ทุพภิกขภัย (อังกฤษ: famine) คือสภาวะของการขาดแคลนอาหารอย่างกว้างขวางซึ่งอาจใช้กับสภาวะที่เกิดในสัตว์ชนิดใดก็ได้ วิกฤติการณ์ดังกล่าวมักจะตามมาด้วยสภาวะทุพโภชนาการ, การอดอยาก, โรคระบาด และการเพิ่มจำนวนการเสียชีวิต
องค์ประกอบสำคัญในการบรรเทาสภาวะทุพภิกขภัยก็ได้แก่การแจกจ่ายสารอาหารรอง เช่นวิตามินและ แร่ธาตุจากซองอาหารบำบัดที่ประกอบด้วยสารเสริมอาหาร หรือให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยตรง ประเภทการบรรเทาสภาวะทุพภิกขภัยแบบหนึ่งการให้เงินหรือให้ตั๋วแก่ผู้ที่อดอยากเพื่อนำไปซื้อหรือแลกเปลี่ยนเป็นอาหารจากเกษตรกรท้องถิ่น แทนที่จะนำทุนไปซื้ออาหารจากประเทศผู้บริจาค กฎหมายมักต้องระบุ เพราะเป็นการเสียเงินค่าขนส่ง
การแก้ปัญหาความขาดแคลนระยะยาวก็ทำได้โดยลงทุนในการเกษตรกรรมแบบใหม่ในภูมิภาคที่ยังไม่มีระบบดังกล่าว เช่นการใช้ปุ๋ย และสร้างระบบการชลประทานอันวิธีสำคัญที่ใช้ในการกำจัดความหิวโหยในประเทศพัฒนาแล้ว แต่กฎของธนาคารโลกจำกัดการให้ทุนช่วยเหลือเกษตรกร และการใช้ปุ๋ยก็ได้รับการต่อต้านจากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางกลุ่มเพราะมีผลตามมาอย่างคาดไม่ถึง คือ ปริมาณน้ำและถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ลดลง
นิยามของทุพภิกขภัยบอกได้โดยใช้สามสิ่งเป็นเกณฑ์ มีทั้งที่ใช้อุปทานอาหารเป็นเกณฑ์ ที่ใช้การบริโภาคอาหารเป็นเกณฑ์ และที่ใช้อัตราการตายเป็นเกณฑ์ บางนิยามของทุกภิกขภัยมีดังนี้
การขาดแคลนอาหารในประชากรอาจเกิดขึ้นจากการขาดอาหารหรือความลำบากในการแจกจ่ายอาหาร หรือทุพภิกขภัยอาจทวีความเลวรายลงโดยความผันผวนของสภาพอากาศตามธรรมชาติและโดยสภาพทางการเมืองแบบสุดโต่งที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลอันปกครองอย่างกดขี่หรือการสงคราม หนึ่งในทุกภิกขภัยในประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดตามสัดสวน คือ ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ ซึ่งเริ่มใน ค.ศ. 1845 เพราะเกิดโรคระบาดในมันฝรั่งและเกิดขึ้นแม้แต่กับอาหารที่ถูกขนส่งจากไอร์แลนด์ไปยังอังกฤษ มีเพียงชาวอังกฤษเท่านั้นที่มีเงินซื้ออาหารที่ราคาสูงขึ้นได้ นักประวัติศาสตร์ล่าสุดได้ทบทวนการประเมินในหัวข้อที่ว่า ชาวอังกฤษสามารถดำเนินการควบคุมมากได้ในระดับใดในการลดทุพภิกขภัย จนพบว่า พวกเขาได้ช่วยเหลือมากกว่าที่เคยเข้าใจกันมา
คำอธิบายแบบเก่าเกี่ยวกับสาเหตุของทุพภิกขภัยจนถึง ค.ศ. 1981 นั้น เป็นข้อสันนิษฐานความเสื่อมถอยของการมีอาหาร (FAD) สมมติฐานคือว่า สาเหตุหลักอันเป็นศูนย์กลางของการเกิดทุพภิกขภัยทุกครั้งเป็นเพราะมีปริมาณอาหารลดลง อย่างไรก็ตาม ข้อสันนิษฐานนั้นไม่อาจอธิบายได้ว่า เหตุใดจึงมีเพียงประชากรบางส่วนเช่นแรงงานเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากทุพภิกขภัย ขณะที่กลุ่มอื่นกลับไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด
จากการศึกษาในทุพภิกขภัยล่าสุด ทำให้การมีบทบาทสำคัญของ FAD ได้ถูกตั้งคำถามนับแต่นั้น และได้มีการเสนอว่า กลไกสาเหตุของชนวนเหตุการขาดแคลนอาหารนั้นมีตัวแปรหลายตัวนอกเหนือไปจากการเสื่อมถอยของการมีอาหารเท่านั้น ตามมุมมองนี้ ทุพภิกขภัยเป็นผลมาจากการเข้าถึงทรัพยากร (entitlement) มีทฤษฎีได้รับการเสนอโดยใช้ชื่อ "ความล้มเหลวในการแลกเปลี่ยนการเข้าถึงทรัพยากร" หรือ FEE ซึ่งประชากรหนึ่งคนอาจมีสินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิดซึ่งสามารถนำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าโภคภัณฑ์อื่นที่ผู้นั้นต้องการได้ในเศรษฐกิจตลาด การแลกเปลี่ยนนี้สามารถเกิดขึ้นได้ผ่านการแลกเปลี่ยน หรือการผลิต หรือทั้งสอง การเข้าถึงทรัพยากรเหล่านี้เรียกว่า การเข้าถึงทรัพยากรอิงการแลกเปลี่ยนหรืออิงการผลิต ตามมุมมองที่ถูกเสนอนี้ ทุพภิกขภัยเกิดขึ้นเนื่องจากความล้มเหลวในความสามารถของบุคคลในการแลกเปลี่ยนการเข้าถึงทรัพยากรของผู้นั้น ตัวอย่างของทุพภิกขภัยตามทฤษฎี FEE คือ ความไร้ความสามารถของแรงงานเกษตรที่จะแลกเปลี่ยนการเข้าถึงทรัยากรพื้นฐาน นั่นคือ การแลกเปลี่ยนแรงงานกับข้าวเมื่อเขาถูกว่าจ้างนั้นกลายเป็นเอาแน่เอานอนไม่ได้หรือถูกขจัดไปอย่างสมบูรณ์
บางปัจจัยทำให้บางภูมิภาคมีโอกาสเสี่ยงเกิดทุพภิกขภัยง่ายกว่าภูมิอาคอื่น ปัจจัยเหล่านี้รวมถึง
ในบางกรณี อาทิ การก้าวกระโดดไปข้างหน้าในจีน (ซึ่งก่อให้เกิดทุพภิกขภัยที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์), เกาหลีเหนือในกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 หรือซิมบับเว ทุพภิกขภัยสามารถเกิดขึ้นได้อันเป็นผลมาจากนโยบายรัฐบาลโดยไม่ได้ตั้งใจ มาลาวียุติทุพภิกขภัยในประเทศได้โดยสงเคราะห์เงินอุดหนุนเกษตรกรโดยขัดจำกัดของธนาคารโลก ระหว่างทุพภิกขภัยในเอธิโอเปีย ค.ศ. 1973 อาหารถูกขนย้ายจากวอลโลไปยังเมืองหลวง แอดดิสอาบาบา ที่ซึ่งอาหารที่ขายที่นั่นสามารถขายได้ในราคาสูงกว่า ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 พลเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการในเอธิโอเปียและซูดานประสบกับทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ แต่รัฐที่เป็นประชาธิปไตยอย่างบอตสวานาและซิมบับเวกลับไม่ได้รับผลกระทบ แม้ว่าทั้งสี่ประเทศจะประสบมีปริมาณการผลิตผลิตอาหารระดับชาติลดลงอย่างรุนแรงก็ตาม ในโซมาเลีย เกิดทุพภิกขภัยขึ้นเพราะเป็นรัฐที่ล้มเหลว
ทุพภิกขภัยหลายครั้งเกิดจากความไม่สมดุลกันระหว่างปริมาณการผลิตอาหารเปรียบเทียบกับขนาดประชากรของประเทศซึ่งมีประชากรเกินกว่าที่ประเทศนั้นจะสามารถรองรับได้ ในอดีต ทุพภิกขภัยเกิดขึ้นจากปัญหาทางเกษตรกรรม เช่น ภัยแล้ง การเก็บเกี่ยวล้มเหลว หรือโรคระบาด การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบสภาพอากาศ ความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลในยุคกลางในการรับมือกับวิกฤตการณ์ สงครามและโรคติดต่อระบาดทั่ว อย่างเช่น การระบาดของกาฬโรคในทวีปยุโรป เป็นเหตุให้เกิดทุพภิกขภัยนับหลายร้อนครั้งในยุโรปในยุคกลาง รวมทั้ง 95 ครั้งในอังกฤษ และ 75 ครั้งในฝรั่งเศส ในฝรั่งเศส สงครามร้อยปี การเก็บเกี่ยวที่ไม่ได้ผลและโรคระบาดทั่วลดประชากรลงถึงสองในสาม
ทุพภิกขภัยมักเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมเพื่อยังชีพ การขาดการทำเกษตรกรรมในพื้นที่ที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งไม่ได้ก่อให้เกิดทุพภิกขภัย เช่น รัฐแอริโซนาและพื้นที่ที่มั่งคั่งอื่น ๆ ได้นำเข้าอาหารส่วนใหญ่เข้ามา เพราะพื้นที่เหล่านี้สามารถผลิตสินค้าทางเศรษฐกิจมากพอจะแลกเปลี่ยนได้
