ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ธูซิดดิดีส

ทิวซิดิดีส (อังกฤษ: Thucydides; ช่วง 460 – 395 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก และเป็นผู้เขียนเรื่องประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีซัส (History of the Peloponnesian War) ซึ่งบรรยายถึงสงครามระหว่างสปาร์ตากับเอเธนส์ในช่วง 500 ถึง 411 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทิวซิดิดีสได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์เชิงวิทยาศาสตร์ เนื่องจากมาตรฐานที่เข้มงวดในเรื่องของการรวบรวมหลักฐาน และการวิเคราะห์ในด้านเหตุและผล โดยปราศจากการอ้างอิงถึงความเกี่ยวข้องของพระเจ้า ซึ่งจะพบได้จากสรุปใจความสำคัญที่ระบุไว้ในบทคำนำในงานเขียน

นอกจากนั้นแล้วทิวซิดิดีสก็ยังได้รับสมญานามว่าเป็นบิดาแห่งสถาบันการศึกษาในด้านสัจนิยมทางการเมือง ซึ่งมองเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชาติว่าเป็นเรื่องที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอำนาจมากกว่าความชอบธรรม ข้อความจากยุคสมัยกรีกโบราณในงานของเขายังคงได้รับการศึกษาอย่างแพร่หลายในสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง และบทสนทนาโบราณใน The Melian Dialogue ในงานเขียนของทิวซิดิดีสก็ยังหลงเหลืออิทธิพลต่องานเขียนในด้านทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

โดยทั่วไปแล้วทิวซิดิดีสแสดงความสนใจในเรื่องการพัฒนาและความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์เพื่ออธิบายถึงพฤติกรรมในวิกฤตการณ์ดังเช่น การเกิดโรคระบาด การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (ดังเช่นประสบการณ์จาก The Mielians) และสงครามกลางเมือง

แม้ว่าจะมีชื่อเสียงในด้านของนักประวัติศาสตร์ แต่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีความรู้เพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับชีวิตของทิวซิดิดีส ข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้มากที่สุดมาจากงานเขียนเรื่องประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีซัสซึ่งได้บอกถึงสัญชาติ พื้นเพ และภูมิลำเนาของเขานั่นเอง ทิวซิดิดีสบอกให้เรารู้ถึงการต่อสู้ของตนเองในสงคราม การติดโรคระบาด และถูกเนรเทศโดยระบบประชาธิปไตย หลักฐานจากยุคสมัยกรีกโบราณ ทิวซิดิดีสระบุว่าตนเองเป็นชาวเอเธนส์ บิดาชื่อโอโลรัสและมาจากเขตปกครองชาวเอเธนส์แห่งฮาลิมัส ทิวซิดิดีสรอดชีวิตจากโรคระบาดในเอเธนส์ซึ่งได้คร่าชีวิตชาวเพริคลีส และชาวเอเธนส์อื่น ๆ อีกไปเป็นจำนวนมากมาย ทิวซิดิดีสบันทึกด้วยว่าเป็นเจ้าของเหมืองทองที่ Scapte Hyle (ตามตัวอักษร “Dug Woodland”) บริเวณเขตชายฝั่งทะเลของเมืองเทรซ ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับเกาะ Thasos

