ที-84 (อังกฤษ: T-84) เป็นรถถังหลักของยูเครน พัฒนามาจากรถถังที-80ยูดี (T-80UD) ของสหภาพโซเวียต สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1994 เริ่มเข้าประจำการในกองทัพยูเครนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 ใช้ระบบเครื่องยนต์ดีเซล 1,200 แรงม้า เฉลี่ย 26 แรงม้า ต่อน้ำหนักตัวรถ 1 ตัน ความเร็วสูงสุดที่ 70 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทำให้ ที-84 เป็นหนึ่งในรถถังหลักที่เร็วที่สุดแบบหนึ่งของโลก
รถถังหลัก T-84 OPLOT ออกแบบโดยบริษัท Kharkiv Morozov Machine Building Design Bureau (KMDB) และสร้างโดย Malyshev Plant ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ (State-owned Enterprise) ของประเทศยูเครน คำว่า “OPLOT” เป็นภาษายูเครน ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Bulwark” ซึ่งหมายถึง “ป้อมปราการหรือที่มั่นสำหรับต่อสู้กับข้าศึก” เป็นรถถังยุคใหม่ที่มีความทันสมัย ถูกออกแบบให้เป็นรถถังที่มีอำนาจการยิงที่รุนแรง มีความแม่นยำสูง มีระบบป้องกันตัวเองที่เชื่อถือได้ และมีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูง สามารถปฏิบัติการในสภาพพื้นที่ที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันอย่างมาก คือตั้งแต่ -40 องศาเซลเซียส ถึง + 55 องศาเซลเซียส หรือแม้กระทั่งการปฏิบัติการในพื้นที่ ที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 3000 เมตร รถถัง OPLOT ก็ยังสามารถปฏิบัติภารกิจได้เป็นอย่างดี รถถังหลัก T-84 OPLOT เป็นรถถังที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากตั้งแต่ รถถังหลักรุ่น T-64 จนมาถึงรถถัง รุ่น T-80UD ก่อนจะกลายมาเป็นรถถัง T-84 OPLOT M ในปัจจุบัน รถถังรุ่นนี้ มีการเปลี่ยนแปลงจากรุ่นเดิมหลายรายการ อาทิเช่น ป้อมปืนรุ่นใหม่ เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1,200 แรงม้า เกราะปฏิกิริยาแบบใหม่ กล้องเล็งแบบใหม่ ระบบต่อต้านการตรวจการณ์ด้วยสายตาที่เรียกว่า “Varta” ที่สามารถป้องกันการตรวจจับหรือการเล็งเกาะเป้าหมาย (Tracking) ด้วยแสงเลเซอร์ รวมถึงการมีระบบก่อกวนสัญญานคลื่นอินฟราเรด ซึ่งนิยมใช้ในระบบอาวุธนาวิถีต่อสู้รถถังทั่วๆไปอีกด้วย ซึ่งทำให้รถถังรุ่นนี้สามารถเพิ่มความอยู่รอดในสนามรบได้มากขึ้น
1.อาวุธหลัก : ปืนใหญ่รถถังแบบลำกล้องเรียบ ขนาด125 มม. แบบ KBA-3 (ตระกูลเดียวกับปืนใหญ่รถถัง แบบ 2A46M1 หรือ D-81 TM ของสหพันธรัฐรัสเซีย) ผลิตโดยสาธารณรัฐยูเครน ใช้การบรรจุกระสุนแบบอัตโนมัติ (Autoloader ) ความเร็วในการยิง 8 นัด/นาที สามารถทำการยิงกระสุนได้ 4 ชนิดได้แก่
