นักกฎหมาย หมายถึง ผู้ที่ใช้ความรู้ทางกฎหมายเป็นวิชาการประกอบการงานที่ตนปฏิบัติในสาขาต่าง ๆ เป็นคำรวมหมายความถึงผู้ประกอบการงานทางกฎหมายทุกประเภท ไม่เฉพาะผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับศาล ซึ่งอาจแยกได้ดังนี้
อาจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้ให้คำนิยามไว้ว่าทนายความ หมายถึงผู้ดำเนินคดีในศาลแทนคู่ความ หมอความ หมายถึงผู้ทำงานทางกฎหมายโดยทั่วไป
นักนิติศาสตร์ (doctrine) คือผู้ให้ความเห็นทางกฎหมายในทางทฤษฎี ซึ่งอาจอยู่นอกวงการศาล ความเห็นทางกฎหมายของศาลกับความเห็นทางทฤษฎีอาจไม่ตรงกันได้ นักนิติศาสตร์ กับศาล (jurisprudence) ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นตรงกัน อย่างไรก็ตาม ทั้งผู้อยู่ในวงการศาลและไม่อยู่ในวงการศาล ก็จัดเป็นนักกฎหมาย
นอกวงการศาล ยังมีนักกฎหมายที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษากฎหมาย ซึ่งอาจเป็นทนายความหรือไม่ก็ได้อยู่ด้วย โดยทำหน้าที่ร่างสัญญา ให้ความเห็นทางกฎหมาย ดำเนินการอื่น ๆ เกี่ยวกับกฎหมาย เป็นต้น
ผู้ที่ทำงานทางกฎหมายของราชการนอกวงการศาลโดยเฉพาะ ได้แก่ นิติกร สำหรับนิติกรในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จะทำหน้าที่ตรวจสอบร่างกฎหมาย และให้ความเห็นทางกฎหมายแก่หน่วยงานราชการที่ร้องขอ ซึ่งถือเป็นผู้ดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางปกครองรูปแบบหนึ่ง ในลักษณะการตรวจสอบจากองค์กรของรัฐที่นอกเหนือจากศาลปกครอง
เป็นผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมายในระดับที่สามารถให้ความรู้กับผู้เรียนได้ตามโรงเรียนมัทธยมต้น มัทธยมปลาย จนไปถึงขั้นอุดมศึกษา (ในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย) ในที่นี้การเป็นครูอาจารย์นั้นมีอิทธิพลต่อนักกฎหมายเป็นอย่างมากเพราะแต่ละสถาบันจะมีอุดมการณ์ในการปลูกฝังที่แตกต่างกันไปและครูอาจารย์ที่สอนกฎหมายนั้นบางครั้งอาจจะเป็นผู้ที่แต่งตำราวิชากฎหมายต่างๆให้นักเรียน-นักศึกษาก็เป็นได้