เพราะอิทธิพลงานเขียนของเขาในเขตปกครองชาวเทรซ ทิวซิดิดีสจึงได้รับการส่งตัวไปเป็นเสนาธิการทหาร ณ Thasos ปีก่อนคริสต์ศักราช 424 ปี ในช่วงระหว่างฤดูหนาวก่อนคริสต์ศักราช 424 – 423 ปี Brasidas เสนาธิการทหารของสปาร์ตัน บุกโจมตีเมืองแอมฟิโพลิสโดยใช้เวลาแล่นเรือมาทางทิศตะวันตกเพียงครึ่งวันจาก Thasos บริเวณชายฝั่งเทรซ Eucles ผู้บัญชาการทหารฝ่ายเอเธนส์แห่งแอมฟิโพลิสจึงของความช่วยเหลือจากทิวซิดิดีสBrasidas ตระหนักถึงการปรากฏตัวของทิวซิดิดีสที่ Thasos รวมถึงอิทธิพลของเขาต่อพลเมืองแอมฟิโพลิสและเกรงต่อความช่วยเหลือทางทะเลที่กำลังจะมาถึง จึงเสนอเงื่อนไขที่ชาญฉลาดพอสมควรต่อชาวแอมฟิโพลิสเพื่อให้ยอมจำนนซึ่งชาวเมืองก็ยอมรับเงื่อนไขนั้น ดั้งนั้นเมื่อทิวซิดิดีสเดินทางมาถึงแอมฟิโพลิสก็อยู่ภายใต้การปกครองของสปาร์ตันไปแล้ว (ดูจากยุทธการที่แอมฟิโพลิส) แอมฟิโพลิสเป็นจุดยุทธศาสตร์จุดใหญ่ที่สำคัญและข่าวการพ่ายแพ้ก็นำมาซึ่งความหวาดหวั่นอย่างใหญ่หลวงสู่เอเธนส์ทิวซิดิดีสจึงถูกกล่าวหา ถึงแม้จะยืนยันว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่ใช่ความผิดของเขา และเพราะไม่สามารถไปถึงแอมฟิโพลิสตามเวลาโดยไม่มีเหตุผลที่ดีเพียงพอ เพราะความล้มเหลวของเขาที่ไม่สามารถรักษาแอมฟิโพลิสไว้ได้ ทิวซิดิดีสจึงถูกเนรเทศ

"เป็นชะตากรรมของฉันด้วยที่ต้องถูกเนรเทศจากประเทศของตัวเองนานถึง 20 ปี หลังจากที่ได้ปกครองแอมฟิโพลิสและการมีอยู่ ณ ปัจจุบันของเมืองทั้ง 2 และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวเพโลพอนนีซัสอันเป็นสาเหตุที่ทำให้ฉันถูกเนรเทศ ฉันจึงมีเวลาว่างเพื่อสังเกตเรื่องราวได้อย่างค่อนข้างเป็นพิเศษ"

การใช้สถานะผู้ถูกเนรเทศจากเอเธนส์ท่องเที่ยวอย่างอิสระระหว่างประเทศพันธมิตรของ Peloponnesian ทำให้เขาสามารถมองเห็นภาพของสงครามจากมุมกว้างทั้ง 2 ฝ่าย ระหว่างช่วงเวลานี้ทิวซิดิดีสดำเนินการค้นคว้าที่สำคัญเพื่อประวัติศาสตร์ของตัวเขาเอง มีการอ้างว่าเขาดำเนินแผนที่เขาคิดว่ามันจะเป็นหนึ่งในแผนที่ดีที่สุดในการต่อต้านสงครามระหว่างกรีกในแง่ของโอกาส

ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ทิวซิดิดีสเขียนเกี่ยวกับชีวิตของเขาเองแต่มีข้อเท็จจริงเพียงเล็กน้อยที่สามารถพบได้จากหลักฐานร่วมสมัยที่น่าเชื่อถือได้ เฮโรโดทัสได้เขียนถึงบิดาของทิวซิดิดีสว่าชื่อ Oloros และได้มีการติดต่อกับเมืองเทรซและเชื้อพระวงศ์ชาวเทรซ ทิวซิดิดีสเองก็น่าจะมีโอกาสได้ติดต่อผ่านทางครอบครัวกับรัฐบุรุษชาวเอเธนส์และผู้บัญชาการทหาร Miltiades รวมถึง Cimon ลูกชายของเขา ซึ่งเป็นผู้นำของชนชั้นขุนนางเก่าที่ถูกแทนที่โดยกลุ่มผู้สนับสนุนการปกครองแบบประชาธิปไตยหัวรุนแรง ชื่อของตาของ Cimon ก็คือ Oloros เช่นกัน ทำให้ความเกี่ยวข้องเป็นไปได้อย่างมาก นอกจากนั้นทิวซิดิดีสมีชีวิตอยู่ก่อนนักประวัติศาสตร์และยังได้ติดต่อกับเมืองเทรซทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาแน่นแฟ้นด้วย ในตอนท้าย เฮโรโดทัสยังได้ยืนยันความเกี่ยวข้องของครอบครัวทิวซิดิดีสกับเหมืองแร่ที่ Scapte Hyle

