ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

นครเชียงใหม่

รัตนติงสาอภินวปุรีสรีคุรุรัฎฐพระนครเชียงใหม่ (คำเมือง: ) หรือ นครเชียงใหม่ เป็นประเทศราชในหัวเมืองเหนือของสยามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2317 ภายหลังจากการขจัดอิทธิพลของพม่าออกจากดินแดนล้านนา

ล้านนา เดิมเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรศที่ 19 มีอาณาเขตกว้างขวาง ในยุคทองของอาณาจักรล้านนานั้น มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไปจนถึง รัฐไทใหญ่, สิบสองปันนา, ล้านช้าง, พม่า และ สุโขทัย การขยายอำนาจของอาณาจักรล้านนาทำให้เกิดความขัดแย้งกับอาณาจักรอยุธยา จนเกิดสงครามกันหลายครั้ง ถึงแม้ยามล้านนาอ่อนแอ ก็ไม่เคยตกเป็นประเทศราชของอยุธยาอย่างแท้จริง

อาณาจักรล้านนารุ่งเรืองอยู่สองร้อยกว่าปี ก็ตกเป็นประเทศราชของพม่า ซึ่งเป็นช่วงเวลายาวนานกว่าสองร้อยกว่าปีเช่นกัน จนกระทั่งผู้นำของเมืองเชียงใหม่และลำปาง ได้เข้าขอความช่วยเหลือทางทหารต่อพระเจ้ากรุงธนบุรี จนสามารถขับไล่พม่าจากล้านนาไปได้ ล้านนาก็เป็นขัณฑสีมาของธนบุรีมานับแต่นั้น

ภายหลังการกอบกู้เอกราชของล้านนาโดยนำของพระเจ้ากาวิละ แต่เดิมพระองค์เป็นพระยานครลำปาง สืบเชื้อสายมาแต่พระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) องค์ปฐมวงศ์ราชวงศ์ทิพย์จักร และเจ้าอนุชารวม 7 องค์ ภายใต้การสนับสนุนทัพหลวงใน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แล้ว ล้านนาจึงได้เข้ามาอยู่ในฐานะประเทศราชของกรุงธนบุรีตั้งแต่นั้น

หลังจากสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว ด้วยความสัมพันธ์ในฐานะพระญาติระหว่างราชวงศ์จักรีและราชวงศ์ทิพย์จักร เนื่องด้วยเจ้าศรีอโนชา พระขนิษฐาในพระเจ้ากาวิละ ได้เป็นพระอัครชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กอปรกับพระเจ้ากาวิละและเจ้านายฝ่ายเหนือได้ถวายความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรีมาแต่ก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงสู้ขับไล่ข้าศึกพม่าให้พ้นแผ่นดินล้านนา ขยายขอบขัณฑสีมาอาณาจักรออกไปอย่างกว้างใหญ่ ได้กวาดต้อนผู้คนและสิ่งของจากหัวเมืองน้อยใหญ่ที่หนีภัยสงครามในช่วงที่พม่ายึดครอง และทรงสร้างบ้านแปงเมืองอาณาจักรล้านนาใหม่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระนามพระยากาวิละขึ้นเป็น พระบรมราชาธิบดี เป็นพระเจ้าประเทศราชปกครองเมืองเชียงใหม่และ 57 หัวเมืองล้านนา

พระเจ้ากาวิละได้ทรงส่งพระญาติเจ้านายบุตรหลานไปปกครองหัวเมืองล้านนา อันประกอบด้วย นครเชียงใหม่, นครลำปาง และนครลำพูน รวมถึง เมืองพะเยา และเมืองเชียงราย โดยมีนครเชียงใหม่เป็นราชธานี มีอิสระในการปกครองราชอาณาจักร โดยนครประเทศราช มีหน้าที่สำคัญดังนี้

ก่อนรัชสมัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2411 มีศาสนาจารย์แมคกิลวารีและครอบครัวมิชชันนารีได้อพยพขึ้นมาศัยอยู่ที่นครเชียงใหม่ ตั้งจุดประกาศศาสนาโดยเริ่มจัดการศึกษาแบบตะวันตก โดยมี นางโซเฟีย รอยซ์ แมคกิลวารี ได้เริ่มให้มีการศึกษาสำหรับสตรีครั้งแรกในปี พ.ศ. 2418