ทุพภิกขภัยยังอาจเกิดจากภูเขาไฟระเบิดก็ได้ การระเบิดของภูเขาไฟแทมโบราใน ค.ศ. 1815 ในอินโดนีเซีย ทำให้การเก็บเกี่ยวไม่ได้ผลละทุพภิกขภัยทั่วโลกและทำให้เกิดทุพภิกขภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ดูเพิ่มที่ ปีไร้ฤดูร้อน) มติปัจจุบันของประชาคมวิทยาศาสตร์คือ ละอองลอยและฝุ่นที่ปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศข้างบนทำให้อุณหภูมิโลกเย็นลงโดยป้องกันพลังงานจากดวงอาทิตย์มิให้ลงมาถึงพื้นดิน กลไกเดียวกันยังถูกใช้อธิบายว่าเกิดขึ้นหลังอุกกาบาตขนาดมโหฬารพุ่งชนโลกและทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิต
หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนรายงานว่า ใน ค.ศ. 2007 พื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 40% ของโลกด้อยคุณภาพลงอย่างรุนแรง หากแนวโน้มการเสื่อมโทรมของดินดำเนินต่อไปในแอฟริกา ก็อาจเป็นไปได้ว่าแอฟริกาจะสามารถผลิตอาหารเลี้ยงประชากรทวีปได้เพียง 25% เมื่อถึง ค.ศ. 2025 ตามข้อมูลของสถาบันทรัพยากรฑรรมชาติในแอฟริกา โดยมหาวิทยาลัยสหประชาชาติที่ตั้งอยู่ในกานา ถึงปลาย ค.ศ. 2007 ผลผลิตการเกษตรได้ถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพมากขึ้น ขณะที่ราคาน้ำมันโลกอยู่ที่เกือบ 100 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ได้ผลักดันให้ราคาธัญพืชพืชที่ใช้เลี้ยงสัตว์ปีกและวัวนมและปศุสัตว์อื่นมีราคาสูงขึ้น ทำให้ราคาข้าวสาลี ถั่วเหลืองและข้าวโพดเพิ่มสูงขึ้นในปีนั้น ใน ค.ศ. 2007 เกิดการประท้วงเนื่องจากราคาอาหารแพงในหลายประเทศทั่วโลก การระบาดของโรคราสนิม ซึ่งเป็นการทำลายต้นข้าวสาลี ได้แพร่ระบาดไปทั่วแอฟริกาและเอเชียในปีนั้น
เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 ปุ๋ยไนโตรเจน สารกำจัดศัตรูพืชแบบใหม่ การเกษตรทะเลทราย และเทคโนโลยีการเกษตรอื่น ๆ ได้เริ่มต้นนำมาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตอาหาร ซึ่งบางส่วนใช้รับมือกับทุพภิกขภัย ระหว่าง ค.ศ. 1950 และ 1984 เมื่อการปฏิวัติสีเขียวได้มีอิทธิพลเกษตร ทำให้ปริมาณการผลิตธัญพืชทั่วโลกเพิ่มขึ้น 250% แต่สัดส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนมากเป็นการเพิ่มที่ไม่ยั่งยืน เทคโนโลยีการเกษตรเหล่านี้เพิ่มอัตราผลผลิตธัญพืชมากขึ้นชั่วคราว แต่เมื่อถึง ค.ศ. 1995 มีสัญญาณว่าเทคโนโลยีเหล่านี้อาจมีส่วนทำให้พื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูกลดลง ประเทศพัฒนาแล้วได้แบ่งปันเทคโนโลยีเหล่านี้กับประเทศกำลังพัฒนาที่ประสบปัญหาทุพภิกขภัย แต่มีข้อจำกัดตามหลักจรรยาในการผลักดันให้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในประเทศด้อยพัฒนา
เดวิด ไพเมนเทิล ศาสตราจารย์ประจำภาควิชานิเวศวิทยาและเกษตรกรรมที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ นักวิจัยอาวุโสที่สถาบันวิจัยอาหารและสารอาหารแห่งชาติ (INRAN) ระบุในการศึกษา "อาหาร ที่ดิน ประชากรและเศรษฐกิจสหรัฐ" ว่า ประชากรสหรัฐอเมริกาสูงสุดที่เหมาะสำหรับเศรษฐกิจแบบยังชีพอยู่ที่ 200 ล้านคน เพื่อบรรลุเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเองและหลีกเลี่ยงภัยพิบัติ สหรัฐอเมริกาจะต้องลดจำนวนประชากรลงอย่างน้อยหนึ่งในสนาม และประชากรโลกจะต้องลดลงสองในสาม ผู้จัดทำการศึกษานี้เชื่อว่า วิกฤตการเกษตรที่กล่าวถึงนี้เพิ่งจะเริ่มมีผลกระทบต่อมนุษย์หลัง ค.ศ. 2020 และจะเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อถึง ค.ศ. 2050 ปริมาณผลิตน้ำมันสูงสุดทั่วโลกที่กำลังจะถึงนี้ เช่นเดียวกับปริมาณการผลิตแก๊สธรรรมชาติอเมริกาเหนือสูงสุดจะมีผลต่อวิกฤตการเกษตรเร็วกว่าที่เคยคาดกันไว้มาก