เป็นระบบที่ทำหน้าที่ป้อนกระสุนที่มีอยู่เข้าสู่ปืนใหญ่รถถังโดยอัตโนมัติ ประกอบไปด้วยสายพาน เครื่องบรรจุกระสุนอัตโนมัติและระบบควบคุม เป็นชนิด กลไกไฟฟ้าไฮดรอลิค ด้วยมุมบรรจุคงที่มีแบบของกระสุน 4 แบบ ความจุกระสุนในช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle) มีจำนวน 28 นัด การหมุนตัวของช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle) สามารถหมุนได้สองทิศทางที่ความเร็วในการหมุนประมาณ 25-33 องศาต่อวินาที อัตราเร็วในการบรรจุกระสุนต่อนัดประมาณ 7 วินาที การคัดปลอกกระสุนเมื่อทำการยิงไปแล้ว จะถูกนำกลับไปใส่เอาไว้ในช่องว่างในถาดป้อนกระสุนโดยไม่ทำให้เกะกะในห้องปฏิบัติการของพลประจำรถ ชนิดของการป้อนกระสุนแบบสองหัวรบเรียงตามกันป้อนกระสุนและดินส่งพร้อมกันในหนึ่งรอบ ระบบขับอุปกรณ์ป้อนกระสุนสามารถทำการช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle) ด้วยมืออันประกอบไปด้วยกลไกบรรจุกระสุนด้วยมือ, ล็อกช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle) ด้วยมือและล็อกปืนด้วยมือเวลาที่ใช้ในการเติมกระสุนลงช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle) (ในโหมดเติมกระสุน) 15-20 นาที และนอกจากนี้ยังมีระบบควบคุมการป้อนกระสุนติดตั้งเอาไว้ในรถถังเพื่อ ทำการควบคุมกลไกและไฮดรอลิคของระบบป้อนกระสุน ควบคุมวงรอบการยิงปืนใหญ่และปืนกลร่วมแกนเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชนิดกระสุนที่ถูกบรรจุเอาไว้ในช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle)
มีไว้เพื่อใช้ทำการยิงอาวุธนำวิถีจากลำกล้องปืนใหญ่รถถัง ด้วยการเล็งจากกล้องเล็งแบบ 1G46M ของพลยิง อาวุธนำวิถีที่ใช้ยิงเป็นแบบ Kombat ชนิดหัวรบแบบระเบิดต่อสู้รถถังแบบหัวรบสองขั้น (Tandem HEAT) ระบบนำวิถีเป็นกึ่งอัตโนมัติชนิดขี่ลำแสงเลเซอร์ (Laser Beam Riding)ระยะยิงไกลสุด 5,000 เมตร
ประกอบไปด้วย กล้องเล็งกลางวันแบบ 1G46M ของพลยิง, กล้องเล็งสร้างภาพด้วยความร้อนแบบ PTT-2 ,กล้องเล็งและตรวจการณ์ของผู้บังคับรถแบบ PNK -6 , ระบบควบคุมการยิงปืนกลต่อสู้อากาศยานแบบ 1ETs 29M1, คอมพิวเตอร์คำนวณ ขีปนวิธีแบบ TIUS-VM พร้อมด้วยเซ็นเซอร์ป้อนข้อมูล, อุปกรณ์รักษาการทรงตัวของอาวุธแบบ 2E42M และอื่นๆ
ใช้ในการคำนวณแก้ค่าขีปนวิธีของกระสุนปืนใหญ่รถถัง โดย คอมพิวเตอร์แบบ TIUS-VM จะนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ จากระบบเซ็นเซอร์ที่วัดค่าได้ เช่น ความเร็วรถถัง, ความเร็วเชิงมุมของเป้าหมาย, อาการเอียงของแกนลำกล้องปืนใหญ่, ความเร็วของลมพัดขวาง, ระยะเป้าหมาย และมุมภาคของเป้าหมาย นอกจากนี้ข้อมูลอื่นๆ ก็จะถูกนำเข้าด้วยมือ เช่น อุณหภูมิโดยรอบ, อุณหภูมิดินส่งกระสุน, อาการสึกของลำกล้องปืนใหญ่ และความดันของอากาศโดยรอบ เป็นต้น นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังทำการคำนวณเวลาที่เหมาะสมสำหรับกระสุนแบบ ดินระเบิดแรงสูงแบบมีสะเก็ด ( HE-FRAG ) ให้ระเบิดเหนือเป้าหมายได้อีกด้วย ระบบควบคุมการยิงมีประสิทธิภาพสูง เมื่อปุ่มไกปืนถูกกด