ต่อมาในปี พ.ศ. 2422 นางสาวแมรี แคมป์เบลล์ และ เอ็ดนา โคล ได้มาจัดระเบียบโรงเรียนสตรี บริเวณเชิงสะพานนวรัฐ จนกลายมาเป็นโรงเรียนดาราวิทยาลัยในปัจจุบัน ส่วนการศึกษาสำหรับเด็กชายนั้น ได้มีการจัดตั้ง "โรงเรียนเด็กชายวังสิงห์คำ" ขึ้นที่บริเวณที่เรียกว่า วังสิงห์คำ เมื่อ พ.ศ. 2431 โดยมีศาสนาจารย์ เดวิด จี.คอลลินส์ เป็นผู้ก่อตั้ง ต่อมาเป็นโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย โรงเรียนดังกล่าวระยะแรกนั้น ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาไทยถิ่นเหนือ ในการเรียนการสอน มีการพิมพ์ตำราด้วยอักษรธรรมล้านนา ในขณะที่ตัวหนังสือแป้นนั้นมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2379 แล้ว

ในช่วงเดียวกันนี้ บริษัททำป่าไม้ ซึ่งทยอยเข้ามาที่เมืองเชียงใหม่ เช่น บริษัทบริติชบอร์เนียว (British Borneo, เข้ามาในราว พ.ศ. 2407) บริษัทบอมเบย์ เบอร์มา (Bombay Burma, เข้ามาในราว พ.ศ. 2432) และ บริษัทสยามฟอเรสต์ (Siam Forest) เป็นต้น ได้นำเอาลูกจ้างชาวพม่า กะเหรี่ยง และชาวพื้นเมืองอื่น ๆ เข้ามาทำงาน ดังนั้นจึงมีชาวอังกฤษและผู้ติดตามเข้ามาในล้านนามากขึ้น ทำให้เกิดการฟ้องศาลที่กรุงเทพฯ หลายคดี จากหลักฐานพบว่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2401–2416 มีคดีความจำนวน 42 เรื่อง ตัดสินยกฟ้อง 31 คดี ส่วนอีก 11 คดีนั้นพบว่าเจ้านายทำผิดจริง จึงตัดสินให้จ่ายค่าเสียหายรวม 466,015 รูปี หรือ 372,812 บาท (เทียบได้กับทองคำราว 41 กิโลกรัม) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในขณะนั้นคือ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ได้ทรงขอชำระเพียงครึ่งเดียวก่อน ส่วนที่เหลือจะทรงชำระภายใน 6 เดือน แต่กงสุลอังกฤษไม่ยินยอม เรียกร้องให้พระเจ้านครเชียงใหม่ชำระทั้งหมด หรือมิฉะนั้นต้องจ่ายค่าดอกเบี้ย ซึ่งราชสำนักกรุงเทพฯ ก็ไม่ยินยอมด้วยเช่นกัน ดังนั้น พระเจ้าอินทวิชยานนท์ จึงทรงจ่ายค่าเสียหาย 150,000 รูปี (120,000 บาท) และราชสำนักกรุงเทพฯ ให้ทรงยืมอีก 310,000 รูปี (248,000 บาท) โดยต้องชำระคืนภายใน 7 ปี พร้อมทั้งดอกเบี้ยในรูปไม้สัก 300 ท่อนต่อปี

ในปี พ.ศ. 2369 พม่าได้เสียดินแดนหัวเมืองมอญให้แก่อังกฤษ ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับล้านนา จึงมีชาวอังกฤษข้ามเข้ามาค้าขายและสัมปทานป่าไม้ในล้านนาจำนวนหนึ่ง เมื่ออังกฤษได้เข้าครอบครองดินแดนพม่าทางตอนล่าง อิทธิพลของอังกฤษก็ได้ขยายเข้าใกล้ชิดกับล้านนามากขึ้น มีชาวพม่าซึ่งอยู่ในบังคับของอังกฤษเข้ามาทำป่าไม้ในล้านนาจำนวนมาก ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการจัดสรรที่ดิน อังกฤษจึงเรียกร้องให้รัฐบาลกลางเข้ามาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

ในปี พ.ศ. 2416 ราชสำนักกรุงเทพฯ จึงได้ส่ง "พระนรินทรราชเสนี (พุ่ม ศรีไชยยันต์)" ไปเป็นข้าหลวงดูแลสามหัวเมืองใหญ่ประจำที่นครเชียงใหม่ เพื่อควบคุมดูแลปัญหาในนครเชียงใหม่ นครลำปาง และนครลำพูน แต่ก็ยังมิสามารถแก้ไขปัญหาได้ ขณะนั้นหัวเมืองขึ้นของพม่าเป็นจำนวนมากต่างประกาศเป็นอิสระ และได้ยกกำลังเข้าโจมตีหัวเมืองชายแดนล้านนา ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นนี้เกินกำลังที่เชียงใหม่ และเมืองบริวารจะจัดการได้ ในขณะนั้นสถานการณ์ภายในเมืองเชียงใหม่ก็มีปัญหา เนื่องจากพระเจ้าอินทวิชยานนท์ทรงชราภาพขาดความเข้มแข็งในการปกครอง เจ้านายชั้นสูงเริ่มแก่งแย่งชิงอำนาจกัน