นักธรณีวิทยา เดล แอลเลน ไฟเฟอร์ อ้างว่า ในทศวรรษที่กำลังจะถึงนี้อาจเห็นราคาอาหารผันแปรโดยปราศจากการบรรเทาและการขาดแคลนอาหารครั้งใหญ่ในระดับโลกอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การขาดดุลน้ำ ซึ่งได้กระตุ้นการนำเข้าธัญพืชอย่างหนักในหลายประเทศขนาดเล็ก อาจเกิดขึ้นอย่างเดียวกันกับประเทศขนาดใหญ่ขึ้น อย่างเช่น จีนหรืออินเดีย ระดับพื้นผิวของน้ำบาดาลกำลังลดลงในหลายประเทศ รวมทั้งทางเหนือของจีน สหรัฐอเมริกา และอินเดีย เนื่องจากการสูบน้ำขึ้นมาใช้อย่างแพร่หลายโดยใช้เครื่องสูบน้ำดีเซลและไฟฟ้า ประเทศอื่นที่ได้รับผลกระทบรวมไปถึงปากีสถาน อิหร่านและเม็กซิโก ซึ่งในที่สุดจะนำไปสู่การขาดแคลนน้ำและการลดปริมาณเก็บเกี่ยวธัญพืช แม้จะมีการสูบน้ำในชั้นหินอุ้มน้ำขึ้นมาใช้อย่างมาก จีนยังได้ปรากฏว่าขาดดุลธัญพืช ซึ่งส่งผลให้แรงกดดันราคาธัญพืชเพิ่มขึ้น คาดกันว่าประชากรโลกสามพันล้านคนที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อถึงกลางศตวรรษนี้นั้น ส่วนใหญ่จะเกิดนั้นประเทศที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอยู่ก่อนแล้ว
ตามหลังจีนและอินเดีย ยังมีประเทศขนาดเล็กแถวสองที่มีการขาดดุลน้ำอย่างมากเช่นกัน ได้แก่ อัลจีเรีย อียิปต์ อิหร่าน เม็กซิโกและปากีสถาน สี่ประเทศในจำนวนนี้ได้นำเข้าธัญพืชคิดเป็นสัดส่วนมาก มีเพียงปากีสถานเท่านั้นที่ยังพึ่งพาตนเองในขอบเขต แต่ด้วยประชากรที่เพิ่มขึ้นในอัตรา 4 ล้านคนต่อปี อีกไม่นานปากีสถานก็จะต้องหันไปพึ่งธัญพืชจากตลาดโลกเช่นกัน ตามรายงานภูมิอากาศของสหประชาชาติ ธารน้ำแข็งหิมาลัยซึ่งเป็นแหล่งน้ำในฤดูแล้งที่สำคัญของแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดในเอเชีย แม่น้ำคงคา แม่น้ำสินธุ แม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำแยงซี แม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวินและแม่น้ำเหลือง อาจหายไปเมื่อถึง ค.ศ. 2035 เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นและความต้องการของมนุษย์เพิ่มขึ้น ในภายหลังได้มีการเปิดเผยว่า แหล่งข้อมูลที่ใช้โดยรายงานภูมิอากาศของสหประชาชาติอ้างตัวเลข ค.ศ. 2350 มิใช่ ค.ศ. 2035 มีประชากรอย่างน้อย 2.4 พันล้านคนอาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มระบายน้ำของแม่น้ำที่มีต้นน้ำอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย อินเดีย จีน ปากีสถาน อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ เนปาล และพม่าอาจประสบอุทกภัยที่เกิดหลังภัยแล้งอย่างรุนแรงในทศวรรษที่จะถึงนี้ เฉพาะในอินเดียประเทศเดียว แม่น้ำคงคาเป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคและเกษตรกรรมแก่ประชากรมากกว่า 500 ล้านคนแล้ว
