ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

นอรเวย์

นอร์เวย์ (อังกฤษ: Norway; บูกมอล: Norge; นือนอสก์: Noreg) หรือ ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (อังกฤษ: Kingdom of Norway; บูกมอล: Kongeriket Norge; นือนอสก์: Kongeriket Noreg) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ในยุโรปเหนือ ส่วนตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีอาณาเขตจรดประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ และรัสเซีย และมีอาณาเขตทางทะเลจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับประเทศเดนมาร์กและสหราชอาณาจักร นอร์เวย์มีชายฝั่งยาวและเป็นที่ตั้งของฟยอร์ดที่มีชื่อเสียง

ดินแดนหมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ สฟาลบาร์และยานไมเอน ต่างก็อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของนอร์เวย์และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร ในขณะที่เกาะบูแวในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และเกาะปีเตอร์ที่ 1 ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้นั้น มีฐานะเป็นอาณานิคมของนอร์เวย์เท่านั้น ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนดรอนนิงมอดแลนด์ในทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยอีกด้วย

นอร์เวย์ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันตกของสแกนดิเนเวียในยุโรปเหนือ มีพรมแดนส่วนที่ติดต่อกับสวีเดนและฟินแลนด์ยาว 2,542 กิโลเมตร และพรมแดนสั้นๆติดต่อกับรัสเซียทางทิศตะวันออก ทางทิศตะวันตกและใต้ติดต่อกับทะเลนอร์เวเจียน ทะเลเหนือ และ Skagerak ทางทิศเหนือติดต่อกับทะเลแบเรนต์ส ภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อม

ชาวนอร์เวย์เองก็อพยพไปยังประเทศอื่นเช่นเดียวกัน ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 และในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 ชาวนอร์เวย์ประมาณ 800,000 คนอพยพไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเศรษฐกิจของนอร์เวย์ไม่ดีนักและประชากรหางานทำได้ยากมาก หลายคนฝันว่าจะไปเริ่มชีวิตใหม่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะได้ยินว่าที่นั่นมีโอกาสดี ๆ มากมาย หลายคนพบว่าชีวิตในประเทศใหม่นี้มีความยากลำบากในช่วงแรก ในขณะที่คนส่วนใหญ่ก็สามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

ปัจจุบันชาวนอร์เวย์เป็นจำนวนมากทำงานหรือศึกษาในต่างประเทศ คนเหล่านี้ใช้เวลาเรียนรู้วัฒนธรรมอื่น ๆ และเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ ชาวนอร์เวย์ที่เป็นผู้ใหญ่ช่วงต้นมักใช้เวลาสองถึงสามเดือนหรือตลอดทั้งปีเดินทางไปรอบโลกเพื่อชมและหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ในประเทศและวัฒนธรรมที่แตกต่าง

ผู้อพยพชุดล่าสุดของนอร์เวย์คือกลุ่มที่เดินทางไปยังประเทศเขตร้อนและอาศัยอยู่ในระยะเวลาที่ต่างกัน ผู้ชราภาพที่กินบำนาญหลายรายต้องการออกจากพื้นที่เขตหนาวของนอร์เวย์ในช่วงฤดูหนาว หลายคนย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศอื่น เช่น สเปน อย่างถาวร ในขณะที่อีกหลายคนอาศัยอยู่ในประเทศเหล่านี้ในช่วงฤดูหนาวและกลับมานอร์เวย์ในช่วงฤดูร้อน

นอร์เวย์เป็นถิ่นอาศัยของกลุ่มคนที่มีพื้นเพหลากหลายมาเป็นเวลายาวนาน ชาวซามีอาศัยอยู่ทางนอร์เวย์ตอนเหนือมาเป็นเวลาสองพันปี และมีคนเดินทางมายังนอร์เวย์เพื่อมาหางานทำนับเป็นร้อยปีมาแล้ว ผู้ย้ายถิ่นฐานชุดแรกที่เข้ามาทำงานที่นี่มาจากประเทศเพื่อนบ้านและในยุโรปตะวันตก ปัจจุบันประชากรจากกว่า 200 ประเทศอาศัยอยู่ที่นี่

