ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ที่อยู่ไอพี

เลขที่อยู่ไอพี (อังกฤษ: IP address: Internet Protocol address) หรือชื่ออื่นเช่น ที่อยู่ไอพี, หมายเลขไอพี, เลขไอพี, ไอพีแอดเดรส คือฉลากหมายเลขที่กำหนดให้แก่อุปกรณ์แต่ละชนิด (เช่นคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์) ที่มีส่วนร่วมอยู่ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตโพรโทคอลในการสื่อสาร เลขที่อยู่ไอพีทำหน้าที่สำคัญสองอย่างได้แก่ การระบุแม่ข่ายหรือส่วนต่อประสานเครือข่าย และการกำหนดที่อยู่ให้ตำแหน่งที่ตั้ง บทบาทของมันได้บรรยายไว้ว่า "ชื่อใช้แสดงว่าเราค้นหาอะไร ที่อยู่ใช้แสดงว่ามันอยู่ที่ไหน เส้นทางใช้แสดงว่าจะไปที่นั่นอย่างไร"

แต่เดิมผู้ออกแบบอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล ได้กำหนดเลขที่อยู่ไอพีให้เป็นตัวเลข 32 บิตค่าหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 (IPv4) และระบบนี้ยังคงมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเติบโตขึ้นอย่างมหาศาล และมีการคาดการณ์ว่าเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 จะถูกใช้หมดไป เลขที่อยู่ไอพีรุ่นใหม่จึงได้พัฒนาขึ้นใน ค.ศ. 1995 คือเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6 (IPv6) ซึ่งใช้ตัวเลข 128 บิตกำหนดที่อยู่ และได้ทำให้เป็นมาตรฐานใน อาร์เอฟซี 2460 เมื่อ ค.ศ. 1998 ส่วนการนำมาใช้จริงนั้นเริ่มตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 2000

เลขที่อยู่ไอพีเป็นเลขฐานสอง แต่ก็มักจะแสดงผลและเก็บบันทึกในไฟล์ข้อความด้วยสัญกรณ์ที่มนุษย์สามารถอ่านได้ ตัวอย่างเช่น 172.16.254.1 (รุ่น 4) และ 2001:db8:0:1234:0:567:8:1 (รุ่น 6) เป็นต้น

องค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IANA) เป็นผู้ดำเนินการจัดสรรปริภูมิเลขที่อยู่ไอพีทั่วโลก และมอบอำนาจให้หน่วยงานทะเบียนอินเทอร์เน็ตประจำภูมิภาค (RIR) ทั้ง 5 เขต ทำหน้าที่จัดสรรกลุ่มเลขที่อยู่ไอพีสำหรับหน่วยงานทะเบียนอินเทอร์เน็ตส่วนท้องถิ่น (ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) และหน่วยงานอื่น ๆ

รุ่นของอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล (Internet Protocol: IP) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีสองรุ่นคือ อินเทอร์เน็ตโพรโทคอลรุ่น 4 (IPv4) และอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลรุ่น 6 (IPv6) แต่ละรุ่นก็กำหนดเลขที่อยู่ไอพีแตกต่างกัน แต่เนื่องด้วยความแพร่หลาย คำว่า เลขที่อยู่ไอพี โดยทั่วไปมักจะหมายถึง เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 ส่วนเลขระหว่าง 4 กับ 6 ที่หายไปคือการกำหนดหมายเลข 5 ให้แก่อินเทอร์เน็ตสตรีมโพรโทคอล (Internet Stream Protocol) เชิงทดลองเมื่อ ค.ศ. 1979 ซึ่งไม่เคยถูกเอ่ยถึงว่าเป็นเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 5

เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 ประกอบด้วยเลข 32 บิต ซึ่งสามารถรองรับที่อยู่ที่ไม่ซ้ำกันมากสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 4,294,967,296 (232) หมายเลข แต่เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 ก็ได้สงวนบางหมายเลขไว้สำหรับจุดประสงค์พิเศษอย่างเช่น เครือข่ายส่วนตัว (ประมาณ 18 ล้านหมายเลข) และเลขที่อยู่มัลทิแคสต์ (ประมาณ 270 ล้านหมายเลข)

เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 เขียนแทนด้วยสัญกรณ์จุดฐานสิบแบบบัญญัติ ซึ่งประกอบด้วยเลขฐานสิบ 4 จำนวน แต่ละจำนวนมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ถึง 255 และคั่นด้วยจุด ตัวอย่างเช่น 172.16.254.1 เป็นต้น แต่ละส่วนของหมายเลขแทนกลุ่มของเลข 8 บิต (ออกเตต) ในงานเขียนเชิงเทคนิคบางงาน เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 ก็อาจเขียนแทนด้วยเลขฐานสิบหก เลขฐานแปด หรือเลขฐานสองก็ได้

ในช่วงแรก ๆ ของการพัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล ผู้ดูแลระบบเครือข่ายแปลเลขที่อยู่ไอพีเป็นสองส่วนคือ ส่วนหมายเลขเครือข่าย และส่วนหมายเลขแม่ข่าย ออกเตตอันดับสูงสุด (กลุ่ม 8 บิตที่มีนัยสำคัญมากสุด) ของเลขที่อยู่ไอพีถูกตั้งให้เป็น หมายเลขเครือข่าย (network number) และจำนวนบิตที่เหลือเรียกเป็น เขตข้อมูลส่วนเหลือ (rest field) หรือ ตัวระบุแม่ข่าย (host identifier) และได้นำมาใช้กำหนดหมายเลขภายในเครือข่ายหนึ่ง ๆ

วิธีการในช่วงแรกนี้ได้รับการพิสูจน์ในเวลาต่อมาว่าไม่พอเพียง เนื่องจากเครือข่ายเพิ่มเติมที่พัฒนาขึ้นโดยอิสระจากเครือข่ายที่มีอยู่ มีหมายเลขเครือข่ายกำหนดไว้อยู่แล้ว คุณลักษณะการกำหนดที่อยู่อินเทอร์เน็ตจึงได้แก้ไขปรับปรุงใน ค.ศ. 1981 โดยแนะนำสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบคลาส (classful network) เพิ่มเข้าไป

เครือข่ายแบบคลาสได้ออกแบบให้สามารถกำหนดเครือข่ายเอกเทศได้จำนวนมากขึ้นกว่าเดิม และสามารถออกแบบเครือข่ายย่อย (subnetwork) โดยละเอียดได้ 3 บิตแรกของออกเตตที่มีนัยสำคัญมากสุดของเลขที่อยู่ไอพี ถูกนิยามว่าเป็น คลาส (class) ของหมายเลขนั้น คลาส 3 คลาส (A, B, และ C) ได้นิยามขึ้นเพื่อการกำหนดเลขที่อยู่ยูนิแคสต์ (unicast) อย่างสากล ตัวระบุเครือข่ายจะมีพื้นฐานอยู่บนส่วนขอบเขตของออกเตตจากทั้งเลขที่อยู่ โดยขึ้นอยู่กับคลาสที่มันอยู่ แต่ละคลาสจะใช้ออกเตตเพิ่มขึ้นเป็นตัวระบุเครือข่าย ดังนั้นจำนวนแม่ข่ายที่เป็นไปได้จะลดลงในคลาสอันดับที่สูงขึ้น (B กับ C) ตารางต่อไปนี้แสดงถึงภาพรวมของระบบซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

การออกแบบเครือข่ายแบบคลาสมีประโยชน์ต่อจุดประสงค์ของอินเทอร์เน็ตในสถานะเริ่มแรก แต่ก็ขาดความสามารถในการปรับขนาด (scalability) เมื่อเผชิญกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเครือข่ายในคริสต์ทศวรรษ 1990 ระบบคลาสของปริภูมิเลขที่อยู่ถูกแทนที่ด้วยการจัดเส้นทางระหว่างโดเมนแบบไร้คลาส (Classless Inter-Domain Routing: CIDR) เมื่อ ค.ศ. 1993 โดยใช้พื้นฐานจากการพรางเครือข่ายย่อยความยาวแปรได้ (variable-length subnet masking: VLSM) เพื่อให้การกำหนดตำแหน่งและการจัดเส้นทางสามารถใช้บิตขึ้นต้นยาวเท่าใดก็ได้

