ละหมาด เป็นคำยืมมาจากภาษาเปอร์เซียมาจากคำว่า นมาซ (เปอร์เซีย: ?????) หมายถึง การประกอบกิจบูชาสักการะอัลลอหฺ ด้วยการอ่านบทสรรเสริญ และการวิงวอน ในอาการต่าง ๆ เช่น ยืน ก้ม กราบ และนั่ง ภาษาอาหรับเรียกว่า ศอลาต (อาหรับ: ????? ?al?h หรือ gen: ?al?t; พหูพจน์ ????? ?alaw?t) ส่วนภาษามลายูว่า เซิมบะห์ยัง (มาเลย์: Sembahyang) ที่เป็นคำที่ประกอบจากคำว่า เซิมบะห์ (sembah บูชา) และ ฮยัง (hyang พระเจ้า) ซึ่งเพี้ยนเป็นภาษามลายูปัตตานีว่า ซือมาแย หรือ สมาแย และสำเนียงสงขลาว่า มาหยัง
คำว่า"ละหมาด" ในภาษาอาหรับคือ ศอลาต (Salah, ????) มาจากรากศัพท์ที่ประกอบด้วย ศอด (?) , ลาม (?) , และวาว (?) ความหมายของรากศัพท์นี้ในภาษาอาหรับคลาสสิกคือ สวดมนต์ อ้อนวอน บูชา ร้องทุกข์ กล่าวสุนทรพจน์ ขอพร ตามไปอย่างใกล้ชิด หรือ ติดต่อ ความหมายที่เป็นรากฐานของคำนี้เกี่ยวข้องกับความหมายที่ใช้ในอัลกุรอานทั้งหมด
ก่อนการละหมาด ผู้ละหมาดต้องอาบน้ำละหมาด (วุฎูอ์) ได้แก่การใช้น้ำชำระมือ ปาก จมูก ใบหน้า แขน ศีรษะ หู และเท้า พร้อมกับขอพร ถ้าไม่มีน้ำให้ชำระด้วยผงดิน (ตะยัมมุม) ในกรณีที่เพิ่งหมดประจำเดือน หลังคลอดบุตรหรือแท้งบุตร หรือผู้ที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ หลั่งน้ำอสุจิ นอกจากอาบน้ำละหมาดแล้วต้องอาบน้ำทั่วร่างกาย (ญะนาบะหฺ) ด้วย
สิ่งที่ทำให้ความสะอาดเสียไป ซึ่งทำให้การละหมาดไม่มีผล ได้แก่ การผายลม การขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะ มีเพศสัมพันธ์ หลั่งอสุจิ คลอดบุตร แท้งบุตร หลับ หรือเป็นลมหมดสติ
การละหมาดประกอบด้วยหน่วยย่อยเรียกร็อกอะหฺ (หรือร่อกอัต ร็อกอะห์) การละหมาดในโอกาสต่าง ๆ มีจำนวนร็อกอะห์ต่างกันไปเช่นละหมาดวันศุกร์มี 2 ร็อกอะหฺ ละหมาดเวลากลางคืนมี 4 ร็อกอะหฺ ละหมาดตะรอวีฮฺ ในคืนของเดือนถือศีลอดมี 40 ร็อกอะหฺ เป็นต้น
การละหมาดที่มี 2 ร็อกอะหฺ เมื่อลุกขึ้นจากการกราบครั้งที่ 2 จะอ่านตะฮียะหฺ หรือเรียกว่า ตะชะหฺหุด ส่วนละหมาดที่มีมากกว่า 2 ร็อกอะหฺจะอ่านตะฮียะหฺอีกครั้งในร็อกอะหฺสุดท้าย เมื่อเสร็จสิ้นการกล่าวตะฮียะหฺจะเป็นการกล่าวสลาม คือกล่าวว่า "อัสลามุอะลัยกุม วะเราะฮฺมาตุลลอหฺ" พร้อมกับเหลียวไปทางขวาครั้งหนึ่ง กล่าวอีกพร้อมกับเหลียวไปทางซ้าย แล้วยกมือลูบหน้า เป็นอันเสร็จสิ้นการละหมาด