จากการรวบรวมหลักฐานไม่สมบูรณ์ที่สามารถหาได้ ดูเหมือนว่าครอบครัวของเขาเป็นเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ในเมืองเทรซส่วนหนึ่งเป็นเหมืองทอง ซึ่งทำรายได้เป็นกอบเป็นกำให้แก่ครอบครัวและความมั่งคั่งอย่างถาวร การรักษาความปลอดภัยและความเจริญรุ่งเรืองอย่างต่อเนื่องของที่ดินจำนวนมากมายจึงทำให้ต้องมีข้อตกลงอย่างเป็นทางการกับกษัตริย์หรือเจ้าเมืองผู้ปกครอง ซึ่งอธิบายได้อย่างชัดเจนถึงการยอมรับนามของเชื้อพระวงศ์ชาวเทรซ Oloros เข้ามาในครอบครัว ครั้งนั้นเมื่อถูกเนรเทศทิวซิดิดีสสร้างหมู่บ้านถาวรขึ้นบนที่ดินและมีรายได้อย่างงดงามจากเหมืองทอง เขาได้อุทิศตัวเองให้กับการเขียนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อย่างเต็มที่รวมถึงการค้นคว้าซึ่งประกอบด้วยการเดินทางเพื่อค้นหาหาข้อเท็จจริงมากมาย จุดสำคัญคือหลังจากเขาเกษียณแล้วในเวลาดังกล่าว และมีการติดต่อที่ดีกับแหล่งข้อมูลซึ่งเป็นรัฐบุรุษคนสำคัญผู้ซึ่งเกษียณจากแวดวงการเมืองและการทหารแล้วในช่วงเวลานั้นทิวซิดิดีสได้จัดตั้งกองทุนโครงการทางวิทยาศาสตร์ของตัวเองขึ้น

หลักฐานที่เหลืออยู่เกี่ยวกับชีวิตของทิวซิดิดีส มาจากหลักฐานในยุคโบราณต่อมาซึ่งค่อนข้างน่าเชื่อถือน้อยกว่า จากข้อมูลของ Pausanias นักภูมิศาสตร์ชาวกรีก กล่าวว่าบุคคลที่ชื่อ Oenobius สามารถอนุญาตให้ Thucydedes กลับเอเธนส์ได้ตามกฎหมาย สันนิษฐานว่าอยู่ในช่วงเวลาสั้น ๆ หลังจากที่แอมฟิโพลิสยอมจำนนและจุดสิ้นสุดของสงครามในช่วงก่อนคริสต์ศักราช 404 ปี Pausanias ยังระบุว่า ทิวซิดิดีสถูกฆาตกรรมระหว่างเดินทางกลับเอเธนส์ ยังมีข้อสงสัยอีกมากในบันทึกนี้ ดูจากหลักฐานที่กล่าวว่าทิวซิดิดีสมีชีวิตอยู่ในช่วตอนปลายก่อนคริสต์ศักราช 397 ปี Plutarch ผู้พิพากษาและทูตชาวกรีก ยืนยันว่า ทิวซิดิดีสยังมีชีวิตอยู่เมื่อกลับสู่เอเธนส์และอาศัยอยู่ในห้องใต้ดินของครอบครัว Cimon

เรื่องราวของทิวซิดิดีสจบลงอย่างห้วน ๆ โดยหยุดอยู่ที่ช่วงกลางของก่อนคริสต์ศักราช 411 ปี ได้ถูกแปลตามรูปแบบดั้งเดิมโดยระบุว่าเขาตายขณะกำลังเขียนหนังสือ แม้ว่ารายละเอียดอื่น ๆ ได้ถูกหยิบยกขึ้นมา

แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานพิสูจน์แน่ชัด แต่ศิลปะการใช้คำในงานเขียนของทิวซิดิดีสบอกได้ว่าอย่างน้อยเขาก็คุ้นเคยกับคำสอนของโซฟิสต์สนักบันทึกการเดินทางผู้ซึ่งเดินทางมาเอเธนส์และเมืองอื่น ๆ ของกรีกเสมอ