เศรษฐกิจของนอร์เวย์ปรับตัวดีขึ้นนับตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา ทำให้มีความต้องการแรงงานและมีคนเป็นจำนวนมากจากหลายประเทศเดินทางเข้ามาเพื่อหางานทำ คนกลุ่มแรกที่เข้ามามาจากยุโรป และนับตั้งแต่ช่วงปี 1970 เป็นต้นมา หลายคนมาจากเอเชีย อาฟริกาและละตินอเมริกา นอกจากนี้ยังมีชาวปากีสถานและชาวเตอร์กที่เดินทางมาเพื่อทำงานที่นี่ หลายคนยังคงอาศัยอยู่ในนอร์เวย์ในปัจจุบัน ในปี 1975 การย้ายถิ่นฐานถูกชะลอไว้ชั่วคราวเนื่องจากอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นและปัญหาด้านการจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับคนที่เดินทางเข้ามาในประเทศ

ปัจจุบันประชากรจากประเทศใน EEA สามารถรับใบอนุญาตผู้พำนักและใบอนุญาตทำงานในนอร์เวย์ได้ นอกจากนี้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพในสาขางานที่นอร์เวย์ต้องการก็สามารถขอรับใบอนุญาตทำงานได้เช่นกัน ในช่วงปีที่ผ่านมา ผู้ลี้ภัยทางการเมืองหลายคนเดินทางมายังนอร์เวย์จากส่วนต่าง ๆ ของโลก ผู้ที่ลี้ภัยสงครามและกรณีความรุนแรงสามารถยื่นขอลี้ภัยทางการเมืองในนอร์เวย์ได้

เราเรียกช่วงเวลาระหว่างคริสต์ศักราช 800 – 1100 ว่าเป็นยุคไวกิ้ง นอร์เวย์ไม่ได้เป็นรัฐเดียว แต่เป้นราชอาณาจักรเล็ก ๆ หลายอาณาจักร ฮาร์รรัลด์ แฟร์แฮร์ (Harald H?rfagre) เป็นพระราชาของดินแดนที่ใหญ่ในปี 872 ชาวไวกิ้งเดินทางไปหลายประเทศ และชาวไวกิ้งบางส่วนคือ พ่อค้า จากการซื้อและขายของต่าง ๆ

ชาวเหนือที่อาศัยในแถบสแกนดิเนเวีย มีพื้นที่เพาะปลูกน้อย จึงหันมายึดอาชีพการประมง และพัฒนาการต่อเรือเดินทะเล ซึ่งต่อมามีประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องออกทะเลเพื่อค้าขายแต่พวกนี้ชอบทำตัวเป็นโจรสลัด เที่ยวรุกรานใครต่อใคร ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่เรียกชาวเหนือพวกนี้ว่า "V iking" (ชาวนอร์วิเจียนออกเสียงว่า วีคิง) เรือเดินทะเลดั้งเดิม ซึ่งมีความยาว 22 เมตร กลางลำกว้าง 5 เมตร ลึก 1.5 เมตร มีฝีพาย 30-32 คน ตรงกลางมีเสากระโดงสำหรับติดเรือใบ ท้องเรือแบนเหมาะแก่การโต้คลื่น หัวงอน ท้ายงอน ช่วยให้ปราดเปรียว โดยเฉพาะหัวเรือนั้น ทำเป็นหัวงู เนื่องจากมีความเชื่อว่าสัตว์เลื้อยคลานชนิดนี้จะช่วยขจัดความชั่วร้าย

จะเห็นได้ว่าส่วนประกอบที่ทำเป็นลำเรือนั้นคือไม้โอ๊ก ซึ่งตีประกบกันเป็นเกล็ด แล้วเคลือบด้วยน้ำมันเหนียว ๆ ซึ่งมีความแข็งแรงมากกว่าเรือไม้อื่น ๆ ส่วนหางเสือนั้นทำเป็นแบบถอดได้ ลำเรือมีน้ำหนักเบา พอขึ้นฝั่งก็ถอดหางเรือ เข็นเรือเกยตื้นได้คล่อง ครั้นจะออกทะเลก็เข็นลงน้ำ ติดหางเสือพร้อมกับเร่งฝีพาย ชักใบเรือขึ้นเสากระโดง มีเรือไวกิ้งตั้งแสดงไว้ 3 ลำ แต่ละลำมีอายุราว ๆ 1,000 ปี ดูเหมือนกว่าลำที่ขุดพบแรกสุดเมื่อร้อยปีเศษมานี้ แม้จะผุพังไปมาก

