ทิวซิดิดีส (อังกฤษ: Thucydides; ช่วง 460 – 395 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก และเป็นผู้เขียนเรื่องประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีซัส (History of the Peloponnesian War) ซึ่งบรรยายถึงสงครามระหว่างสปาร์ตากับเอเธนส์ในช่วง 500 ถึง 411 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทิวซิดิดีสได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์เชิงวิทยาศาสตร์ เนื่องจากมาตรฐานที่เข้มงวดในเรื่องของการรวบรวมหลักฐาน และการวิเคราะห์ในด้านเหตุและผล โดยปราศจากการอ้างอิงถึงความเกี่ยวข้องของพระเจ้า ซึ่งจะพบได้จากสรุปใจความสำคัญที่ระบุไว้ในบทคำนำในงานเขียน
นอกจากนั้นแล้วทิวซิดิดีสก็ยังได้รับสมญานามว่าเป็นบิดาแห่งสถาบันการศึกษาในด้านสัจนิยมทางการเมือง ซึ่งมองเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชาติว่าเป็นเรื่องที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอำนาจมากกว่าความชอบธรรม ข้อความจากยุคสมัยกรีกโบราณในงานของเขายังคงได้รับการศึกษาอย่างแพร่หลายในสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง และบทสนทนาโบราณใน The Melian Dialogue ในงานเขียนของทิวซิดิดีสก็ยังหลงเหลืออิทธิพลต่องานเขียนในด้านทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
โดยทั่วไปแล้วทิวซิดิดีสแสดงความสนใจในเรื่องการพัฒนาและความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์เพื่ออธิบายถึงพฤติกรรมในวิกฤตการณ์ดังเช่น การเกิดโรคระบาด การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (ดังเช่นประสบการณ์จาก The Mielians) และสงครามกลางเมือง
แม้ว่าจะมีชื่อเสียงในด้านของนักประวัติศาสตร์ แต่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีความรู้เพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับชีวิตของทิวซิดิดีส ข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้มากที่สุดมาจากงานเขียนเรื่องประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีซัสซึ่งได้บอกถึงสัญชาติ พื้นเพ และภูมิลำเนาของเขานั่นเอง ทิวซิดิดีสบอกให้เรารู้ถึงการต่อสู้ของตนเองในสงคราม การติดโรคระบาด และถูกเนรเทศโดยระบบประชาธิปไตย หลักฐานจากยุคสมัยกรีกโบราณ ทิวซิดิดีสระบุว่าตนเองเป็นชาวเอเธนส์ บิดาชื่อโอโลรัสและมาจากเขตปกครองชาวเอเธนส์แห่งฮาลิมัส ทิวซิดิดีสรอดชีวิตจากโรคระบาดในเอเธนส์ซึ่งได้คร่าชีวิตชาวเพริคลีส และชาวเอเธนส์อื่น ๆ อีกไปเป็นจำนวนมากมาย ทิวซิดิดีสบันทึกด้วยว่าเป็นเจ้าของเหมืองทองที่ Scapte Hyle (ตามตัวอักษร “Dug Woodland”) บริเวณเขตชายฝั่งทะเลของเมืองเทรซ ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับเกาะ Thasos
