วิชานิติศาสตร์สามารถแบ่งออกเป็นหลายแขนงได้ตามแง่มุมที่ศึกษา ซึ่งอาจสามารถแบ่งออกได้เป็น
หลักนิติศาสตร์ (Jurisprudence) คำดังกล่าวในภาษาอังกฤษ เป็นคำเก่าที่ใช้ตั้งแต่สมัยโรมัน โดยมาจากภาษาลาตินว่า jurisprudentium มีรากศัพท์จาก "juris" แปลว่า กฎหมาย และ "prudentium" แปลว่า ความฉลาด ซึ่งรวมแล้วแปลว่า "ความรู้กฎหมายหรือวิชากฎหมาย" โดยในประมวลกฎหมายของพระเจ้าจัสติเนียน จะกล่าวไว้ในมูลบทนิติศาสตร์ฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วว่า "jurisprudence is the knowledge of things devine and human; the science of the just and the unjust".
ในปี พ.ศ. 2440 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้ทรงก่อตั้ง "โรงเรียนกฎหมาย" ขึ้นในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเปิดการเรียนการสอนโดยคณาจารย์ส่วนใหญ่เป็นตุลาการ ต่อมาได้มีการยุบโรงเรียนกฎหมายไปจัดตั้งเป็น "คณะนีติศาสตร์และรัฐศาสตร์" ขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2476 หลังจากนั้นเพียง 8 เดือน นักเรียนโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมเดิม ไม่พอใจที่โรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ปัจจุบันคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย แต่โรงเรียนกฎหมายไม่ได้ยกฐานะ ดร.ปรีดี พนมยงค์ จึงรับปากว่าจะช่วย
ในที่สุดจึงมีการออก "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" ให้โอนคณีนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปสังกัดมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งปัจจุบัน คือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงอาจกล่าวได้ว่าการโอนโรงเรียนกฎหมายไปสังกัดคณะนีติศาสตร์และรัฐศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการโอนไปเพียงชั่วคราวเท่านั้น ทำให้คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคณะนิติศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย อันสืบทอดโดยตรงจากโรงเรียนกฎหมายเดิม
กระทั่งปี พ.ศ. 2494 จึงได้มีการจัดการเรียนการสอนนิติศาสตร์ขึ้นอีกครั้งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในนามแผนกวิชานิติศาสตร์สังกัดคณะรัฐศาสตร์ ก่อนที่จะได้มีการแยกการเรียนการสอนออกจากคณะรัฐศาสตร์อย่างสิ้นเชิงในปี พ.ศ. 2501 และยกฐานะขึ้นเป็นคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2515
ต่อมาในปีพ.ศ. 2514 ก็ได้มีการก่อตั้งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงขึ้น จวบจนปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษาได้เปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชานิติศาสตร์ในหลายสถาบันทั้งในภาครัฐและเอกชน
นิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) เป็นปริญญาหรือวุฒิทางการศึกษา ซึ่งผู้ที่ต้องการประกอบวิชาชีพทางด้านกฎหมาย เช่น ทนายความ ผู้พิพากษา อัยการ นิติกร จะต้องได้รับก่อนที่จะสามารถเริ่มเข้าสู่วิชาชีพด้านกฎหมาย โดยเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่ใช้เพื่อเข้ารับการอบรมและสอบเพื่อเป็นทนายความหรือสอบเนติบัณฑิตไทย เพื่อมีสิทธิสอบคัดเลือกเพื่อเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการต่อไป
โดยทั่วไปหลักสูตรจะใช้เวลาศึกษา 4 ปี วิชาที่ศึกษาจะเน้นกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธิพิจารณาความอาญา กฎหมายปกครอง รัฐธรรมนูญ และกฎหมายวิชาเลือกอีกจำนวนหนึ่ง ทั้งนี้จุดเน้นของหลักสูตรอาจแตกต่างตามสถาบันการศึกษา
ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ ? ปรัชญาการศึกษา ? ปรัชญาประวัติศาสตร์ ? นิติศาสตร์ ? ปรัชญาสังคมศาสตร์ ? ปรัชญาความรัก
สังคม ? สงคราม ? กฎหมาย ? ความยุติธรรม ? สันติภาพ ? สิทธิมนุษยชน ? การปฏิวัติ ? การดื้อแพ่ง ? ประชาธิปไตย ? สัญญาประชาคม
อนาธิปไตย ? อำนาจนิยม ? อนุรักษนิยม ? เสรีนิยม ? อิสรนิยม ? ชาตินิยม ? สังคมนิยม ? ประโยชน์นิยม ? ทฤษฎีความขัดแย้ง ? ทฤษฎีความเห็นหมู่
เพลโต ? โสกราตีส ? อริสโตเติล ? ขงจื๊อ ? นักบุญออกัสติน ? นักบุญโทมัส อควีนาส ? มาเกียเวลลี ? ฮอบส์ ? ล็อก ? รูโซ ? มงแต็สกีเยอ ? วอลแตร์ ? อดัม สมิธ ? โรเบิร์ต พีล ? เอ็ดมันด์ เบิรก์ ? มิล ? แฟรงคลิน ? ไลบ์นิซ ? คานท์ ? ทอโร ? มหาตมา คานธี