ธงศาสนาคริสต์ หรือ ธงคริสเตียน (อังกฤษ: Christian Flag) เป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ถูกออกแบบในช่วงคริสศตวรรษที่ 20 และได้รับความนิยมมากที่สุดในกลุ่มของโบสถ์นิกายโปรเตสแตนต์ ในทวีปอเมริกา แอฟริกา และละตินอเมริกา โดยสีพื้นของธงเป็นสีขาว ประกอบด้วยสัญลักษณ์กางเขนละตินสีแดง บนกรอบสีน้ำเงินสีเหลี่ยม
โดยลักษณะทั่วไปของธงที่ประกอบด้วยสีขาว จะมีความเกี่ยวข้องกับข้อในคัมภีร์ไบเบิลของพระเยซู ซึ่งพระองค์สอนให้รู้จักสันติสุขและการยอมรับพระผู้เป็นเจ้ามาเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ขนาดของธงยังไม่มีข้อกำหนดขนาดอย่างเป็นทางการ
ธงคริสเตียนเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ.1897 ที่โบสถ์ไบรตัน รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย ชาลส์ โอเวอร์ตัน ผู้อำนวยการโรงเรียนซันเดย์ ได้นัดหมายให้นักเรียนในโรงเรียนมารวมตัวกัน เพื่อร่วมกันพูดคุยในหัวข้อ "ธงของศาสนาคริสต์ควรมีลักษณะอย่างไร" และได้ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่า ธงควรมีลักษณะอย่างไร สีเป็นอย่างไร และความหมายเป็นอย่างไร
ในปี ค.ศ.1907 ชาลส์ โอเวอร์ตัน และ ราล์ฟ ดีเฟนเดอร์เฟอร์ เลขานุการของกลุ่มมิชันนารีได้ออกมาเคลื่อนไหว เรื่องการออกแบบธงที่จะเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ และได้ร่วมกันส่งเสริมให้ธงคริสเตียนนี้เป็นธงประจำศาสนาคริสต์อีกด้วย
พื้นของธงเป็นสีขาว เป็นตัวแทนของความสงบสุขความบริสุทธิ์และความไร้เดียงสา ในมุมด้านในเป็นสี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสีของท้องฟ้าที่สดใส เป็นสัญลักษณ์ของสวรรค์บ้านของคริสเตียนที่แท้จริง เป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อและความไว้วางใจในพระเจ้า กางเขนละตินสีแดงที่อยู่ในสีเหลี่ยมของสีน้ำเงินแสดงถึงความเป็นคริสตชนตามแบบฉบับของชาวคริสต์ ซึ่งสื่อถึงการไถ่บาปของพระเยซูคริสต์ให้กับมนุษย์
องค์กรคริสเตียนทั่วโลกและสภาคริสตจักรแห่งชาติ ได้ประสบความสำเร็จในขณะนั้นโดยสภาคริสตจักรแห่งชาติได้ประกาศให้ประดับธงคริสเตียนพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 23 มกราคม ค.ศ.1942 นักเขียนเพลงที่มีชื่อเสียงได้ประพันธ์เพลงประกอบธงคริสเตียนในชื่อ "คริสเตียน แฟลก" และได้รับเกียรติในการเรียบเรียงจาก อาร์ฮันติงตัน วูดแมน ซึ่งธงคริสเตียนและเพลงคริสเตียนแฟลกนี้ไม่ได้มีการจดสิทธิบัตรแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นการร่วมมือกันในการสรรค์สร้างขึ้นมาในหมู่คริสตชน และเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน ค.ศ.1997 ที่ผ่านมา เป็นวันฉลองวันครบรอบ 100 ปี ธงคริสเตียน
ธงคริสเตียนได้รับการยอมรับเป็นครั้งแรกโดยนิกายโปรเตสแตนต์ ได้ประกาศใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1980 หลายสถาบันได้รณรงค์ให้จัดแสดงไว้ภายในโบสถ์ ในระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยธงคริสเตียนจะประดับพร้อมกับธงชาติสหรัฐอเมริกา ในคริสตจักรลูเทอแรน หลายคนที่มีภูมิลำเนาเดิมที่อาศัยอยู่ในเยอรมัน ต้องการจะแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากนั้นธงคริสเตียนได้แพร่หลายไปยังนอกทวีปอเมริกา กับมิชชันนารีนิกายโปรเตสแตนต์ เราสามารถเห็นธงคริสเตียนได้จากโบสถ์โปรเตสแตนต์ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในละตินอเมริกาและแอฟริกา และนิกายโรมันคาทอลิก ก็จะประดับธงคริสเตียนในพระราชพิธีศักดิ์สิทธ์ในเร็ว ๆ นี้
"เราสัญญาว่าจะจงรักภักดีต่อคริสต์ศาสนาและพระผู้ช่วยให้รอด ซึ่งราชอาณาจักรทั้งหลายต้องให้ความเคารพ พวกเราพี่น้องคริสเตียนและมวลมนุษยชาติจะเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และเราจะร่วมกันประกาศข่าวประเสริฐ"
ธงที่มีกางเขนประกอบทั้งหมดนี้ ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ เช่น ธงประจำชาติของฟินแลนด์ธงของหมู่เกาะแฟโร ธงประจำชาติของประเทศไอซ์แลนด์ธงประจำชาติของประเทศนอร์เวย์และประเทศสวีเดน ธงประกอบด้วยกางเขนคริสเตียนที่เป็นตัวแทนของศาสนาคริสต์
ธงยูเนียนแจ็ก หรือ ธงสหราชอาณาจักร เป็นธงที่หมายถึงสามนักบุญองค์อุปถัมภ์ องค์อุปถัมภ์อังกฤษแสดงเป็นกากบาทสีแดงของนักบุญจอร์จ องค์อุปถัมภ์ไอร์แลนด์แสดงเป็นกากบาทไขว้สีแดงของนักบุญแพทริก และองค์อุปถัมภ์สก็อตแลนค์แสดงเป็นกากบาทไขว้ของนักบุญอันดรูว์
นอกจากนี้ธงประจำชาติของกรีซ และธงประจำชาติของสวิตเซอร์แลนด์ มีกางเขนพระคริสต์เพื่อเป็นตัวแทนของความศรัทธา ธงของสาธารณรัฐโดมินิกัน แสดงให้เห็นถึงสามสี โดยที่กางเขนประกอบด้วยทรินิตีแสตน และ ลักษณะภาพบนธงประจำชาติของสโลวาเกียจะแสดงกางเขนลอแรนในตราอาร์ม ธงของสาธารณรัฐโดมินิกันแสดงให้เห็น พระคัมภีร์และกางเขน ธงประจำชาติของจอร์เจีย ธงประจำชาติมอลโดวา และ ธงประจำชาติของประเทศเซอร์เบียทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงการเป็นตัวแทนของกางเขนพระคริสต์ ธงประจำชาติของโปรตุเกสมีสัญลักษณ์คริสเตียนแบกห้าบาดแผลของพระคริสต์
ศาสนาคริสต์ในประเทศไทย มีการประกาศใช้ธง"กางเขน" โดยกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ธงมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีขาว กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน และบริเวณตรงกลางมีกางเขนสีแดง
ธงศาสนาคริสต์ที่ใช้ในประเทศไทยนี้เป็นธงอย่างง่าย ซึ่งปัจจุบันคริสตจักรและโบสถ์ ก็ได้ประดับธงศาสนาคริสต์นี้ไว้เป็นสัญลักษณ์