ทุกวันนี้ สิ่งที่เหลืออยู่ของมโนทัศน์เครือข่ายแบบคลาสมีหน้าที่เฉพาะในขอบเขตจำกัด คือใช้เป็นพารามิเตอร์การตั้งค่าปริยายในส่วนประกอบซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวกับเครือข่ายบางชนิด (เช่นตัวพรางเครือข่าย) และใช้เป็นศัพท์เทคนิคในการอภิปรายระหว่างผู้ดูแลระบบเครือข่ายด้วยกัน

การออกแบบเครือข่ายในช่วงแรก ในตอนที่ความสามารถในการเชื่อมต่อจากปลายถึงปลาย (end-to-end connectivity) ของทั้งโลกสามารถแลเห็นได้เพื่อการสื่อสารกับแม่ข่ายอินเทอร์เน็ตทุกแม่ข่าย ได้ตั้งเจตนารมณ์ไว้ว่าเลขที่อยู่ไอพีจะถูกกำหนดให้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์แต่ละเครื่องโดยไม่ซ้ำกันทั้งโลก อย่างไรก็ตาม มันไม่จำเป็นเสมอไปเมื่อเครือข่ายส่วนตัวได้พัฒนาขึ้นและปริภูมิเลขที่อยู่สาธารณะจำเป็นต้องสงวนไว้

คอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตก็ไม่จำเป็นต้องมีเลขที่อยู่ไอพีที่ไม่ซ้ำกับใครในโลก เช่นเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่สื่อสารระหว่างกันผ่านทีซีพี/ไอพีเป็นต้น ช่วงเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 จำนวน 3 ช่วงจึงถูกสงวนไว้ในอาร์เอฟซี 1918 สำหรับใช้กับเครือข่ายส่วนตัว เลขที่อยู่เหล่านี้จะไม่ถูกนำไปใช้จัดเส้นทางบนอินเทอร์เน็ต และการใช้งานเลขที่อยู่เหล่านี้ก็ไม่ต้องรายงานต่อหน่วยงานทะเบียนฯ แต่อย่างใด

ในทุกวันนี้ เครือข่ายส่วนตัวสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่านทางการแปลที่อยู่เครือข่าย (network address translation: NAT) เมื่อต้องการใช้

ผู้ใช้สามารถใช้บล็อกที่สงวนไว้ดังกล่าวอันใดก็ได้ โดยทั่วไปแล้ว ผู้ดูแลเครือข่ายจะแบ่งบล็อกเป็นเครือข่ายย่อย ตัวอย่างเช่น เราเตอร์ตามบ้านหลาย ๆ เครื่องใช้ช่วงเลขที่อยู่ปริยายเป็น 192.168.0.0 ถึง 192.168.0.255 (เครือข่ายย่อย 192.168.0.0/24) โดยอัตโนมัติ

การใช้หมดไปของเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 คือภาวะการจัดหาเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 ที่ว่างอยู่ขององค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IANA) และหน่วยงานทะเบียนอินเทอร์เน็ตประจำภูมิภาค (RIR) เพื่อกำหนดให้ผู้ใช้ปลายทางและหน่วยงานทะเบียนอินเทอร์เน็ตส่วนท้องถิ่น เช่นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต มีจำนวนลดน้อยถอยลง เลขที่อยู่ส่วนกลางหลักของ IANA ได้ใช้หมดไปแล้วเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 เมื่อ 5 บล็อกสุดท้ายถูกจัดสรรให้กับ RIR ทั้ง 5 ภูมิภาค ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายเอเชีย-แปซิฟิก (APNIC) เป็น RIR แรกที่ใช้เลขที่อยู่ส่วนภูมิภาคหมดไปเมื่อ 15 เมษายน ค.ศ. 2011 ยกเว้นปริภูมิเลขที่อยู่จำนวนเล็กน้อยที่สงวนไว้สำหรับการเปลี่ยนผ่านไปยังเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6 ซึ่งเจตนาจัดสรรให้เป็นกระบวนการที่ถูกจำกัด

ภาวะปริภูมิเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 ถูกใช้หมดไปอย่างรวดเร็ว ทั้งที่มีเทคนิคต่าง ๆ ในการอนุรักษ์ กระตุ้นให้คณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ต้องแสวงหาเทคนิคใหม่เพื่อขยายความสามารถในการกำหนดที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต จึงคิดค้นกันว่าวิธีแก้ปัญหาอย่างถาวรคือการออกแบบอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลใหม่ อินเทอร์เน็ตโพรโทคอลรุ่นถัดไปที่เจตนาให้แทนที่รุ่น 4 ก็คือ อินเทอร์เน็ตโพรโทคอลรุ่น 6 (IPv6) ซึ่งกำหนดเมื่อ ค.ศ. 1995 โดยขนาดของเลขที่อยู่เพิ่มขึ้นจากเดิม 32 บิตเป็น 128 บิต หรือ 16 ออกเตต ทำให้น่าจะเพียงพอสำหรับอนาคตอันใกล้ ถึงแม้ว่าบล็อกเครือข่ายจะถูกกำหนดอย่างเหลือเฟือ ถ้าคำนวณโดยคณิตศาสตร์ ปริภูมิเลขที่อยู่ใหม่นี้มีจำนวนมากสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ประมาณ 3.403?1038 (2128) หมายเลข

เจตนาหลักของการออกแบบใหม่ไม่เพียงแค่เพิ่มปริมาณเลขที่อยู่ให้เพียงพอเท่านั้น ยังช่วยให้มีการรวบรวมหมายเลขขึ้นต้นของเครือข่ายย่อยที่จุดจัดเส้นทางอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ตารางจัดเส้นทางมีขนาดเล็กกว่า และการจัดสรรแบบเอกเทศเล็กสุดเท่าที่เป็นไปได้ คือเครือข่ายย่อยที่มีแม่ข่ายจำนวน 264 เครื่อง เท่ากับขนาดทั้งหมดของอินเทอร์เน็ตโดยเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 ยกกำลังสอง ด้วยระดับนี้ อัตราการใช้งานเลขที่อยู่จริงจะน้อยมากบนส่วนใด ๆ ของเครือข่ายเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6 การออกแบบใหม่นี้ก็ยังรองรับโอกาสที่จะแบ่งโครงสร้างเลขที่อยู่ของส่วนเครือข่ายหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นการจัดการเฉพาะที่ของปริภูมิที่เหลืออยู่ของส่วนนั้น จากหมายเลขขึ้นต้นที่ใช้สำหรับจัดเส้นทางภายนอกเครือข่าย เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6 มีความสามารถในการเปลี่ยนหมายเลขขึ้นต้นของการจัดเส้นทางทั้งเครือข่ายได้อัตโนมัติ ซึ่งความสามารถในการเชื่อมต่อทั่วโลกหรือนโยบายการจัดเส้นทางควรเปลี่ยนแปลง โดยไม่จำเป็นต้องออกแบบเครือข่ายภายในใหม่หรือไล่หมายเลขใหม่ด้วยมือ

เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6 จำนวนมหาศาลช่วยให้สามารถกำหนดบล็อกขนาดใหญ่กับจุดประสงค์เฉพาะกิจ และรวบรวมการจัดเส้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพถ้าจัดสรรได้เหมาะสม เนื่องด้วยปริภูมิเลขที่อยู่ขนาดใหญ่ จึงไม่จำเป็นต้องมีวิธีการอนุรักษ์เลขที่อยู่ให้ซับซ้อนดังที่ใช้ในการจัดเส้นทางระหว่างโดเมนแบบไร้คลาส (CIDR)

ระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อปและเซิร์ฟเวอร์องค์การสมัยใหม่หลายระบบได้รองรับอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลรุ่น 6 อยู่แล้วในตัวเอง แต่อุปกรณ์อื่นยังนำมาใช้ไม่แพร่หลาย เช่นเราเตอร์ตามบ้าน วอยซ์โอเวอร์ไอพี (VoIP) กับอุปกรณ์สื่อผสม และอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย

บล็อกเลขที่อยู่บางบล็อกในรุ่น 6 ก็สงวนไว้ใช้สำหรับเครือข่ายส่วนตัวหรือภายในเช่นเดียวกับรุ่น 4 สำหรับรุ่น 6 นี้จะเรียกว่า เลขที่อยู่เฉพาะที่หนึ่งเดียว (unique local address: ULA) อาร์เอฟซี 4193 ได้สงวนเลขขึ้นต้นของการจัดเส้นทาง fc00::/7 สำหรับบล็อกนี้ ซึ่งแบ่งเป็นบล็อก /8 อีกสองบล็อกที่ใช้นโยบายต่างกัน เลขที่อยู่เหล่านี้ใช้ตัวเลขสุ่มเทียมจำนวน 40 บิตเพื่อลดความเสี่ยงของการชนกันของหมายเลขหากไซต์ผสานเข้าด้วยกันหรือกลุ่มข้อมูลเดินไปผิดเส้นทาง

การออกแบบในช่วงแรกได้กำหนดใช้บล็อกหนึ่งสำหรับจุดประสงค์นี้ (fec0::) เรียกว่าเลขที่อยู่เฉพาะไซต์ (site-local address) อย่างไรก็ตาม การนิยามว่าสิ่งใดประกอบขึ้นเป็น ไซต์ ยังคงไม่ชัดเจน และนโยบายการกำหนดเลขที่อยู่ที่ไม่ดีพอทำให้เกิดความสับสนในการจัดเส้นทาง ข้อกำหนดสำหรับช่วงเลขที่อยู่นี้จึงถูกทอดทิ้ง และจะต้องไม่มีการใช้ในระบบใหม่ ๆ

เลขที่อยู่ที่ขึ้นต้นด้วย fe80: เรียกว่าเลขที่อยู่เฉพาะลิงก์ (link-local address) ถูกกำหนดให้ส่วนต่อประสานใช้เพื่อสื่อสารผ่านลิงก์เท่านั้น เลขที่อยู่นี้จะสร้างขึ้นมาโดยอัตโนมัติโดยระบบปฏิบัติการสำหรับส่วนต่อประสานเครือข่ายแต่ละส่วน ช่วยให้เกิดความสามารถในการเชื่อมต่อเครือข่ายทันทีและอัตโนมัติแก่เครื่องแม่ข่ายไอพีรุ่น 6 และหมายความว่า ถ้าเครื่องแม่ข่ายหลายเครื่องเชื่อมต่อกันผ่านฮับหรือสวิตช์ทั่วไป มันจะมีเส้นทางการสื่อสารผ่านทางเลขที่อยู่เฉพาะลิงก์ของมัน คุณลักษณะนี้มีใช้ในชั้นที่ต่ำกว่าของการควบคุมดูแลเครือข่ายไอพีรุ่น 6 (เช่น โพรโทคอลค้นพบจุดต่อข้างเคียง, NDP)

เครือข่ายไอพีอาจแบ่งเป็นเครือข่ายย่อยได้ทั้งไอพีรุ่น 4 และไอพีรุ่น 6 เลขที่อยู่ไอพีหมายเลขหนึ่งจะถูกจำแนกเป็นสองส่วนเพื่อจุดประสงค์นี้ได้แก่ เลขขึ้นต้นเครือข่าย (network prefix) และ ตัวระบุแม่ข่าย (host identifier) สำหรับรุ่น 4 หรือ ตัวระบุส่วนต่อประสาน (interface identifier) สำหรับรุ่น 6 ตัวพรางเครือข่ายย่อยหรือเลขขึ้นต้นไซเดอร์จะบ่งบอกว่าเลขที่อยู่ไอพีจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนดังกล่าวอย่างไร

