ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชื่อไม่เป็นทางการ แบงก์ชาติ (อังกฤษ: Bank of Thailand: BOT) เป็นธนาคารกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 มีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ ทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงิน นำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น

ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นหลังจากประเทศไทยได้มีธนาคารพาณิชย์ทั้งของรัฐและเอกชนเริ่มดำเนินการไปก่อนหน้านั้นแล้ว ภารกิจและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเดิมซ้อนเหลื่อมอยู่กับกระทรวงการคลังและได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับหลังจากที่ระบบการเงินของโลกพัฒนาไปและมีวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญต่างๆ

ในปี พ.ศ. 2482 เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามและเหตุการณ์ที่เกิดจากสงครามได้เร่งรัดความจำเป็นต้องจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นในประเทศไทย ปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ร่วมมือกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เริ่มจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2482 อันเป็นแนวทางไปสู่การตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2485 ในสมัยที่ พลเอกเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (2484 - 2487) ได้มีการตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 จัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ขึ้นเป็นองค์กรอิสระ และ จากพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มประกอบธุรกิจได้ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2485 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เป็นผู้ว่าการธนาคารพระองค์แรก (พ.ศ. 2485 - 2489) พระองค์ได้ทรงวางระเบียบแบบแผนและดำเนินการจนธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำรงอยู่เป็นปึกแผ่นมั่นคงตลอดมาจนปัจจุบัน

ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินเนื่องจากความจำเป็นของสงครามมหาเอเชียบูรพา ประเทศไทยต้องจำยอมเข้าร่วมเป็นสัมพันธมิตรกับประเทศญี่ปุ่น ได้มีผลกระทบกระเทือนเงินของประเทศในขณะนั้นและภายหลังเป็นอย่างมาก กล่าวคือ การติดต่อค้าขายกับต่างประเทศต้องหยุดชะงักลง ทุนสำรองเงินตราที่เก็บไว้ในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกาก็ถูกกักกัน ไม่สามารถนำมาใช้หนี้ระหว่างประเทศได้ นอกจากนี้ประเทศไทยยังต้องยอมรับภาระหลายประการ อันเป็นผลทำให้เสถียรภาพเงินบาทอยู่ในสภาพไม่มั่นคงพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 นี้ ได้ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการออกกฎกระทรวง ควบคุม จำกัด หรือห้ามการปฏิบัติกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวกับการปริวรรตเงินตราต่างประเทศ ในการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ควบคุมดูแล

เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจควบคุมธนาคารพาณิชย์ต่างๆ รัฐบาลจึงตราพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2488 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2488 มีหน่วยงานควบคุมโดยเฉพาะคือ หน่วยควบคุมธนาคารพาณิชย์ แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังคงเป็นผู้กำกับการตามพระราชบัญญัติอยู่

เมื่อพลเอกเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นสมัยที่ 2 (พ.ศ. 2494-2500) ได้มอบหมายให้นายเสริม วินิจฉัยกุล ปลัดกระทรวงการคลัง ไปติดต่อคณะสำรวจเศรษฐกิจของธนาคารโลก โดยธนาคารโลกได้ส่งผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาต่าง ๆ มาสำรวจประเทศไทย ซึ่งคำแนะนำในการสำรวจเศรษฐกิจของคณะผู้เชี่ยวชาญนี้ ได้เป็นแนวทางในการวางแผนเศรษฐกิจ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2501 และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลได้พยายามที่จะปฏิรูประบบการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการคลัง

ได้ตราพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของเงินตรา ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรักษาทุนสำรองเงินตราไว้ก้อนหนึ่ง สินทรัพย์ที่มีอยู่ในทุนสำรองเงินตรามีหลายประเภท

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ได้สถาปนาสำนักงบประมาณขึ้น มีฐานะเทียบเท่ากรมในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี งานจัดทำงบประมาณซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังมาตลอด ก็เปลี่ยนเป็นงานของสำนักงบประมาณให้เป็นผู้จัดทำงบประมาณ