แต่เขาได้ใช้ความพยายามเอาชิ้นส่วนที่ยังใช้ได้มาประกอบรวมกับของใหม่ ซึ่งของเดิมนั้นจะมีสีคล้ำกว่าอย่างเห็นได้ชัด ส่วนช่วงหลังของอาคาร ใช้เป็นที่แสดงสิ่งของที่ขุดพบในซากเรือและในจำนวนเรือไวกิ้งหรือเรือเดินทะเลทั้ง 3 ลำนี้ มีเพียงลำเดียวที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์เนื่องจากจมอยู่ในโคลน อีกทั้งได้พบหลักฐานว่าไม่เคยออกทะเล แต่ใช้เป็นที่ฝังศพของหญิงสูงศักดิ์ชาวไวกิ้ง 2 คน พร้อมกับสิ่งของเครื่องใช้สำหรับผู้ตายให้เอาไปใช้ในภพหน้า และมีอยู่ลำหนึ่งเสียหายมาก เพราะโดนแทร็กเตอร์ของคนงานก่อสร้างโดยบังเอิญ ส่วนแพ Kon-Tiki ได้ตั้งแสดงไว้อีกพิพิธภัณฑ์ ในที่นั้นยังมีเรือฟาง Ra II อีกลำ ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อใช้พิสูจน์ความจริงบางประการเมื่อไม่นานมานี้

ระหว่างศตวรรษที่ 14 เดนมาร์กมีอิทธิพลเหนือนอร์เวย์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ใน ค.ศ. 1397 นอร์เวย์อยู่ในสหภาพเดียวกับเดนมาร์กและสวีเดนอย่างเป็นทางการ สหภาพถูกปกครองโดยกษัตริย์ร่วมกัน สวีเดนค่อย ๆ ถอนตัวออกมาจากสหภาพนี้ แต่เดนมาร์กและนอร์เวย์ยังคงรวมกันจนกระทั่งค.ศ. 1814

สหภาพถูกปกครองจากเดนมาร์ก โคเปนเฮเกนเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมของสหภาพและชาวนอร์เวย์อ่านและเขียนเป็นภาษาเดนมาร์ก เกษตกรชาวนอร์เวย์จ่ายภาษีให้กับกษัตริย์ในโคเปนเฮเกน

สหภาพกับสวีเดนล่มสลายใน ค.ศ. 1905 มีความขัดแย้งทางการเมืองเป็นเวลาหลายปีระหว่างรัฐสภาของนอร์เวย์และกษัตริย์ในประเทศสวีเดน และในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีความเชื่อมากขึ้นเรื่อยๆ ว่านอร์เวย์ควรเป็นประเทศเอกราชและมีเสรีภาพ

วันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1905 รัฐสภาประกาศว่ากษัตริย์แห่งสวีเดนไม่ได้เป็นกษัตริย์ของนอร์เวย์อีกต่อไป และสหภาพกับสวีเดนก็ล่มสลายตามา ปฏิกิริยาตอบกลับในสวีเดนรุนแรงและสงครามระหว่างนอร์เวย์และสวีเดนใกล้จะเริ่มขึ้น เนื่องมากจากการลงประชามติสองครั้งเกิดขึ้นในปีเดียวกัน จึงเป็นตัวกำหนดให้สหภาพกับสวีเดนล่มสลายและชาติใหม่ของนอร์เวย์เป็นการปกครองโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข

เจ้าชายคาร์ลแห่งเดนมาร์กถูกเลือกให้เป็นกษัตริย์คนใหม่ของนอร์เวย์ เขามีชื่อทางราชวงศ์ของนอร์เวย์ว่า ฮากอน กษัตริย์ฮากอนเป็นกษัตริย์องค์ที่ 7 ของนอร์เวย์ตั้งแต่ ค.ศ. 1905 จนกระทั่งตายใน ค.ศ. 1957

นอร์เวย์ถูกยึดครองโดยนาซีเยอรมนีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 ถึง 2488 และถูกทำลายในช่วงสงครามไปมาก อาคารบ้านเรือน โรงงานและเมืองต่าง ๆ ถูกทิ้งระเบิดและเผาทำลาย สินค้าส่วนใหญ่มีไม่เพียงพอกับความต้องการและประชาชนต้องประสบกับความยากลำบาก

สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มขึ้นในเดือนกันยายนปี 1939 เมื่อครั้งที่โปแลนด์ถูกรุกรานโดยทหารเยอรมัน ทหารเยอรมันรุกรานนอร์เวย์เมื่อวันที่ 9 เมษายน 1940 มีการต่อสู้ช่วงสั้น ๆ เกิดขึ้นหลายแห่งในประเทศ แต่ระยะเวลาเพียงไม่กี่วันเยอรมันก็สามารถควบคุมนอร์เวย์ได้ทั้งหมด กษัตริย์และเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างหลบหนีไปที่ลอนดอนประเทศอังกฤษและดำเนินการต่อต้านจากที่นั่น

