นิวทริโน (อังกฤษ: Neutrino) เป็นอนุภาคมูลฐาน ที่เป็นกลางทางไฟฟ้า และมีค่าสปิน (ฟิสิกส์)เท่ากับครึ่งจำนวนเต็ม นิวทริโน (ภาษาอิตาลีหมายถึง "สิ่งเป็นกลางตัวน้อย") ใช้สัญลักษณ์แทนด้วยอักษรกรีกว่า ?{\displaystyle \nu _{}^{}} (นิว) มวลของนิวทริโนมีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับอนุภาคย่อยอื่น ๆ นิวทริโนเป็นเพียงผู้สมัครที่ถูกชื้ชัดตัวเดียวเท่านั้นสำหรับเป็นสสารมืด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสสารมืดร้อน
นิวทริโนเป็นเลปตอน กลุ่มเดียวกับอิเล็กตรอน มิวออน และเทา (อนุภาค)ที่มีประจุไฟฟ้า และแบ่งเป็น 3 ชนิด (หรือ flavour) ได้แก่ อิเล็กตรอนนิวทริโน (Ve) มิวออนนิวทริโน (V?) และเทานิวทริโน (VT) แต่ละฟเลเวอร์ยังมีคู่ปฏิปักษ์ (ปฏิยานุภาค) ของมันที่เรียกว่า "ปฏินิวทริโน" อีกด้วย ซึ่งไม่มีประจุไฟฟ้าและมีสปินเป็นครึ่งเช่นกัน นิวทริโนถูกสร้างขึ้นในวิธีที่อนุรักษ์ เลขเลปตอน นั่นคือ สำหรับทุก ๆ อิเล็กตรอนนิวทริโนที่ถูกสร้างขึ้น โพซิตรอน (ปฏิอิเล็กตรอน) หนึ่งตัวก็จะถูกสร้างขึ้นด้วย และสำหรับทุก ๆ อิเล็กตรอนปฏินิวทริโนที่ถูกสร้างขึ้น อิเล็กตรอนหนึ่งตัวก็จะถูกสร้างขึ้นเช่นกัน
นิวทริโนไม่มีประจุไฟฟ้า ซึ่งหมายความว่าพวกมันจะไม่ถูกกระทบโดยแรงแม่เหล็กไฟฟ้าที่จะกระทำต่อทุกอนุภาคที่มีประจุ และเนื่องจากมันเป็นเลปตอน มันจึงไม่ถูกกระทบโดยอันตรกิริยาอย่างเข้มที่จะกระทำต่อทุกอนุภาคที่อยู่ภายในนิวเคลียส เพราะฉะนั้น พวกนิวทริโนจึงถูกกระทบด้วยอันตรกิริยาอย่างอ่อนและแรงโน้มถ่วง แรงอย่างอ่อนเป็นปฏิสัมพันธ์ที่มีระยะทำการที่สั้นมาก และแรงโน้มถ่วงก็อ่อนแออย่างสุดขั้วบนมาตรวัดสำหรับอนุภาคย่อย ดังนั้น นิวทริโนโดยทั่วไปจึงสามารถเคลื่อนผ่านสสารทั่วไปได้โดยไม่ถูกขวางกั้นและไม่สามารถตรวจจับได้
นิวทริโนสามารถสร้างขึ้นได้ในหลายวิธี รวมทั้งในหลายชนิดที่แน่นอนของการสลายให้กัมมันตรังสี, ในปฏิกิริยานิวเคลียร์ เช่นพวกที่เกิดขึ้นในดวงอาทิตย์, ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์, เมื่อรังสีคอสมิกชนกับอะตอมและในซูเปอร์โนวา ส่วนใหญ่ของนิวทริโนในบริเวณใกล้โลกเกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในดวงอาทิตย์ ในความเป็นจริง นิวทรืโนจากดวงอาทิตย์ประมาณ 65 พันล้านตัว (6.5?1010) ต่อวินาทีเคลื่อนที่ผ่านทุก ๆ ตารางเซนติเมตรที่ตั้งฉากกับทิศทางของดวงอาทิตย์ในภูมิภาคของโลก
นิวทริโนแกว่ง (อังกฤษ: oscillate) ไปมาระหว่างฟเลเวอร์ที่แตกต่างกันในการเคลื่อนที่ นั่นคิอ อิเล็กตรอนนิวทริโนตัวหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นในปฏิกิริยาการสลายให้อนุภาคบีตาครั้งหนึ่ง อาจมาถึงในเครื่องตรวจจับกลายเป็นมิวออนหรือเทานิวทริโนหนึ่งตัว การแกว่งนี้เกิดชึ้นเนื่องจากฟเลเวอร์ของนิวทริโนที่แตกต่างกันมีมวลแตกต่างกัน ถึงแม้ว่ามวลเหล่านี้มีขนาดที่เล็กมาก จากการวัดทางจักรวาลวิทยา ได้มีการคำนวณว่าผลรวมของมวลนิวทริโนสามตัวต้องน้อยกว่าหนึ่งในล้านส่วนของมวลของอิเล็กตรอน
นิวทริโน [nb 1] ถูกตั้งสมมติฐานครั้งแรกโดย โวล์ฟกัง เพาลี (Wolfgang Pauli) ในปี 1930 เพื่ออธิบายวิธีการสลายให้อนุภาคบีตาในการอนุรักษ์พลังงาน, โมเมนตัม, และโมเมนตัมเชิงมุม (สปิน) ในทางตรงกันข้ามกับ นีลส์ บอร์ ผู้เสนอเวอร์ชันทางสถิติของกฎการอนุรักษ์ที่จะอธิบายถึงปรากฏการณ์ เพาลีตั้งสมมติฐานของอนุภาคที่ไม่สามารถตรวจพบได้นั้นเขาเรียกมันว่า "นิวตรอน" สอดคล้องกับกฏกติกาสัญญาที่ใช้สำหรับการตั้งชื่อทั้งโปรตอนและอิเล็กตรอน, ซึ่งในปี 1930 เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผลิตผลที่เกี่ยวข้องสำหรับการสลายให้อนุภาคอัลฟาและบีตา [nb 2]
เจมส์ แชดวิก (James Chadwick) ได้ค้นพบอนุภาคนิวเคลียร์ที่มีมวลหนักแน่นเพิ่มเติมในปี 1932 และตั้งชื่อให้มันว่า นิวตรอน, แยกออกมาจากอนุภาคสองชนิดที่มีชื่อเดียวกัน เอนรีโก แฟร์มี ผู้พัฒนาทฤษฎีของการสลายให้อนุภาคบีตา เป็นผู้ที่บัญญัติศัพท์คำว่า นิวทริโน (neutrino)