ในขณะเดียวกันอังกฤษก็ได้ขยายอิทธิพลเข้าสู่ล้านนา โดยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ได้ทรงส่งราชทูตมาทูลขอเจ้าดารารัศมี เจ้าราชธิดาองค์เล็กในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ไปเป็นพระราชธิดาบุญธรรม เมื่อความทราบถึงพระกรรณใน พ.ศ. 2426 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร (เวลานั้นดำรงตำแหน่งเทียบได้กับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในภาคพายัพ) โปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีโสกันต์ และอัญเชิญพระกุณฑล (ตุ้มหู) และพระธำมรงค์เพชรไปพระราชทานเป็นของขวัญแด่เจ้าดารารัศมี โดยมีรับสั่งว่า การพระราชทานของขวัญดังกล่าวเพื่อเป็นการหมั้นหมาย หลังจากนั้น 3 ปี เจ้าดารารัศมี จึงได้โดยเสด็จพระราชบิดาลงมาถวายตัวในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429 (ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ อัฐศก จุลศักราช 1248) ซึ่งต่อมาภายหลัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานสถาปนาพระอิสริยยศเป็น "พระราชชายา" ทั้งนี้ ยังได้โปรดเกล้าฯ พระราชทาน เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ถวายแด่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ อันเป็นการแสดงนัยยะว่าทรงนับเนื่องเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ในพระบรมราชวงศ์จักรี ด้วยพระกุศโลบายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสายสัมพันธ์ความรักระหว่าง 2 พระองค์ที่เกิดขึ้นภายหลัง ถือเป็นส่วนสำคัญให้เกิดความจงรักภักดีในหมู่เจ้านายฝ่ายเหนือ และประชาชนล้านนา ต่อราชสำนักกรุงเทพฯ ในขณะที่ทรงดำเนินพระราชกุศโลบายปฏิรูปการปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนืออย่างค่อยเป็นค่อยไป

ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2442 ทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล โดยมีมณฑลพายัพ หรือ มณฑลลาวเฉียง และมณฑลมหาราษฎร์ เป็นมณฑลในอาณาจักรล้านนา โดยราชสำนักกรุงเทพฯ ส่งข้าหลวงขึ้นมาช่วยให้คำแนะนำเจ้านายฝ่ายเหนือในการบริหารราชการ ได้มีการแต่งตั้ง ตำแหน่งเสนากรมขึ้นมาใหม่ 6 ตำแหน่ง โดยให้คงตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครอยู่ แต่ลดอำนาจลง และในที่สุดในปี พ.ศ. 2442 ล้านนาได้รับการปฏิรูปการปกครองเป็นแบบ มณฑลเทศาภิบาล เป็นการยกเลิกฐานะหัวเมืองประเทศราช และผนวกดินแดนล้านนาที่อยู่ใต้การปกครองของเชียงใหม่มาเป็นส่วนหนึ่งของสยาม โดยมีเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้ายคือเจ้าแก้วนวรัฐ พระเชษฐาในพระราชชายา เจ้าดารารัศมี

ด้วยความช่วยเหลือจากสยามจนทำให้สามารถขับไล่พม่าออกไปได้ ทำให้เมืองต่าง ๆ ในล้านนา ยอมรับอำนาจของสยามและมีความสัมพันธ์กันในฐานะเมืองแม่กับเมืองประเทศราชมาตลอด อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์จะแตกต่างกันไปตามแต่สมัย ในสมัยธนบุรี พระเจ้าตากสิน ปฏิบัติต่อหัวเมืองล้านนาอย่างเข็มงวด จะเห็นได้ว่า พระเจ้าตากสินทรงตัดสินให้ลงโทษพระยากาวิละข้อหาทำร้ายข้าหลวง ด้วยการเฆี่ยน 100 ที และตัดขอบใบหูทั้งสองข้างและจำคุก แต่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ไม่ปรากฏการลงโทษเจ้านายฝ่ายเหนืออย่างรุนแรง มีเพียงการกักตัวไว้ที่กรุงเทพฯ เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างเจ้านายเท่านั้น

ความสัมพันธ์ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ราบรื่นเป็นพิเศษ เนื่องจากความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างราชวงศ์จักรีและราชวงศ์ทิพย์จักร จากการที่เจ้ารจจา ขนิษฐาของพระเจ้ากาวิละ ได้เป็นพระอัครชายาในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท และเนื่องจากช่วงเวลานั้น ยังมีการรุกรานจากพม่า ทำให้สยามต้องการล้านนาที่มีผู้นำเข็มแข็งเพื่อช่วยต่อต้านพม่า ทำให้สยามใช้นโยบายประนีประนอมและเอาใจ เพื่อให้ล้านนาสวามิภักดิ์และทำหน้าที่ดูแลรักษาชายแดน ตลอดจนการสร้างความผูกพันใกล้ชิด เช่น ราชสำนักสยามส่งหมอหลวงมาดูแลรักษาในยามเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ประชวร หรือส่งสิ่งของเครื่องใช้มาช่วยงานพระศพ

อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างสยามและประเทศราชล้านนาในสายตาชนชั้นปกครองสยามนั้นแตกต่างกัน ส่วนหนึ่งถือว่าล้านนาเป็น "เมืองสวามิภักดิ์" ไม่ใช่ "เมืองขึ้นกรุง"

...ฉันว่าสวามิภักดิ์จริงแต่คนตระกูลนี้ (ราชวงศ์ทิพย์จักร) แต่เมืองมิได้สวามิภักดิ์ เราตีได้แล้วตั้งให้อยู่ต่างหาก ใครพูดดังนี้เห็นจะไม่ถูก ท่านว่านั้นแลเขาพูดกันอย่างนั้น มันจึงเปรี้ยวนัก...

ในฐานะพระเจ้าอธิราช กษัตริย์สยามมีพระราชอำนาจในการแต่งตั้งเจ้านายต่าง ๆ และเจ้านายตำแหน่งสำคัญ ๆ ของเมืองต่าง ๆ ส่งผลให้สยามสร้างอิทธิพลเหนือเจ้านายและขุนนางล้านนา เพราะทุกครั้งที่มีการแต่งตั้งเจ้าหลวงและเจ้านายสำคัญ เจ้าตัวจะต้องลงไปเฝ้าที่กรุงเทพฯ ด้วยตนเอง เป็นการแสดงความภักดี แม้การแต่งตั้ง จะเป็นไปตามที่ทางหัวเมืองประเทศราชเสนอมา แต่การแต่งตั้งโดยกษัตริย์สยาม ก็เป็นการรับรองสิทธิธรรมในการปกครองของเจ้านายอีกชั้นหนึ่ง และเพื่อยืนยันฐานะของเจ้านายที่ได้รับแต่งตั้ง กษัตริย์สยามจะพระราชทานเครื่องยศ ที่เป็นสัญลักษณ์ปกครอง เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระราชทาน พระสัปตปฎลเศวตฉัตร กางเหนือพระแท่นของพระเจ้ากาวิละในหอคำหลวง ซึ่งแสดงถึงฐานันดรศักดิ์เทียบชั้นพระอุปราชแห่งสยาม

ทั้งล้านนาและสยาม ต่างชิงไหวชิงพริบในการสร้างสมดุลของความสัมพันธ์เชิงอำนาจ เมื่อมีโอกาส กษัตริย์สยามมักจะแสดงให้พระเจ้าประเทศราชล้านนาเห็นแสนยานุภาพการรบของตน เพื่อให้เกิดความยำเกรง ไม่คิดกบฏหรือเอาใจออกห่าง ส่วนเจ้านายล้านนา ก็แสดงถึงกำลังอำนาจของตนให้สยามเห็น ด้วยการทำสงครามกับบ้านเล็กเมืองน้อยรอบๆ ด้วยตนเอง อาทิ รัฐไทใหญ่ เชียงตุง และ สิบสองปันนา เมื่อชนะสงครามก็มักนำเจ้าเมืองและไพร่พลลงมาถวายกษัตริย์สยามที่กรุงเทพ เพื่อเป็นการสร้างความดีความชอบและเลื่อนยศ สินสงครามที่ถวายแด่กษัตริย์สยาม มักจะพระราชทานคืนแก่บ้านเมืองที่ทำสงคราม และเพื่อเข้าเฝ้ากษัตริย์สยามนั้น เจ้าหลวงล้านนามักจะแสดงอำนาจและความเข็มแข็งด้านกำลังคนให้สยามประจักษ์ เช่น กระบวนพยุหยาตราชลมารคของพระเจ้ากาวิละที่ลงไปเฝ้ารัชกาลที่ 1 มีเรือติดตามรวมกันถึง 138 ลำ

1.กรมหมื่นพิชิตปรีชากรรับบัญชามาผลักดันให้เจ้าอินทวิชยานนท์ยอมรับการหมั้นระหว่างเจ้าดารารัศมี (ชนมายุ 11 ชันษา) ราชธิดาองค์สุดท้องกับพระมหากษัตริย์แห่งสยาม โดยยอมรับให้สยามจัดพิธีโสกันต์ระดับเจ้าฟ้าให้แก่เจ้าดารา ซึ่งล้านนาไม่เคยมีพิธีกรรมเช่นนี้