คำว่า ตัวพรางเครือข่ายย่อย (subnet mask) ใช้กับไอพีรุ่น 4 เท่านั้น แต่ทั้งสองรุ่นก็ใช้มโนทัศน์และสัญกรณ์ของไซเดอร์เหมือนกัน โดยเขียนเครื่องหมายทับตามด้วยตัวเลขฐานสิบต่อท้ายเลขที่อยู่ไอพี ซึ่งบางทีก็เรียกว่า เลขขึ้นต้นของการจัดเส้นทาง (routing prefix) ยกตัวอย่าง กำหนดให้เลขที่อยู่ไอพีเป็น 192.0.2.1 และตัวพรางเครือข่ายย่อยเป็น 255.255.255.0 สัญกรณ์ไซเดอร์สำหรับทั้งสองนี้ก็คือ 192.0.2.1/24 เพราะ 24 บิตแรกของเลขที่อยู่ไอพีแสดงถึงหมายเลขเครือข่ายและเครือข่ายย่อย

การกำหนดเลขที่อยู่ไอพีให้แก่เครื่องแม่ข่ายหนึ่ง ๆ จะได้หมายเลขใหม่ขณะเปิดเครื่อง หรือไม่ก็หมายเลขตายตัวจากการตั้งค่าของฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ การตั้งค่าหมายเลขให้คงอยู่คือการใช้ เลขที่อยู่ไอพีสถิต (static IP address) ในทางตรงข้าม สถานการณ์ที่เลขที่อยู่ไอพีของคอมพิวเตอร์ถูกกำหนดใหม่ทุกครั้งคือการใช้ เลขที่อยู่ไอพีพลวัต (dynamic IP address)

ผู้ดูแลระบบจะเป็นผู้กำหนดเลขที่อยู่ไอพีสถิตให้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งขั้นตอนการปฏิบัตินั้นก็แตกต่างกันไปในแต่ละแพลตฟอร์ม ต่างจากเลขที่อยู่ไอพีพลวัตที่กำหนดโดยส่วนต่อประสานของคอมพิวเตอร์เอง หรือโดยซอฟต์แวร์ของแม่ข่ายเองเช่นซีโรคอนฟิก (Zeroconf) หรือโดยเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้โพรโทคอลการตั้งค่าแม่ข่ายพลวัต (DHCP) ถึงแม้ว่าเลขที่อยู่ไอพีที่กำหนดโดยดีเอชซีพีจะคงอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานเหมือน ๆ กัน แต่มันก็สามารถเปลี่ยนได้ สิ่งนี้ช่วยให้สามารถตั้งค่าเลขที่อยู่ไอพีสถิตแบบรวมศูนย์ได้ โดยไม่ต้องไปตั้งค่าคอมพิวเตอร์ทีละเครื่องในเครือข่าย

ในกรณีการตั้งค่าเลขที่อยู่แบบสถิตหรือแบบมีสถานะ (stateful) โดยดีเอชซีพี ขาดหายไปหรือล้มเหลว ระบบปฏิบัติการอาจกำหนดเลขที่อยู่ไอพีให้กับส่วนต่อประสานเครือข่ายด้วยวิธีการตั้งค่าอัตโนมัติแบบไร้สถานะ (stateless) เช่นซีโรคอนฟิก