เพราะอิทธิพลงานเขียนของเขาในเขตปกครองชาวเทรซ ทิวซิดิดีสจึงได้รับการส่งตัวไปเป็นเสนาธิการทหาร ณ Thasos ปีก่อนคริสต์ศักราช 424 ปี ในช่วงระหว่างฤดูหนาวก่อนคริสต์ศักราช 424 – 423 ปี Brasidas เสนาธิการทหารของสปาร์ตัน บุกโจมตีเมืองแอมฟิโพลิสโดยใช้เวลาแล่นเรือมาทางทิศตะวันตกเพียงครึ่งวันจาก Thasos บริเวณชายฝั่งเทรซ Eucles ผู้บัญชาการทหารฝ่ายเอเธนส์แห่งแอมฟิโพลิสจึงของความช่วยเหลือจากทิวซิดิดีสBrasidas ตระหนักถึงการปรากฏตัวของทิวซิดิดีสที่ Thasos รวมถึงอิทธิพลของเขาต่อพลเมืองแอมฟิโพลิสและเกรงต่อความช่วยเหลือทางทะเลที่กำลังจะมาถึง จึงเสนอเงื่อนไขที่ชาญฉลาดพอสมควรต่อชาวแอมฟิโพลิสเพื่อให้ยอมจำนนซึ่งชาวเมืองก็ยอมรับเงื่อนไขนั้น ดั้งนั้นเมื่อทิวซิดิดีสเดินทางมาถึงแอมฟิโพลิสก็อยู่ภายใต้การปกครองของสปาร์ตันไปแล้ว (ดูจากยุทธการที่แอมฟิโพลิส) แอมฟิโพลิสเป็นจุดยุทธศาสตร์จุดใหญ่ที่สำคัญและข่าวการพ่ายแพ้ก็นำมาซึ่งความหวาดหวั่นอย่างใหญ่หลวงสู่เอเธนส์ทิวซิดิดีสจึงถูกกล่าวหา ถึงแม้จะยืนยันว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่ใช่ความผิดของเขา และเพราะไม่สามารถไปถึงแอมฟิโพลิสตามเวลาโดยไม่มีเหตุผลที่ดีเพียงพอ เพราะความล้มเหลวของเขาที่ไม่สามารถรักษาแอมฟิโพลิสไว้ได้ ทิวซิดิดีสจึงถูกเนรเทศ
"เป็นชะตากรรมของฉันด้วยที่ต้องถูกเนรเทศจากประเทศของตัวเองนานถึง 20 ปี หลังจากที่ได้ปกครองแอมฟิโพลิสและการมีอยู่ ณ ปัจจุบันของเมืองทั้ง 2 และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวเพโลพอนนีซัสอันเป็นสาเหตุที่ทำให้ฉันถูกเนรเทศ ฉันจึงมีเวลาว่างเพื่อสังเกตเรื่องราวได้อย่างค่อนข้างเป็นพิเศษ"
การใช้สถานะผู้ถูกเนรเทศจากเอเธนส์ท่องเที่ยวอย่างอิสระระหว่างประเทศพันธมิตรของ Peloponnesian ทำให้เขาสามารถมองเห็นภาพของสงครามจากมุมกว้างทั้ง 2 ฝ่าย ระหว่างช่วงเวลานี้ทิวซิดิดีสดำเนินการค้นคว้าที่สำคัญเพื่อประวัติศาสตร์ของตัวเขาเอง มีการอ้างว่าเขาดำเนินแผนที่เขาคิดว่ามันจะเป็นหนึ่งในแผนที่ดีที่สุดในการต่อต้านสงครามระหว่างกรีกในแง่ของโอกาส
ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ทิวซิดิดีสเขียนเกี่ยวกับชีวิตของเขาเองแต่มีข้อเท็จจริงเพียงเล็กน้อยที่สามารถพบได้จากหลักฐานร่วมสมัยที่น่าเชื่อถือได้ เฮโรโดทัสได้เขียนถึงบิดาของทิวซิดิดีสว่าชื่อ Oloros และได้มีการติดต่อกับเมืองเทรซและเชื้อพระวงศ์ชาวเทรซ ทิวซิดิดีสเองก็น่าจะมีโอกาสได้ติดต่อผ่านทางครอบครัวกับรัฐบุรุษชาวเอเธนส์และผู้บัญชาการทหาร Miltiades รวมถึง Cimon ลูกชายของเขา ซึ่งเป็นผู้นำของชนชั้นขุนนางเก่าที่ถูกแทนที่โดยกลุ่มผู้สนับสนุนการปกครองแบบประชาธิปไตยหัวรุนแรง ชื่อของตาของ Cimon ก็คือ Oloros เช่นกัน ทำให้ความเกี่ยวข้องเป็นไปได้อย่างมาก นอกจากนั้นทิวซิดิดีสมีชีวิตอยู่ก่อนนักประวัติศาสตร์และยังได้ติดต่อกับเมืองเทรซทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาแน่นแฟ้นด้วย ในตอนท้าย เฮโรโดทัสยังได้ยืนยันความเกี่ยวข้องของครอบครัวทิวซิดิดีสกับเหมืองแร่ที่ Scapte Hyle