ระหว่างสงครามช่วงสองสามวันแรก ยังไม่มีการต่อต้านเกิดขึ้นมากนักในนอร์เวย์ เจ้าหน้าที่ตำรวจถูกพวกนาซีควบคุม โดยรัฐบาลใหม่ที่เข้าพวกกับนาซีได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อบริหารประเทศแทน รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้ถูกเลือกขึ้นตามระบอบประชาธิปไตย

ชาวนอร์เวย์หลายคนประกอบกิจกรรมที่ผิดกฎหมายระหว่างช่วงสงคราม มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างไม่มีการปิดกั้น ทั้งทางหนังสือพิมพ์และใบปลิว และมีอีกหลายคนที่ช่วยคนให้หลบหนีจากพวกนาซีไปยังประเทศอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวีเดนและอังกฤษ หลายคนถูกจับกุมและขังไว้ในค่ายกักกัน

แม้ว่าประเทศจะถูกยึดครอง แต่คนส่วนใหญ่ยังไปทำงานตามปกติและเด็ก ๆ ก็ยังคงไปเรียนหนังสือได้ตามเดิม อย่างไรก็ตาม อาหาร เสื้อผ้าและปัจจัยอื่น ๆ ถูกแบ่งสรรจากฝ่ายควบคุม ทำให้หลายคนเกิดความไม่แน่ใจในอนาคต

นอร์เวย์มีเรือพาณิชย์ก่อนช่วงสงครามเป็นจำนวนมาก ระหว่างช่วงสงครามปี 1940-1945 เรือหลายลำในจำนวนนี้ส่งสินค้าไปยังประเทศที่ทำสงครามกับเยอรมัน โดยรัฐบาลนอร์เวย์ในลอนดอนเป็นผู้เตรียมการขนส่งเหล่านี้ ประมาณครึ่งหนึ่งของกองเรือถูกทิ้งตอร์ปิโดหรือถล่มด้วยระเบิด ลูกเรือชาวนอร์เวย์เกือบ 4,000 คนต้องเสียชีวิตระหว่างสงคราม

ชายและหญิงชาวนอร์เวย์ประมาณ 10,000 คนเสียชีวิตเนื่องจากสงคราม ประมาณ 700 คนจากนี้เป็นชาวยิวที่ถูกส่งไปยังค่ายกักกันส่วนกลางในเยอรมันและโปแลนด์

ในวันที่ 8 พฤษภาคม 1945 เยอรมันยอมจำนน นอร์เวย์จึงเป็นประเทศเอกราชอีกครั้ง ชาวนอร์เวย์ประมาณ 50,000 คนต้องข้อหากบฏหลังจากสงครามสิ้นสุด คนเหล่านี้เป็นสมาชิกของพรรคสังคมนิยมแห่งชาตินอร์เวย์ Nasjonal Samling ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ฝักใฝ่กับพวกนาซี โดย25 คนถูกประหารชีวิตด้วยข้อหากบฏหลังสงคราม

หลังปี 1945 ประเทศได้เริ่มบูรณะตัวเองใหม่อีกครั้ง ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาที่ตื่นตัวมาก ทั้งการผลิตและการส่งออกอยู่ในอัตราที่เพิ่มขึ้น กองเรือพาณิชย์เองก็ถูกบูรณะขึ้นใหม่อีกครั้ง

หลายคนสามารถหางานทำได้ และแม้ว่าค่าแรงจะไม่สูงมากนัก แต่ปัญหาความยากจนก็ลดลงไปได้บ้าง คนส่วนใหญ่มีมุมมองที่ดีและหลายคนคาดหวังที่จะมีส่วนร่วมในการบูรณะประเทศนอร์เวย์ขึ้นอีกครั้ง ความเท่าเทียมกัน และคุณค่าที่เท่ากันกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับคนส่วนใหญ่ เศรษฐกิจของนอร์เวย์ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังคงต้องแบ่งสรรสินค้าใช้อยู่จนช่วงปลายทศวรรษที่ 1950

