ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

บรรดาศักดิ์ไทย

ในฐานันดรศักดิ์ไทย บรรดาศักดิ์ คือ ระดับชั้นหรือยศของข้าราชการไทยในสมัยโบราณ เทียบกับคำภาษาอังกฤษคือ Title

ระบบบรรดาศักดิ์ของขุนนางไทยนี้ ได้ตราออกมาเป็นกฎหมาย เรียกว่า พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง พ.ศ. 1998 ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กษัตริย์ผู้ครองกรุงศรีอยุธยา

บรรดาศักดิ์ของขุนนางไทยมีความแตกต่างกับตะวันตกเนื่องจากระบบที่แตกต่างกัน ขุนนางตะวันตกเป็นขุนนางสืบตระกูล และไม่ใช่ข้าราชการ แม้ว่าขุนนางบางคนรับราชการ แต่ขุนนางไทยเป็นข้าราชการ และตำแหน่งขุนนางผูกพันกับระบบราชการ ส่วนขุนนางตะวันตกนั้น ตำแหน่งขุนนาง ผูกพันกับการถือครองที่ดิน ที่ได้รับพระราชทานไว้แต่เดิม และส่วยสาอากร หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากที่ดินนั้น ขุนนางตะวันตก จึงมีส่วนคล้ายกับเจ้าต่างกรม ของไทย ผลประโยชน์ในตำแหน่ง เช่น ส่วย กำลังคน เป็นต้น แต่เจ้าต่างกรมของไทย ก็ไม่ได้สืบตระกูล

ดังนั้น บรรดาศักดิ์ของขุนนางไทยจึงน่าจะเป็นชั้นยศ (Rank) มากกว่าเป็นบรรดาศักดิ์ (Title) ตามหลักการสมัยใหม่ การเทียบตำแหน่งขุนนางไทยโบราณกับปัจจุบันจึงไม่ยากนัก เพราะเมื่อเป็นชั้นยศ ที่หมายถึงลำดับสูงต่ำของคนในระบบนั้น ก็เอาระดับสูงสุด กับต่ำสุดมาเทียบกัน และประมาณการเอาได้ โดยไม่ยาก แต่อาจจะไม่ตรงกันโดยสมบูรณ์ แต่ก็จะทราบอย่างคร่าวๆ เช่น

ส่วน บรรดาศักดิ์ "สมเด็จเจ้าพระยา" นั้น ต้องยกเป็นตำแหน่งพิเศษออกไป เพราะพระราชทานพิเศษเฉพาะตัวจำนวนไม่มาก จึงเป็นกรณีพิเศษ ไม่อาจเทียบได้กับข้าราชการปัจจุบัน แต่เหมือนกับการยกสามัญชน ขึ้นเทียบเท่าเจ้าต่างกรมมากกว่า อย่างไรก็ตาม นี่เป็นการเทียบเพียงคร่าวๆ เท่านั้น

หากจะเทียบขุนนางสมัยก่อนกับข้าราชการในสมัยปัจจุบันอาจเทียบได้ดังนี้ คือ ตำแหน่ง ปลัดทูลฉลอง ในสมัยโบราณ ซึ่งปัจจุบันเรียก ปลัดกระทรวง นั้นในสมัยโบราณมักมีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยา" ส่วนตำแหน่ง เจ้ากรม ในสมัยโบราณ ปัจจุบันเรียก อธิบดี สมัยโบราณนั้น เจ้ากรมมักมีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยา" หรือ "พระ" เพราะฉะนั้นหากจะเทียบเคียงกันจริงๆนั้น เทียบได้ยาก แต่ก็พอเปรียบได้ดังนี้ คือ ปลัดกระทรวง มีบรรดาศักดิ์ เป็น พระยา รองปลัดกระทรวง,อธิบดี มีบรรดาศักดิ์ เป็น "พระยา" หรือ "พระ" รองอธิบดี,ผู้อำนวยการสำนัก มีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวง" ผู้อำนวยการกอง,หัวหน้ากลุ่มงาน มีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงหรือขุน"