ทุพภิกขภัยที่เกิดขึ้นในประเทศซับซะฮารามีความร้ายแรงที่สุด แต่ด้วยการหมดไปของทรัพยากรอาหาร การสูบน้ำบาดาลมาใช้เกินขนาด สงคราม ความขัดแย้งภายในและความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ ทำให้ทุพภิกขภัยยังคงเป็นปัญหาระดับโลกที่มีผู้ประสบภัยหลายร้อยล้านคน ทุพภิกขภัยเหล่านี้ทำให้เกิดทุพโภชนาการและความยากจนอย่างกว้างขวาง ทุพภิกขภัยในเอธิโอเปียในคริสต์ทศรรรษ 1980 มียอดผู้เสียชีวิตจำนวนมาก แม้ว่าทุพภิกขภัยในเอเชียในคริสต์ศตวรรษที่ 20 จะมีผู้เสียชีวิตอย่างกว้างขวางเช่นเดียวกัน ทุพภิกขภัยที่เกิดขึ้นในแอฟริกาสมัยใหม่มีลักษณะของความอดอยากและทุพโภชนาการเป็นบริเวณกว้าง โดยมีอัตราการตายสูงจำกัดเฉพาะในเด็กเล็ก
เทคโนโลยีบรรเทาทุกข์ รวมไปถึงการก่อภูมิคุ้มกัน การพัฒนาสาธารณูโภคสาธารณสุข การปันส่วนอาหารทั่วไปและการให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแก่เด็กที่อ่อนแอ เป็นการลดอัตราการเสียชีวิตอันเป็นผลกระทบมาจากทุพภิกขภัยได้ชั่วคราว ขณะที่ทำให้ผลกระทบทางเศรษฐกิจไม่มีความเปลี่ยนแปลง และไม่ได้แก้ปัญหาสำคัญที่มีประชากรขนาดใหญ่เกินไปเมื่อเทียบกับขีดความสามารถการผลิตอาหารในภูมิภาค วิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมยังอาจเกิดขึ้นจากพันธุฆาต สงครามกลางเมือง การอพยพของผู้ลี้ภัย และเหตุการณ์ความรุนแรงและการล่มสลายของรัฐ นำมาซึ่งทุพภิกขภัยในบรรดาประชากรที่ได้รับผลกระทบ
ทุพภิกขภัยยังคงเป็นภัยคุกคามเรื้อรังในแอฟริกาและเอเชียส่วนมาก ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2005 เครือข่ายระบบเตือนภัยทุพภิกขภัยล่วงหน้าระบุว่า ไนเจอร์มีสถานะฉุกเฉิน เช่นเดียวกับชาด เอธิโอเปีย เซาท์ซูดาน โซมาเลียและซิมบับเว ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2006 องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติเตือนว่า ประชาชน 11 ล้านคนในโซมาเลีย เคนยา จิบูตี และเอธิโอเปียอยู่ในความเสี่ยงขาดแคลนอาหาร ด้วยเหตุจากภัยแล้งและความขัดแย้งทางทหารที่รุนแรงประกอบกัน ใน ค.ศ. 2006 วิกฤตการณ์ทางมนุษยธรรมที่ร้ายแรงที่สุดในแอฟริกาเกิดขึ้นในแคว้นดาร์ฟูร์ของซูดาน
บางคนเชื่อว่าการปฏิวัติสีเขียวเป็นคำตอบสำหรับทุพภิกขภัยในคริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980 การปฏิวัติสีเขียวเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ด้วยสายพันธุ์ลูกผสมของพืชผลที่ให้ผลผลิตสูง ระหว่าง ค.ศ. 1950 และ 1984 เมื่อการปฏิวัติสีเขียวได้เปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมทั่วโลก ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น 250% บางคนวิพากษ์วิจารณ์กระบวนการดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า พืชให้ผลผลิตสูงนี้ต้องใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชมากขึ้น ซึ่งอาจทำลายสิ่งแวดล้อมได้ อย่างไรก็ตาม นี่เป็นทางเลือกสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ประสบทุพภิกขภัย พืชให้ผลผลิตสูงนี้ทำให้เป็นไปได้ที่จะเลี้ยงคนได้เพิ่มขึ้น แต่มีตัวบ่งชี้หลายตัวที่ชี้ว่าผลผลิตอาหารภูมิภาคได้ถึงจุดสูงสุดแล้วในหลายส่วนของโลก เพราะยุทธศาสตร์บางอย่างที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมแบบประณีต อย่างเช่น การสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้เกินและการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและสารเคมีการเกษตรอื่น ๆ มากเกิน