2.พ.ศ.2440 เจ้าอินทวิชยานนท์ถึงแก่พิราลัย เจ้าดารารัศมีมิได้รับอนุญาตให้กลับไปร่วมงานปลงพระศพพระบิดา คาดกันว่าสยามเกรงล้านนาจะคิดกบฏหรือหันไปหาพม่า จึงต้องเก็บเจ้าดาราไว้ในฐานะตัวประกัน หลังจากเจ้าอินทวิชยานนท์ถึงแก่พิราลัย พระยาทรงสุรเดชก็มีคำสั่งตัดเงินรายปีของเจ้าเมืองเชียงใหม่จาก 8 หมื่น เหลือ 3 หมื่นรูปี และลดจำนวนเงินรายปีของเจ้านายคนอื่น ๆ พร้อมกับโยกย้ายและถอดถอนเจ้านาย และให้ข้าราชการสยามเข้ามาแทน และเพิ่มจำนวนเงินเดือนให้

3.ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 รัฐบาลสยามได้กำหนดนโยบายห้ามสอนภาษาตั๋วเมือง ในโรงเรียนทุกแห่ง และกำหนดให้ครูและนักเรียนใช้ภาษาไทยสยามเท่านั้น และได้ห้ามคนจากสยามเรียกคนล้านนาว่าเป็นลาว เน้นการปลูกฝังเรื่องชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ทำให้การสอนภาษาล้านนามีเฉพาะในวัด ที่สำคัญคือ การที่คนท้องถิ่นไม่สามารถอ่านและเขียนภาษาของบรรพบุรุษได้ก็คือจุดเริ่มต้นของอวสานของศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น เช่น ความตายของภาษาเขียนนำไปสู่การชะงักงันของภาษาพูด ภาษาพูดที่จะพัฒนาต่อไปก็คือการรับเอาคำจากภาษาไทยเข้ามามาขึ้นตามลำดับ ฯ

4.ในปี พ.ศ. 2542 อรุณรัตน์ วิเชียรเขียวได้วิเคราะห์ว่า การย้ายเสาอินทขิลน่าจะเกิดจากความเห็นว่าศูนย์กลางเมืองเชียงใหม่ถูกคนของอยุธยาทำไสยศาสตร์ด้วยการฝังไหกระดูกผี (รวมทั้งฝังไว้ประตูเมืองทุกแห่ง) เพื่อทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของเมืองในสมัยพญาติโลกราช (พ.ศ.1984-2030) พญาติโลกราชจับได้จึงคิดวิธีแก้ไขสิ่งชั่วร้ายดังกล่าวด้วยการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุลงในเจดีย์วัดเจดีย์หลวง ฯ

5.ครั้นถึงสมัยพญากาวิละ (พ.ศ.2325-2356) อรุณรัตน์จึงเสนอว่าเนื่องจากเมืองเชียงใหม่ได้ประสบชะตากรรมครั้งแล้วครั้งเล่า จนสิ้นราชวงศ์มังราย และตกเป็นเมืองขึ้นของพม่านานถึง 200 ปีเศษ พญากาวิละคงจะฟื้นความเชื่อของพญาติโลกราช จึงย้ายเสาอินทขิลมาไว้ในเจดีย์หลวงในปี พ.ศ. 2343

6.การสร้างคุกบนพื้นที่ที่เคยเป็นหอคำหรือพระราชวังของกษัตริย์ล้านนาเป็นการทำลายความศักดิ์สิทธิ์จุดหนึ่งของเมือง ข้อมูลที่ชัดเจนที่สุดคือ เรือนจำเชียงใหม่ และลำพูน ฯ กรณีเชียงราย ประชาชนขอสั่งรื้อเรือนจำ สถานที่เคยเป็นที่ดินศักดิ์สิทธิ์ใช้ในการฟ้อนผีเจ้านาย เจ้ามด เจ้าเม็ง และทำพิธีสำคัญของเมืองเชียงรายในอดีต

7.การล่มสลายของอำนาจเจ้านายท้องถิ่น ไม่เพียงแต่ส่งผลให้อาคารสำนักงานของรัฐบาลสยามเกิดขึ้นในเขตศูนย์อำนาจเก่า หากยังเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ายึดครองที่ดินหลายส่วน โดยเฉพาะที่ดินติดถนนเพื่อสร้างเป็นร้านคา ส่งผลให้ที่ดินบริเวณพญามังรายถูกฟ้าผ่า ถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 1854 ซึ่งมีผู้สร้างศาลพญามังรายให้ผู้คนได้กราบไว้ ต้องกลายเป็นที่ดินของเอกชน ฯ ความศักดิ์สิทธิ์และพิธีกรรมดั้งเดิมของเมืองถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลง สถานที่สำคัญกลายเป็นที่จอดรถ ฯ และยังมีอีกหลาย ๆ เรื่องที่น่าศึกษาจากหนังสือคนเมือง ของ ธเนศวร์ ตั้งแต่เรื่องของครูบาศรีวิชัยถูกจับกุม การขอคืนอำนาจให้เจ้านายท้องถิ่นในสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น การสร้างโรงเรียนในนามเจ้านคร และการยอมรับการปรับตัวของคนเมืองในระบอบของสยาม