ในวันที่ 18 ตุลาคม 2504 ได้มีการจัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังโดยมีฐานะเทียบเท่ากรม ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2504 การจัดตั้งหน่วยงานใหม่นี้ เนื่องจากดำริของนายสุนทร หงส์ลดารมภ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในสมัยนั้น ที่เห็นว่าจำเป็นต้องนำวิทยาการแผนใหม่เข้ามาใช้ในการบริหารและการกำหนดนโยบายการคลังตลอดจนจะต้องมีองค์กรหรือจุดรวมที่จะสามารถประสานกิจกรรมที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและการคลังของประเทศ จึงควรต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานที่เหมาะสม โดยปรับปรุงสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง และจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ที่ให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในการวางนโยบายการคลังและเศรษฐกิจของรัฐ ตลอดจนเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สำนักงานเศรษฐกิจการคลังจึงก่อตั้งขึ้น โดยยุบกองเศรษฐกิจการคลังและกองสถิติในสำนักงานปลัดกระทรวงมาอยู่ในหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้ และแต่งตั้ง ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ผู้เชี่ยวชาญการคลัง สำนักปลัดกระทรวงการคลังในขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังคนแรก

ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2505 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ขึ้น โดยให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2488 เนื่องจากในขณะนั้น การธนาคารและการเศรษฐกิจได้ขยายตัวขึ้นเป็นลำดับ จึงสมควรได้ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ให้เหมาะสม เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ ตลอดจนให้ความคุ้มครองแก่ผู้ฝากเงินกับธนาคาร ตรีภาคภูมิ

ใน พ.ศ. 2506 กรมศุลกากรได้ปรับปรุงรหัสสินค้าของไทย ทั้งนี้เนื่องจากองค์การสหประชาชาติได้ปรับปรุงรหัสสินค้าเพื่อนำมารวบรวมสถิติสินค้าเข้าออกของนานาประเทศ ซึ่งในปีเดียวกันนี้ กรมศุลกากรได้เสนอคณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังแต่งตั้งคณะกรรมการพิกัดอัตราศุลกากร ให้ทำหน้าที่กำหนดหรือปรับปรุงแก้ไขพิกัดอัตราศุลกากร

ในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 กระทรวงการคลังในสมัยที่นายเสริม วินิจฉัยกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 สาระสำคัญของกฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เพื่อประโยชน์ในการดำรงไว้ซึ่งค่าของเงินบาท สมควรจะได้กำหนดสกุลเงินตราต่างประเทศ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราซื้อหรือขายทันทีตามที่ธนาคารพาณิชย์ในราชอาณาจักรจะเรียกให้ซื้อหรือขาย โดยกำหนดให้เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาเป็นเงินตราต่างประเทศนั้น

ใน พ.ศ. 2517 กระทรวงการคลังได้เสนอร่างพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 และประกาศใช้เป็นกฎหมาย เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 สืบเนื่องมาจากความจำเป็นต้องจัดให้มีตลาดหรือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่มีสภาพสมบูรณ์ภายใต้การควบคุมของทางการอย่างใกล้ชิด และมีมาตรการอันเหมาะสมเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม เพื่อเป็นการระดมเงินทุนในการพัฒนาประเทศและการพัฒนาตลาดทุนในราชอาณาจักร

ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 ขึ้น โดยที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ได้ประกาศใช้บังคับมานาน มีบทบัญญัติหลายมาตราไม่เหมาะสมกับกาลสมัย สมควรที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติเดิมและเพิ่มเติมบทบัญญัติใหม่เพื่อให้เกิดความมั่นคงและเป็นหลักประกันแก่การประกอบการธนาคารพาณิชย์ พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการประกอบกิจการด้วย

วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ขึ้น เป็นกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการและหลักเกณฑ์ของธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ โดยกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย

ในปี 2540 เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ"ต้มยำกุ้ง" นักลงทุนต่างประเทศขาดความเชื่อถือในสถาบันการเงินไทย พากันถอนเงินออกจากประเทศ ส่งผลให้เงินทุนสำรองของทางการลดต่ำลงอย่างมาก จนนำไปสู่การปิดสถาบันการเงินรวม 56 แห่ง ต่อมาจึงได้มีการเสนอแก้ไขกฎหมายการเงินพร้อมกันถึงสามฉบับ และได้รับการพิจารณาให้นำออกใช้ในปี พ.ศ. 2551 สมัยพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี(จากการแต่งตั้งโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)) กฎหมายทั้ง สามฉบับได้แก่