หมายเหตุว่า ทุพภิกขภัยสมัยใหม่บางครั้งเกิดขึ้นจากนโยบายทางเศรษฐกิจที่ผิดพลาด การออกแบบทางการเมืองเพื่อเพิ่มความยากจนหรือลดความสำคัญของประชากรบางกลุ่มโดยเฉพาะ หรือสงคราม นักเศรษฐศาสตร์การเมืองได้หาข้อเท็จจริงในสภาพการเมืองที่มีการป้องกันทุพภิกขภัย
ผลกระทบด้านลักษณะประชากรของทุพภิกขภัยนั้นรุนแรงมาก การเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเด็กและผู้สูงอายุ ข้อเท็จจริงทางลักษณะประชากรที่สอดคล้องกัน คือ ในทุพภิกขภัยทุกครั้งที่มีการบันทึก อัตราการเสียชีวิตของชายจะสูงกว่าของหญิง เหตุผลสำหรับข้อเท็จจริงดังกล่าวอาจรวมถึงความเข้มแข็งของหญิงที่มากกว่าภายใต้ความกดดันของทุพโภชนาการ และอาจเป็นธรรมชาติของหญิงที่มีไขมันร่างกายคิดเป็นเปอร์เซ็นต์สูงกว่าชาย ทุพภิกขภัยยังทำให้อัตราการเกิดลดต่ำลงด้วย ดังนั้น ทุพภิกขภัยจึงเหลือไว้แต่ประชากรวัยเจริญพันธุ์ หรือก็คือ หญิงผู้ใหญ่ ได้รับผลกระทบน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรกลุ่มอื่น และช่วงหลังทุพภิกขภัยมักมีลักษณะอัตราการเกิดเพิ่มกลับขึ้นมาอีก ทุพภิกขภัยรุนแรงส่วนมากน้อยครั้งที่ลดอัตราการเกิดของประชากรเกินกว่าไม่กี่ปี อัตราการเสียชีวิตที่สูงถูกชดเชยด้วยประชากรที่เพิ่มขึ้นในเวลาไม่กี่ปี หากแต่ผลกระทบด้านลักษณะประชากรระยะยาวที่ใหญ่กว่า คือ การอพยพ อาทิ ไอร์แลนด์มีประชากรลดลงอย่างสำคัญหลังทุพภิกขภัยในคริสต์ทศวรรษ 1840 เพราะมีการอพยพออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก
ในสมัยใหม่ รัฐบาลท้องถิ่นและการเมือง ตลอดจนองค์การพัฒนาเอกชน (NGO) ซึ่งให้ความช่วยเหลือทุพภิกขภัยมีทรัพยากรจำกัดที่จะส่งไปให้แก่สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารหลายแห่งที่เกิดขึ้นพร้อมกัน วิธีทั้งหลายในการจัดประเภทการเปลี่ยนแปลงความมั่นคงทางอาหารจึงได้ถูกใช้เพื่อจัดสรรความช่วยเหลือด้านอาหารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด หนึ่งในความพยายามแรกสุดคือ รหัสทุพภิกขภัยอินเดีย ที่คิดค้นขึ้นโดยอังกฤษในคริสต์ทศวรรษ 1880 รหัสแบ่งระดับความไม่มั่นคงทางอาหารออกเป็นสามระดับ ได้แก่ ใกล้ขาดแคลน, ขาดแคลนและทุพภิกขภัย และมีอิทธิพลอย่างสูงในการสร้างระบบเตือนภัยหรือวัดทุพภิกขภัยในเวลาต่อมา ระบบเตือนภัยล่วงหน้าถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจับตาภูมิภาคที่ชาวเทอร์คานา (Turkana) อยู่อาศัยทางเหนือของเคนยามีสามระดับเช่นกัน แต่เชื่อมโยงแต่ละระดับเข้ากับการตอบสนองก่อนวางแผนเพื่อบรรเทาวิกฤตการณ์และป้องกันมิให้เลวร้ายลง
ประสบการณ์ขององค์กรบรรเทาทุพภิกขภัยทั่วโลกในคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 ทำให้มีการพัฒนาสำคัญอย่างน้อยสองประการ คือ "แนวทางการดำรงชีพ" (livelihoods approach) และการเพิ่มตัวบ่งชี้ด้านโภชนาการเพื่อพิจารณาความรุนแรงของวิกฤตการณ์ ปัจเจกและกลุ่มในสถานการณ์ตึงเครียดด้านอาหารรจพยายามรับมือปัญหาโดยปันส่วนการบริโภค หาทางเลือกเพื่อเพิ่มรายได้เสริม เป็นต้น ก่อนจะดำเนินมาตรการสิ้นหวัง เช่น ขายพื้นที่ทำการเกษตร และเมื่อหนทางพึ่งพาตนเองทั้งหลายหมดไปแล้ว ประชากรที่ได้รับผลกระทบจะเริ่มต้นอพยพเพื่อมองหาอาหารหรือไม่ก็ตกเป็นเหยื่อของการขาดแคลนอาหารหมู่ทันที ทุพภิกขภัยอาจถูกมองบางส่วนว่าเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม ซึ่งเกี่ยวข้องกับตลาด ราคาอาหารและโครงสร้างสนับสนุนสังคม บทเรียนที่สองที่ถูกร่างขึ้นคือ การเพิ่มการประเมินโภชนาการอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเด็ก เพื่อให้วัดความรุนแรงของทุพภิกขภัยในเชิงปริมาณ