จากการรวบรวมหลักฐานไม่สมบูรณ์ที่สามารถหาได้ ดูเหมือนว่าครอบครัวของเขาเป็นเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ในเมืองเทรซส่วนหนึ่งเป็นเหมืองทอง ซึ่งทำรายได้เป็นกอบเป็นกำให้แก่ครอบครัวและความมั่งคั่งอย่างถาวร การรักษาความปลอดภัยและความเจริญรุ่งเรืองอย่างต่อเนื่องของที่ดินจำนวนมากมายจึงทำให้ต้องมีข้อตกลงอย่างเป็นทางการกับกษัตริย์หรือเจ้าเมืองผู้ปกครอง ซึ่งอธิบายได้อย่างชัดเจนถึงการยอมรับนามของเชื้อพระวงศ์ชาวเทรซ Oloros เข้ามาในครอบครัว ครั้งนั้นเมื่อถูกเนรเทศทิวซิดิดีสสร้างหมู่บ้านถาวรขึ้นบนที่ดินและมีรายได้อย่างงดงามจากเหมืองทอง เขาได้อุทิศตัวเองให้กับการเขียนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อย่างเต็มที่รวมถึงการค้นคว้าซึ่งประกอบด้วยการเดินทางเพื่อค้นหาหาข้อเท็จจริงมากมาย จุดสำคัญคือหลังจากเขาเกษียณแล้วในเวลาดังกล่าว และมีการติดต่อที่ดีกับแหล่งข้อมูลซึ่งเป็นรัฐบุรุษคนสำคัญผู้ซึ่งเกษียณจากแวดวงการเมืองและการทหารแล้วในช่วงเวลานั้นทิวซิดิดีสได้จัดตั้งกองทุนโครงการทางวิทยาศาสตร์ของตัวเองขึ้น
หลักฐานที่เหลืออยู่เกี่ยวกับชีวิตของทิวซิดิดีส มาจากหลักฐานในยุคโบราณต่อมาซึ่งค่อนข้างน่าเชื่อถือน้อยกว่า จากข้อมูลของ Pausanias นักภูมิศาสตร์ชาวกรีก กล่าวว่าบุคคลที่ชื่อ Oenobius สามารถอนุญาตให้ Thucydedes กลับเอเธนส์ได้ตามกฎหมาย สันนิษฐานว่าอยู่ในช่วงเวลาสั้น ๆ หลังจากที่แอมฟิโพลิสยอมจำนนและจุดสิ้นสุดของสงครามในช่วงก่อนคริสต์ศักราช 404 ปี Pausanias ยังระบุว่า ทิวซิดิดีสถูกฆาตกรรมระหว่างเดินทางกลับเอเธนส์ ยังมีข้อสงสัยอีกมากในบันทึกนี้ ดูจากหลักฐานที่กล่าวว่าทิวซิดิดีสมีชีวิตอยู่ในช่วตอนปลายก่อนคริสต์ศักราช 397 ปี Plutarch ผู้พิพากษาและทูตชาวกรีก ยืนยันว่า ทิวซิดิดีสยังมีชีวิตอยู่เมื่อกลับสู่เอเธนส์และอาศัยอยู่ในห้องใต้ดินของครอบครัว Cimon
เรื่องราวของทิวซิดิดีสจบลงอย่างห้วน ๆ โดยหยุดอยู่ที่ช่วงกลางของก่อนคริสต์ศักราช 411 ปี ได้ถูกแปลตามรูปแบบดั้งเดิมโดยระบุว่าเขาตายขณะกำลังเขียนหนังสือ แม้ว่ารายละเอียดอื่น ๆ ได้ถูกหยิบยกขึ้นมา
แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานพิสูจน์แน่ชัด แต่ศิลปะการใช้คำในงานเขียนของทิวซิดิดีสบอกได้ว่าอย่างน้อยเขาก็คุ้นเคยกับคำสอนของโซฟิสต์สนักบันทึกการเดินทางผู้ซึ่งเดินทางมาเอเธนส์และเมืองอื่น ๆ ของกรีกเสมอ