แม้ล้านนาจะเป็นประเทศราชของสยาม แต่สยามก็ไม่เคยเข้ามาปกครองล้านนาโดยตรง เมืองต่าง ๆ ของล้านนายังคงปกครองตนเองในลักษณะนครรัฐ รวมทั้งระยะทางที่ห่างไกลและยากลำบากจากกรุงเทพฯ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างล้านนาและสยามไม่ได้ใกล้ชิดนัก อีกทั้งในภาคเหนือ ยังมีเทือกเขา ทอดยาวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ ยอดเขาแต่ละแห่งสูงไม่ต่ำกว่า 1,000 เมตร ทำให้การเดินทางระหว่างเมืองต่าง ๆ ในล้านนา ไม่สะดวกนัก ซึ่งมีส่วนทำให้การปกครองของราชวงศ์ทิพย์จักร เป็นแบบกระจายอำนาจ ไม่ได้เป็นรัฐเดี่ยวเสมือนอาณาจักรล้านนาแต่ก่อน เมืองต่าง ๆ ปกครองโดยเจ้านายฝ่ายเหนือที่มีความสัมพันธุ์ใกล้ชิดกันทางเครือญาติ อาทิ เมืองใหญ่ อย่างเชียงใหม่, ลำพูน และ ลำปาง มีอำนาจในการปกครองตนเอง โดยยอมรับเจ้าหลวงเชียงใหม่เป็นประมุขแห่งราชวงศ์ และการติดต่อกับสยาม เจ้าเมืองต่าง ๆ จะติดต่อโดยผ่านเชียงใหม่

นอกจากสภาพภูมิศาสตร์ที่ยากแก่การเข้าถึงแล้ว ปราการที่ป้องกันอำนาจจากสยามอีกประการคือ อำนาจการปกครองตนเองที่เข้มแข็งของเมืองล้านนา การปกครองหัวเมืองประเทศราชภาคเหนือ ก่อนที่จะมีการปฏิรูปสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ อยู่ภายใต้อำนาจของราชตระกูลเจ้าเจ็ดตน เริ่มจากเจ้ากาวิละ และอนุชาทั้งหก เจ้าเมืองทั้งหลาย ต่างมีอำนาจในการปกครองเมืองของตนเองเป็นอิสระแก่กัน โดยมีเมืองเล็กเมืองน้อยเป็นบริวาร เจ้านครประเทศราชออกกฎหมายภายในนครของตนเอง โดยมีลำดับขั้นในการบริหารในนครประเทศราชต่าง ๆ มีสามขั้น ได้แก่

การปกครองเจ้าห้าขัน หรือ เจ้าขันห้าใบ เป็นระบบการปกครองแบบคณาธิปไตย ที่สืบทอดมาจากราชตระกูลเจ้าเจ็ดตนที่ฟื้นฟูบ้านเมืองและขับไล่พม่าออกไป เจ้าห้าขัน เป็นกลุ่มผู้ปกครองสูงสุด ประกอบด้วยเจ้าหลวงของนครประเทศราชนั้น ๆ เป็นประมุข และเจ้าอื่น ๆ อีก 4 ตำแหน่ง ได้แก่ เจ้าหอหน้า (หรือ เจ้าอุปราช), เจ้าราชวงศ์, เจ้าราชบุตร และ เจ้าหอเมืองแก้ว (หรือ เจ้าบุรีรัตน์) โดยเจ้าห้าขัน เป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ที่มีอำนาจและอิทธิพลสูง ทั้งการเมือง เศรษฐกิจและสังคม การสืบตำแหน่งเจ้าห้าขันนั้น จะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ในวงศ์ตระกูลของเจ้านาย จะต้องเป็นเชื้อสายเจ้านายสำคัญ มีอิทธิพล มั่งคั่ง มีข้าทาสบริวารจำนวนมาก เป็นที่เคารพนับถือของราษฎร และมีราชสำนักสยามเป็นผู้รับรองการแต่งตั้ง

นอกจากอำนาจทางการเมืองและการทหารแล้ว เจ้าห้าขัน ใช้จารีตประเพณีเป็นสัญลักษณ์ที่ยืนยันอำนาจในการเป็นเจ้าอธิราชในบ้านเมืองของตน เมื่อเจ้าหลวงถึงแก่พิราลัย บรรดาเจ้านายและเสนาอำมาตย์ จะเป็นผู้น้อมถวายเมืองแก่เจ้านายผู้จำรับตำแหน่งต่อไป แล้วเจ้านายพระองค์นั้นจะเสด็จยังกรุงเทพฯ เพื่อรับพระบรมราชโองการแต่งตั้งจากกษัตริย์สยาม จากนั้น เจ้าหลวงองค์ใหม่ จะเข้าพิธีมุรธาพิเศกสรงพระเจ้านครเชียงใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่ราชวงศ์มังราย

