จานบลูเรย์ (อังกฤษ: Blu-ray Disc) หรือ บีดี (BD) คือรูปแบบของจานแสงสำหรับบันทึกข้อมูลความละเอียดสูง ชื่อของจานบลูเรย์มาจากช่วงความยาวคลื่นที่ใช้ในระบบบลูเรย์ ที่ 405 nm ของเลเซอร์สี "ฟ้า" ซึ่งทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าดีวีดีที่มีขนาดแผ่นเท่ากัน โดยดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดงความยาวคลื่น 650 nm โดยในอดีตมีคู่แข่งอย่าง HD DVD หรือ high definition optical disc format war ผลิตโดย Toshiba และเลิกผลิตเครื่องเล่น HD DVD ไปในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เนื่องจาก HD DVD ได้รับความนิยมน้อยกว่า และหันมาผลิตเครื่องเล่นจานบลูเรย์แทนตั้งแต่ พ.ศ. 2552
มาตรฐานของจานบลูเรย์พัฒนาโดยกลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดยฟิลิปส์และโซนี เปรียบเทียบกับเอชดีดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน จานบลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบชั้นเดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองชั้น (Double-Layer) ขณะที่เอชดีดีวีดีแบบชั้นเดียว มี 15 GB และสองชั้นมี 30 GB โดยสามารถเพิ่มการหักเหแสงได้ทั้งหมด 4 ชั้นเพิ่มความจุในการอ่านเขียนไปที่ 128 GB เลยทีเดียว
ระบบภาพความชัดสูงหรือ High-definition video (HD) โดยใช้ระบบพิกเซลระดับ 1080p (1920?1080 pixels) ใช้ความเร็วในการฉาย 60 (59.94) ภาพต่อวินาที fields โดยมากกว่า DVD รุ่นเก่าที่สามารถทำความละเอียดภาพได้แค่ SD หรือ 480p (NTSC, 720?480 pixels) โดยอย่างมากไม่เกิน 576p (PAL, 720?576 pixels)
ซึ่งปกติจานบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่นซีดีหรือดีวีดี โดยจานบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียวและสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 ชั้น อาทิ จาน BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB จาน BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB จาน BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB โดยปี 2013 สามารถผลิต BD-XL ซึ่งมีขนาดมากกว่า 100 GB ไปที่ 128 GB ได้แล้ว
ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกจานบลูเรย์ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิตต่อวินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิตต่อวินาที โดยมีนักวิทยาศาสตร์จาก NASA[ต้องการอ้างอิง] เป็น ผู้พัฒนาต่อจากระบบบันทึกข้อมูลที่ใช้ในโครงการอวกาศ
The BDXL รองรับขนาด 100 GB และ 128 GB โดยใช้จานเดียว และ 100 GB ในการเขียนอ่านซ้ำโดยเปิดตัวใน เดือน มิถุนายน 2553
BD-R 3.0 Format Specification (BDXL) เพิ่มคุณภาพชั้น ในการพัฒนา BDAV format ด้วยการอ่านจานความเร็ว 2? และ 4? โดยส่งผ่านข้อมูล 100/128 GB และ ใช้พื้นที่เพียง UDF2.5/2.6.
BD-RE 4.0 Format Specification (BDXL) เพิ่มคุณภาพชั้น ในการพัฒนาระบบอ่านเขียนซ้ำ BDAV พร้อมความเร็ว 2? และ 4? โดยส่งผ่านข้อมูล 100 GB พร้อมการใช้พื้นที่เพียง UDF2.5 ในระบบ
AVCHD เป็นการพัฒนาจากระบบ ภาพความละเอียดสูง high definition tapeless camcorder โดยความเข้ากันได้จากระบบเดิม random access ที่ความคมชัดต่ำ และการบันทึกเสียงที่ต่ำไม่ได้คุณภาพ จึงจำเป็นต้องสร้างระบบ AVC-video และ ระบบเสียง Dolby AC-3 (or linear PCM) มาใช้ในแบบ ดิจิตอล
โดยระบบการเล่น AVCHD playback แต่เดิมยังไม่รองรับในจานบลูเรย์ playback จนมีการยกระดับความเข้ารหัสคุณภาพของภาพและเสียงให้มากกว่าระบบเดิม โดยสามารถใช้ควบคุ่กับ ระบบ DVD เดิม ทั้งสื่อบันทึกแบบเก่า SD/SDHC memory cards, "Memory Stick" cards และฮาร์ดดิสก์