นับตั้งแต่ ค.ศ. 2004 องค์กรบรรเทาทุพภิกขภัยที่สำคัญที่สุดจำนวนมาก อย่างเช่น โครงการอาหารโลกและองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ใช้มาตรวัดห้าระดับซึ่งวัดความรุนแรงและขนาด ระดับความรุนแรงใช้ทั้งแนวทางการดำรงชีพ และการวัดอัตราการเสียชีวิตและทุพโภชนาการเด็กเพื่อแบ่งประเภทสถานการณ์เป็น มั่นคงทางอาหาร, ไม่มั่นคงทางอาหาร, วิกฤตการณ์อาหาร, ทุพภิกขภัย, ทุพภิกขภัยรุนแรง และทุพภิกขภัยยิ่งยวด จำนวนผู้เสียชีวิตกำหนดการเรียกขานขนาด โดยที่มีผู้เสียชีวิตต่ำกว่า 1,000 คน เรียกว่า "ทุพภิกขภัยเล็กน้อย" และ "ทุพภิกขภัยขั้นหายนะ" มีผู้เสียชีวิตเกินกว่า 1,000,000 คน
ความพยายามจะนำเทคนิคเกษตรกรรมสมัยใหม่มาใช้พบในโลกตะวันตก อย่างเช่น ปุ๋ยไนโตรเจนและสารกำจัดศัตรูพืช ไปจนถึงเอเชีย เรียกว่า การปฏิวัติสีเขียว ทำให้ลดภาวะทุพโภชนาการลงค้ลายกับที่พบก่อนหน้านี้ในชาติตะวันตก ซึ่งเป็นไปได้เพราะสาธารูปโภคและสถาบันที่มีอยู่แล้วขาดแคลนในแอฟริกา อย่างเช่น เครือข่ายถนนและบริษัทเมล็ดพันธุ์มหาชน ที่สามารถจัดหาเมล็ดพันธุ์ไปปลูกได้ การสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่ไม่มีความมั่นคงด้านอาหาร ผ่านมาตรการเช่น การให้ปุ๋ยและเมล็ดพันธุ์ฟรีหรือสงเคราะห์ ช่วยเพิ่มผลผลิตอาหารและลดราคาอาหาร
ธนาคารโลกและประเทศร่ำรวยบางประเทศกดดันชาติที่พึ่งพาความช่วยเหลือจากพวกตนให้ตัดทอนหรือกำจัดปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่ได้รับการอนุเคราะห์ อย่างเช่น ปุ๋ย เพื่อการเพิ่มบทบาทของเอกชน แม้สหรัฐอเมริกาและยุโรปจะให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรของตนอย่างกว้างขวางก็ตาม ชาวนาจำนวนมากยากจนเกินกว่าจะซื้อปุ๋ยตามราคาตลาดได้ ตัวอย่างเช่น ในกรณีของมาลาวี ประชากรเกือบห้าล้านคนจากทั้งหมด 13 ล้านคนเคยต้องการความช่วยเหลือด้านอาหารอย่างฉุกเฉิน อย่าไงรก็ตาม หลังรัฐบาลเปลี่ยนนโยบายและริเริ่มการจัดหาปุ๋ยและเมล็ดพันธุ์แก่เกษตรกร เกษตรกรก็สามารถทำผลผลิตข้าวโพดทำลายสถิติใน ค.ศ. 2006 และ 2007 โดยผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 3.4 ล้านตันใน ค.ศ. 2007 จาก 1.2 ล้านตันใน ค.ศ. 2005 นี่ลดราคาอาหารและเพิ่มค่าจ้างของผู้ทำงานในไร่นา มาลาวีกลายมาเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ และขายข้าวโพดให้แก่โครงการอาหารโลกและสหประชาชาติมากกว่าประเทศอื่นใดในแอฟริกาใต้ ผู้เสนอความช่วยเหลือแก่เกษตรกรรวมไปถึงเจฟฟรี แซ็คส์ ผู้เป็นตัวแทนของแนวคิดที่ว่า ประเทศร่ำรวยควรลงทุนซื้อปุ๋ยและเมล็ดพันธุ์ให้แก่เกษตรกรแอฟริกา