1.พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551

2.พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยยกเลิก พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505

3.พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 เพื่อลดภาระทางการคลังของรัฐ และสามารถกำหนดกลไกต่างๆในการคุ้มครองเงินฝากอย่างเป็นระบบ

ในปี พ.ศ. 2530 ได้มีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร โดยพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 พิกัดอัตราศุลกากรนี้ได้ใช้ระบบจำแนกประเภทสินค้าและรหัสประเภทพิกัดของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร ที่เรียกว่า ระบบ ฮาร์โมไนซ์ (Harinonized System) โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2531

ในปี พ.ศ. 2531 ได้มีการพิจารณาว่าโครงสร้างอัตราเงินเดือนข้าราชการในขณะนั้นยังไม่เหมาะสมเนื่องจากมีความแตกต่างกับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในลักษณะใกล้เคียงกันในภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจมาก ประกอบกับกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่าฐานะการคลังของรัฐบาลดีขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจดีขึ้น จึงเห็นสมควรปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนข้าราชการให้เหมาะสมกับภาวะหน้าที่ความรับผิดชอบ และให้เกิดความเป็นธรรมเมื่อเทียบกับกลุ่มอาชีพอื่น ตามบัญชี ก และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2532

ในปี พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้ง "คณะกรรมการป้องปรามธุรกิจการเงินนอกระบบ" สาเหตุเนื่องมาจากมีการประกอบธุรกิจการเงินนอกระบบ ซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ คณะกรรมการชุดนี้จะกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการเงินนอกระบบทั้งหมด สำหรับให้เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เป็นหลักในการปฏิบัติงาน

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2533 รัฐบาลอนุมัติให้ทำการปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนข้าราชการ จากบัญชี ก เป็นบัญชี ข โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2534

ในปัจจุบัน เศรษฐกิจการค้าของโลกมีการเปลี่ยนแปลงขยายตัวเพิ่มมากขึ้นประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง และมีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงจากประเทศเกษตรกรรม และนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่น มาเป็นการส่งออกผลผลิตในด้านเกษตรกรรมและการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก ขณะเดียวกันสถานการณ์ทั่วโลก มีกลุ่มเศรษฐกิจการค้ารวมตัวกันหลายกลุ่ม ทั้งยุโรป อเมริกา และเอเชีย ตลอดจนประเทศสังคมนิยมต่าง ๆ ก็มีการเปิดการค้าเสรีขึ้นหลายประเทศ ทำให้ประเทศไทยต้องปรับปรุงนโยบายโครงสร้างอัตราภาษี และแผนเศรษฐกิจการค้าให้มีลักษณะเป็นสากล เพื่อรองรับสถานการณ์โลก และเมื่อประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีกับนานาประเทศ ก็จำเป็นต้องดำเนินนโยบายเศรษฐกิจการคลัง เพื่อให้สอดคล้องกับพันธสัญญาที่ทำไว้ เช่น พันธะภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน พันธะภายใต้องค์การค้าโลก เป็นต้น

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ประจำปี 2534 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในบริเวณโรงงานยาสูบ ถนนรัชดาภิเษก นับเป็นการประชุมที่สำคัญและยิ่งใหญ่กว่าการประชุมใด ๆ ที่เคยจัดขึ้นในประเทศไทย ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนทางการจากรัฐบาลประเทศต่าง ๆ จำนวน 151 ประเทศ นำโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ/หรือผู้ว่าการธนาคารกลางผู้แทนจากธนาคารพาณิชย์ และสื่อมวลชนทั่วโลก รวมทั้งผู้สังเกตการณ์จากสถาบันการเงิน องค์การระหว่างประเทศ ผู้เข้าประชุมมีจำนวนประมาณ 10,000 คน การจัดประชุมครั้งนี้เป็นการสร้างชื่อเสียงและก่อประโยชน์แก่ประเทศโดยส่วนรวมในด้านต่าง ๆ เป็นอันมาก

ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2535 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยยกเลิกพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 และพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 ตามพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้ ให้มีคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่เรียกว่า "คณะกรรมการ ก.ล.ต." โดยมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายการส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจนกำกับดูแลในเรื่องหลักทรัพย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง องค์การที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ การออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ และการป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์