AVCREC สามารถใช้ใน BDAV เพื่อการบันทึกไฟล์วิดีโอ คุณภาพสูงมากกว่า DVD สามารถนำเสนอ AVCREC ในการยกระดับคุณภาพของภาพยนตร์จาก DVD ขึ้นมาเป็นระบบคุณภาพความละเอียดสูง โดยประเทศญี่ปุ่น ISDB โดยเปลี่ยจากการบันทึกแบบความคมชัดปกติไปเป็นแบบดิจิตอลทีวี digital video recorder จำเป็นต้องบันทึกในพื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้น โดย BLU RAY ให้พื้นที่มากกว่า HD REC
Blu-ray Disc Association (BDA) กำหนดมาตรฐานสำหรับการบันทึกข้อมูลภาพพิเศษทางลักษณะการเรียงตัวของชั้นภาพ ซึ่งเรียกว่าภาพยนตร์สามมิติ (3D film) และทีวีสามมิติ (3D television) ลงบนจานบลูเรย์ ในวันที่ 17 ธันวาคม 2552 BDA ประกาศมาตรฐานและคุณสมบัติของไฟล์ข้อมูลวิดีโอสามมิติ เพื่อให้สามารถบันทึกข้อมูลภาพยนตร์สามมิติลงแผ่น Blu-ray Disc และเปิดรับชมเป็นแบบภาพสามมิติได้อย่างถูกต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน อีกทั้งยังจะต้องสามารถเปิดชมจานบลูเรย์สามมิติโดยเลือกเป็นแบบภาพธรรมดาหรือสองมิติได้ตามปกติของเครื่องเล่น Blu-ray
โดยบริษัท Sony ได้นำเอาความสามารถทางสามมิติและระบบเล่นจานบลูเรย์สามมิติใส่ลงใน firmware upgrade ของเครื่องเล่นเกม PlayStation 3 ในวันที่ 21 เมษายน 2553 ให้สามารถเล่นภาพยนตร์สามมิติได้ โดยในการพัฒนา version 3.70 การอัปเดต วันที่ 9 สิงหาคม 2554 PlayStation 3 รองรับระบบ เสียง DTS-HD Master Audio และ DTS-HD High Resolution Audio ในระบบการเล่นภาพยนตร์จากจานบลูเรย์สามมิติ รวมทั้ง Dolby TrueHD
ความละเอียดระดับสูง High-definition video โดย BD-ROMs สามารถฉายภาพขนาด 1920?1080 pixel ด้วยความเร็ว 60 (59.94) fields ต่อวินาที โดยสามารถลดความเร็วภาพเป็น 1920?1080 pixel ความเร็วในการฉาย 24 ภาพต่อวินาที สามารถเพิ่มระดับเป็น 59.94 ภาพต่อวินาที จากความละเอียดเดิม 1280?720 พิกเซล โดยปัจจุบันรองรับความกว้างของภาพที่ 1920?1080 โดยความเร็วในการฉาย 60p และ 50p
^ a This is used for storing audio/video and title updates. It can either be built-in memory or removable media, such as a memory card or USB flash memory.^ b A secondary audio decoder is typically used for interactive audio and commentary.^ c Profile 3.0 is a separate audio-only player profile. The first Blu-ray Disc album to be released was Divertimenti, by record label Lindberg Lyd, and it has been confirmed to work on the PS3.^ d Also known as Initial Standard profile.^ e Also known as Final Standard profile.
Quadruplex (1956) ? VERA (1958) ? Type A (1965) ? CV-2000 (1965) ? Akai (1967) ? U-matic (1969) ? EIAJ-1 (1969) ? Cartrivision (1972) ? Philips VCR (1972) ? V-Cord (1974) ? VX (1974) ? Betamax (1975) ? IVC (1975) ? Type B (1976) ? Type C (1976) ? VHS (1976) ? VK (1977) ? SVR (1979) ? Video 2000 (1980) ? CVC (1980) ? VHS-C (1982) ? M (1982) ? Betacam (1982) ? Video8 (1985) ? MII (1986) ? S-VHS (1987) ? Hi8 (1989) ? S-VHS-C (1987) ? W-VHS (1994)
D1 (1986) ? D2 (1988) ? D3 (1991) ? DCT (1992) ? D5 (1994) ? Digital Betacam (1993) ? DV (1995) ? Digital-S (D9) (1995) ? DVCPRO (1995) ? Betacam SX (1996) ? DVCAM (1996) ? HDCAM (1997) ? DVCPRO50 (1997) ? D-VHS (1998) ? Digital8 (1999) ? DVCPRO HD (2000) ? D6 HDTV VTR (2000) ? MicroMV (2001) ? HDV (2003) ? HDCAM SR (2003)
Laserdisc (1978) - Laserfilm (1984) - CD - VCD (1993) - DVD (1996) - DVD-Video (1996) - MiniDVD - CVD (1998) - SVCD (1998) - FMD (2000) - EVD (2003) - FVD (2005) - UMD (2005) - VMD (2006) - HD DVD (2006) - Blu-ray Disc (BD) (2006) - AVCHD (2006) - Tapestry Media (2007) - HVD (TBA) - PH-DVD (TBA) - Protein-coated disc (TBA) - Two-Photon 3-D (TBA)