บ่อยครั้งมากที่เลขที่อยู่ไอพีถูกกำหนดโดยดีเอชซีพีอย่างพลวัตบนแลนและเครือข่ายแถบความถี่กว้าง ดีเอชซีพีนำมาใช้เพราะช่วยหลีกเลี่ยงภาระของผู้ดูแลระบบในการกำหนดเลขที่อยู่สถิตให้กับอุปกรณ์บนเครือข่ายแต่ละอุปกรณ์ ช่วยให้อุปกรณ์ทั้งหลายใช้ปริภูมิเลขที่อยู่อันจำกัดบนเครือข่ายร่วมกัน ถึงแม้ว่าอุปกรณ์บางอุปกรณ์จะออนไลน์เพียงแค่เวลาหนึ่ง ๆ การตั้งค่าเลขที่อยู่ไอพีพลวัตได้เปิดใช้งานอยู่แล้วในระบบปฏิบัติการปัจจุบันเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นผู้ใช้จึงไม่จำเป็นต้องเข้าไปตั้งค่าใด ๆ ด้วยตนเองเพื่อเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายที่มีดีเอชทีพีเซิร์ฟเวอร์ ดีเอชซีพีไม่ได้เป็นเทคโนโลยีเดียวที่ใช้กำหนดเลขที่อยู่ไอพีอย่างพลวัต ไดอัลอัปและเครือข่ายแถบความถี่กว้างบางแห่งใช้คุณลักษณะกำหนดเลขที่อยู่พลวัตของโพรโทคอลแบบจุดต่อจุด (PPP)

เลขที่อยู่ไอพีพลวัตแบบคงอยู่ (sticky dynamic IP address) เป็นชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการของผู้สมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลหรือดีเอสแอล เพื่ออธิบายถึงเลขที่อยู่ไอพีที่กำหนดอย่างพลวัตแต่แทบจะไม่เปลี่ยนแปลง เลขที่อยู่เหล่านี้มักจะกำหนดโดยดีเอชซีพี ด้วยเหตุที่โมเด็มมักจะเปิดไว้ยาวนานหรือตลอดเวลา การเช่า (lease) เลขที่อยู่จึงถูกกำหนดให้คงอยู่เป็นช่วงเวลานาน และเมื่อหมดเวลาก็เพียงแค่ต่ออายุ (renew) ถ้าโมเด็มถูกปิดแล้วเปิดใหม่อีกครั้งก่อนหมดเวลาเช่าครั้งถัดไป ก็เป็นไปได้มากว่าจะได้รับเลขที่อยู่ไอพีหมายเลขเดิม

อาร์เอฟซี 3330 ได้นิยามบล็อกเลขที่อยู่ 169.254.0.0/16 เพื่อใช้เป็นกรณีพิเศษในการกำหนดเลขที่อยู่เฉพาะลิงก์สำหรับเครือข่ายไอพีรุ่น 4 ส่วนไอพีรุ่น 6 นั้น ทุก ๆ ส่วนต่อประสาน ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเลขที่อยู่แบบสถิตหรือพลวัต จะได้รับเลขที่อยู่เฉพาะลิงก์ในบล็อก fe80::/10 โดยอัตโนมัติ

เลขที่อยู่เหล่านี้สามารถใช้ได้กับลิงก์ที่มีแม่ข่ายเชื่อมต่ออยู่เท่านั้น เช่นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเฉพาะที่หรือการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด เลขที่อยู่เหล่านี้ไม่สามารถจัดเส้นทางได้ และเหมือนเลขที่อยู่ส่วนตัว คือไม่สามารถเป็นต้นทางหรือปลายทางของกลุ่มข้อมูลที่ส่งผ่านอินเทอร์เน็ต

ขณะที่บล็อกเลขที่อยู่สำหรับไอพีรุ่น 4 ถูกสงวนไว้ให้กับเลขที่อยู่เฉพาะลิงก์ ยังไม่มีมาตรฐานใดมารองรับกลไกการกำหนดเลขที่อยู่อัตโนมัติ เพื่อเติมเต็มช่องว่างนี้ ไมโครซอฟท์จึงได้สร้างบรรทัดฐานชื่อว่า การกำหนดเลขที่อยู่ไอพีส่วนตัวอัตโนมัติ (Automatic Private IP Addressing: APIPA) ได้นำมาใช้กับอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่อง และในเวลาต่อมาก็กลายเป็นมาตรฐานตามความนิยม (de facto standard) ในอุตสาหกรรม หลายปีต่อจากนั้น คณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการทำงานนี้อย่างเป็นทางการคือ อาร์เอฟซี 3927 ชื่อว่า การตั้งค่าเลขที่อยู่เฉพาะลิงก์ของไอพีรุ่น 4 แบบพลวัต


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406