ยังมีข้อยืนยันด้วยว่า ทิวซิดิดีสยังเน้นอย่างเข้มงวดในเรื่องของเหตุและผล ความเลื่อมใสพิถีพิถันอย่างเด่นชัดในเรื่องข้อเท็จจริงตามธรรมชาติแยกปัจจัยอื่น ๆ และงานเขียนที่เคร่งครัดของเขาได้รับอิทธิพลมาจากวิธีการและแนวคิดของนักเขียนด้านการแพทย์ เช่น ฮิปโปเครตีสแห่งเกาะคอส
ข้อสรุปเกี่ยวกับบุคลิกของทิวซิดิดีส สามารถดึงออกมา (ด้วยความระมัดระวัง) ได้จากงานเขียนของเขาเท่านั้น ความมีไหวพริบในเชิงเสียดสีอย่างมีอารมณ์ขันของเขาคือหลักฐานทั้งหมด เช่นเมื่ออยู่ระหว่างการเขียนบรรยายถึงโรคระบาดในชาวเอเธนเนี่ยน เขาหมายเหตุไว้ว่าชาวเอเธนส์ที่แก่ชราดูเหมือนจะจดจำบทกวีสั้น ๆ ซึ่งกล่าวว่า Dorian War จะนำมาซึ่ง “ความตายอันใหญ่หลวง” บางข้อยืนยันระบุว่าบทกวีนั้นแท้จริงแล้วเกี่ยวกับ “ภาวะข้าวยากหมากแพงอย่างรุนแรง” (limos) และเป็นเพียงการรำลึกถึง “ความตาย” (loimos) จากโรคระบาด ทิวซิดิดีสจึงหมายเหตุไว้ด้วยว่า สงคราม Dorian อื่น ๆ ควรจะเกิดขึ้น เวลานี้เข้าสู่ช่วงข้าวยากหมากแพง บทกวีจะได้รับการจดจำว่าเป็น “ภาวะข้าวยากหมากแพง” และการกล่าวอ้างใด ๆ ถึง “ความตาย” จึงลืมเลือนไปในที่สุด
ทิวซิดิดีส ยกย่องชื่นชม Pericles และเห็นด้วยกับพลังเหนือผู้คนของเขา ทั้งยังแสดงออกอย่างชัดเจนถึงความรังเกียจที่มีต่อพวกปลุกระดมทางการเมืองผู้ซึ่งติดตามเขาทิวซิดิดีสไม่เห็นด้วยกับการก่อการจลาจลเพื่อประชาธิปไตยหรือพวกประชาธิปไตยหัวรุนแรงที่ Pericles เป็นผู้ก่อตั้งแต่คิดว่าควรจะยอมรับเชื่อมือผู้นำที่ดี โดยทั่ว ๆ ไปทิวซิดิดีสจะแสดงออกถึงความคิดที่ไม่มีอคติหรือการต่อต้าน ในการนำเสนอเหตุการณ์ของเขา เช่น การกล่าวถึงผลกระทบด้านลบจากความล้มเหลวของตนเองที่แอมฟิโพลิสอย่างย่อ ๆ อย่างไรก็ตามบางครั้งความรู้สึกที่เข้มข้นก็ผลักดันออกมา ดังเช่นในการประเมิณค่าต่อ Cleon และ Hyperbolus นักปลุกระดมประชาชนอย่างแสบสันของเขา บางครั้ง Cleon ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการถูกเนรเทศของทิวซิดิดีส
ทิวซิดิดีส ถูกเนรเทศอย่างสมบูรณ์ตามปกติวิสัยของสงครามอย่างขมขี่นและได้มีส่วนเกี่ยวพันกับพฤติกรรมเกินขอบเขตที่มนุษย์เป็นไปตามธรรมชาติซึ่งก็คือการหันไปพึ่งพาความฉลาดตามสถานการณ์ดังกล่าว หลักฐานนี้ปรากฏอยู่ในงานวิเคราะห์ของเขาเรื่องความรับผิดชอบต่อความโหดร้ายในระหว่างความขัดแย้งของประชาชนใน Corcvara ซึ่งประกอบด้วยวลีที่กล่าวว่า “สงครามคือครูแห่งความโหดร้าย”
