นาโนเมดิซีน คือ การประยุกต์ใช้ประโยชน์จากนาโนเทคโนโลยีเพื่อการรักษาโรค รวมไปถึงการนำเอาอนุภาคนาโนเพื่อนำยาไปยังเป้าหมายโดยตรง
โดยปกติการรักษาโรคมะเร็งปอดที่พบได้ง่ายในผู้สูงอายุที่นิยมสูบบุหรี่ หรือผู้คนที่อาศัยในเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือควันพิษจากยวดยานพาหนะ ผู้ป่วยจำเป็นต้องสูดดมยาผ่านระบบทางเดินหายใจ แต่ก็พบปัญหาข้างเคียง โดยมีสารบางอย่างที่ไม่มีความจำเป็นอีกทั้งส่งผลเสียต่อเซลล์เนื้อเยื่อรอบ ๆ เซลล์มะเร็งด้วย ดังนั้นจากการศึกษาของนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา ได้ประยุคใช้คุณสมบัติทางแม่เหล็กของอนุภาคนาโนเพื่อนำยารักษาโรคไปยังตำแหน่งเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ
ถึงแม้ว่าไม่กี่ปีที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ได้นำตัวยาเขาไปอยู่ในแอโระซ็อล (aerosol) ที่มีลักษณะเป็นสเปรย์เหลวๆ ก่อนการสูดดม จะสามารถลดภาวะค้างเคียงจากการดมยาได้ แต่ก็ยังพบปัญหาว่าการรักษาไม่ค่อยได้ประสิทธิภาพเพียงพอ เพราะตัวยาไม่ได้ไปสู่เซลล์เป้าหมายมากพอ จนกระทั่งนักวิจัยชื่อ คาร์สเตน รูดอลฟ (Carsten Rudolph) แห่งมหาวิทยาลัยลัดวิก-เม็กซิมิเลียนส์ (Ludwig-Maximilians) ประเทศเยอรมัน ได้นำอนุภาคนาโนที่มีคุณสมบัติความเป็นแม่เหล็กผสมในแอโระซ็อล พบว่าสามารถใช้สนามแม่เหล็กภายนอกนำยาไปยังเซลล์มะเร็งโดยตรง และพบว่าจากวิธีนี้สามารถลดผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งได้อย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามในการทดลองนี้ได้ประสปผลสำเร็จในขั้นการทดลองในห้องปฏิบัติการเท่านั้น โดยสัตว์ที่ถูกนำมาใช้คือหนู