ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

นักศึกษาวิชาทหาร

นักศึกษาวิชาทหาร หรืออักษรย่อ นศท. (อังกฤษ: Thai Reserve Officer Training Corps Student, อักษรย่อ: TROTCS) คือ บุคคลซึ่งอยู่ในระหว่างเข้ารับการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503 เป็นกำลังพลสำรองของกองทัพไทย ภายใต้การควบคุมของ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (คนทั่วไปนิยมเรียกว่า รด.)

พ.ศ. 2475 ประเทศไทยเริ่มมีการฝึกยุวชนทหารเพื่อผลิตทหารกองหนุน สนับสนุนการรบของกองทัพไทย กล่าวได้ว่าการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร (นศท.) มีต้นกำเนิดและแนวคิดมาจากยุวชนทหาร

พ.ศ. 2491 กิจการการศึกษาวิชาทหารได้เริ่มต้นขึ้นโดยมีการสถาปนากรมการรักษาดินแดน ตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2491 เพื่อดำเนินกิจการดังกล่าว ลงคำสั่งทหารที่ 54/2477 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 โดยแนวคิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น (ต่อมาแก้ไขโดย พ.ร.บ.จัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2500)

การสงครามในอนาคตนั้น พลเมืองทุกคนไม่จำกัดเพศและวัย ย่อมจะต้องมีส่วนร่วมในสงครามด้วยกันทั้งสิ้น จึงมีความจำเป็นต้องขยายโครงสร้างของกองทัพ พร้อมกับพัฒนาระบบกำลังสำรองควบคู่กันไป

พ.ศ. 2492 ได้เริ่มรับสมัครนักเรียนซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาตั้งแต่ชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 1 หรือชั้นปีที่ 1 ของโรงเรียนอาชีพ หรือเป็นนิสิตและนักศึกษาระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 และทำการฝึกนศท.เป็นปีแรก โดยเริ่มในกรุงเทพมหานคร แล้วจึงกระจายไปตามหัวเมืองในต่างจังหวัด โดยดำเนินการฝึกครบทั้ง 5 ชั้นปี ในปี 2496

พ.ศ. 2497 ได้มีการประกาศใช้กฎหมายสำคัญ 2 ฉบับในราชกิจจานุเบกษา คือ พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 และ พระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2497 ส่งผลให้นักศึกษาหรือนิสิตที่สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2497 ต้องเข้ารับราชการทหารในฐานะนายทหารสัญญาบัตรต่อไปอีกไม่เกิน 2 ปี จากนั้นให้ปลดเป็น นายทหารสัญญาบัตรกองหนุน หรือรับราชการในฐานะนายทหารสัญญาบัตรประจำการต่อก็ได้ (ต่อมาได้มีการแก้ไขข้อบังคับฯ เพิ่มเติมส่งผลให้ปลดเป็นนายทหารสัญญาบัตรกองหนุน) และได้มีพิธีประดับยศเป็น ว่าที่ร้อยตรี สำหรับผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหารเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2497

พ.ศ. 2503 ได้มีการประกาศใช้กฎหมายในราชกิจจานุเบกษา คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503 ส่งผลให้ถอนทะเบียนกองประจำการนักศึกษาหรือนิสิต เฉพาะที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2494 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2497 สำหรับนักศึกษาหรือนิสิตซึ่งรับราชการทหารตามมาตรา 7 และมาตรา 7 ทวิ แห่ง พระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2494 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2497 นั้นให้ปลดเป็นกองหนุนตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร

พ.ศ. 2528 ได้เริ่มมีการฝึกนศท.หญิงเป็นครั้งแรก พร้อมกับการฝึกนศท.ชั้นปีที่ 4 กองทัพเรือ

พ.ศ. 2544 สถาปนา หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง (นสร.) โดยรวมกิจการของกรมการรักษาดินแดน และกรมการกำลังสำรองทหารบกเข้าด้วยกัน ลงคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ที่ 63/44 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2544

พ.ศ. 2552 เปลี่ยนนามหน่วยเป็น หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.) แทนชื่อเดิม หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง (นสร.) โดย นรด. มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการและดำเนินการเกี่ยวกับกิจการกำลังสำรองทั้งปวง กิจการสัสดี รวมทั้งปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มีผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ การฝึกนศท.จึงได้รับการอำนวยการจากหน่วยงานดังกล่าว

ปัจจุบัน รัฐบาลได้กำหนดวันที่ 8 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวัน นักศึกษาวิชาทหาร หน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหารในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจัดพิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตนสวนสนามของนักศึกษาวิชาทหารเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของ ทหารประจำการ ตำรวจ ยุวชนทหาร และราษฏรอาสาสมัครที่ได้ร่วมมือต่อต้านข้าศึกในสงครามมหาเอเชียบูรพา

ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี จะมีการคัดเลือกนักเรียนนักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เพื่อเข้าเป็นนักศึกษาวิชาทหาร โดยผู้เข้ารับการคัดเลือกจะต้องมีคุณลักษณะดังนี้

การฝึกวิชาทหารดังกล่าว ถ้ามีการละเว้นการเรียน 1 ปีโดยไม่แจ้งลาพักเข้ารับการฝึก จะถือว่าสิ้นสุดสภาพความเป็นนักศึกษาวิชาทหารไม่สามารถเข้ารับการฝึกในชั้นปีต่อไปได้

หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.) กำหนดให้หน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหารในส่วนกลางทำการฝึก 20 สัปดาห์ ทั้งหมด 80 ชม. ในชั้นปีที่ 4 และ 5 นั้นจะมีการฝึกศึกษาวิชาเหล่าใน 40 ชม.หลัง และสำหรับส่วนภูมิภาค (มทบ. และ จทบ.) จะทำการฝึกภาคที่ตั้งในช่วงปิดภาคต้นของสถานศึกษาปกติ

ให้ดำเนินการสอบภาคปฏิบัติให้กับนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 1-5 ทั้งส่วนกลาง และ ส่วนภูมิภาค ในสัปดาห์ที่ 21 ของการฝึกวิชาทหาร ในภาคปกติ

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ให้งดการสอบภาคทฤษฎีสำหรับ นักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 1 และ ชั้นปีที่ 2 แต่ให้ดำเนินการสอบภาคทฤษฎีสำหรับ นักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 3 จนถึง ชั้นปีที่ 5 ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเท่านั้น

หมายเหตุ หลังจากฝึกภาคปกติครบ 20 สัปดาห์แล้วดำเนินการสอบภาคปฏิบัติ และ สอบภาคทฤษฎี เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับ นักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 1 ถือว่าสำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 1 ไม่มีการฝึกภาคสนาม ให้ดำเนินการฝึกภาคสนามให้กับชั้นปีที่ 2 ถึง ชั้นปีที่ 5 เท่านั้น

หมายเหตุ เรื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยในปลายปี พ.ศ. 2554 จึงทำให้งบประมาณที่จะใช้ในการฝึกภาคสนามไม่เพียงพอ ดังนั้น การฝึกภาคสนามประจำปีการศึกษา 2554 จึงดำเนินการฝึกให้สำหรับนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 3 ถึง ชั้นปีที่ 5 เท่านั้น แต่เพิ่มวันฝึกภาคสนามให้สำหรับชั้นปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2554 เดิมจาก 5 วัน 4 คืน เพิ่มเป็น 6 วัน 5 คืน

ปัจจุบัน มีการฝึกหลักสูตรพิเศษ เช่น การกระโดดร่มแบบพาราเซล สำหรับนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 4 โดยมีการฝึกภาคที่ตั้งและภาคสนามเพิ่มเติมจากหลักสูตรปกติ

หลักสูตรพาราเซล คือหลักสูตรพลร่มอีกแบบหนึ่งที่หน่วยคอมมานโดของกองทัพอากาศนำมาฝึกพลร่มจู่โจม และปัจจุบันใช้ฝึกนักเรียนนายร้อยและนักศึกษาทหารชั้นปีที่4ที่มีความสามารถ ร่มมีลักษณะเป็นครึ่งวงกลมสามารถลงถึงพื้นเร็วกว่าร่มทั่วไปจะกระโดดออกจากเครื่องบินหรือใช้รถลาก แต่ในหลักสูตรของนักศึกษาวิชาทหารใช้รถหัมวี้ดีเซลแปดซูมลากขึ้นไปประมาณ 800 ฟิต แต่ละปีจะเปิดรับชาย100 คน หญิง100 คนทั่วประเทศ ส่วนที่ศูนย์กองทัพภาคที่4เมื่อปี50ชาย8คนหญิง1คน ปี51 ชาย 10 คน หญิง 3คน ปีนี้จำนวนศูนย์จะบอกตอนไปฝึกในค่าย ระยะวันเผลัดพิเศษคือ 14 วัน 7วันแรกฝึกภาคสนามปกติ 7วันหลังฝึกหลักสูตรพาราเซล ติดต่อกัน เพราะฉะนั้นร่างกายและกำลังใจต้องพร้อมรับมือกับการฝึก เช่น งอเข่าครึ่งนั่ง100 ยกทุกเช้า เพื่อเสริมกำลังขา เมื่อร่มขึ้นไปแล้ว ขาลงขาของเราจะถึงพื้นก่อนถ้าขาไม่แข็งแรงอาจจะขาหักได้ วันสุดท้ายจะได้ปีกอันเป้นที่ภาคภูมิใจของนักเรียนพาราเซลทุกรุ่น

