ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ โดยทั้งนี้การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ของ จังหวัดยโสธร ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการประชาสัมพันธ์งานประเพณี เป็นที่รู้จักแก่ชาวไทย และต่างประเทศ นับแต่ ปี 2515 ซึ่ง งานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร จะจัดขึ้นในวันเสาร์ อาทิตย์ สัปดาห์ที่สอง ของเดือนพฤษภาคม ในทุกปี โดยทั้งนี้ ในงานที่จัดของจังหวัดยโสธร ยังมีความโดดเด่น ในวันก่อนแห่ มีการประกวดกองเชียร์ จำนวนมาก รวมทั้ง วันแห่บั้งไฟ จะมีขบวนบั้งไฟแบบโบราณ และการรำเซิ้งแบบโบราณ จาก ทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดยโสธร เข้าร่วมด้วย นอกจากนี้ ยังพบว่า การจัดงานบั้งไฟในอดีต และปัจจุบัน ในพื้นที่ จังหวัดร้อยเอ็ด มีความโดดเด่น และเก่าแก่ มานาน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะ ที่ อำเภอสุวรรณภูมิ ที่มีการจัดงาน ในทุกวันเสาร์ อาทิตย์ ในสัปดาห์แรก ของเดือนมิถุนายนในทุกปี ซึ่งเป็นงานที่มี บั้งไฟเอ้สวยงามขนาดใหญ่ (ลายศรีภูมิ หรือ ลายกรรไกรตัด) รวมทั้งขบวนรำสวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ , อำเภอพนมไพร ที่ มีการจัดงาน ในทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ของทุกปี ตามรูปแบบประเพณีดั้งเดิม ตาม ฮีตสองสอง คองสิบสี่ โดยมีการจุดบั้งไฟถวาย มากที่สุดในประเทศ โดยในแต่ละปี จะมีบั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน บั้งไฟล้าน รวมกันกว่า ๑,๐๐๐ บั้ง
ทั้งนี้ จากข้อมูลในปัจจุบัน แหล่งที่มีช่างในการจัดทำ บั้งไฟเอ้ ตกแต่งสวยงามมากที่สุด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยเฉพาะ อำเภอเสลภูมิ, อำเภอธวัชบุรี, อำเภออาจสามารถ, อำเภอสุวรรณภูมิ, อำเภอจตุรพักตร์พิมาน เป็นต้น, ส่วนค่ายบั้งไฟ ที่มีการทำบั้งไฟจุด พบได้จำนวนมาก ในเขตอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด, อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร และ เขตจังหวัดอื่นๆ ทางอีสานเหนือ ได้แก่ อุดรธานี หนองคาย เป็นต้น
นอกจากนี้แล้วในพื้นที่ภาคเหนือ มีการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ของ ตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดงานประเพณีบุญบั้งไฟที่ยิ่งใหญ่ โดยสนับสนุนของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ เช่นกัน ทั้งนี้ เนื่องจากประชากรในเขตพื้นที่ ส่วนใหญ่ อพยพมาจาก เขตภาคอีสาน ในหลายสิบปีก่อนหน้า ส่วนภาคใต้ ยังสามารถพบการจัดงานบุญบั้งไฟ ในเขตอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส โดยเป็นการละเล่นของชาวอีสานที่ย้ายถิ่นฐานมาปักหลักทีนี่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 โดยถือเป็นเพียงพื้นที่เดียวในภาคใต้ของไทย นอกจากภาคอีสานที่มีการเล่นประเพณีนี้
และนอกจากนี้ในพื้นที่ภาคเหนือ ก็มีการละเล่นประเพณีบุญบั้งไฟเช่นเดียวกัน โดยเป็นหนึ่งในประเพณีของล้านนา โดยมีความเชื่อคล้ายกับภาคอีสาน คือ เป็นการถวายเป็นพุทธบูชาและขอฝน