งานเขียนทางประวัติศาสตร์ของทิวซิดิดีส1 เรื่องได้รับการแยกออกเป็นหนังสือจำนวน 8 เล่มหลังจากที่เขาเสียชีวิต ชื่อเรื่องที่ใช้ในปัจจุบันคือประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีซัส ความทุ่มเททางประวัติศาสตร์ของเขาทั้งหมดและการเขียนบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ถูกใส่ลงไปในประวัติศาสตร์สงคราม 27 ปีระหว่างเอเธนส์และพันธมิตร รวมถึงสปาร์ต้าและพันธมิตรชิ้นนี้อย่างละเอียด การบันทึกหยุดลงใกล้กับช่วงสิ้นสุดปีที่ 21 ข้อมูลที่ถูกร่างอย่างคร่าว ๆ ชิ้นสุดท้ายระบุว่าการเสียชีวิตของเขาไม่ได้รับการคาดหมายและเป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือถูกทำร้าย ทิวซิดิดีสเชื่อว่าสงครามเพโลพอนนีซัสเป็นตัวแทนของเหตุการณ์เกี่ยวกับขนาดที่ไม่เท่าเทียม เขาตั้งใจให้บันทึกเหตุการณ์ช่วงปลายศตวรรษที่ 5 ของเขาเป็นประโยชน์ดั่งเช่น “สมบัติเพื่อทุกยุคทุกสมัย”
ทิวซิดิดีส ได้รับความเคารพอย่างทั่วไปว่าเป็นหนึ่งในนักประวัติศาสตร์รุ่นแรกอย่างแท้จริง เช่นเดียวกับรุ่นก่อนหน้าเขา เฮโรโดตัส (นิยมเรียกว่า บิดาแห่งประวัติศาสตร์) ทิวซิดิดีสวางการประเมิณสูงส่งพิสูจน์หลักฐานอย่างละเอียดและคำบอกเล่าของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์และบรรยายเกี่ยวกับหลาย ๆ ตอนที่ตัวเขาได้มีส่วนร่วมเท่าที่จะเป็นไปได้ เขายังหมั่นเขียนรายงานให้คำปรึกษาและสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ที่เขาบันทีก ซึ่งต่างจากเฮโรโดตัสที่ไม่จดจำการยุ่งเกี่ยวของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเรื่องของมนุษย์ ความแตกต่างหลัก ๆ ข้อหนึ่งระหว่างงานเขียนประวัติศาสตร์ของทิวซิดิดีสและงานเขียนประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ก็คืองานเขียนแบบก่อนจะประกอบด้วยคำพูดที่มีความยาวมาก เช่นการเขียนถึงตัวเอง ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถจำเกี่ยวกับสิ่งที่เคยพูดไว้ได้ หรือบางทีก็เป็นสิ่งที่คิดว่าอาจจะได้เคยพูดไปแล้ว อย่างไรก็ตามวิธีนี้ก็ยังถูกโต้แย้ง นอกจากว่านักประวัติศาสตร์เป็นผู้เขียนลงไป ว่าคำพูดเหล่านี้อีกนัยหนึ่งนั้นยังไม่เคยได้รับการบันทึกเลย ซึ่งไม่ใช่ในกรณีของยุคสมัยใหม่อย่างแน่นอนเมื่อบันทึกและเอกสารที่ถูกเก็บมีจำนวนมาก ดังนั้นทิวซิดิดีสจึงไม่แค่เพียง “เขียนตามหลักฐาน” ขณะที่พฤติกรรมนักประวัติศาสตร์คือการถูกกระตุ้นให้ทำซ้ำ ๆ ซาก ๆ ในปัจจุบัน แต่เป็นการช่วยเหลือแหล่งข้อมูลที่บอกเล่าด้วยปาก จากการลืมเลือนโดยสิ้นเชิงอย่างแท้จริง คำพูดเหล่านี้ปรากฏอยู่ในงานวรรณกรรมชื่อ Pericles' funeral oration ซึ่งประกอบด้วยการปกป้องด้านศีลธรรมของประชาธิปไตย, กองความซี่อสัตย์ไว้บนความตาย
“โลกทั้งใบคือสุสานของมนุษย์ผู้ลือนาม พวกเขามิได้ซื่อตรงเพียงในแนวขบวนทหารหรือเพียงคำประกาศในแผ่นดินของตน แต่สลักอยู่ในความทรงจำของชนต่างชาติซึ่งมิใช่บนแผ่นศิลา หากเป็นในหัวใจและจิตใจของผู้คน”
แม้จะเขียนถึง Pericles บทความตอนนี้แต่งขึ้นโดยทิวซิดิดีสเพื่อแสดงเจตนาตรงข้ามกับบันทึกโรคระบาดในเอเธนส์ซึ่งประกาศตามออกมาทันที