สังกัดกองการกำลังพลสำรอง กรมกำลังพลทหารเรือ โดย กพส.กพ.ทร.ได้ประสานกับ นรด.เพื่อจัดหานักศึกษาวิชาทหารที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ของกองทัพเรือหรือเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 กองทัพเรือ (สมุดประจำตัวทหารกองหนุน หรือ สด.8 เป็นเล่มสีน้ำตาล) เข้ารับการศึกษาวิชาทหารในชั้นปีที่ 4 โดยแต่ละปีการศึกษาจะรับนึกศึกษาวิชาทหารประมาณ 90 นาย

พ.ศ. 2552 การฝึกนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 1 กองทัพเรือเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งจะขยายการฝึกจนครบทั้ง 5 ชั้นปีเช่นเดียวกับนักศึกษาวิชาทหารกองทัพบก แต่ยังเปิดรับนักศึกษาวิชาทหารที่สำเร็จการฝึกชั้นปีที่ 3 กองทัพบกที่ประสงค์โอนย้ายมาฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 4 กองทัพเรือไปจนถึงปีการศึกษา 2554

พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป การรับนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 4 จะรับสมัครนักศึกษาวิชาทหารที่สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 3 จากกองทัพเรือเป็นเกณฑ์หลัก

เมื่อทำการแยกหน่วยเสร็จสิ้น นักศึกษาวิชาทหารต้องเดินทางไปทำการฝึกที่หน่วยของตนในวันต่อไป

ปีการศึกษา 2549 กรมกำลังพลทหารอากาศได้รับอนุมัติจากกองทัพอากาศ เปิดการฝึกนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 1 และจะเปิดการฝึกครบทั้ง 5 ชั้นปี ในปีการศึกษา 2553 โดยกองทัพอากาศต้องการเน้นเฉพาะการฝึกนักศึกษาวิชาทหารเพื่อเป็นกำลังพลสำรองในส่วนช่างเทคนิค เพื่อชดเชยกำลังหลักในส่วนดังกล่าวที่ขาดแคลน โดยจะคัดเลือกเฉพาะนักศึกษาวิชาทหารที่สถานศึกษามีที่ตั้งใกล้เคียงกับกองบัญชาการกองทัพอากาศกรุงเทพมหานคร และเปิดสอนในด้านช่างเทคนิค ซึ่งได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี โรงเรียนเซนต์จอห์นโปลิเทคนิค

การเรียนภาคทฤษฎีเริ่มทำการฝึกประมาณเดือนกรกฎาคม จนถึง เดือนพฤศจิกายน ของทุกปี ที่โรงเรียนจ่าอากาศ

การฝึกอบรมก่อนพิธีประดับยศ การอบรมใช้เวลา 5 วัน ดำเนินการโดยกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ กองบัญชาการกองทัพอากาศ

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2554 ได้มีพิธีประดับยศเป็น ว่าที่เรืออากาศตรี ให้กับ นศท. ชั้นปีที่ 5 กองทัพอากาศ รุ่นที่ 1 ปีการศึกษา 2553

นักศึกษาวิชาทหารมีสิทธิแต่งเครื่องแบบนักศึกษาวิชาทหารได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักศึกษาวิชาทหารและเครื่องแบบผู้กำกับนักศึกษาวิชาทหาร พ.ศ. 2521

นักศึกษาวิชาทหารซึ่งอยู่ในระหว่างเข้ารับการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรของกระทรวงกลาโหมกำหนดตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503 มีสิทธิได้รับการยกเว้นการเรียกมาตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการในยามปกติ ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497

นักศึกษาวิชาทหารมีสิทธิได้รับการเพิ่มคะแนนพิเศษ เมื่อสอบเข้าโรงเรียนทหาร ตามข้อบังคับ กห.ว่าด้วยโรงเรียนทหาร พ.ศ. 2492 คือ

การแต่งตั้งยศทหารของนักศึกษาวิชาทหารผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหาร (กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ) ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการแต่งตั้งยศทหาร พ.ศ. 2507 ระเบียบกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการแต่งตั้งยศผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรของกระทรวงกลาโหม ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2524 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการแต่งตั้งยศผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรของกระทรวงกลาโหม ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2537 ดังต่อไปนี้

