจันทร์ดับ จะเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยวบางๆ หงายท้อง และตกตามหลังดวงอาทิตย์ไป ราว 1/2 ชั่วโมง เช่น ขึ้น 2 ค่ำ อาจเป็นขึ้น 1 ค่ำก็ได้ ในบางเดือน)
รูปร่างดวงจันทร์ครึ่งดวงสังเกตได้ไม่ยาก อย่างไรก็ตามหากต้องดูให้ละเอียดขึ้น ให้สังเกตดังนี้ 1.การสังเกตดวงจันทร์ครึ่งดวงข้างขึ้น ให้ดูตอนที่ดวงอาทิตย์ตก ดวงจันทร์จะอยู่กลางฟ้า (ทางทิศใต้) พอดี ส่วนมากเป็นวันขึ้น 8 ค่ำ แต่อาจเป็นขึ้น 7 ค่ำก็ได้
2.การสังเกตดวงจันทร์ครึ่งดวงข้างแรม ให้ดูในตอนที่ดวงอาทิตย์ขึ้น ดวงจันทร์จะอยู่กลางฟ้า (ทางทิศใต้) พอดี ส่วนมากตรงกับวันแรม 8 ค่ำ แต่อาจเป็นแรม 7 ค่ำก็ได้
การดูจันทร์ดับ/เพ็ญจากอุปราคา จันทรุปราคา จะเกิดในคืนจันทร์เพ็ญเท่านั้น มักเป็นวันขึ้น 15 ค่ำและมีโอกาสเกิดในวันขึ้น 14 ค่ำได้ด้วย แต่มีโอกาสน้อยมาก แต่บางครั้งอาจเป็นแรม 1 ค่ำก็ได้ โดยเฉพาะถ้าขึ้นจันทรุปราคาในช่วงหัวค่ำ ส่วนสุริยุปราคา มักจะเกิดในวันจันทร์ดับ แต่ในบางครั้งเกิดในวันถัดไปก็ได้ โดยเฉพาะหากเกิดช่วงเช้า วันเกิดสุริยุปราคามักตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ หรือวันแรมสุดท้ายของเดือน