เมื่อประเทศไทยได้ร่วมกับสมาคมอาเซียนจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนโดยมีเป้าหมายหลักคือ การลดภาษีศุลกากรแก่สินค้าที่ขายระหว่างประเทศภาคีอาเซียนให้เหลือไม่เกินร้อยละ 5 รวมทั้งขจัดมาตรการกีดกันทางการค้าอื่นๆ ภายใน 15 ปี นับจากวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 กระทรวงการคลังก็ได้ประกาศลดอัตราศุลกากร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราอากรสินค้าอุตสาหกรรม ที่นำเข้าจากประเทศสมาชิกอาเซียนให้เหลือไม่เกินร้อยละ 30 นับจากวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการลดภาษีของไทย

ในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ . 2536 กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้คัดเลือกประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ดีในด้านการบริหารเงินทุนเข้าและออก เพราะในช่วงเวลาที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถจัดการใช้ประโยชน์จากเงินทุนต่างประเทศได้ดี

ในปี พ.ศ. 2554 สภาทองคำโลกได้รายงานว่าธนาคารแห่งประเทศไทยซื้อทองคำมากเป็นอันดับที่สามของโลก รองจาก เม็กซิโก และรัสเซีย ในช่วงระหว่าง เดือนมกราคม ถึง เดือนมีนาคม โดยธนาคารแห่งประเทศไทยทำการซื้อทองคำในเดือนมีนาคม เดือนเดียวถึง 9.4 ตันส่งผลให้อัตราทองคำที่เป็นอัตราทุนสำรองระหว่างประเทศสูงมากกว่า100ตันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ยอดรวมทองคำทั้งหมดอยู่ที่ 108.9 ตัน อนึ่งในปีพ.ศ. 2553 มีรายงานจากสภาทองคำโลกที่ได้รายงานผลการสำรวจประเทศที่ถือทองคำเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศเชิงปริมาณนับว่าประเทศไทยมีอัตราสะสมทุนสำรองระหว่างประเทศที่เป็นทองคำสูงเป็นอันดับที่ 33 จากทั่วโลกและอันดับสามจากประเทศในภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศสิงคโปร์ เท่านั้น โดยในปีพ.ศ. 2553 ประเทศไทยมีอัตราสะสมทองคำเชิงปริมาณที่ 99.5 ตันการสะสมทองคำในช่วงต้นปีพ.ศ. 2554ทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศที่เป็นทองคำอยู่ที่อัตรา 2.8% ของทุนสำรองระหว่างประเทศทั้งหมดอย่างไรก็ตามมีแนวโน้มว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะซื้อทองคำเพิ่มอีก เนื่องจากผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย นาย ประสาร ไตรรัตน์วรกุลได้ประกาศถึงนโยบายที่ต้องการเพิ่มอัตราทุนสำรองระหว่างประเทศที่เป็นทองคำให้ได้ถึง 3% ผลกระทบทางอ้อมของการสะสมทองคำของธนาคารแห่งประเทศไทยคือราคาทองคำในตลาดซื้อขายได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ราคาทองคำแท่ง ราคารับซื้อ 21900 บาท ราคาขาย 22000 บาท ราคาซื้อขายสูงกว่า 21900 บาทเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้แต่งตั้ง ดร.ฉิม ตันติยาสวัสดิกุลที่ปรึกษาผู้ว่าการ ด้านเทคโนโลยีข้อสนเทศและระบบการชำระเงิน ซึ่งเป็นระดับเทียบเท่ารองผู้ว่าการ ธปท.ซึ่งเป็นตำแหน่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน และ ดร.ดวงมณี วงศ์ประทีป ขึ้นเป็นที่ปรึกษาผู้ว่าการ ธปท.ด้านนโยบายต่างประเทศ เทียบเท่าระดับรองผู้ว่าการ ธปท. ซึ่งเป็นตำแหน่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน

ในปี พ.ศ. 2555 ได้เปิดศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินและให้ความรู้ทางการเงินกับประชาชนทั่วไปมิให้ถูกหลอกหลวงจากบุคคลที่ต้องการหลอกลวงทางอิเล็กทรอนิกส์ ทางเครื่องมือสื่อสารใด ๆ และได้จัดทำธนบัตร 50 บาท รูปแบบใหม่ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 อีกด้วย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301