ปืนจะทำการยิงก็ต่อเมื่อมีการแก้ค่าความแตกต่างระหว่าง แนวเส้นเล็งกับแนวแกนปืนใหญ่รถถังอยู่ในย่านที่ยอมรับได้ ขนาดของ “มุมยิง” ขึ้นอยู่กับระยะยิง และปัจจัยอื่นๆ ลำกล้องปืนใหญ่รถถังสามารถทำงานผิดเพี้ยนไปได้ด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น ความร้อนจากการยิง, ฝนตกบนพื้นผิว, การแพร่กระจายคลื่นความร้อน หรือลมพัดขวางเป็นต้น ผลจากปัจจัยเหล่านี้ถูกลดลงโดยนำเอาปลอกกระจายความร้อน (Thermal sleeve)มาใช้ และเพื่อแก้ไขอาการคลาดเคลื่อน เนื่องจากความร้อนที่แพร่ออกจากลำกล้องปืนใหญ่ ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่ปากลำกล้องเพื่อส่งข้อมูลเกี่ยวกับการคลาดเคลื่อนของลำกล้องให้กับคอมพิวเตอร์คำนวณขีปนวิถีทำการแก้ไขทันที ซึ่งระบบมีเวลาในการเตรียมการยิงสำหรับกระสุนนัดแรกของปืนใหญ่รถถังดังนี้
ระบบกล้องเล็งกลางวันแบบ 1G46M เป็นกล้องเล็งกลางวันซึ่งพัฒนามาจากกล้องเล็งกลางวันแบบ1G46 บนรถถังแบบT-80U/UD แต่ได้เพิ่มระบบการปรับศูนย์แก้อาการเบี่ยงเบนของไยโร (Gyro Drifting)โดยอัตโนมัติ มีคุณสมบัติดังนี้
สำหรับการเล็งอาวุธนำวิถีนั้น ระบบกล้องเล็งกลางวัน 1G46M จะใช้โมดูลเลเซอร์แยกสำหรับการนำวิถีสำหรับอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง ซึ่งใช้เทคนิดการปรับคลื่นลำแสงเลเซอร์ให้เกิดเป็นตาราง (Laser Modulation) สำหรับอ้างอิงจุดพิกัดที่อาวุธนำวิถีควรอยู่ การใช้งานสำหรับระบบ 1G46Mนั้น ง่ายเช่นเดียวกับระบบ1G46เดิม คือสามารถใช้ระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบที่พลยิงเพียงทาบจุดเล็ง วัดระยะด้วยเลเซอร์ แล้วยิง โดยมีระบบสำรองเป็นการวัดระยะด้วยเส้นวัด (Stadiametric rangefinding) เพื่อป้อนข้อมูลเข้าระบบคำนวณขีปนวิถี หรือ ใช้เส้นเล็งแบบกลไกที่มีมาให้ในกล้องเล็งอยู่แล้ว
กล้องเล็งสร้างภาพด้วยความร้อนแบบ PTT-2 พัฒนามาจากระบบกล้องเล็งกลางคืน TO1-KO1 หรือ TPN-4 Buran แต่ได้เปลี่ยนระบบภายในจากกล้องขยายแสง (Image intensifier) เป็นกล้องสร้างภาพความร้อน (Thermal Imaging Sight) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่า มีระยะตรวจการณ์ไกลกว่า และสามารถใช้ได้ในโหมดPassiveเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มการเชื่อมต่อเข้ากับระบบคำนวณขีปนวิถี และ ทำการปรับแนวเล็งให้เป็นแนวเดียวกับกล้องเล็งกลางวัน (ซึ่งแต่เดิม ระบบTPN-4 ไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบคำนวณขีปนวิถี และมีแนวเล็งต่างจากกล้องเล็งกลางวัน) กล้องเล็งแบบสร้างภาพด้วยความร้อน PTT-2 ประกอบไปด้วยกล้องเล็งของพลยิง และจอไมโครมอนิเตอร์ของผู้บังคับรถในกล้องเล็งรอบทิศPNK-6รวมทั้งแผงควบคุม โดยปกติกล้องนี้จะถูกควบคุมการทำงานโดยพลยิง แต่ผู้บังคับรถสามารถควบคุมแยกจากพลยิงได้ไม่ว่าจะเป็นการเล็ง หรือทำการยิงทั้งปืนใหญ่รถถัง หรือปืนกลร่วมแกนโดยใช้ระบบควบคุม และจอมอนิเตอร์สร้างภาพด้วยความร้อนของตน กล้องเล็งสร้างภาพด้วยความร้อนนี้ช่วยให้ทั้งพลยิงและผู้บังคับรถสามารถทำการยิงได้อย่างแม่นยำในสภาพทัศนะวิสัยจำกัด เช่น มีหมอกควัน หรือการปฏิบัติในเวลากลางคืน
