นกกระทุง (อังกฤษ: Spot-billed pelican; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pelecanus philippensis) นกน้ำขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระทุง (Pelecanidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในวงศ์นี้ ที่พบได้ในประเทศไทย
นกกระทุงเป็นนกขนาดใหญ่ มีความยาวจากปากถึงปลายหางประมาณ 52-60 นิ้ว มีขาสั้นใหญ่ ปากยาวแบนข้างใต้มี ถุงสีออกม่วงขนาดใหญ่ บริเวณขอบปากบนมีจุดสีน้ำเงินเข้มอยู่เป็นระยะตามความยาวของจะงอยปาก ตีนมีพังผืดสี เหลืองขึงเต็มระหว่างนิ้วทุกนิ้วคล้ายเป็ด ม่านตาสีแดง แข้งและเท้าสีเนื้อ สามารถว่ายน้ำได้ดี บินได้สูง ในฤดูผสมพันธุ์ ขนจะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินในช่วงบนของลำตัว ส่วนช่วงล่างจะเป็นสีขาว แต่ถ้าไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ปีก หางและส่วนใต้ลำตัว จะมีสีน้ำตาลเช่นเดียวกับนกกระทุงที่ยังไม่โตเต็มที่ ทั้งตัวผู้และตัวเมียรูปร่างและสีสันเหมือนกัน นกกระทุงชอบอยู่เป็นฝูง กินปลา กุ้ง กบ สัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ เป็นอาหารและหาอาหารด้วยกัน ถ้าตัวใดตัวหนึ่งทำอะไรตัวอื่นจะทำตาม เวลาที่มั นอยู่เฉย ๆ จะหันหน้าไปทางเดียวกันหมด เวลาบินจะหดคอเข้ามา บินกันเป็นแถวเรียงหนึ่ง บางครั้งบินเป็นรูปตัว V ส่วนใหญ่จะบินเป็นรูปขั้นบันไดกว้าง ๆ รังสร้างด้วยกิ่งไม้ใหญ่ ๆ วางสานกันบนต้นไม้สูง ๆ ขนาดของรังมีเส้นผ่าศูนย์ กลาง 2 ฟุต วางไข่ครั้งละประมาณ 3 ฟอง ไข่มีสีขาว ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันกกไข่ประมาณ 4-5 อาทิตย์ จึงฟักเป็นตัว ชาวยุโรปในยุคกลางเชื่อกันว่านกกระทุงเลี้ยงลูกอ่อนด้วยเลือดของมันเองโดยใช้ปากเจาะเลือดจากอกของมัน
อินเดีย, จีน, ไหหลำ, ไต้หวัน, ซุนดา, ออสเตรเลีย, โซโลมอน, อินโดจีน, ฟิลิปปินส์, แหลมมลายูและไทย ประเทศไทย มีอยู่ทั่วไปทุกภาค ปัจจุบันเป็นนกที่ค่อนข้างพบเห็นยากมาก เคยพบปนอยู่กับฝูงนกปากห่างที่วัดไผ่ล้อม จังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2545 ได้มีการพบเห็นฝูงนกกระทุงที่บินผ่านประเทศไทยและแวะพักหากินที่บ่อปลาของชาวบ้านใน หมู่ 7 ตำบลหน้าโคก อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งมีบ่อปลาอยู่ ซึ่งสามารถพบเห็นได้ปีละ 2 ช่วง คือ ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน และสามารถมองเห็นได้บนเสาไฟฟ้าแรงสูงจากถนนเสนทางสายป่าโมก-สุพรรณ ช่วงหน้าโคก
ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงทั้งช่วงเวลาหากินและทำรัง ขณะหาอาหารจะใช้ถุงใต้คอทำหน้าที่คล้ายสวิงช้อนปลาลงในลำคอ นกกระทุงทำรังอยู่บนต้นไม้รวมกันเป็นฝูง วางไข่คราวละ 1-5 ฟอง และใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 30 วัน โดยทั้งตัวผู้และตัวเมียผลัดกันทำหน้าที่
ใกล้สูญพันธุ์ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 บัญญัติไว้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง