ภาษาบาลี (บาลี: ปาลิ; สันสกฤต: ????); (อังกฤษ: Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้
ชื่อเรียกภาษานี้ คือ ปาลิ (อักษรโรมัน : P?li) นั้น ไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน และเป็นที่ถกเถียงเรื่อยมาโดยไม่มีข้อสรุป สำหรับชาวพุทธโดยทั่วไปเชื่อว่า ภาษาบาลีมีกำเนิดจากแคว้นมคธ ในชมพูทวีป และเรียกว่าภาษามคธ หรือภาษามาคธี หรือมาคธิกโวหาร ซึ่ง "มาคธิกโวหาร" พระพุทธโฆสาจารย์พระอรรถกถาจารย์นามอุโฆษมีชีวิตอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 10 อธิบายว่าเป็น "สกานิรุตติ" คือภาษาที่พระพุทธเจ้าตรัส
นักภาษาศาสตร์บางท่านมีความเห็นว่าภาษาบาลีเป็นภาษาทางภาคตะวันตกของอินเดีย นักวิชาการชาวเยอรมันสมัยปัจจุบันซึ่งเป็นนักสันสกฤตคือศาสตราจารย์ไมเคิล วิตเซลแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ถือว่าภาษาบาลีเป็นภาษาทางภาคตะวันตกของอินเดีย และเป็นคนละภาษากับภาษาจารึกของ พระเจ้าอโศกมหาราช
ภาษาบาลีมีพัฒนาการที่ยาวนาน มีการใช้ภาษาบาลีเพื่อบันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา (เถรวาท) เป็นจำนวนมาก วิลเฮล์ม ไกเกอร์ (Wilhem Geiger) นักปราชญ์บาลีชาวเยอรมัน ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงในสมัยศตวรรษที่ 19 คือ Pali Literatur und Sprache โดยวางทฤษฎีที่คนไทยรู้จักกันดีว่าภาษาบาลีในพระไตรปิฎกนั้นสามารถแบ่งวิวัฒนาการการแต่งได้ 4 ยุค ตามรูปลักษณะของภาษาที่ใช้ดังนี้:
บางทีก็เป็นคำสมาสยาว ๆ ซึ่งไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก แสดงให้เห็นชัดเจนว่าแต่งขึ้นหลังจากที่มีการเขียนคัมภีร์แพร่หลายแล้ว
ปัจจุบันมีการศึกษาภาษาบาลีอย่างกว้างขวางในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และอินเดีย แม้กระทั่งในอังกฤษ ก็มีผู้สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาได้พากันจัดตั้ง สมาคมบาลีปกรณ์ (Pali Text Society) ขึ้นในกรุงลอนดอนของประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2424 เพื่อศึกษาภาษาบาลีและวรรณคดีภาษาบาลี รวมถึงการแปลและเผยแพร่ ปัจจุบันนั้น สมาคมบาลีปกรณ์ดังกล่าวนี้มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ตำบลเฮดดิงตัน ในเมืองอ๊อกซฟอร์ดของสหราชอาณาจักร
คำว่า"บาลี" เองนั้นแปลว่าเส้นหรือหนังสือ และชื่อของภาษานี้น่ามาจากคำว่า ปาฬี (P??i) อย่างไรก็ตาม ชื่อภาษานี้มีความขัดแย้งกันในการเรียก ไม่ว่าจะเป็นสระอะหรือสระอา และเสียง “ล” หรือ “ฬ” ภาษาบาลีเป็นภาษาเขียนของกลุ่มภาษาปรากฤต ซึ่งเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรในศรีลังกาเมื่อพุทธศตวรรษที่ 5 ภาษาบาลีจัดเป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลาง แตกต่างจากภาษาสันสกฤตไม่มากนัก ภาษาบาลีไม่ได้สืบทอดโดยตรงจากภาษาสันสกฤตพระเวทในฤคเวท แต่อาจะพัฒนามาจากภาษาลูกหลานภาษาใดภาษาหนึ่ง
คาดว่าภาษาบาลีเป็นภาษาที่ใช้ในสมัยพุทธกาลเช่นเดียวกับภาษามคธโบราณหรืออาจจะสืบทอดมาจากภาษานี้ เอกสารในศาสนาพุทธเถรวาทเรียกภาษาบาลีว่าภาษามคธ ซึ่งอาจจะเป็นความพยายามของชาวพุทธที่จะโยงตนเองให้ใกล้ชิดกับราชวงศ์เมาริยะ พระพุทธเจ้าทรงเทศนาสั่งสอนที่มคธ แต่ก็มีสังเวชนียสถาน 4 แห่งที่อยู่นอกมคธ จึงเป็นไปได้ที่จะใช้ภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลางหลายสำเนียงในการสอน ซึ่งอาจจะเป็นภาษาที่เข้าใจกันได้ ไม่มีภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลางใดๆมีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาบาลี แต่มีลักษณะบางประการที่ใกล้เคียงกับจารึกพระเจ้าอโศกมหาราชที่คิร์นาร์ทางตะวันตกของอินเดีย และหถิคุมผะทางตะวันออก
