ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ธรณีศิลป์

ภูมิศิลป์ (อังกฤษ: Land art หรือ Earthworks หรือ Earth art) บางตำราเรียกว่าธรณีศิลป์คือขบวนการศิลปะที่เริ่มขึ้นในสหรัฐอเมริการาวปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1970 ที่ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิทัศน์และงานศิลปะเป็นความสัมพันธ์ที่ผสานกันอย่างแยกไม่ออก ประติมากรรมมิได้วางอยู่ท่ามกลางภูมิทัศน์ แต่ภูมิทัศน์เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดศิลปะ งานธรณีศิลป์มักจะเป็นศิลปะนอกสถานที่ที่ตั้งอยู่ไกลจากบ้านจากเมือง และปล่อยทิ้งไว้ให้ถูกกัดกร่อนลงไปตามธรรมชาติ งานชิ้นแรกๆ สร้างขึ้นในทะเลทรายในเนวาดา, นิวเม็กซิโก, ยูทาห์ และแอริโซนาที่เป็นงานชั่วคราวที่สร้างท่ามกลางธรรมชาติ ที่เหลืออยู่แต่เพียงจากการบันทึกไว้ในวิดีโอ หรือ ภาพถ่ายเท่านั้น

ภูมิศิลป์เป็นปรัชญาศิลปะที่มีวัตถุประสงค์ในการต่อต้านงานศิลปะที่กลายเป็นสิ่งผิดธรรมชาติ, เป็นพลาสติก และ เป็นงานค้าขายกันจนเกินหน้าที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาในปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 ผู้ถือปรัชญาธรณีศิลป์จะหันหลังให้กับการตั้งแสดงงานศิลปะในพิพิธภัณฑ์ และจะสร้างงานภูมิทัศน์ขนาดมหึมาที่เกินเลยไปจากการซื้อขายกันเป็นชิ้นได้ในตลาดศิลปะโดยทั่วไป ธรณีศิลป์มีพื้นฐานมาจากลัทธิจุลนิยม และ ศิลปะเชิงมโนทัศน์ และแนวคิดของปรัชญาศิลปะสมัยใหม่และแนวจุลนิยมเช่นเดสตีเจล, บาศกนิยม, ลัทธิจุลนิยม และงานศิลปะของ คอนสแตนติน บรังคุช และ โยเซฟ บอยส์ ศิลปินที่สร้างงานที่เกี่ยวกับธรณีศิลป์มักจะพัฒนามาจากศิลปะจุลนิยมและศิลปะเชิงแนวคิด งานออกแบบลานเล่นลดหลั่นของศิลปินชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นอิซะมุ โนะงุชิ ที่นิวยอร์กในปี ค.ศ. 1941 ที่นิวยอร์กบางครั้งก็ตีความหมายว่าเป็นงานชิ้นสำคัญชิ้นแรกในกลุ่มศิลปะธรณีศิลป์ที่แม้ว่าตัวศิลปินเองจะไม่ได้เรียกงานของตนว่า “ธรณีศิลป์” แต่เรียกง่ายๆ ว่า “ประติมากรรม” ก็ตาม อิทธิพลของงานของอิซะมุ โนะงุชิจะเห็นได้อย่างเด่นชัดในงานธรณีศิลป์ร่วมสมัย, ภูมิสถาปัตยกรรม และ ประติมากรรมผสานสิ่งแวดล้อม หลายชิ้นที่เห็นในปัจจุบัน ยั่งยืน ศิลปินอเมริกันแอแลน ซอนฟิสต์เป็นผู้ริเริ่มวิธีนอกแนว (alternative approach) ในการสร้างงานโดยผสานใช้ธรรมชาติและวัฒนธรรมในงานศิลปะที่เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1965 โดยนำเอาธรรมชาติทางประวัติศาสตร์และถาวรศิลป์ (Sustainable art) กลับเข้ามายังนครนิวยอร์กอีกครั้ง ตามคำกล่าวของนักวิพากษ์ศิลป์บาร์บารา โรสใน “Artforum” ที่กล่าวในปี ค.ศ. 1969 ว่าเธอเพิ่มความหมดแรงใจกับงานศิลปะที่กลายเป็น “สินค้า” (commodification) และที่เสนอมุมมองที่ “ขาดความสัมพันธ์” (insularity) ของงานที่แสดงกันตามห้องแสดงศิลป์ต่างๆ ในปี ค.ศ. 1967 นักวิพากษ์ศิลป์เกรซ กลึคประกาศใน “เดอะนิวยอร์กไทมส์” ว่างาน “ธรณีศิลป์” ชิ้นแรกสร้างขึ้นโดยดักกลาส ไลค์เตอร์ และ ริชาร์ด ซาบาที่โรงเรียนจิตรกรรมและประติมากรรมสเคาว์ฮีกัน ในปี ค.ศ. 1968 งาน “ธรณีศิลป์” ที่เริ่มปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็วก็อาจจะถือได้ว่าเป็นการโต้ตอบของศิลปินรุ่นที่ส่วนใหญ่อายุอยู่ในราวยี่สิบกว่าๆ ต่อขบวนการของการมีบทบาททางการเมืองในปีนั้น และ ต่อขบวนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและขบวนการรณรงค์เพื่อความเท่าเทียมกันของสตรี