ระหว่างช่วงทศวรรษหลังสงคราม มีการปฏิรูปมากมายเกิดขึ้นเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของทุกคน ชั่วโมงการทำงานถูกกำหนดให้สั้นลง และวันหยุดยาวนานขึ้น ในปี 1967 ได้มีการประกาศใช้กฎหมายหลักประกันแห่งชาติ กฎหมายนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันทางเศรษฐกิจให้กับประชากรทุกคน รวมทั้งคนชราและคนป่วย

นอร์เวย์มีการปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และระบอบรัฐสภา ประมุขแห่งรัฐของนอร์เวย์คือพระมหากษัตริย์ โดยพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 บทบาทของกษัตริย์ในปัจจุบัน จำกัดอยู่เพียงด้านพิธีการและสัญลักษณ์

ประมุขของรัฐคือ พระมหากษัตริย์ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล พระมหากษัตริย์แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ตำแหน่งประมุขของรัฐสืบทอดโดยสืบสันตติวงศ์ ตามด้วยการเลือกตั้งรัฐสภา โดยทั่วไปผู้นำพรรคการเมืองเสียงข้างมากหรือผู้นำคณะรัฐบาลผสมจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี

สภานิติบัญญัติของนอร์เวย์ (Storting) มีลักษณะเป็นรัฐสภาเดี่ยวที่ได้มีการปรับให้เหมาะกับประเทศ (modified unicameral parliament) สมาชิกจำนวน 169 ที่น่ง ได้รับการเลือกตั้งในระบบคะแนนนิยมแบบสัดส่วน วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี

เทศมณฑลในนอร์เวย์ เป็นระดับการปกครองที่อยู่ระหว่างรัฐกับเทศบาล แต่ในปี พ.ศ. 2553 เทศมณฑลทั้ง 19 แห่ง จะถูกจัดแบ่งใหม่เป็นเขตที่ใหญ่ขึ้น 5 - 9 เขต

ประเทศไทยเริ่มมีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับนอร์เวย์ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 หลังจากที่นอร์เวย์ได้ประกาศเอกราชและแยกตัวออกจากสวีเดนโดยสันติ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2448 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับนอร์เวย์ใกล้ชิดมากขึ้นจากการเสด็จฯ เยือนนอร์เวย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเดือนมิถุนายน 2450 ซึ่งได้ทรงลงพระนามาภิไธยย่อ ?จปร? ไว้บนก้อนหิน ณ บริเวณนอร์ดแคปป์ (Nordkapp) ต่อมา ได้มีการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานไทย ณ นอร์ดแคปป์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เยือนนอร์เวย์ เพื่อทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว เมื่อปี 2532

ในปี 2495 ได้มีการแลกเปลี่ยนผู้แทนทางการทูตในระดับอัครราชทูต และได้ยกฐานะความสัมพันธ์ขึ้นเป็นระดับเอกอัครราชทูตตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2503 จากนั้น นอร์เวย์ได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตมาประจำประเทศไทยตลอดมา ส่วนไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล เมื่อเดือนสิงหาคม 2530 และต่อมา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 คณะรัฐมนตรีมีมติให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล มีเขตอาณาครอบคลุมสาธารณรัฐลัตเวีย นอกจากนี้ ไทยยังมีสถานกงสุล ณ เมืองเบอร์เกน อีกด้วย

ไทยและนอร์เวย์ได้เฉลิมฉลองการครบรอบ 100 ปี แห่งความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 2548 ในโอกาสดังกล่าว เจ้าชายโฮกุ้น มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ และเจ้าหญิงเมตเต-มาริต พระชายา ได้เสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 23 - 26 พฤศจิกายน 2547

นอกจากนี้ นอร์เวย์เคยมีบทบาทที่สร้างสรรค์ในการเชื่อมความสัมพันธ์ไทย ?- จีน โดยเมื่อต้นปี 2514 นอร์เวย์ได้เริ่มทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดให้ผู้แทนฝ่ายไทยและฝ่ายจีนได้พบปะหารือกัน เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2514 โดยนายอานันท์ ปันยารชุน เอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก และนายเจียว กง หัว (Chiao Kuan-Hua) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน ได้พบปะหารือกันที่นครนิวยอร์ก อันนำไปสู่การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518