ได้มีการประกาศยกเลิกบรรดาศักดิ์ของไทย เมื่อ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ต่อมาประกาศดังกล่าวก็ถูกยกเลิกในเวลาต่อมาเมื่อ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2487 และต่อมาได้มีพระราชบัญญัติคืนยศ บรรดาศักดิ์ เครื่องราชอิสสริยาภรณ็ และสิทธิในการรับเบี้ยหวัดบำเหน็จและบำนาญ พุทธศักราช 2489 เพื่อนิรโทษกรรมแก่ผู้ต้องโทษทางการเมือง ในสมัยรัฐบาลของควง อภัยวงศ์ได้มีการประกาศใช้บรรดาศักดิ์อีกครั้ง จนถึง พ.ศ. 2491 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามได้ยกเลิกบรรดาศักดิ์ การประกาศให้มีผู้ได้รับบรรดาศักดิ์กลับคืนมีปรากฏในราชกิจจานุเบกษาครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2512

แต่ละบรรดาศักดิ์ จะมี ศักดินา ประกอบกับบรรดาศักดิ์นั้นด้วย ระบบขุนนางไทย ถือว่า ศักดินา สำคัญกว่า บรรดาศักดิ์ เพราะศักดินา จะใช้เป็นตัววัดในการปรับไหม และ พินัย ในกรณีขึ้นศาล บรรดาศักดิ์ ใน พระไอยการนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง นี้ ค่อนข้างสับสนและไม่เป็นระบบ คล้ายๆ กับว่า ผู้ออกกฎหมายนึกอยากจะให้บรรดาศักดิ์ใด ศักดินาเท่าไหร่ ก็ใส่ลงไป โดยไม่ได้จัดเป็นระบบแต่อย่างใด (เพิ่มเติมวันที่ 4 มีนาคม 2550 ตามความเห็นไม่คิดว่าจะจัดไม่เป็นระบบแต่อย่างใด แต่เป็นลักษณะอย่าง เช่น เมืองตากเป็นเมืองเล็กๆ พระยาตากอาจถือศักดินาสูงสุดอยู่ในเมืองตาก หมายความว่าใหญ่สุดในเมืองตากทั้งศักดินาและบรรดาศักดิ์ แต่อย่างที่บอกไป เมืองตากเป็นเมืองเล็ก เป็นไปได้ว่าอาจมีศักดินาต่ำกว่ายศขุนของอยุธยาซึ่งถือว่าเป็นเมืองใหญ่ก็เป็นได้ ทั้งนี้ควรหาข้อมูลเปรียบเทียบตรงจุดนี้ให้กระจ่าง) ดังนั้น จึงมีขุนนางใน กรมช่างอาสาสิบหมู่ หรือ บางกรม ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา แต่ศักดินาต่ำกว่า 1,000 ซึ่งถือเป็นขุนนางระดับต่ำ

ในสมัยต่อมาได้มีการเพิ่มเติม บรรดาศักดิ์ต่าง ๆ จากทำเนียบพระไอยการนาพลเรือน นาทหาร หัวเมืองขึ้นอีกเป็นอันมาก

ขุนนางของไทยสมัยโบราณ ไม่เหมือนกับขุนนางในประเทศตะวันตก คือ ไม่ได้เป็นขุนนางสืบตระกูล ผู้ที่ได้ครองบรรดาศักดิ์ก็อยู่ในบรรดาศักดิ์เฉพาะตนเท่านั้น จึงเทียบได้กับข้าราชการ หรือ ระบบชั้นยศของข้าราชการในสมัยปัจจุบัน ที่มีการแบ่งเป็นระดับต่างๆ แต่ขุนนางไทยในสมัยโบราณ จะมีราชทินนาม และ ศักดินา เพิ่มเติมแตกต่างจากข้าราชในปัจจุบันที่มีเพียงชั้นยศเท่านั้น

บรรดาศักดิ์ จมื่น หรือ พระนาย นั้น เป็นบรรดาศักดิ์ หัวหน้ามหาดเล็ก ในกรมมหาดเล็ก ศักดินา 800-1000 เทียบได้เท่ากับ บรรดาศักดิ์ พระ ที่มีศักดินาใกล้เคียงกัน แต่จมื่นนั้น ได้รับการยกย่องมากกว่า เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน และมักจะมีอายุยังน้อย อยู่ในระหว่าง 20-30 ปี มักเป็นลูกหลานของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่นำมาถวายตัวรับใช้ใกล้ชิด พระเจ้าแผ่นดิน และเป็นช่องทางเข้ารับราชการต่อไปในอนาคต