เจ้าหลวงมีอำนาจเฉกเช่นพระมหากษัตริย์ เจ้าหลวงที่ทรงอำนาจมาก จะเรียกว่า เจ้ามหาชีวิต อาทิ เจ้าหลวงบุญมาแห่งลำพูน และ พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์แห่งเชียงใหม่ แม้ว่าล้านนาจะเป็นประเทศราชของสยาม แต่เจ้าหลวงของแต่ละเมืองต่างมีอำนาจเด็ดขาด ดังข้าราชการอังกฤษที่เดินทางมาติดต่อกับเจ้านายล้านนาพบว่า เจ้าหลวงนั้นเป็น"...ผู้นำอิสระที่มีอำนาจเหนือคนในบังคับของตนและเหนือทรัพย์สินรายได้ เป็นผู้สร้างและบังคับใช้กฎหมาย ควบคุมวัดวาอารามและมีพระสงฆ์เป็นผู้รับใช้ ไม่มีกองทัพบกหรือกองทัพเรือ แต่ถ้ามีก็จะอยู่ภายใต้อำนาจพระองค์..."

แม้ว่าในสมัยรัตนโกสินทร์นี้ นครต่าง ๆ ของล้านนา ไม่รวมกันเป็นปึกแผ่นภายใต้ผู้ปกครองคนเดียวเหมือนสมัยราชวงศ์มังราย แต่เจ้าหลวงเชียงใหม่ก็ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำของล้านนา เป็นผู้ดูแลปกครองเจ้านายที่ครองเมืองต่าง ๆ ซึ่งเป็นญาติพี่น้องกัน พระเจ้าเชียงใหม่มีอิทธิพลเหนือนครอื่น ๆ เช่น ลำปาง และ ลำพูน ทรงทำหน้าที่ปรองดองสมานสามัคคีในหมู่เจ้านาย นอกจากนี้ เจ้าหลวงเชียงใหม่ ยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางประสานงานกับราชสำนักสยาม มีอำนาจในการแต่งตั้งเจ้าห้าขันและจำแหน่งเจ้าเมืองอื่น ๆ ต่อกษัตริย์สยาม ซึ่งมักจะแต่งตั้งตามที่เสนอ เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงแต่งตั้ง เจ้าเมืองตาก และเจ้าเมืองเถิน ตามที่พระเจ้ากาวิละ กราบทูลเสนอมา นอกจากนี้ เจ้าหลวงเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเจ้านาย สืบทอดประเพณีล้านนา โดยเป็นองค์ประธานในงานพิธีสำคัญ ๆ เช่น สงการนต์ และ การเลี้ยงผีอารักษ์เมืองประจำปี

ถัดจากเจ้าหลวงแล้ว อำนาจที่เป็นรองมาคือเจ้าหอหน้า หรือ เจ้าอุปราช โดยเป็นเจ้านายที่ทรงอิทธิพลมากกว่าเจ้านายองค์อื่น ๆ บางครั้งเจ้าหอหน้าบางองค์ มีอิทธิพลเหนือเจ้าหลวงด้วย ในยามที่เจ้าหลวงไม่ได้ประทับในนครหลวง ประชวร หรือถึงแก่พิราลัย ระหว่างรอการแต่งตั้งเจ้าหลวงองค์ใหม่ เจ้าหอหน้าจะทำหน้าที่แทน ชาวต่างประเทศที่มาติดต่อกับล้านนาต้องเข้าพบเจ้าหอหน้าก่อนที่จะพบกับเจ้าหลวง เจ้าหอหน้าบางองค์ สามารถเพิกถอนโองการของเจ้าหลวงได้

โครงสร้างทางการเมืองที่รองจากเจ้าห้าขัน คือ เค้าสนามหลวง หรือ ที่ประชุมเสนาอำมาตย์ เป็นหน่วยบริหารราชการ ในสมัยของเจ้าหลวงบุญมาแห่งลำพูน ชาวอังกฤษได้เดินทางเข้าไปถึงลำพูนเพื่อเจรจาค้าวัวควายกับเจ้านาย ก็ต้องผ่านเค้าสนามหลวงลำพูนก่อน โดยพบว่าเค้าสนามของลำพูนนั้นเป็นเพียงเรือนไม้โทรม ๆ ที่ทำจากไม้ไผ่ ไม่มีเครื่องเรือนใด ๆ ด้านหลังเป็นที่คุมนักโทษ ในทางทฤษฎีประกอบด้วยสมาชิก 32 คน มักเป็นเจ้านายชั้นรองและขุนนางที่แต่งตั้งโดยเจ้าห้าขัน มีหน้าที่ตัดสินคดีความ จัดเก็บภาษี และต้อนรับแขกเมือง

โครงสร้างระดับล่าง คือ หมู่บ้าน ในเมืองต่าง ๆ ประกอบด้วยหมู่บ้านจำนวนหนึ่ง มากบ้าง น้อยบ้าง ตามขนาดของเมือง การปกครองระดับหมู่บ้านมีความสำคัญมาก เพราะหมู่บ้านเป็นหน่วยการผลิตที่แท้จริงที่เลี้ยงดูเมืองและชนชั้นปกครอง ในแต่ละหมู่บ้าน มีผู้ปกครองเป็น ซึ่งผู้ปกครองหมู่บ้านมีตำแหน่งเป็น จ่า, หมื่น, แสน และ พญา อาจขึ้นตรงต่อเจ้านายองค์ใดองค์หนึ่งหรือเค้าสนาม นายบ้านทำหน้าที่ปกครองดูแลหมู่บ้านและเป็นตัวกลางระหว่างเจ้านายกับชาวบ้านในการเรียกเกณฑ์กำลังคน เมื่อมีคำสั่ง (อาดยา) จากเจ้านาย ซึ่งเป็นการเกณฑ์ไปเพื่อทำงาน หรือทำสงคราม ตลอดจนรวบรวมผลผลิตเพื่อส่งส่วยให้กับเจ้านาย ดูแลความสงบในพื้นที่ ตลอดจนตัดสินคดีความเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านหรือระหว่างหมู่บ้าน ในพื้นที่ห่างไกลเช่นที่แม่สะเรียง นายบ้านก็จะทำหน้าที่เก็บเงินค่าตอไม้ส่งเจ้าหลวง

ในประเทศราชล้านนา มีศาสนาหลักที่ประชาชนทั่วไปนับถือคือพุทธศาสนา นอกจากพุทธศาสนาแล้วประชาชนยังนับถือผี ซึ่งเป็นความเชื่อแต่โบราณของดินแดนแถบนี้ เป็นการแสดงความยำเกรงและเคารพ ต่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ

พุทธศาสนาในล้านนาถือว่ามีความแข็มแข็งมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเจ้านายล้านนา ที่โปรดการสร้างสมบุญบารมีด้วยการทำนุบำรุงศาสนาอย่างมาหมาย เป็นการสืบทอดภารกิจของกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ที่ได้ทรงทำหน้าที่องค์ศาสนูปภัมภก และทำให้เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางความเจริญของพุทธศาสนาในเขตรัฐไทตอนบน การทำนุบำรุงดังกล่าว ไม่เพียงแต่แสดงถึงศรัทธาในศาสนาของเจ้านายและไพร่พลในบ้านเมือง ยังแสดงให้เห็นถึงความเข็มแข็งทางการเมืองและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของบ้านเมือง เมื่อสงครามน้อยลง พระเจ้ากาวิละ ทรงเริ่มการก่อสร้างศาสนวัตถุและศาสนสถาน เช่น สร้างช้างเผือกคู่หนึ่งไว้ที่ประตูหัวเวียง (ประตูช้างเผือกในปัจจุบัน), ก่อรูปกุมกันฑ์หนึ่งคู่และรูปฤๅษีหนึ่งตนไว้ที่วัดเจดีย์หลวง

รัชสมัยพระเจ้ากาวิโลรส เป็นสมัยที่หัวเมืองล้านนาเข้มแข็งและมั่งคั่ง เห็นได้จากการก่อสร้างศาสนสถานและศาสนวัตถุที่สำคัญต่าง ๆ เช่น โปรดให้กล่อระฆังทองใบใหญ่ หนักเจ็ดแสนสองหมื่นตำลึง เพื่อตีบอกเวลาในคุ้มหลวง และอีกหนึ่งใบหนักเจ็ดแสนสองหมื่นเก้าพันตำลึง เพื่อบูชาพระธาตุหริภุญชัย นอกจากนี้ ในสมัยของพระองค์ ยังมีการประหารชีวิตคริสเตียนชาวเชียงใหม่สองคน โดยทรงให้เหตุผลว่า เพราะทั้งสองคนหันไปนับถือคริสต์ และพระองค์จะประหารทุกคนที่ทำเช่นนั้น เพระการละทิ้งศาสนาของบ้านเมืองถือเป็นการขบถต่อพระองค์

หัวเมืองนครล้านนานั้น มีสังฆมณฑลเป็นของตนเองแยกจากพระนครกรุงเทพฯ มี พระสังฆราชา เป็นประมุข รองมาคือ สวามีสังฆราชา, มหาราชครู และ ราชครู


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406