นอร์เวย์ถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้ไทย เช่น การเก็บกู้ทุ่นระเบิดบริเวณแนวชายแดน เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น และใช้ไทยเป็นจุดประสานงานหลักในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ไทยและนอร์เวย์มีกรอบการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้คณะกรรมาธิการร่วมทางเศรษฐกิจ การเดินเรือ อุตสาหกรรม วิชาการและการค้า ไทย-นอร์เวย์ ซึ่งได้มีการประชุมมาแล้ว 4 ครั้ง ระหว่างปี 2529 - 2542 ไทยและนอร์เวย์ยังได้ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในกรอบพหุภาคี คือ การเจรจาจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรียุโรป (European Free Trade Association ? EFTA) ซึ่งมีสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ โดยทั้งสองฝ่ายได้เริ่มดำเนินการเจรจาตั้งแต่ปี 2548 และได้หยุดชะงักไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยเมื่อเดือนกันยายน 2549 โดยล่าสุด ที่ประชุมร่วมรัฐสภาไทยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2556 ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างกรอบการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับ EFTA แล้ว และจะมีการเจรจารอบแรก ในช่วงต้นปี 2557

กองทัพนอร์เวย์ปัจจุบันมีประมาณ 23,000 คน รวมทั้งพนักงานพลเรือน ตามที่ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2009) ความพรั่งพร้อมในการเรียกระดมพลเต็มจะอยู่ที่ประมาณ 83,000 คน นอร์เวย์มีการเกณฑ์ทหารสำหรับเพศชาย (6-12 เดือนของการฝึกอบรม) และ พลอาสาสมัครสำหรับเพศหญิง กองทัพนอร์เวย์เป็นผู้ใต้บังคับบัญชากระทรวงกลาโหม ทหารของนอร์เวย์จะแบ่งออกเป็นสาขาต่อไปนี้: กองทัพ, กองทัพเรือ, กองทัพอากาศ และ กองอาสารักษาดินแดน

นอร์เวย์ต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติทางพื้นดิน ป่าไม้ และทะเลอย่างมาก โดยมีอุตสาหกรรมหลัก คือ อุตสาหกรรมการประมง อุตสาหกรรมผลิตภัณท์ป่าไม้ อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ อุตสาหกรรมแร่ธาตุ จำพวกอะลูมิเนียม สังกะสี ตะกั่ว และทองแดง และอุตสาหกรรมการต่อเรือ และอุปกรณ์ด้านการเดินเรือทะเล นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังมีอุตสาหกรรมการเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทางตอนใต้ของทะเลเหนือ รัฐบาลนอร์เวย์จึงพยายามที่จะดำเนินนโยบายที่จะให้หลักประกันใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์มากที่สุดเพื่อผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต

นอร์เวย์เป็นรัฐสวัสดิการ ซึ่งมีนโยบายที่เน้นการนำรายได้ของรัฐมาสนับสนุนภาคบริการเพื่อเป็นหลักประกันทางสังคมแก่ประชาชนในด้านต่างๆ อาทิ การบริการรักษาพยาบาล การศึกษา การจัดระบบบำเหน็จบำนาญ และการดูแลผู้พิการและผู้สูงอายุ เป็นต้น ลักษณะสำคัญของสังคมนอร์เวย์อีกประการหนึ่ง คือ การเน้นความเท่าเทียมกันในเรื่องเพศ ซึ่งทำให้สตรีชาวนอร์เวย์ได้รับสิทธิทำงานและสิทธิทางด้านสังคมอื่นๆ เช่นเดียวกับบุรุษ

สำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจของนอร์เวย์ในระดับภูมิภาคยุโรป นอกเหนือจากการส่งเสริมความร่วมมือในกลุ่มประเทศนอร์ดิก (Nordic) ซึ่งประกอบด้วยเดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน แล้ว นอร์เวย์ยังเป็นสมาชิกสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association - EFTA) ซึ่งมีสมาชิกประเทศ ได้แก่ ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ โดยไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ และนอร์เวย์ได้เจรจากับสหภาพยุโรป (European Union - EU) เพื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area - EEA) ซึ่งมีผลตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2537

ชาวนอร์เวย์เดินทางมาท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2549 มีจำนวน 101,920 คน ปี พ.ศ. 2550 จำนวน 110,076 คน ปี พ.ศ. 2551 จำนวน 127,976 คน และปี พ.ศ. 2552 จำนวน 151,572 คน ซึ่งมีสัดส่วนสูงเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรนอร์เวย์ซึ่งมีจำนวน 4.8 ล้านคน ในขณะที่เมื่อปี พ.ศ. 2552 มีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปท่องเที่ยวนอร์เวย์จำนวนประมาณ 8,000 คน