ยังมีข้อยืนยันด้วยว่า ทิวซิดิดีสยังเน้นอย่างเข้มงวดในเรื่องของเหตุและผล ความเลื่อมใสพิถีพิถันอย่างเด่นชัดในเรื่องข้อเท็จจริงตามธรรมชาติแยกปัจจัยอื่น ๆ และงานเขียนที่เคร่งครัดของเขาได้รับอิทธิพลมาจากวิธีการและแนวคิดของนักเขียนด้านการแพทย์ เช่น ฮิปโปเครตีสแห่งเกาะคอส

ข้อสรุปเกี่ยวกับบุคลิกของทิวซิดิดีส สามารถดึงออกมา (ด้วยความระมัดระวัง) ได้จากงานเขียนของเขาเท่านั้น ความมีไหวพริบในเชิงเสียดสีอย่างมีอารมณ์ขันของเขาคือหลักฐานทั้งหมด เช่นเมื่ออยู่ระหว่างการเขียนบรรยายถึงโรคระบาดในชาวเอเธนเนี่ยน เขาหมายเหตุไว้ว่าชาวเอเธนส์ที่แก่ชราดูเหมือนจะจดจำบทกวีสั้น ๆ ซึ่งกล่าวว่า Dorian War จะนำมาซึ่ง “ความตายอันใหญ่หลวง” บางข้อยืนยันระบุว่าบทกวีนั้นแท้จริงแล้วเกี่ยวกับ “ภาวะข้าวยากหมากแพงอย่างรุนแรง” (limos) และเป็นเพียงการรำลึกถึง “ความตาย” (loimos) จากโรคระบาด ทิวซิดิดีสจึงหมายเหตุไว้ด้วยว่า สงคราม Dorian อื่น ๆ ควรจะเกิดขึ้น เวลานี้เข้าสู่ช่วงข้าวยากหมากแพง บทกวีจะได้รับการจดจำว่าเป็น “ภาวะข้าวยากหมากแพง” และการกล่าวอ้างใด ๆ ถึง “ความตาย” จึงลืมเลือนไปในที่สุด

ทิวซิดิดีส ยกย่องชื่นชม Pericles และเห็นด้วยกับพลังเหนือผู้คนของเขา ทั้งยังแสดงออกอย่างชัดเจนถึงความรังเกียจที่มีต่อพวกปลุกระดมทางการเมืองผู้ซึ่งติดตามเขาทิวซิดิดีสไม่เห็นด้วยกับการก่อการจลาจลเพื่อประชาธิปไตยหรือพวกประชาธิปไตยหัวรุนแรงที่ Pericles เป็นผู้ก่อตั้งแต่คิดว่าควรจะยอมรับเชื่อมือผู้นำที่ดี โดยทั่ว ๆ ไปทิวซิดิดีสจะแสดงออกถึงความคิดที่ไม่มีอคติหรือการต่อต้าน ในการนำเสนอเหตุการณ์ของเขา เช่น การกล่าวถึงผลกระทบด้านลบจากความล้มเหลวของตนเองที่แอมฟิโพลิสอย่างย่อ ๆ อย่างไรก็ตามบางครั้งความรู้สึกที่เข้มข้นก็ผลักดันออกมา ดังเช่นในการประเมิณค่าต่อ Cleon และ Hyperbolus นักปลุกระดมประชาชนอย่างแสบสันของเขา บางครั้ง Cleon ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการถูกเนรเทศของทิวซิดิดีส

ทิวซิดิดีส ถูกเนรเทศอย่างสมบูรณ์ตามปกติวิสัยของสงครามอย่างขมขี่นและได้มีส่วนเกี่ยวพันกับพฤติกรรมเกินขอบเขตที่มนุษย์เป็นไปตามธรรมชาติซึ่งก็คือการหันไปพึ่งพาความฉลาดตามสถานการณ์ดังกล่าว หลักฐานนี้ปรากฏอยู่ในงานวิเคราะห์ของเขาเรื่องความรับผิดชอบต่อความโหดร้ายในระหว่างความขัดแย้งของประชาชนใน Corcvara ซึ่งประกอบด้วยวลีที่กล่าวว่า “สงครามคือครูแห่งความโหดร้าย”