หมายเหตุ 1 : ยศทหารชั้นสัญญาบัตรที่มิได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศทหาร ให้มีคำว่า "ว่าที่" นำหน้ายศนั้น ๆ

หมายเหตุ 2 : เมื่อทหารกองเกินสำเร็จการฝึกวิชาทหารแล้วปลดจากกองประจำการจะได้รับการแต่งตั้งยศทหารเป็นนายทหารสัญญาบัตรแล้วปลดเป็นนายทหารสัญญาบัตรกองหนุน (ไม่มีเบี้ยหวัด) หรือได้รับการแต่งตั้งเป็นนายทหารประทวน แล้วปลดเป็นนายทหารประทวนกองหนุน (ไม่มีเบี้ยหวัด)แล้วแต่กรณีตามชั้นปีที่สำเร็จการศึกษาและเขื่อนไขดังกล่าวตามตารางข้างต้น

หมายเหตุ 3 : เมื่อสมัครสอบคัดเลือกและได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการทหาร การแต่งตั้ง การเลื่อนหรือลดตำแหน่ง การย้าย การโอน การเลื่อนชั้นเงินเดือน...ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการทหารและการให้ได้รับเงินเดือน พ.ศ. 2555 ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉับบที่ 7 พ.ศ. 2551 ) ส่วนการแต่งตั้งยศทหารให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงกลาโหมกำหนดตามพระราชบัญญัติยศทหาร พ.ศ. 2479 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2494 และ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2505)

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 จะไม่รับผู้มีอายุ 15 ปี (ซึ่งเป็นอายุที่กำลังศึกษาในระดับ ม.3-4) และจะเลือกรับผู้มีอายุ 17 ปีขึ้นไปก่อน ตามข้อเสนอของคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติที่มิให้ฝึกใช้อาวุธแก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ให้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับหลักสูตรการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร ต้องมีการปรับปรุงให้ทันต่อสถานการณ์ และ ต้องให้ทันต่อภัยคุกคามรูปแบบใหม่ และได้กล่าวถึงปัญหาในปัจจุบันที่มีผู้ที่เข้ามารับสมัครเข้าเป็นนักศึกษาวิชาทหาร จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และได้แสดงความเป็นห่วงว่า ต่อไปถ้ามีผู้ที่เข้ามารับสมัครเข้าเป็นนักศึกษาวิชาทหารมากขึ้นเรื่อยๆ อาจจะทำให้จำนวนผู้ที่ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารมีจำนวนลดน้อยลงเรื่อยๆ และในปัจจุบันอัตราส่วนอยูที่ 2.3 คน เป็นทหารเกณฑ์ 1 คน ซึ่งจำนวนนี้จะลดน้อยลงเรื่อยๆ ถ้ามีผู้ที่สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 3 มากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ท่านจึงได้มีแนวคิดที่จะแก้ไขระเบียบให้นักศึกษาวิชาทหารที่สำเร็จหลักสูตรชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารประจำปีตามปกติ เหมือนชายไทยทั่วไปที่ไม่ได้เรียนนักศึกษาวิชาทหาร หรือ เรียนแต่ไม่สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 3

พลโท วิชิต ศรีประเสริฐ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ได้ให้สัมภาษณ์ถึงแนวคิดของ ผบ.ทบ. ที่มีแนวคิดให้ผู้ที่เรียนจบหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหาร ต้องเข้ามาเกณฑ์ทหารว่า แนวคิดดังกล่าวถือว่าเป็นแนวคิดที่ดี และกองทัพมีแนวคิดในเรื่องนี้มานานแล้วว่า ทุกคนที่เรียนจบหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหาร ควรเข้ามารับการฝึกประมาณ 3-6 เดือน เพื่อเพิ่มพูนจิตวิญญาณในการรักชาติ ซึ่งเป็นเพียงแค่การขยายแนวความคิดเท่านั้น ต้องศึกษาวิธีการต่อไป ว่าจะทำอย่างไรกันต่อไป ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ การเพิ่มยอดนักศึกษาวิชาทหาร เพราะผู้ที่ได้เรียนนักศึกษาวิชาทหารส่วนใหญ่มาจากผู้ที่ได้เข้าเรียนตามสถานศึกษาต่างๆ ในระดับชั้น ม.4-6 แต่ชายไทยที่ไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ จะต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารทั้งหมด ซึ่งมันทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำได้ และ จากการหารือในรายละเอียด ก็ได้มีแนวทางว่า ต่อไปนักศึกษาวิชาทหารที่สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป อาจจะต้องเข้ารับการตรวจเลือกเข้าเป็นทหารกองประจำการ แต่จะได้สิทธิลดหย่อนระยะเวลาในการรับราชการทหารแทน โดยอาจจะต้องเข้ามาประจำการเป็นทหารเกณฑ์ประมาณ 3-6 เดือน