ขบวนการ “ธรณีศิลป์” เริ่มขึ้นในเดือนตุลาคม ในปี ค.ศ. 1968 โดยแสดงงานศิลปะมูลดิน (Earthwork) ที่หอศิลป์ดวานในนิวยอร์ก ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1969 ศิลปินและภัณฑารักษ์ของห้องแสดงศิลปะวิลเลอบี ชาร์พก็จัดงานแสดงศิลปะมูลดินขึ้นที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะแอนดรูว์ ดิคสัน ไวท์ที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ที่อิทาคาในรัฐนิวยอร์ก ศิลปินที่เข้าร่วมการแสดงก็ได้แก่: Walter De Maria, Jan Dibbets, Hans Haacke, Michael Heizer, Neil Jenney, Richard Long, David Medalla, Robert Morris, Dennis Oppenheim, โรเบิร์ต สมิธสัน และ กุนเทอร์ เอิคเคอร์

ศิลปินผู้อาจจะเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในบรรดาศิลปินกลุ่มนี้ก็เห็นจะเป็นศิลปินอเมริกันโรเบิร์ต สมิธสันผู้ที่ในปี ค.ศ. 1968 เขียน “ตะกอนความคิด: โครงการศิลปะมูลดิน” (The Sedimentation of the Mind: Earth Projects) ซึ่งเป็นงานที่วางรากฐานอันสำคัญสำหรับขบวนการที่เป็นปฏิกิริยาต่อความห่างเหินของลัทธิสมัยใหม่นิยมจากปัญหาสังคมตามที่กล่าวโดยนักวิพากษ์ศิลป์เคลเมนท์ กรีนเบิร์ก งานธรณีศิลป์ชิ้นที่มีชื่อเสียงที่สุดของโรเบิร์ต สมิธสันคืองาน “กำแพงทะเลขมวดหอย” (Spiral Jetty) ที่สร้างในปี ค.ศ. 1970 สมิธสันสร้างงานชิ้นนี้โดยจัดหิน, ดิน และ สาหร่าย ที่ยาวราว 1500 ฟุตเป็นกำแพงทะเล (jetty) ที่ขมวดวนยื่นออกไปในทะเลสาบเกรตซอลต์ในยูทาห์ การปรากฏของงานชิ้นนี้ให้เห็นมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับระดับน้ำที่ขึ้นลง

งานของโรเบิร์ต สมิธสันอีกชิ้นหนึ่งคือ “วงแตกและเนินขมวด” (Broken Circle and Spiral Hill) ที่สร้างในปี ค.ศ. 1968 ก็เป็นงานอีกชิ้นหนึ่งที่เป็นตัวอย่างของงานธรณีศิลป์ แต่งงานธรณีศิลป์ “กระจกกรวดกับรอยแตกและฝุ่น” (Gravel Mirror with Cracks and Dust) ที่สร้างในปี ค.ศ. 1968 เป็นงานที่ตั้งแสดงในห้องแสดงภาพแทนที่จะตั้งอยู่ภายนอกตามธรรมชาติ งานชิ้นนี้เป็นกองกรวดที่ตั้งอยู่ติดกับผนังส่วนที่เป็นกระจกของห้องแสดงภาพ ความปราศจากความซับซ้อนของรูปทรงและการเน้นความงามของวัสดุที่ใช้สร้างงานทำให้งานธรณีศิลป์มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับศิลปะจุลนิยม และกับศิลปะสมถะ (Arte Povera) ตรงการใช้วัสดุที่ตามปกติแล้วไม่ถือว่าเป็นวัสดุที่ไม่เหมาะแก่การสร้างงานศิลปะ หรือ เป็นวัสดุที่ “ขาดคุณค่า”

