ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ธงชาติเวียดนาม

ธงชาติเวียดนาม ในปัจจุบันเป็นธงชาติของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีชื่อที่เรียกโดยทั่วไปอีกชื่อหนึ่งว่า "ธงแดงดาวเหลือง" เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ในฐานะธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (ประเทศเวียดนามเหนือ) และได้กลายเป็นธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 หลังสิ้นสุดสงครามเวียดนามและการรวมชาติระหว่างเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้

ลักษณะของธงชาติเวียดนามนั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ตรงกลางมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลืองทอง สีแดงนั้นหมายถึงการต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม สีเหลืองคือสีของชาวเวียดนาม ส่วนดาวห้าแฉกนั้น เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่างๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ. 2519 ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า สีแดงหมายถึงการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ และดาวสีทองหมายถึงการชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม

ก่อนหน้านี้ในช่วงปี พ.ศ. 2488 - 2498 ดาวสีเหลืองในธงชาติเวียดนามขณะนั้นมีขนาดที่โตกว่าที่ใช้ในธงแบบปัจจุบัน

ธงนี้ออกแบบครั้งแรกโดยเหวียนฮิ้วเทียน (เวียดนาม: Nguy?n H?u Ti?n) ซึ่งเป็นนักปฏิวัติคอมมิวนิสต์ที่เข้าร่วมการต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2483 การต่อต้านครั้งนั้นประสบความล้มเหลว เหวียนฮิ้วเทียนจึงถูกจับกุมตัวและถูกประหารชีวิตพร้อมกับผู้นำคนอื่นๆ ที่เข้าร่วมการต่อต้านครั้งนั้นด้วย

สีเหลืองนับเป็นสีของชาวเวียดนามมาแต่โบราณ ปรากฏหลักฐานครั้งแรกในประวัติศาสตร์เวียดนามโบราณว่า วีรสตรีตระกูลจึงสองพี่น้องได้ใช้ธงสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านการปกครองของจักรวรรดิจีนราชวงศ์ฮั่นใน พ.ศ. 593 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิซา ล็อง ทรงสถาปนาราชวงศ์เหวียนแล้ว ได้ทรงเลือกใช้ธงสีเหลืองดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์ของจักรวรรดิเวียดนาม ในช่วงปี พ.ศ. 2345 - พ.ศ. 2363

พ.ศ. 2433 สมเด็จพระจักรพรรดิถั่ญ ท้าย ได้มีพระราชโองการให้เปลี่ยนธงแบบเดิมที่มีอักษรจีน (จื๋อญอ) ประกอบในธงเป็นธงแบบใหม่ ซึ่งมีลักษณะเป็นธงสีเหลืองกลางมีแถบริ้วสีแดงสามริ้ว ธงนี้ได้ใช้ในฐานะธงชาติเวียดนามแบบแรกสุดอย่างเป็นทางการตั้งแต่ พ.ศ. 2433 - พ.ศ. 2463 และนับเป็นธงชาติของคนเวียดนามอย่างแท้จริงธงแรกเช่นกัน เพราะธงนี้ไม่ใช่เป็นแต่เพียงธงของจักรพรรดิดังในอดีตที่ผ่านมา แต่ยังเป็นธงที่สะท้อนถึงแรงบันดาลใจและความหวังของประชาชน ในความเป็นเอกราชและการรวมชาติเวียดนามให้เป็นหนึ่งเดียวอีกด้วย

ต่อมาในช่วง พ.ศ. 2459 - พ.ศ. 2468 ภายหลังจากการเนรเทศสมเด็จพระจักรพรรดิถั่ญ ท้าย และ สมเด็จพระจักรพรรดิซวี เติน ไปยังทวีปแอฟริกาโดยฝรั่งเศสแล้ว สมเด็จพระจักรพรรดิขาย ดิ่ญ ได้มีพระบรมราชโองการให้เปลี่ยนธงชาติใหม่ โดยยังคงเป็นธงพื้นสีเหลืองเช่นเดิม แต่แถบริ้วสีแดงแนวทั้ง 3 แถบได้เปลี่ยนเป็นแถบสีแดงเพียงหนึ่งเดียว แต่มีความกว้างเท่ากับแถบสีแดงทั้งสามแถบรวมกัน เพื่อสื่อความหมายถึงความเป็นเอกภาพของเวียดนามทั้งสามส่วน คือ เวียดนามเหนือ เวียดนามกลาง และเวียดนามใต้ ธงนี้มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ธงลองตินห์ (“Long Tinh”)

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการกู้ชาติเวียดมินห์ ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ ได้รวมรวมเอาดินแดนเวียดนามตอนเหนือและตอนกลางบางส่วน (มณฑลตังเกี๋ยและมณฑลอันนัม) ประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส และก่อตั้งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม หรือประเทศเวียดนามเหนือในปี พ.ศ. 2488 ส่วนดินแดนเวียดนามตอนกลางส่วนที่เหลือและเวียดนามใต้ (มณฑลโคชินจีน) ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของฝรั่งเศส และใช้ชื่อประเทศชื่อว่า รัฐเวียดนาม ในปี พ.ศ. 2489 (ต่อมาหลังการลงนามสนธิสัญญาเจนีวาในปี พ.ศ. 2498 จึงได้รับเอกราชและใช้ชื่อประเทศใหม่ว่า สาธารณรัฐเวียดนาม) ประเทศเวียดนามทั้งสองประเทศต่างมีธงชาติของตนเอง กล่าวคือ เวียดนามเหนือใช้ธงแดงดาวทองเป็นธงชาติ ส่วนเวียดนามใต้คงใช้ธงเหลืองสามริ้วแดงเป็นธงชาติของตนเองต่อไปจนสิ้นสุดสงครามเวียดนาม

หลังประเทศเวียดนามใต้ยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อขบวนการแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้ (หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "เวียดกง") ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 รัฐบาลชั่วคราวของเวียดนามใต้ได้ยกเลิกธงชาติแบบเดิม และหันมาใช้ธงของขบวนการเวียดกงเป็นธงชาติแทนอยู่ระยะหนึ่ง ธงนี้เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งครึ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน ครึ่งบนสีแดง ครึ่งล่างสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน กลางธงเป็นรูปดาวทอง 5 แฉก และได้ใช้มาจนเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้รวมชาติกันอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 รัฐบาลเวียดนามจึงประการใช้ธงชาติของเวียดนามเหนือเป็นธงชาติเวียดนามตราบจนทุกวันนี้


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406