นครนะโงะยะ (ญี่ปุ่น: ???? นะโงะยะชิ ?) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภาคชูบุ และมีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกบนเกาะฮนชู เป็นเมืองเอกของจังหวัดไอชิและเป็นหนึ่งในเมืองท่าหลักของญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วย โตเกียว, โอซะกะ, โคเบะ, โยะโกะฮะมะ, ชิบะ และ คิตะกีวชู นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางของเขตมหานครที่ใหญ่เป็นอันดับสามของญี่ปุ่นที่เรียกว่า เขตมหานครชูเกียว ซึ่งมีประชากรกว่า 9.1 ล้านคน
ชื่อของเมืองนั้น เดิมถูกเขียนเป็นตัวคันจิในรูป ??? หรือ ??? (ทั้งสองอ่านว่า นะโงะยะ) ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่ามาจากคำว่า นะโงะยะกะ (????) ที่แปลว่า "สงบสุข" ในขณะที่คำว่าชูเกียว (??, ชู (กลาง) + เกียว (นครหลวง)) ก็มีความหมายถึงนะโงะยะเช่นกัน ตัวอย่างที่ใช้ชื่อชูเกียว อาทิ เขตมหานครชูเกียว, เขตอุตสาหกรรมชูเกียว, บริษัทแพร่สัญญาณโทรทัศน์ชูเกียว, มหาวิทยาลัยชูเกียว เป็นต้น
โอะดะ โนะบุนะงะ และบรรดาผู้ใต้การปกครองคือ โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ กับ โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ นั้นต่างเป็นขุนพลที่มีอำนาจบารมีจากการรวบรวมแผ่นดินญี่ปุ่นเป็นปึกแผ่นและพวกเขามีฐานที่มั่นอยู่ในพื้นที่นะโงะยะ ต่อมา ภายหลังจากที่อิเอะยะซุได้ปราบดาตนเองขึ้นเป็นโชกุนและสถาปนารัฐบาลเอะโดะ ในปี 1610 อิเอะยะซุได้ย้ายฐานที่มั่นไปที่บริเวณแคว้นโอะวะริ (จังหวัดไอชิในปัจจุบัน) ซึ่งห่างจากเมืองคิโยะซุราวเจ็ดกิโลเมตร เพื่อเหตุผลทางยุทธศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันคือเมืองนะโงะยะ
ในยุคนี้ ได้มีการก่อสร้างปราสาทนะโงะยะขึ้น ซึ่งวัสดุต่างๆนำมาจากปราสาทคิโยะซุ ซึ่งในระหว่างการก่อสร้างนี้ พื้นที่บริเวณรอบเมืองคิโยะซุเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรกว่า 60,000 คน ซึ่งภายหลังพวกเขาเหล่านี้ก็ได้ย้ายมาอยู่บริเวณรอบปราสาทนะโงะยะที่สร้างขึ้นใหม่ ในช่วงเวลาเดียวกัน บริเวณใกล้ๆกับศาลเจ้าอะสึนะก็ถูกกำหนดให้เป็นจุดแวะพักที่เรียกว่า มิยะ (ศาล) บนถนนสายโทไกโดซึ่งเชื่อมระหว่างนครหลวงเคียวโตะ กับ นครเอะโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) เส้นทางสัญจรนี้ทำให้เกิดชุมชนขึ้นรอบๆศาลเจ้า
นะโงะยะกลายเป็นศูนย์กลางทางอุตสาหกรรมของภูมิภาค มีชุมชนเศรษฐกิจใหม่เกิดขึ้นมากมาย อาทิ แหล่งเครื่องปั้นดินเผาโทะโกะนะเมะ, ทะจิมิ และ เซะโตะ ตลอดจน โอะกะซะกิที่เป็นแหล่งผลิตดินปืนภายใต้การกำกับของรัฐบาลเอะโดะ อุตสาหกรรมประเภทอื่นๆก็อาทิ การทอฝ้าย และตุ๊กตายนต์ที่เรียกว่า คะมะกุรินิงเงียว