กล้องเล็งสร้างภาพด้วยความร้อนแบบPTT-2 ใช้ระบบรักษาการทรงตัวแบบไม่อิสระ 1แกน โดยเชื่อมต่อกับระบบรักษาการทรงตัวของกล้องเล็งแบบ1G46Mและระบบรักษาการทรงตัวปืนแบบ2E42M ผ่านระบบสัญญาณไฟฟ้า และ ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมกระจกสะท้อนหลักทำงาน จากเดิมที่กล้องเล็งกลางคืนแบบTPN-4 จะใช้การเชื่อมต่อทางกลไกกับแคร่ปืน
เป็นระบบกล้องเล็งและตรวจการณ์ของ ผบ.รถ เป็นกล้องเล็งตรวจการณ์รอบทิศ (Panoramic Sight) มีระบบรักษาการทรงตัวอิสระแบบสองแกน ประกอบไปด้วยระบบดังต่อไปนี้
ระบบPNK-6 ถือว่าเป็นระบบที่ทำให้รถถังOplot Mมีความสามารถในการต่อต้านเป้าหมายได้ในแบบHunter-Killer ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และช่วยเพิ่มความตื่นรู้สถานการณ์ (Situation Awareness )ให้กับผู้บังคบรถได้ อย่างมีนัยยะสำคัญ
เกราะหลักของรถถังOplot M เป็นเกราะหลายชั้น (Laminated Armor)เกราะพื้นฐานทั้งป้อมปืนและตัวรถทำจากเหล็กกล้าผ่านกระบวนการหลอมใหม่ด้วยสแล็ก (Electro-slag Remelting)ซึ่งมีความแข็งแรงกว่าเหล็กกล้าปกติถึง10-15% เสริมทับหลายชั้นด้วยเซรามิค อารามิดไฟเบอร์ คอมโพสิต ซึ่งเป็นความลับ และยังมีการเสริมเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด (Explosive Reactive Armor)
โมดูลและแผ่นชายน้ำที่ติดเอาไว้ที่ตัวรถ เช่นเดียวกับชุดเกราะที่นำมาติดเอาไว้ด้านนอกของป้อมปืนตอนหน้าและด้านข้าง และด้านบนของป้อมปืน เกราะปฏิกิริยาแบบ Duplet ติดตั้งเอาไว้บริเวณตำแหน่งต่างๆ เพื่อป้องกันหัวรบแบบดินโพรง(Shape Charge) จากกระสุนระเบิดต่อสู้รถถัง (HEAT) ทุกแบบ และกระสุนเจาะเกราะทรงตัวด้วยครีบหางสลัดครอบทิ้งเอง (APFSDS) เกราะปฏิกิริยาแบบ Duplet ที่เป็นส่วนหนึ่งของชุดเกราะ จะไม่ระเบิดเมื่อถูกยิงด้วยกระสุน 12.7 มม., 30 มม.เจาะเกราะและสะเก็ดของกระสุนขนาดต่างๆ เกราะ Duplet จะถูกเก็บเอาไว้ในกล่องเก็บ หรือไว้ในตัวรถถังเพื่อป้องกันแสงอาทิตย์ หรืออุณหภูมิที่แตกต่างกันมากตั้งแต่ -50 ถึง+55 องศาเซลเซียส และยังสามารถเก็บรักษาเอาไว้ในสภาพความชื้นสูงถึง 100 % ที่อุณหภูมิ +35 องศาเซลเซียส เกราะ Duplet นี้สามารถรักษาคุณสมบัติเหล่านี้เอาไว้ได้นาน 10 ปี
คุณสมบัติระบบท่อยิงระเบิดควัน (มีต้นแบบจากTucha 902Bของโซเวียตและรัสเซีย ชื่อยูเครนยังไม่มีข้อมูล)