งานเขียนทางประวัติศาสตร์ของทิวซิดิดีส1 เรื่องได้รับการแยกออกเป็นหนังสือจำนวน 8 เล่มหลังจากที่เขาเสียชีวิต ชื่อเรื่องที่ใช้ในปัจจุบันคือประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีซัส ความทุ่มเททางประวัติศาสตร์ของเขาทั้งหมดและการเขียนบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ถูกใส่ลงไปในประวัติศาสตร์สงคราม 27 ปีระหว่างเอเธนส์และพันธมิตร รวมถึงสปาร์ต้าและพันธมิตรชิ้นนี้อย่างละเอียด การบันทึกหยุดลงใกล้กับช่วงสิ้นสุดปีที่ 21 ข้อมูลที่ถูกร่างอย่างคร่าว ๆ ชิ้นสุดท้ายระบุว่าการเสียชีวิตของเขาไม่ได้รับการคาดหมายและเป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือถูกทำร้าย ทิวซิดิดีสเชื่อว่าสงครามเพโลพอนนีซัสเป็นตัวแทนของเหตุการณ์เกี่ยวกับขนาดที่ไม่เท่าเทียม เขาตั้งใจให้บันทึกเหตุการณ์ช่วงปลายศตวรรษที่ 5 ของเขาเป็นประโยชน์ดั่งเช่น “สมบัติเพื่อทุกยุคทุกสมัย”

ทิวซิดิดีส ได้รับความเคารพอย่างทั่วไปว่าเป็นหนึ่งในนักประวัติศาสตร์รุ่นแรกอย่างแท้จริง เช่นเดียวกับรุ่นก่อนหน้าเขา เฮโรโดตัส (นิยมเรียกว่า บิดาแห่งประวัติศาสตร์) ทิวซิดิดีสวางการประเมิณสูงส่งพิสูจน์หลักฐานอย่างละเอียดและคำบอกเล่าของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์และบรรยายเกี่ยวกับหลาย ๆ ตอนที่ตัวเขาได้มีส่วนร่วมเท่าที่จะเป็นไปได้ เขายังหมั่นเขียนรายงานให้คำปรึกษาและสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ที่เขาบันทีก ซึ่งต่างจากเฮโรโดตัสที่ไม่จดจำการยุ่งเกี่ยวของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเรื่องของมนุษย์ ความแตกต่างหลัก ๆ ข้อหนึ่งระหว่างงานเขียนประวัติศาสตร์ของทิวซิดิดีสและงานเขียนประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ก็คืองานเขียนแบบก่อนจะประกอบด้วยคำพูดที่มีความยาวมาก เช่นการเขียนถึงตัวเอง ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถจำเกี่ยวกับสิ่งที่เคยพูดไว้ได้ หรือบางทีก็เป็นสิ่งที่คิดว่าอาจจะได้เคยพูดไปแล้ว อย่างไรก็ตามวิธีนี้ก็ยังถูกโต้แย้ง นอกจากว่านักประวัติศาสตร์เป็นผู้เขียนลงไป ว่าคำพูดเหล่านี้อีกนัยหนึ่งนั้นยังไม่เคยได้รับการบันทึกเลย ซึ่งไม่ใช่ในกรณีของยุคสมัยใหม่อย่างแน่นอนเมื่อบันทึกและเอกสารที่ถูกเก็บมีจำนวนมาก ดังนั้นทิวซิดิดีสจึงไม่แค่เพียง “เขียนตามหลักฐาน” ขณะที่พฤติกรรมนักประวัติศาสตร์คือการถูกกระตุ้นให้ทำซ้ำ ๆ ซาก ๆ ในปัจจุบัน แต่เป็นการช่วยเหลือแหล่งข้อมูลที่บอกเล่าด้วยปาก จากการลืมเลือนโดยสิ้นเชิงอย่างแท้จริง คำพูดเหล่านี้ปรากฏอยู่ในงานวรรณกรรมชื่อ Pericles' funeral oration ซึ่งประกอบด้วยการปกป้องด้านศีลธรรมของประชาธิปไตย, กองความซี่อสัตย์ไว้บนความตาย

“โลกทั้งใบคือสุสานของมนุษย์ผู้ลือนาม พวกเขามิได้ซื่อตรงเพียงในแนวขบวนทหารหรือเพียงคำประกาศในแผ่นดินของตน แต่สลักอยู่ในความทรงจำของชนต่างชาติซึ่งมิใช่บนแผ่นศิลา หากเป็นในหัวใจและจิตใจของผู้คน”