ภาวะขาดสารอาหารรองสามารถแก้ไขได้โดยให้สารเสริมอาหาร สารเสริมอาหาร อย่างเช่น เนยถั่วและสไปรูไลนา ได้ปฏิวัติการให้อาหารฉุกเฉินในวิกฤตการณ์ทางมนุษยธรรม เพราะมันสามารถรับประทานได้ทันทีจากห่อบรรจุ และไม่จำเป็นต้องใช้ตู้เย็นหรือผสมกับน้ำสะอาดที่มีน้อยอยู่แล้ว สามารถเก็บได้หลายปี และที่สำคัญคือ ร่างกายของเด็กที่ป่วยหนักยังสามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้ การประชุมอาหารโลกของสหประชาชาติ ค.ศ. 1974 ประกาศว่าสไปรูไลนาเป็น "อาหารที่ดีที่สุดสำหรับอนาคต" และความพร้อมที่จะถูกเก็บเกี่ยวได้ทุก 24 ชั่วโมง ทำให้มันเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำจัดทุพโภชนาการ นอกจากนั้น ยังมีการให้อาหารเสริม อย่างเช่น แคปซูลวิตามินเอหรือเม็ดสังกะสีในการรักษาอาการท้องร่วง
กลุ่มช่วยเหลือตระหนักมากขึ้นว่าการให้เงินสดหรือคูปองเงินสดแทนที่จะเป็นอาหารนั้นถูกกว่า รวดเร็วกว่าและเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพกว่าในการส่งความช่วยเหลือแก่ผู้หิวโหย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีอาหารแต่ราคาแพง โครงการอาหารโลกของสหประชาชาติ ผู้แจกจ่ายอาหารที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐที่ใหญ่ที่สุด ประกาศว่าจะเริ่มแจกจ่ายเงินสดและคูปองแทนที่อาหารในบางพื้นที่ ซึ่งประธานกรรมการบริหารของโครงการอธิบายว่าเป็น "การปฏิวัติ" ในการช่วยเหลือด้านอาหาร องค์การช่วยเหลือ คอนเซิร์นเวิลด์ไวด์ กำลังนำร่องวิธีการดังกล่าวผ่านผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซาฟารีคอม ซึ่งดำเนินการโครงการขนย้ายเงินซึ่งทำให้เงินถูกส่งจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งภายในประเทศได้
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ประสบภัยแล้งที่อยู่ห่างไกลและเดินทางไปยังตลาดได้ลำบาก การจัดส่งอาหารยังคงเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการช่วยเหลือ เฟรด คูนี กล่าวว่า "โอกาสช่วยชีวิตในระยะเริ่มต้นของปฏิบัติการบรรเทาทุกข์ลดลงอย่างมากเมื่ออาหารถูกนำเข้ามาแล้ว และเมื่อมันมาถึงประเทศและถึงมือประชาชน ป่านนั้นคนจำนวนมากก็ตายไปแล้ว" กฎหมายสหรัฐ ซึ่งกำหนดให้ต้องซื้ออาหารในประเทศแทนที่จะเป็นที่ซึ่งผู้หิวโหยอาศัยอยู่ ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะค่าใช้จ่ายเกือบครึ่งเป็นค่าขนส่งอาหารเหล่านี้ เขายังชี้ต่อไปว่า "การศึกษาทุพภิกขภัยครั้งหลังทุกครั้งได้แสดงให้เห็นว่า ในประเทศที่เกิดยังมีอาหารอยู่ แม้ว่าจะไม่ใช่ทุกครั้งที่มีการขาดแคลนอาหาร" และ "ถึงแม้ว่ามาตรฐานราคาท้องถิ่นจะสูงเกินกว่าที่คนยากจนจะซื้อได้ แต่โดยทั่วไปแล้ว การซื้ออาหารกักตุนที่ราคาเงินเฟ้อจะถูกกว่าสำหรับผู้ให้บริจาคกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศ"
เอธิโอเปียนำร่องโครงการซึ่งปัจจุบันเป็นตำรับแนะนำของธนาคารโลกเพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์อาหารและถูกมองโดยองค์กรช่วยเหลืออื่น ๆ ว่าเป็นแม่แบบสำหรับวิธีการช่วยเหลือประเทศที่หิวโหยที่ดีที่สุด ผ่านโครงการสนับสนุนอาหารหลักของประเทศ โครงการเครือข่ายความปลอดภัยผลิตภาพ เอธิโอเปียได้ให้โอกาสแก่ผู้อยู่อาศัยในชนบท ผู้ขาดแคลนอาหารเรื้อรัง ทำงานแลกกับอาหารหรือเงินสด องค์กรช่วยเหลือต่างประเทศ อย่างโครงการอาหารโลก จากนั้นสามารถซื้ออาหารจากท้องถิ่นในพื้นที่ที่มีอาหารสมบูรณ์แจกจ่ายไปยังพื้นที่ขาดแคลนอาหาร