“นกและสัตว์ร้ายจะไม่แตะต้องพวกเขา แม้ไม่ได้ฝังศพ หรือตายหลังจากต่อสู้กับพวกมัน […] ร่างของผู้สิ้นชีวิตเหนือร่างอี่น ๆ และร่างของผู้ใกล้ตายเกลือกลิ้งบนท้องถนนและแน่นขนัดอยู่รายรอบบ่อน้ำพุเพราะความกระหายน้ำ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นอีกที่หนึ่งด้วยที่พวกเขาเข้าไปอยู่อาศัย”
นักวิชาการด้านกรีกโบราณ Jacqueline de Romilly เป็นคนแรกที่ชี้ให้เห็น เพียงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ว่าหนึ่งในศูนย์กลางในแก่นบท ความของทิวซิดิดีสเป็นหลักจริยศาสตร์ของลัทธิจักรวรรดินิยมของชาวเอเธนเนี่ยน การวิเคราะห์ของเธอนำงานทางประวัติศาสตร์ของเขาใส่ไว้ในบริบทของกรีกโดยคิดจากหัวข้อทางการเมืองระหว่างประเทศ ตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐานของเธอ นักวิชาการหลายคนก็เริ่มศึกษาเรื่องแก่นของพลังทางการเมือง เช่น Realpolitik ในประวัติศาสตร์ของ ทิวซิดิดีส
ในทางตรงกันข้าม นักเขียนบางคนรวมทั้ง Richard Ned Lebow ปฏิเสธแนวความคิดสามัญของทิวซิดิดีสอย่างเช่นนักประวัติศาสตร์ด้าน realpolitik พวกเขาโต้ว่านักแสดงบนเวทีโลกผู้ซึ่งเคยอ่านงานของเขาทุกคนจะตั้งข้อสังเกตว่าบางคนจะเข้าใจการแสดงของพวกเขากับการไม่เอาเรื่องส่วนตัวเข้ามาข้องเกี่ยวของผู้รายงาน มากกว่าแรงบัลดาลใจของผู้เล่าเรื่องและมีส่วนร่วมอย่างตั้งใจหรือไม่ตั้งใจต่องานเขียน The Melian Dialogue ของเขาก็คือตัวอย่าง
ทิวซิดิดีส ไม่ได้ใช้เวลาในการแลกเปลี่ยนความคิดต่อศิลปะ, วรรณกรรม, หรือสังคมในทางเดียวกับที่หนังสือถูกแต่งขึ้น และในทางเดียวกับที่ตัวเขาเองเติบโตขึ้นมา เขาเขียนถึงแต่เหตุการณ์ ไม่ใช่ยุคสมัย และเว้นระยะที่จะไม่อธิบายอะไรที่ไม่เกี่ยวข้องเช่นนั้น
ลีโอ เสตราส์ในการศึกษาเรื่อง The City and Man โต้ว่า ทิวซิดิดีสมีความเข้าใจที่สับสนอย่างมากปกครองแบบประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์ ด้านหนึ่งคือ “ความเฉลียวฉลาดของเขาถูกทำให้เป็นไปได้” โดยปกครองแบบประชาธิปไตยของ Periclean ในงานบันทึกเรื่องสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลของเขาเสี่ยงและกล้าได้กล้าเสีย ทั้งยังมีความน่าสงสัย แต่ในเรื่องสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลเดียวกันนี้กระตุ้นเรื่องจุดหมายการปกครองที่ไม่เท่าเทียมกัน, ลัทธิจักวรรดินิยม, และปะทะกับทางการในตอนท้ายอย่างมากเกินไป นักวิชาการทางด้านประเพณีนิยมส่วนมากมีมุมมองต่อทิวซิดิดีสในทางที่น่าจดจำและคำสอนบทเรียนในเรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตยต้องการผู้นำ แต่ผู้นำนั้นก็สามารถเป็นอัตรายปกครองแบบประชาธิปไตยได้