ส่วนคำว่า บ้อง หมายถึง สิ่งของใดๆ ก็ได้ที่มี 2 ชิ้น มาสวมหรือประกอบเข้ากันได้ ส่วนนอกเรียกว่า บ้อง ส่วนในหรือสิ่งที่เอาไปสอดใสจะเป็นสิ่งใดก็ได้ เช่น บ้องมีด บ้องขวาน บ้องเสียม บ้องวัว บ้องควาย ดังนั้น คำว่า บั้งไฟ ในภาษาถิ่นอีสานจึงเรียกว่า บั้งไฟ ซึ่งหมายถึงดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง มีหางยาวเอาดินประสิวมาคั่วกับถ่านไม้ตำให้เข้ากันจนละเอียดเรียกว่า หมื่อ (ดินปืน) และเอาหมื่อนั้นใส่กระบอกไม้ไผ่ตำให้แน่นเจาะรูตอนท้ายของบั้งไฟ เอาไผ่ท่อนอื่นมัดติดกับกระบอกให้ใส่หมื่อโดยรอบ เอาไม้ไผ่ยาวลำหนึ่งมามัดประกบต่อออกไปเป็นหางยาว สำหรับใช้ถ่วงหัวให้สมดุลกัน เรียกว่า “บั้งไฟ” ในทัศนะของผู้วิจัย บั้งไฟ คือการนำเอากระบอกไม้ไผ่ เลาเหล็ก ท่อเอสลอน หรือเลาไม้อย่างใดอย่างหนึ่งมาบรรจุหมื่อ (ดินปืน) ตามอัตราส่วนที่ช่างกำหนดไว้แล้วประกอบท่อนหัวและท่อนหางเป็นรูปต่างๆ ตามที่ต้องการ เพื่อนำไปจุดพุ่งขึ้นสู่อากาศ จะมีควันและเสียงดัง บั้งไฟมีหลายประเภท ตามจุดมุ่งหมายของประโยชน์ในการใช้สอย
ซึ่งมีคุ้มวัดและชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ (เมืองศรีภูมิ) มีบั้งไฟของตนเองในแต่ละชุมชน นอกจากนี้ ยังพบว่า ในหลายหมู่บ้าน ในเขตพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร จังหวัดกาฬสินธุ์ มีการจัดทำบั้งไฟเอ้ ตกแต่งสวยงาม ในแต่ละชุมชน มาแต่ยุคก่อนที่ จะมีการประชาสัมพันธ์ ให้งานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร เป็นงานประเพณีประจำจังหวัดและโปรโมทโดยท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในปี 2515 ซึ่งในปัจจุบัน หลังปี 2530 เป็นต้นมา พบว่า การทำบั้งไฟเอ้ตกแต่งสวยงาม เริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น ใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก โดยระยะหลัง ในเขตเทศบาลเมืองยโสธร ไม่มีการทำบั้งไฟเอ้หรือการตกแต่งบั้งไฟโดยคนในชุมชนแล้ว แต่นอกเขตพื้นที่ ในอำเภอของจังหวัดยโสธร ยังคงมีการจัดทำและตกแต่งเอ้บั้งไฟ อาทิ อำเภอทรายมูล และอำเภอคำเขื่อนแก้ว โดยเป็นบั้งไฟเอ้ ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ส่วนที่อำเภอสุวรรณภูมิ พบว่า ยังคงมีการจัดทำและตกแต่งบั้งไฟ โดยคนในชุมชน และช่างในพื้นที่เรียกว่า "บั้งไฟลายศรีภูมิ" ส่วนบั้งไฟเอ้ขนาดใหญ่ และเครื่องล่าง (ตัวรถบั้งไฟ) ที่มีขนาดใหญ่ และสวยงามนั้น พบว่า มีการทำและพัฒนาต่อเนื่อง ในหมู่บ้าน โดยช่างพื้นบ้าน โดยเฉพาะ อ.ครุฑ ภูมิแสนโคตร บ้านทรายขาว ตำบลนาเมือง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟในพื้นที่จังหวัดยโสธร, อำเภอสุวรรณภูมิ, อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด และในเขตภาคอีสาน ต่อเนื่อง และ อ.เลื่อน สามาลา ช่างบั้งไฟตกแต่งสวยงาม แห่ง บ้านแคน ตำบลโหรา อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีบั้งไฟสวยงาม ได้รางวัลชนะเลิศ ทั้งในงานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด รวมทั้งเขตพื้นที่อื่นๆ ในภาคอีสาน และภาคกลางด้วย โดยทั้งนี้ ช่างที่จัดทำบั้งไฟและตกแต่งบั้งไฟสวยงาม ในรูปแบบเอกลักษณ์ ลายกรรไกรตัด หรือ "ลายศรีภูมิ" นั้น ที่มีชื่อเสียงและเป็น ปราชญ์แห่งท้องทุ่งกุลา คือ อ.เลียบ แจ้งสนาม ภูมิลำเนา บ้านเล้าข้าว ตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด (ปัจจุบัน พำนักในเขตตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด) โดยรายละเอียดของบั้งไฟและการตกแต่งบั้งไฟลายสับ หรือ ทั่วไป รวมทั้งเครื่องล่าง จะประกอบด้วย