น้ำพุเฮรอน (อังกฤษ: Heron's fountain) เป็นเครื่องกลชลศาสตร์ คิดค้นโดยเฮโรแห่งอเล็กซานเดรีย (Heron of Alexandria) ผู้เป็นนักประดิษฐ์ นักคณิตศาสตร์ และนักฟิสิกส์ชาวอียิปต์โบราณในศตวรรษที่ 1
เฮรอนได้ศึกษาเรื่องความดันอากาศและไอน้ำ อธิบายถึงเครื่องจักรไอน้ำเป็นครั้งแรก และประดิษฐ์ของเล่นที่สามารถพ่นน้ำได้หลายชิ้น หนึ่งในนั้นรู้จักกันในชื่อ น้ำพุของเฮรอน ในปัจจุบันรูปแบบต่าง ๆ ของน้ำพุเฮรอนถูกนำมาใช้เป็นอุปกรณ์สาธิตหลักการของชลศาสตร์ (hydraulics) และนิวเมติก (pneumatics) ในชั้นเรียนวิชาฟิสิกส์
น้ำพุเฮรอน ไม่ได้เป็นเครื่องจักรนิรันดร์ ถ้าหัวฉีดของพวยแคบ น้ำพุอาจจะพุ่งออกมาเป็นเวลาหลายนาที แต่ในที่สุดก็มาหยุดลง น้ำที่ออกมาจากท่ออาจจะไปได้สูงกว่าระดับในภาชนะบรรจุใด ๆ แต่การไหลสุทธิของน้ำลดลง แต่ถ้าทำให้ปริมาตรของภาชนะของแหล่งจ่ายลมและแหล่งจ่ายน้ำพุ ให้มีขนาดใหญ่กว่าปริมาตรของอ่าง ที่มีอัตราการไหลของน้ำจากหัวฉีดของพวยน้ำพุอย่างต่อเนื่อง น้ำพุจะสามารถทำงานได้สำหรับช่วงเวลาที่ยาวนานมากขึ้น
กลไกของมันอาจดูเหมือนขัดแย้งกันน้อยกว่าถ้าพิจารณาว่าเป็นกาลักน้ำ (siphon), แต่ด้วยโค้งด้านบนของท่อที่ถูกเอาออกและความดันอากาศระหว่างสองภาชนะบรรจุที่ต่ำกว่าการให้ความดันที่เป็นบวกที่จะยกน้ำให้เหนือกว่าโค้ง อุปกรณ์นี้เป็นที่รู้จักกันคือกาลักน้ำเฮรอน (Heron's siphon)
พลังงานศักย์โน้มถ่วงของน้ำซึ่งไหลลงมาเป็นทางยาวจากอ่างลงสู่ภาชนะที่ต่ำกว่าจะถูกถ่ายโอนโดยท่อแรงดันลม (เฉพาะอากาศจะถูกเคลื่อนย้ายขึ้นไปในขั้นตอนนี้) ที่จะผลักดันน้ำจากภาชนะที่บรรจุน้ำที่อยู่ส่วนบนให้เป็นพวยน้ำพุระยะทางสั้น ๆเหนืออ่าง
น้ำพุจะสามารถพุ่ง (เกือบ) เป็นลำสูงเหนือภาชนะด้านบนเป็นน้ำตกและจะไหลผ่านท่อลงมาจากอ่างลงสู่ภาชนะสำหรับจ่ายลมที่อยู่ต่ำกว่าได้นั้น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด, ให้วางภาชนะบรรจุน้ำให้อยู่ชิดข้างใต้อ่างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และวางภาชนะจ่ายลมให้อยู่ต่ำกว่าลงไปเป็นทางยาวอยู่เบื้องล่างของภาชนะทั้งสองให้มากที่สุด
ทันทีที่ระดับน้ำในภาชนะบรรจุแหล่งจ่ายน้ำพุด้านบนได้ลดต่ำลงจนท่อส่งน้ำพุไม่สามารถสัมผัสกับระดับพื้นผิวของน้ำได้, น้ำพุก็จะหยุดลง เพื่อทำให้น้ำพุเกิดขึ้นอีก, ภาชนะจ่ายลมจะต้องทำให้ปราศจากน้ำก่อน และภาชนะบรรจุแหล่งจ่ายน้ำพุกับอ่างใส่น้ำจะต้องถูกเติมน้ำให้เต็มอีกครั้ง การขับดันน้ำให้เคลื่อนที่ไปนั้นจะทำให้ได้พลังงานที่ต้องการออกมา
เป็นไปได้ว่าไกเซอร์ (ธรณีวิทยา)จะทำงานผ่านกลไกแบบนี้, แต่มีความแตกต่างตรงที่การพุ่งขึ้นของน้ำที่พื้นผิวนั้นจะเกิดขึ้นแบบไม่ต่อเนื่อง