ส่วนคำว่า ออก ที่เติมหน้า บรรดาศักดิ์สมัยโบราณนั้น เช่น ออกญา ออกขุน ออกหลวง นั้น มักเป็นคำแสดงความอาวุโสในบรรดาศักดิ์นั้น แต่ยังไม่ได้เลื่อนขึ้นไปยังบรรดาศักดิ์ที่สูงกว่า

บรรดาศักดิ์ สมเด็จเจ้าพระยา นั้น เพิ่งมามีครั้งแรกในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาในรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ได้สถาปนาขึ้นอีก 1 ท่าน หลังจากนั้น ก็ไม่มีผู้ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาอีก สมเด็จเจ้าพระยาจึงมีเพียง 4 ท่าน คือ

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการติดต่อกับประเทศตะวันตก ฝรั่งเทียบให้บรรดาศักดิ์ "สมเด็จเจ้าพระยา" เทียบเท่ากับ ขุนนางตะวันตกชั้น "Grand Duke" โดยหนังสือที่มีถึง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ นั้นเรียกท่านว่า ดยุก

สมเด็จเจ้าพระยาในสมัยรัตนโกสินทร์มีศักดินา 30,000 เสมอ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยา แล้วยังรับ เครื่องประกอบอิสริยยศ ทองคำลงยาราชาวดี เสมอเจ้าต่างกรม มีพระกลดกางกั้น มีพระแสงราชอาญาสิทธิ์ หากวายชนม์ ก็ให้ใช้คำว่า พิราลัย

ส่วนบรรดาศักดิ์ เจ้าพระยานั้น เป็นบรรดาศักดิ์ขุนนางที่สูงที่สุด ตามพระไอยการนาพลเรือน นายทหาร หัวเมือง ในสมัยอยุธยา มีเพียง 5 ตำแหน่ง (ศักดินา 10,000) คือ

ส่วน บรรดาศักดิ์ พระยา นั้น เป็นบรรดาศักดิ์ สำหรับขุนนางระดับสูง หัวหน้ากรมต่างๆ เจ้าเมืองชั้นโท และแม่ทัพสำคัญ ในพระไอยการฯ มีเพียง 33 ตำแหน่ง ดังนั้น จึงมีประเพณี พระราชทานเครื่องยศ (โปรดดูเรื่อง เครื่องราชอิสริยยศไทย) ประกอบกับบรรดาศักดิ์ด้วย โดย พระยาที่มีศักดินามากกว่า 5,000 จะได้รับพระราชทานพานทอง ประกอบเป็นเครื่องยศ จึงเรียกกันว่า พระยาพานทอง ซึ่งถือเป็นขุนนางระดับสูง ส่วนพระยาที่มีศักดินาต่ำกว่านี้ จะไม่ได้รับพระราชทานพานทอง

ในเรื่องนี้ จึงมีประเด็นความเชื่อ โดยบุตรขุนนางที่เกิดใหม่ บิดามักเอาพานทองไปรองรับทารกที่เกิดใหม่นั้น พร้อมอธิษฐานว่า ขอให้บุตรของตนมีวาสนาได้เป็นพระยาพานทองในอนาคต หากเทียบกับปัจจุบัน พระยาพานทอง คงเทียบได้กับข้าราชการ ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษหรือ ทหารชั้นยศนายพล ตำแหน่ง เจ้ากรมทหาร เพราะในปัจจุบันการมอบตำแหน่งพระยาพานทองคือผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงกว่าทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษตามลำดับเกียรตินับขึ้นไปนั้น เป็นต้น

ขุนนางที่มีศักดินา 10,000 ที่ถือว่าเป็นขุนนางระดับสูงนั้น นอกจาก เจ้าพระยา ทั้งห้าตำแหน่งนั้นแล้ว ในทำเนียบพระไอยการฯ ยังมีอีก 16 ตำแหน่ง แต่มีบรรดาศักดิ์ระดับต่ำกว่าเจ้าพระยา คือ

ขุนนางที่มีศักดินา 5,000 ตามพระไอยการฯ ซึ่งถือว่าเป็นขุนนางระดับสูง รองลงมาจากขุนนางศักดินา 10,000 มี 21 ตำแหน่ง ดังต่อไปนี้


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406