แม้จะเขียนถึง Pericles บทความตอนนี้แต่งขึ้นโดยทิวซิดิดีสเพื่อแสดงเจตนาตรงข้ามกับบันทึกโรคระบาดในเอเธนส์ซึ่งประกาศตามออกมาทันที

“นกและสัตว์ร้ายจะไม่แตะต้องพวกเขา แม้ไม่ได้ฝังศพ หรือตายหลังจากต่อสู้กับพวกมัน […] ร่างของผู้สิ้นชีวิตเหนือร่างอี่น ๆ และร่างของผู้ใกล้ตายเกลือกลิ้งบนท้องถนนและแน่นขนัดอยู่รายรอบบ่อน้ำพุเพราะความกระหายน้ำ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นอีกที่หนึ่งด้วยที่พวกเขาเข้าไปอยู่อาศัย”

นักวิชาการด้านกรีกโบราณ Jacqueline de Romilly เป็นคนแรกที่ชี้ให้เห็น เพียงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ว่าหนึ่งในศูนย์กลางในแก่นบท ความของทิวซิดิดีสเป็นหลักจริยศาสตร์ของลัทธิจักรวรรดินิยมของชาวเอเธนเนี่ยน การวิเคราะห์ของเธอนำงานทางประวัติศาสตร์ของเขาใส่ไว้ในบริบทของกรีกโดยคิดจากหัวข้อทางการเมืองระหว่างประเทศ ตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐานของเธอ นักวิชาการหลายคนก็เริ่มศึกษาเรื่องแก่นของพลังทางการเมือง เช่น Realpolitik ในประวัติศาสตร์ของ ทิวซิดิดีส

ในทางตรงกันข้าม นักเขียนบางคนรวมทั้ง Richard Ned Lebow ปฏิเสธแนวความคิดสามัญของทิวซิดิดีสอย่างเช่นนักประวัติศาสตร์ด้าน realpolitik พวกเขาโต้ว่านักแสดงบนเวทีโลกผู้ซึ่งเคยอ่านงานของเขาทุกคนจะตั้งข้อสังเกตว่าบางคนจะเข้าใจการแสดงของพวกเขากับการไม่เอาเรื่องส่วนตัวเข้ามาข้องเกี่ยวของผู้รายงาน มากกว่าแรงบัลดาลใจของผู้เล่าเรื่องและมีส่วนร่วมอย่างตั้งใจหรือไม่ตั้งใจต่องานเขียน The Melian Dialogue ของเขาก็คือตัวอย่าง

ทิวซิดิดีส ไม่ได้ใช้เวลาในการแลกเปลี่ยนความคิดต่อศิลปะ, วรรณกรรม, หรือสังคมในทางเดียวกับที่หนังสือถูกแต่งขึ้น และในทางเดียวกับที่ตัวเขาเองเติบโตขึ้นมา เขาเขียนถึงแต่เหตุการณ์ ไม่ใช่ยุคสมัย และเว้นระยะที่จะไม่อธิบายอะไรที่ไม่เกี่ยวข้องเช่นนั้น

ลีโอ เสตราส์ในการศึกษาเรื่อง The City and Man โต้ว่า ทิวซิดิดีสมีความเข้าใจที่สับสนอย่างมากปกครองแบบประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์ ด้านหนึ่งคือ “ความเฉลียวฉลาดของเขาถูกทำให้เป็นไปได้” โดยปกครองแบบประชาธิปไตยของ Periclean ในงานบันทึกเรื่องสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลของเขาเสี่ยงและกล้าได้กล้าเสีย ทั้งยังมีความน่าสงสัย แต่ในเรื่องสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลเดียวกันนี้กระตุ้นเรื่องจุดหมายการปกครองที่ไม่เท่าเทียมกัน, ลัทธิจักวรรดินิยม, และปะทะกับทางการในตอนท้ายอย่างมากเกินไป นักวิชาการทางด้านประเพณีนิยมส่วนมากมีมุมมองต่อทิวซิดิดีสในทางที่น่าจดจำและคำสอนบทเรียนในเรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตยต้องการผู้นำ แต่ผู้นำนั้นก็สามารถเป็นอัตรายปกครองแบบประชาธิปไตยได้


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406