แหล่งท่องเที่ยวที่ชาวนอร์เวย์นิยม คือ แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดภูเก็ต ปัจจัยที่ ทำให้ชาวนอร์เวย์นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในไทย คือ ความสามารถสนองตอบต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวนอร์เวย์ในการท่องเที่ยวประเภทหาดทราย ชายทะเลของไทย ไทยมีค่าครองชีพที่ไม่สูง

เมื่อกลางเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 การบินไทยได้เปิดเส้นทางบินตรงไทย – นอร์เวย์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวนอร์เวย์และนักธุรกิจ ด้วยเครื่องแอร์บัส 340-500 ประกอบด้วยชั้นธุรกิจ 60 ที่นั่ง ชั้นประหยัด 42 ที่นั่ง และชั้นประหยัด 113 ที่นั่ง โดยในปัจจุบัน บินออกจากนอร์เวย์ทุกวัน ใช้เวลาบินราว 10 ชั่วโมงครึ่ง

เนื่องจากความหนาแน่นของประชากรต่ำ รูปร่างแคบและชายฝั่งที่ยาว การขนส่งสาธารณะในประเทศนอร์เวย์ได้รับการพัฒนาน้อยกว่าในหลายประเทศในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตนอกเมือง อย่างเช่นมีประเพณีการขนส่งทางน้ำเก่าของนอร์เวย์ แต่กระทรวงคมนาคมนอร์เวย์ในปีที่ผ่านมา การขนส่งทางรถไฟ ถนน และทางอากาศดำเนินการผ่านบริษัทย่อยจำนวนมากเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการเป็นไปได้ของการสร้างใหม่ระบบรถไฟความเร็วสูงระหว่างเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เครือข่ายรถไฟของนอร์เวย์หลักยาว 4,114 กิโลเมตร (2,556 ไมล์) ของขนาดความกว้างรางรถไฟมาตรฐาน ซึ่ง 242 กิโลเมตร (150 ไมล์) คือรางคู่และ 64 กิโลเมตร (40 ไมล์) เป็นทางรถไฟความเร็วสูง (210 กม. / ชม. ) ขณะที่ 62% เป็นไฟฟ้าที่ 15 kV 16 ? AC เฮิร์ตซ์ รถไฟขนส่งผู้โดยสารได้อย่างมากที่สุด 56,827,000 คน และสินค้า 24,783,000 ตัน เครือข่ายทั้งหมดเป็นของการรถไฟบริหารนอร์เวย์แห่งชาติ ในขณะที่รถไฟด่วนสนามบินกำลังดำเนินการโดย การรถไฟนอร์เวย์ (NSB) และยังมีอีกหลายบริษัทที่ดำเนินการขนส่งสินค้าทางรถไฟ

มีท่าอากาศยาน 97 แห่งในนอร์เวย์ มีอยู่เจ็ดสนามบินมีผู้โดยสารมากกว่าหนึ่งล้านคนเป็นประจำทุกปี ท่าอากาศยานหลักของนอร์เวย์คือ ท่าอากาศยานนานาชาติออสโล

การศึกษาระดับอุดมศึกษาในนอร์เวย์จะมีบริการตามช่วงของ 7 มหาวิทยาลัย 5 วิทยาลัยเฉพาะ 25 วิทยาลัยมหาวิทยาลัย เช่นเดียวกันกับช่วงของวิทยาลัยเอกชน กระบวนการที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ โบโลญญาตรี 3 ปี, ปริญญาโท 2 ปี และปริญญาเอก 3 ปี ศึกษาสาธารณะฟรีโดยไม่คำนึงถึงสัญชาติ

จำนวนประชากรนอร์เวย์มีประมาณ 4.9 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวนอร์เวย์และชาวเยอรมันเหนือ ชาวซามิอาศัยอยู่ในภาคกลางและภาคเหนือของนอร์เวย์และสวีเดน เช่นเดียวกันกับทางตอนเหนือของฟินแลนด์และรัสเซียในคาบสมุทร Kola

ภาษานอร์เวย์ เป็นภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก เป็นภาษาราชการของประเทศนอร์เวย์ และมีความใกล้ชิดกับภาษาสวีเดนและเดนมาร์ก ภาษานอร์เวย์มีรูปแบบการเขียน 2 แบบ คือ ภาษาบุ๊กมอล (Bokm?l) (หมายถึง "ภาษาหนังสือ") และ ภาษานือนอสก์ (Nynorsk) (หมายถึง "ภาษานอร์เวย์ใหม่") ภาษานอร์เวย์อยู่ในอันดับที่ 108 ผู้พูด 4.7 ล้านคน ตระกูลภาษามาจากสแกนดิเนเวียตะวันออกและตะวันตก

แต่คนนอร์เวย์ส่วนใหญ่นิยมใช้ภาษาบุ๊กมอลมากกว่า ทั้งหนังสือพิมพ์หรือรายการทีวีต่าง ๆ นอกจากนี้เด็ก ๆ ทุกคนต้องเรียนภาษาอังกฤษด้วย ปัจจุบันคนนอร์เวย์ส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้

ราวกลางศตวรรษที่ 19 การเคลื่อนไหวในศิลปะและวัฒนธรรมเริ่มปรากฏออกมาให้เห็น ซึ่งเราเรียกว่า จิตนิยมของชาติ ส่วนสำคัญของการเคลื่นไหวคือการเน้นที่ลักษณะของประเทศรวมถึงการขยายและการเสริมแต่ง ในนอร์เวย์ มุ่งเน้นเบื้องต้นในเรื่องความสวยงามของประเทศตามธรรมชาติ ชุมชนเกษตรกรรมถูกมองว่าเป็น “ชาวนอร์เวย์ที่เป็นแบบอย่าง”

จิตนิยมของชาติแสดงออกในรูปแบบของวรรณกรรม ทัศนศิลป์และดนตรี ในระหว่างช่วงเวลานี้ ชาวนอร์เวย์เริ่มพัฒนาความรู้สึกของเอกลักษณ์ของชาติมากขึ้น ความรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นชาวนอร์เวย์ที่ถูกพัฒนายอย่างมากมายนี้ส่งผลให้ความปรารถนาอย่างแรงกล้าสำหรับประเทศคือการได้รับเอกราช

หลังจากเริ่มต้นในสหภาพกับเดนมาร์กเป็นเวลาหลายศตวรรษ ภาษเขียนของนอร์เวย์คือภาษาเดนมาร์ก ภาษาเขียนที่เราอ้างถึงในปัจจุบันคือ bokm?l เป็นการพัฒนาในอนาคตของภาษานี้ ในระหว่างช่วงเวลาจิตนิยมของชาติ คนจำนวนมากเชื่อว่าชาวนอร์เวย์ควรจะมาภาษาเขียนของตัวเองซึ่งไม่ได้มีพื้นฐานมาจากภาษาเดนมาร์ก ด้วยเหตุผลนี้ นักภาษาศาสตร์ชื่อ Ivar Aasen (ค.ศ. 1813 – 1896) เดินทางรอบประเทศเพื่อเก็บตัวอย่างจากภาษาพื้นเมืองหลายหลายภาษา เขาใช้ตัวอย่างเหล่านี้สร้างภาษาเขียนใหม่เรียกว่า nynorsk (ภาษานอร์เวย์ใหม่). ทั้ง nynorsk และ bokm?l มีการพัฒนาอย่างมากตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แต่นอร์เวย์ก็ยังคงมีสิ่งที่แตกต่างกันอย่างเป็นทางการ 2 สิ่ง นอกเหนือจาก Sami และ Kven (kvensk)

อาหารที่จำหน่ายในนอร์เวย์จะต้องเคร่งครัดต่อกฎระเบียบเรื่องสุขลักษณะเป็นอย่างมาก จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค คนนอร์เวย์บริโภคนม ขนมปังสีน้ำตาล และปลา เป็นจำนวนมาก ประเพณีการทำอาหารของนอร์เวย์ แสดงอิทธิพลของประเพณีการเดินเรือและการทำฟาร์มระยะเวลายาวนานกับปลาแซลมอน , ปลาคอดแฮร์ริ่ง , ปลาเทราท์ และอาหารทะเลอื่น ๆ และจานถ้วยชามนอร์เวย์ดั้งเดิม เช่น lutefisk, smalahove, pinnekj?tt และ f?rik?l

อาหารประจำชาติของนอร์เวย์ คือ เลฟซ่า ทำมาจากมันฝรั่งต้มบด จะมีลักษณะคล้าย ๆ กับโรตีแผ่นใหญ่ เวลากินมักจะทาเนยอยู่ด้านบน, ไส้กรอกจะห่อด้วยแผ่นโรตี, อีกทั้งอาหารส่วนใหญ่ทำมาจากปลา เพราะประเทศนี้หาปลาง่าย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301