ในสงครามแปซิฟิก นะโงะยะเป็นหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์ที่กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาทำการทิ้งระเบิด เนื่องจากนะโงะยะเป็นกนึ่งในสามศูนย์กลางผลิตอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นในเวลานั้น ประชากรของนะโงะยะในช่วงนี้ประมาณการอยู่ที่ราว 1.5 ล้านคน และ 25% ของประชากรเป็นคนงานสายอาชีพผลิตอากาศยาน ราว 40-50% ของเครื่องยนต์และเครื่องบินรบของญี่ปุ่นถูกผลิตขึ้นที่นี่ นอกจากนี้ นะโงะยะยังเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ที่สำคัญ อาทิ อุปกรณ์รองลื่น, อุปกรณ์ทางรางรถไฟ, โลหะอัลลอย, รถถัง, รถยนต์ และอาหารแปรรูป ตลอดช่วงเวลาของสงครามโลก
การทิ้งระเบิดทางอากาศของสหรัฐอเมริกาเริ่มขึ้นในวันที่ 18 เมษายน 1942 โดยมีเป้าหมายที่โรงงานผลิตอากาศยานมิตซูบิชิ, คลังน้ำมันมะสึฮิเงะโช, ค่ายทหารปราสาทนะโงะยะ และ โรงงานยุทธภัณฑ์ บางครั้งก็ใช้ระเบิดไฟในการโจมตี การทิ้งระเบิดดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนถึงฤดูใบไม้ผลิในปี 1945 ในปฏิบัติการทิ้งระเบิดทางอากาศนี้ คำสั่งทิ้งระเบิดที่ 21ได้ใช้ระเบิดเพลิงไปกว่า 3,162 ตันซึ่งทำลายสถิติของกองทัพอากาศสหรัฐ คำสั่งนี้ได้ทำลายเป้าหมายไปได้กว่า 23 แห่งและทำให้พื้นที่ 1 ใน 4 ของเมืองเกิดเพลิงไหม้เสียหาย ปราสาทนะโยะงะก็ถูกทำลายลงไปด้วยในวันที่ 14 พฤษภาคม 1945 ซึ่งได้มีการสร้างขึ้นใหม่จนแล้วเสร็จในปี 1959
นะโงะยะมีท่าอากาศยานอยู่สองแห่ง ท่าอากาศยานหลักคือ ท่าอากาศยานนานาชาติชูบุเซ็นแทรร์ (NGO) ที่ก่อสร้างโดยถมทะเลบริเวณเมืองโทโกะมะเนะ ซึ่งท่าอากาศยานแห่งนี้มีเที่ยวบินระหว่างและเทศและเที่ยวบินในประเทศจำนวนมาก และท่าอากาศยานรองคือ สนามบินนะโงะยะ (ท่าอากาศยานโคะมะกิ) ซึ่งตั้งอยู่ในชานเมืองนะโงะยะบริเวณเมืองโคะมะกิและคะซุไง ซึ่งตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2005 เที่ยวบินทั้งหมดได้ย้ายไปให้บริการที่ท่าอากาศยานนานาชาติชูบุเซ็นแทรร์ และสนามบินนะโงะยะแห่งเก่านี้ถูกใช้เป็นฐานทัพอากาศสหรัฐอเมริกาและการบินทั่วไปและเป็นศูนย์บำรุงของฟุจิดรีมแอร์ไลนส์
สถานีรถไฟนะโงะยะนั้น ถือเป็นสถานีรถไฟที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก ให้บริการในเส้นทางหลักคือ โทไกโด ชิงกันเซ็ง, สายหลักโทไกโด และสายหลักชูโอ นอกจากนี้มีรถไฟสายอื่นๆ อาทิ เมเตะสึและคินเตะสึที่เชื่อมต่อไปยังภาคโทไกและภาคคันไซ รถไฟใต้ดินเทศบาลนะโงะยะคอยให้บริการเส้นทางภายในตัวเมือง
ท่าเรือนะโงะยะนั้น ถือเป็นท่าเรือที่มีมูลค่าการขนส่งสินค้ามากที่สุดของญี่ปุ่น โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน ก็ใช้ท่าเรือแห่งนี้ในการส่งออกรถยนต์และผลิตภัณฑ์ยานยนต์
นะโงะยะยังเป็นที่ตั้งของสถานทูตและสถานกงสุลของหลายๆประเทศ เป็นที่ตั้งของสถานกงสุลใหญ่จีน, สถานกงสุลใหญ่เกาหลีใต้, สถานกงสุลใหญ่บราซิล, สถานกงสุลใหญ่เปรู และยังมีสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ราชอาณาจักรไทยรวมอีกด้วย