ศิลปินธรณีศิลป์ส่วนใหญ่มักจะเป็นศิลปินอเมริกันที่รวมทั้งศิลปินผู้มีชื่อเสียงจากสาขาอื่นที่รวมทั้งแนนซี โฮลท์, วอลเตอร์ เดอ มาเรีย, ฮันส์ ฮาคเคอ, แอลิซ อายค็อค, เดนนิส ออพเพนไฮม์, ไมเคิล ไฮเซอร์, แอนดรูว์ โรเจอร์, แอแลน ซันฟิสต์ และ เจมส์ เทอร์เรลล์ เทอร์เรลล์เริ่มสร้างงานในปี ค.ศ. 1972 ที่อาจจะเป็นงานธรณีศิลป์ชิ้นที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยทำกันมาที่เปลี่ยนรูปทรงของแผ่นดินในบริเวณรอบหลุมโรเดนซึ่งเป็นหลุมภูเขาไฟที่ดับแล้วในแอริโซนา

ศิลปินธรณีศิลป์ผู้มีชื่อเสียงที่ไม่ใช่ชาวอเมริกันก็ได้แก่ศิลปินอังกฤษคริส ดรูรีย์, แอนดี โกลด์สเวิร์ทธี, ริชาร์ด ลอง และประติมากรออสเตรเลียแอนดรูว์ โรเจอร์ส

งานบางชิ้นของคริสโตและฌอง-โคลด (ผู้มีชื่อเสียงในการห่อสิ่งก่อสร้าง, อนุสาวรีย์ และภูมิทัศน์ด้วยผืนผ้า) ก็ถือกันว่าเป็นงานธรณีศิลป์โดยนักวิพากษ์บางท่าน แต่ตัวศิลปินเองเห็นว่าเป็นการจัดกลุ่มที่ไม่ถูกต้อง ความคิดของโยเซฟ บอยส์เกี่ยวกับ “ประติมากรรมเชิงสังคม” (social sculpture) มีอิทธิพลต่องาน “ธรณีศิลป์” ในโครงการ “โอ้ค 7000 ต้น” (7000 Oaks) ที่บอยส์ทำการปลูกต้นโอ้ค 7000 ต้นในปี ค.ศ. 1972 ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับกระบวนการสร้าง “ธรณีศิลป์”

“จังหวะชีวิต” (Rhythms of Life) โดยประติมากรออสเตรเลียแอนดรูว์ โรเจอร์ส เป็นงานธรณีศิลป์ร่วมสมัยชิ้นที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ประกอบด้วยประติมากรรมหินหรือธรณีรูปลักษณ์ที่ต่อเนื่องกันเป็นโซ่รอบโลก 12 ที่ที่แต่ละแห่งก็จะแปลกแตกต่างกันเป็นอย่างมาก (ตั้งแต่บริเวณต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ไปจนถึงบริเวณที่สูงขึ้นไปกว่า 4,300 เมตร และธรณีรูปลักษณ์อีกสามแห่งที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไปถึง 40,000 ตาราเมตร

ศิลปินธรณีศิลป์ในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของผู้อุปถัมภ์ที่มีฐานะดี หรือองค์การส่วนบุคคลในการให้ทุนสนับสนุนโครงการซึ่งมักจะมีราคาสูง เมื่อเศรษฐกิตตกต่ำอย่างกะทันหันราวกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 ทุนสำหรับโครงการเหล่านี้ก็เหือดแห้งตามไปด้วย และเมื่อโรเบิร์ต สมิธสันมาเสียชีวิตไปกับเครื่องบินตกในปี ค.ศ. 1973 ขบวนการธรณีศิลป์ที่สูญเสียผู้นำคนสำคัญก็ค่อยสลายตัวไป เจมส์ เทอร์เรลล์ยังคงทำโครงการหลุมโรเดน แต่โดยทั่วไปแล้วธรณีศิลป์ก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะประชาคม (public art) และในบางกรณีคำว่า “ธรณีศิลป์” ก็นำมาใช้กันอย่างไม่ถูกต้องในการหมายถึงศิลปะไม่ว่าจะชนิดใดก็ตามที่เกี่ยวกับธรรมชาติ แม้ว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับความหมายของศิลปินธรณีศิลป์ที่วางไว้

งานธรณีศิลป์พบโดยทั่วไปในแทบจะทุกประเทศในยุโรปและอเมริกา ในแอฟริกาธรณีศิลป์เป็นประเภทของงานศิลปะที่เริ่มจะแพร่หลาย โดยมี Strijdom van der Merwe จากแอฟริกาใต้เป็นผู้นำ งานธรณีศิลป์ชิ้นหนึ่งในแอฟริกาใต้เป็นงานประวัติศาสตร์โบราณชื่อ “Mama Africa” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสวนพฤกษชาติ ซึ่งเป็นมูลดินสูง 3 เมตร ยาว 16 เมตรและกว้าง 7 เมตร


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406