พลตรี ทวีชัย กฤษิชีวิน ผู้บัญชาการศูนย์การกำลังสำรอง ได้ให้สัมภาษณ์ถึงหลักสูตรการฝึกนักศึกษาวิชาทหารว่า ณ ปัจจุบัน นักศึกษาวิชาทหารที่เรียนจบชั้นปีที่ 3 มีสิทธิ์ได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ ปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 ได้รับยกเว้นไม่ต้องเกณฑ์ทหาร แต่อนุสัญญาเจนีวา ที่ห้ามฝึกอาวุธให้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จึงทำให้นักศึกษาวิชาทหารไม่สามารถฝึกอาวุธได้เข้มข้นเทียบเท่ากับทหารเกณฑ์ ดังนั้นจึงได้เสนอแนวคิดมาว่า ถ้านักศึกษาวิชาทหารเรียนจบชั้นปีที่ 3 ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารตามปกติ แต่ลดระยะเวลาการรับราชการทหารกองประจำการลงเหลือ 6 เดือน มิฉะนั้น ยังไม่ทันยิงปืนเป็นเรียนจบแล้ว แต่ถ้านักศึกษาวิชาทหารเรียนจบชั้นปีที่ 5 มีสิทธิ์ได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ ปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 โดยไม่ต้องรับราชการในกองประจำการ ดังนั้น ถ้านักศึกษาวิชาทหารที่เรียนจบชั้นปีที่ 3 แล้วไม่ต้องการเป็นทหารต่อ จะต้องเรียนจนจบชั้นปีที่ 5 และ หลักสูตรการการฝึกอาวุธ ได้ขยายไปอยู่ในชั้นปีที่ 4 - 5 และจะทำให้กองทัพสามารถผลิตทหารกองหนุนออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบัน ทุกๆอย่างที่ผู้บัญชาการทั้ง 3 ท่านได้กล่าวมานั้น ยังเป็นเพียงแค่แนวคิด ยังไม่มีการดำเนินการใดๆทั้งสิ้น ยังคงใช้กฎระเบียบเดิมคือ ผู้ที่เรียนจบนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 3 มีสิทธิ์ได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ ปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 โดยไม่ต้องเข้ารับราชการทหารเป็นทหารกองประจำการอีกต่อไป

นักศึกษาวิชาทหารที่สำเร็จหลักสูตรชั้นปีที่ 3 , ชั้นปีที่ 4 หรือ ชั้นปีที่ 5 ให้ขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 โดยได้รับการยกเว้นไม่ต้องเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการ และถือว่าเป็นกำลังพลสำรองของกองทัพแล้ว ทางราชการมีสิทธิ์เรียกพลเพื่อตรวจสอบสภาพ , ตรวจสอบบัญชีรายชื่อ หรือ เพื่อฝึกวิชาทหาร ได้ทุกเวลา ซึ่งถ้ามีการเรียกพล ทางอำเภอจะส่งหมายเรียกไปที่บ้านของผู้นั้น เพื่อนัดวัน เวลา และ สถานที่ ซึ่งผู้ถูกเรียกพล ต้องมารายงานตัวตาม วัน เวลา และ สถานที่ที่กำหนดไว้ โดยมีกำหนดการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร 10 ปี ตามเงื่อนไขของระบบการกำลังพลสำรอง ซึ่งการเรียกพลจะกระทำจนถึงอายุ 29 ปีบริบูรณ์ ถ้าหากทหารกองหนุนท่านใดหลีกเลี่ยงการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร ต้องรับโทษ ตาม พ.ร.บ. การรับราชการทหาร พ.ศ. 2497

ทหารกองหนุนท่านใดที่กำลังเรียนรักษาดินแดนต่อในชั้นปีที่ 4 หรือ ชั้นปีที่ 5 สามารถขอผ่อนผันการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหารได้ โดยต้องนำ สด.8 (สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ 1) และ เอกสารขอผ่อนผันมายื่นที่อำเภอให้เรียบร้อยอย่างถูกต้อง หากไม่ปฏิบัติตามวิธีการผ่อนผันที่ถูกต้อง จะถือว่าผู้นั้นหลีกเลี่ยงการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร ต้องรับโทษเช่นเดียวกับผู้สำเร็จนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 3 ที่ไม่ได้ผ่อนผันการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร แต่หลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกพลเช่นกัน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301