ระบบไฟฉายอินฟราเรดก่อกวนระบบนำถี OTSHU-1-7 (ชื่อจากระบบShtora-1 ชื่อยูเครนยังไม่มีข้อมูล) เป็นระบบป้องกันอาวุธนำวิถีที่ใช้หลักการSACLOS (Semi-Automatic Command to Line-Of-Sight) ผ่านเส้นลวด (Wire Guided)หรือผ่านระบบวิทยุ (Radio Guided) หลักการโดยสังเขปไฟฉายนี้สามารถกำเนิดแหล่งอินฟราเรดขนาดใหญ่พอๆกับแสงแฟลร์ท้ายลูกจรวดของจรวดนำวิถีด้วยเส้นลวด หรือ คอมมานด์ลิงก์(เช่น TOW,MILAN,HOT,ERYX,BILL-2 ) ระบบการนำวิถีแบบนี้จะใช้แสงแฟลร์ท้ายลูกจรวดเป็นจุดอ้างอิง ระหว่างตัวจรวดกับเป้า ระบบไฟฉายนี้จะไปสร้างสัญญาณลวง ทำให้ระบบควบคุมจรวดสับสน จนทำให้จรวดออกจากทิศทางที่ควรจะเป็น
ระบบป้องกันอาวุธนิวเคลียร์ชีวะเคมีแบบสร้างแรงดันสูงมีหน้าที่ป้องกันพลประจำ และอุปกรณ์ต่างๆ ภายในรถจากพลประจำ และอุปกรณ์ต่างๆ ภายในรถจากผลของอาวุธนิวเคลียร์, ฝุ่นกัมมันตภาพรังสี, สารพิษและอาวุธชีวภาพ ตัวป้องกันการแผ่รังสีถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นแผ่นบุ(Liner)ที่ติดเอาไว้ด้านใน และยังสามารถทำหน้าที่ป้องกันการกะเทาะของเกราะจากภายใน(Spall Liners) ระบบมีหน้าที่ป้องกันพลประจำรถ และอุปกรณ์ภายในรถจากการระเบิดของนิวเคลียร์, การแพร่กระจายของรังสีเรเดียม, สารพิษหรืออาวุธชีวะ เช่น เดียวกับการตรวจหา และดับไฟในห้องปฏิบัติการของ พลประจำรถถัง และในห้องเครื่องยนต์
รถถัง OPLOT มีเครื่องยนต์ที่มีกำลังเครื่องยนต์สูงและยังมีระบบช่วยการทำงานของเครื่องยนต์ อันได้แก่ ระบบจ่ายน้ำมัน ระบบป้อนอากาศ ระบบหล่อลื่น ระบบให้ความเย็น ระบบระบายแก๊สจากเครื่องยนต์ ระบบให้ความร้อนเครื่องยนต์เบื้องต้นและระบบทำความร้อนในห้องทำงานพลประจำ จุดเด่นอีกประการหนึ่งของ รถถัง OPLOT คือ การเคลื่อนที่ถอยหลังได้อย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากมีการออกแบบชุดส่งกำลัง อันประกอบไปด้วย กล่องเกียร์ เฟืองท้ายส่งกำลังถอยหลัง ทำงานร่วมกับระบบควบคุมการเคลื่อนที่แบบซับซ้อนเช่น เฟืองขับ ระบบสายพาน ระบบพยุงตัวรถ นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์พิเศษอื่นๆ อีกเช่น อุปกรณ์ลุยน้ำลึก อุปกรณ์ตรวจการณ์ด้วยสายตาและนำทางเบื้องต้น อุปกรณ์ตรวจการณ์ด้วยสายตาเวลากลางวัน อุปกรณ์ช่วยขับเวลากลางคืน อุปกรณ์ช่วยนำทางเบื้องต้น (นำทางด้วยไจโร) อุปกรณ์เป่าลมที่ช่วยทำความสะอาดอุปกรณ์ตรวจการณ์ด้วยสายตาของป้อมปืนและตัวรถ ระบบช่วยนำทางด้วยดาวเทียม ( GPS )
ระบบช่วยนำทางอาศัยข้อมูลพื้นฐานจากดาวเทียม GLONASS และ GPS NAVSTAR ระบบจะแสดงข้อมูลให้กับผู้บังคับรถเกี่ยวกับตำแหน่งที่อยู่ของรถถังของตนมุมภาคทิศ และตำแหน่งต่างๆ ของกำลังฝ่ายเดียวกัน ช่วยให้ง่ายควบคุมการดำเนินกลยุทธ์ของหน่วยรถถัง โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการปฏิบัติการในสภาพที่มีการสู้รบอย่างรุนแรงที่ต้องมีการปิดป้อม, ในเวลากลางคืน หรือในพื้นที่หมอกควันปกคลุมหนาแน่น ระบบยังแสดงข้อมูลอื่นๆ เช่นทิศทางการหันเลี้ยวให้กับพลขับ เพื่อให้มั่นใจเคลื่อนที่เข้าหาที่หมายที่ได้เลือกเอาไว้ล่วงหน้า ระบบช่วยนำทางยังช่วยให้ผู้บังคับรถถังสามารถส่งข้อมูล (รวมถึงข้อมูลที่เข้ารหัส) ผ่านทางช่องการติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอล โดยใช้ชุดวิทยุมาตรฐานที่ติดอยู่ในรถ คุณสมบัติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถ ในการควบคุมบังคับบัญชา เพื่อรองรับกับระบบ C4I ในอนาคต
อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร ระบบสื่อสารประกอบไปด้วยชุดวิทยุความถี่สูงมากแบบ R-030-U และชุดวิทยุความถี่สูงแบบ R-163-50K และยังมีระบบติดต่อ ภายในรถ หรืออินเตอร์คอม (สามารถติดตั้งระบบวิทยุตามที่ลูกค้าต้องการได้ทุกประเภท)
เป็นไปตามความต้องการของลูกค้ารถถังหลักแบบ รถถัง OPLOT สามารถติดตั้งอุปกรณ์ได้อย่างหลากหลาย เพื่อสนองตอบตรงกับความต้องการ สิ่งอุปกรณ์เหล่านั้นผลิตโดยโรงงานในประเทศต่างๆ ที่เป็นผู้นำในแต่ละชนิดอุปกรณ์ได้แก่
รถถังหลักแบบ OPLOT ได้เคยผ่านการทดสอบมาอย่างหนักในหลายภูมิภาค เช่น ตุรกี, มาเลเซียและกรีซ จากการทดสอบได้แสดงให้เห็นว่ารถถังหลัก OPLOT นั้นสามารถปฏิบัติการได้เป็นอย่างดีไม่ว่าจะเป็นในภูมิภาคยุโรป, เอเชียและในที่อื่นๆ สามารถปฏิบัติการได้อย่างยอดเยี่ยมในทุกๆ สภาพอากาศ และในทุกๆ สภาพภูมิประเทศ การออกแบบของรถถัง OPLOT เน้นความอ่อนตัวที่สามารถปรับแต่งให้ได้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ เพื่อให้เข้ากับภารกิจที่แตกต่างกันออกไป ความอ่อนตัวเพื่อการส่งออกเหล่านี้ได้แก่ ระบบปรับอากาศ, ระบบช่วยนำทางแบบก้าวหน้าของเยอรมัน, ปืนกลร่วมแกน และปืนกลต่อสู้อากาศยานทำในเบลเยียม, ชุดวิทยุที่ออกแบบโดยฝรั่งเศส, อิสราเอล ฯลฯ รถถังถูกออกแบบโดยเน้นระบบเป็นแบบชุดสำเร็จรูป (Modular) ช่วยให้การสับเปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว เพื่อสนองตอบปรับเปลี่ยนไปตามภัยคุกคามที่พัฒนาไปไม่หยุดยั้ง เช่น อาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง หรือแม้แต่การปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการของแต่ละกองทัพก็สามารถทำได้ง่าย โดยคงไว้ซึ่งอำนาจการยิง,เกราะป้องกันและความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ ปัจจุบันมีการพัฒนาปรับปรุงขีดความสามารถทางเทคนิคอยู่หลายรายการ รวมถึง ระบบปฏิบัติการในสนามรบที่ทำงานร่วมกับแผนที่ดิจิตอล ทำให้ผู้บังคับรถมีความเข้าใจสถานการณ์การรบดีขึ้น ทำให้รถถังสามารถตอบสนองความต้องการทางยุทธวิธีได้อย่างรวดเร็ว ลดภาระการทำงานของพลประจำลงรวมถึงความเสี่ยงในการยิงฝ่ายเดียวกัน, ระบบควบคุมติดตามเป้าหมายแบบอัตโนมัติในระบบควบคุมการยิง จะช่วยยกระดับความสามารถในการยิงเป้าหมายที่กำลังเคลื่อนที่ ลดความผิดพลาดในการติดตามเป้าหมายของพลยิงลง, การพิสูจน์ฝ่ายในสนามรบ, ระบบจัดการเครื่องยนต์แบบอิเลคทรอนิคส์, ระบบติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอลระหว่างรถถัง ฯลฯ