นักวิชาการเห็นว่าภาษาบาลีเป็นภาษาลูกผสม ซึ่งแสดงลักษณะของภาษาปรากฤตหลายสำเนียง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 2 และได้ผ่านกระบวนการทำให้เป็นภาษาสันสกฤต พระธรรมคำสอนทั้งหมดของพระพุทธศาสนาถูกแปลเป็นภาษาบาลีเพื่อเก็บรักษาไว้ และในศรีลังกายังมีการแปลเป็นภาษาสิงหลเพื่อเก็บรักษาในรูปภาษาท้องถิ่นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ภาษาบาลีได้เกิดขึ้นที่อินเดียในฐานะภาษาทางการเขียนและศาสนา ภาษาบาลีได้แพร่ไปถึงศรีลังกาในพุทธศตวรรษที่ 9-10 และยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน
ภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของกลุ่มภาษาอินโด-อารยันยุคกลางที่พบในจารึกสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชคือภาษาบาลีและภาษาอรธามคธี ภาษาทั้งสองนี้เป็นภาษาเขียน ภาษานี้ไม่ได้ใหม่ไปกว่าภาษาสันสกฤตคลาสสิกเมื่อพิจารณาในด้านลักษณะทางสัทวิทยาและรากศํพท์ ทั้งสองภาษาไม่ได้พัฒนาต่อเนื่องมาจากภาษาสันสกฤตพระเวทซึ่งเป็นพื้นฐานของภาษาสันสกฤตคลาสสิก อย่างไรก็ตาม ภาษาบาลีมีลักษณะที่ใกลเคียงกับภาษาสันสกฤตและมีความแตกต่างอย่างเป็นระบบ และสามารถเปลี่ยนคำในภาษาสันสกฤตไปเป็นคำในภาษาบาลีได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าคำในภาษาบาลีเป็นส่วนหนึ่งของภาษาสันสกฤตโบราณหรือยืมคำโดยแปลงรูปจากภาษาสันสกฤตได้เสมอไป เพราะมีคำภาษาสันสกฤตที่ยืมมาจากภาษาบาลีเช่นกัน
ปัจจุบัน การศึกษาบาลีเป็นไปเพื่อความเข้าใจคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ศูนย์กลางการศึกษาภาษาบาลีที่สำคัญคือประเทศที่นับถือศาสนาพุทธเถรวาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ลาว ไทย กัมพูชา รวมทั้งศรีลังกา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 25 มีการศึกษาภาษาบาลีในอินเดีย ในยุโรปมีสมาคมบาลีปกรณ์เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมการเรียนภาษาบาลีโดยนักวิชาการชาวตะวันตกที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2424 ตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ สมาคมนี้ตีพิมพ์ภาษาบาลีด้วยอักษรโรมัน และแปลเป็นภาษาอังกฤษ ใน พ.ศ. 2412 ได้ตีพิมพ์พจนานุกรมภาษาบาลีเล่มแรก การแปลภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2415 พจนานุกรมสำหรับเด็กตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2419 นอกจากที่อังกฤษ ยังมีการศึกษาภาษาบาลีในเยอรมัน เดนมาร์ก และรัสเซีย
เฉพาะในประเทศไทยนั้น มีการศึกษาภาษาบาลีในวัดมาช้านาน และยังมีเปิดสอนในลักษณะหลักสูตรเร่งรัดที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งกล่าวคือมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยเฉพาะที่มหามกุฏราชวิทยาลัยนั้น ได้ดำเนินการเรียนการสอนภาษาบาลีให้บรรดาแม่ชี ซึ่งแบ่งเป็น ๙ ชั้นเรียกว่า บ.ศ. 1-9 มาเป็นเวลาช้านาน และปัจจุบันนี้ ก็มีแม่ชีสำเร็จการศึกษาเปรียญ ๙ ตามระบบนี้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย มีโรงเรียนสอนภาษาบาลี ให้กับภิกษุสามเณรทั่วประเทศไทย เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม
คำทุกคำในภาษาบาลีมีต้นกำเนิดเดียวกับภาษาปรากฤตในกลุ่มภาษาอินโด-อารยันกลางเช่นภาษาปรากฤตของชาวเชน ความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤตยุคก่อนหน้านั้นไม่ชัดเจนและซับซ้อน แต่ทั้งภาษาสันสกฤตและภาษาบาลีต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน เมื่อเปรียบเทียบกับภาษาสันสกฤต ความคล้ายคลึงของทั้งสองภาษาดูจะมากเกินจริงเมื่อเปรียบเทียบกับภาษาในยุคหลัง ซึ่งกลายเป็นภาษาเขียนหลังจากที่ใช้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาในชีวิตประจำวันมาหลายศตวรรษ และได้รับอิทธิพลจากภาษาในอินเดียยุคกลาง รวมทั้งการยืมคำระหว่างกัน ภาษาบาลีเมื่อนำมาใช้งานทางศาสนาจะยืมคำจากภาษาท้องถิ่นน้อยกว่า เช่น การยืมคำจากภาษาสิงหลในศรีลังกา ภาษาบาลีไม่ได้ใช้บันทึกเอกสารทางศาสนาเท่านั้น แต่มีการใช้งานด้านอื่นด้วย เช่น เขียนตำราแพทย์ด้วยภาษาบาลี แต่ส่วนใหญ่นักวิชาการจะสนใจด้านวรรณคดีและศาสนา
ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ภาษาปรากฤตเขียนด้วยอักษรพราหมี ซึ่งเป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาบาลี ในทางประวัติศาสตร์ การใช้ภาษาบาลีเพื่อบันทึกคัมภีร์ทางศาสนาครั้งแรกเกิดขึ้นที่ศรีลังกา เมื่อราว พ.ศ. 443 แม้การออกเสียงภาษาบาลีจะใช้หลักการเดียวกัน แต่ภาษาบาลีเขียนด้วยอักษรหลายชนิด ในศรีลังกาเขียนด้วยอักษรสิงหล ในพม่าใช้อักษรพม่า ในไทยและกัมพูชาใช้อักษรขอมหรืออักษรเขมรและเปลี่ยนมาใช้อักษรไทยในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2436 และเคยเขียนด้วยอักษรอริยกะที่ประดิษฐ์ขึ้นเป็นเวลาสั้นๆ ในลาวและล้านนาเขียนด้วยอักษรธรรมที่พัฒนามาจากอักษรมอญ นอกจากนั้น อักษรเทวนาครีและอักษรมองโกเลียเคยใช้บันทึกภาษาบาลีเช่นกัน
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา สมาคมบาลีปกรณ์ในยุโรปได้พัฒนาการใช้อักษรละตินเพื่อเขียนภาษาบาลี โดยอักษรที่ใช้เขียนได้แก่ a ? i ? u ? e o ? k kh g gh ? c ch j jh ? ? ?h ? ?h ? t th d dh n p ph b bh m y r l ? v s h
ภาษาบาลีเป็นภาษาที่มีวิภัตติปัจจัยตามแบบลักษณะของภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน กล่าวคือการนำคำมาประกอบในประโยคจะต้องมีการผันคำโดยอาจจะเติมเสียงต่อท้ายหรือเปลี่ยนรูปคำบ้าง เช่นในภาษาอังกฤษเรามักจะเห็นการเติม -s สำหรับคำนามพหูพจน์ หรือเติม -ed สำหรับกริยาอดีต แต่ในภาษาบาลีมีสิ่งที่ต้องพิจารณามากกว่าภาษาอังกฤษอีกหลายอย่าง
ในที่นี้ขอหมายรวมทั้ง นามนาม (Nouns), คุณนาม (Adjectives) และสัพนาม (Pronouns) ซึ่งการนำคำนามเหล่านี้มาประกอบประโยคในภาษาบาลีจะพิจารณาสิ่งต่อไปนี้
ตัวอย่างเช่น คำว่า สังฆะ คำนี้มีสระ อะ เป็นการันต์และเพศชาย เมื่อนำไปใช้เป็นประธานเอกพจน์จะผันเป็น สังโฆ, ประธานพหูพจน์เป็น สังฆา, กรรมเอกพจน์เป็น สังฆัง, กรรมรองเอกพจน์เป็น สังฆัสสะ ฯลฯ
หรือคำว่า ภิกขุ คำนี้มีสระ อุ เป็นการันต์และเพศชาย เมื่อนำไปใช้เป็นประธานเอกพจน์ก็ผันเป็น ภิกขุ, ประธานพหูพจน์เป็น ภิกขะโว หรือ ภิกขู, กรรมเอกพจน์เป็น ภิกขุง, กรรมรองเอกพจน์เป็น ภิกขุสสะ หรือ ภิกขุโน ฯลฯ
คำกริยาหรือที่เรียกว่าอาขยาต เกิดจากการนำธาตุของกริยามาลงปัจจัยและใส่วิภัตติ ตามแต่ลักษณะการใช้งานในประโยค
ตัวอย่างเช่น กริยา วะทะ ที่แปลว่าพูด เป็นกริยาที่ Active ถ้าจะบอกว่า ฉันพูด ก็จะเป็น วะทามิ, เราพูด เป็น วะทามะ, เธอพูด เป็น วะทะสิ, เขาพูด เป็น วะทะติ, ฉันพึงพูด เป็น วะเทยยามิ, ฉันจักพูด เป็น วะทัสสามิ ฯลฯ
กริยาที่นำมาใช้นั้นเป็นลักษณะปกติหรือมีการแสดงอาการอย่างใดเป็นพิเศษดังต่อไปนี้หรือเปล่า