บรรพศิลป์ หรือ อนารยศิลป์ (อังกฤษ: Primitive art หรือ Tribal art) เป็นคำศัพท์กว้างๆ ที่ใช้บรรยายวัตถุหรือสิ่งที่สร้างโดยชนพื้นเมืองผู้มีวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม (Primitive culture) ที่อาจจะเรียกว่า “'Ethnographic art” หรือ “Arts Primitive” (“บรรพศิลป์”) บรรพศิลป์แบ่งออกเป็นสามกลุ่ม
“บรรพศิลป์” อาจจะถือว่าเป็นศิลปะพื้นบ้านที่มักจะเป็นศิลปะที่มีความสำคัญทาง ประเพณี/ศาสนาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเฉพาะของชนเผ่าใดชนเผ่าหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วก็จะเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นที่ห่างไกลออกไป และจะเป็นศิลปะที่คำนึงถึงหัวข้อที่ทำ และ ฝีมือในการสร้างจากประชาคมกลุ่มเล็ก (ชนเผ่า) ที่มักจะไม่มีประเพณีการอ่านการเขียน
“บรรพศิลป์” ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดมาจากทวีปอเมริกา (ตัวอย่างเช่นงานของอินนิวอิท, อเมริกันอินเดียนเกรตเพลน (Plains Indians--อเมริกันอินเดียนจากตอนกลางของสหรัฐอเมริกา) และจากดินแดนที่ห่างไกลจากผู้คนในอเมริกากลาง และ อเมริกากลางใต้), โอเชียเนีย (โดยเฉพาะจากออสเตรเลีย, เมลานีเซีย, นิวซีแลนด์ และ โพลีนีเซีย) และ แอฟริกาซับซาฮารา ลักษณะของสังคมที่สร้างศิลปะตระกูลนี้ก็ได้แก่: