ทรัพย์ (อังกฤษ: thing) หมายถึง วัตถุมีรูปร่าง ซึ่งได้แก่สิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตา สัมผัสได้ด้วยมือ อาทิ โต๊ะ ตู้ ตั่ง เตียง ช้าง มา วัว ควาย เป็นคำมาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า "ทฺรวฺย"
ทรัพย์สิน หรือเดิมเรียก ทรัพย์สมบัติ (อังกฤษ: property, (โบราณ) propriety) หมายความถึง วัตถุทั้งที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นวัตถุมีรูปร่าง ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งแบ่งประเภทเป็น อสังหาริมทรัพย์-สังหาริมทรัพย์ ซึ่งเดิมเรียก ทรัพย์สมบัติอันที่พึงเคลื่อนจากที่ได้-ทรัพย์สมบัติอันที่ไม่พึงเคลื่อนจากที่ได้, ทรัพย์แบ่งได้-ทรัพย์แบ่งไม่ได้ และ ทรัพย์ในพาณิชย์-ทรัพย์นอกพาณิชย์ นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งทรัพย์สินออกเป็น สังกมทรัพย์-อสังกมทรัพย์, วิญญาณกทรัพย์-อวิญญาณกทรัพย์ และ โภคยทรัพย์ ซึ่งปัจจุบันได้ยกเลิกไปหมดแล้วในประเทศไทย
บุคคลย่อมมีสิทธิในทรัพย์สิน สิทธิเช่นนี้เรียก "ทรัพยสิทธิ" (อังกฤษ: real right) อันมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น อาทิ กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง โดยเฉพาะผู้ทรงกรรมสิทธิ์นั้นย่อมมีอำนาจที่จะใช้สอย จำหน่ายจ่ายโอน ได้ดอกผล กับทั้งติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน รวมถึงขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
กรณีหนึ่งที่จะยกมาสนับสนุนความเห็นของผู้เขียนข้งต้น คือ การที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143 บัญญัติว่า 'ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายความว่า ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย' บทบัญญัตินี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สิ่งที่ไม่สามารถถือเอาได้ เป็นทรัพย์"
กฎหมายของประเทศอื่น ๆ ในระบบซีวิลลอว์มิได้ให้นิยามของทรัพย์สินไว้เป็นแต่จำแนกว่าทรัพย์สินมีลักษณะอย่างไร
ขณะที่ตามกฎหมายไทยแล้ว ป.พ.พ. ม.138 ให้ ทรัพย์สิน (อังกฤษ: property) หมายความถึง ทรัพย์คือวัตถุมีรูปร่าง และหมายความรวมถึงวัตถุที่ไม่มีรูปร่างด้วย ซึ่งวัตถุทั้งสองประเภทนี้อาจมีราคาและอาจถือเอาได้
อสังหาริมทรัพย์ (อังกฤษ: immovable (ซีวิลลอว์), realty (คอมมอนลอว์)) หมายความว่า ทรัพย์ที่นำไปไม่ได้ คือ ทรัพย์ที่ติดกับที่ ได้แก่ ที่ดิน และทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย
สังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมะ (อังกฤษ: movable (ซีวิลลอว์), personalty (คอมมอนลอว์)) หมายความว่า ทรัพย์ที่นำไปได้ ได้แก่ ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์และรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย
ทรัพย์แบ่งได้ (อังกฤษ: divisible thing) คือ ทรัพย์อันอาจแยกออกจากกันเป็นส่วน ๆ ได้จริงถนัดชัดแจ้ง แต่ละส่วนได้รูปบริบูรณ์ลำพังตัว
ทรัพย์แบ่งไม่ได้ (อังกฤษ: indivisible thing) คือ ทรัพย์อันอาจจะแยกออกจากกันไม่ได้ นอกจากเปลี่ยนแปลงภาวะของทรัพย์ และหมายความรวมถึงทรัพย์ที่มีกฎหมายบัญญัติว่าแบ่งไม่ได้ด้วย เช่น ป.พ.พ. ม.1118 ให้หุ้นของบริษัท และม.1394 ให้ภาระจำยอม เป็นทรัพย์แบ่งไม่ได้
ทรัพย์นอกพาณิชย์ (อังกฤษ: non-commercial thing) คือ ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้ และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ สายลม ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์
สังกมทรัพย์ (อังกฤษ: fungible thing) คือ สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปรกติอาจใช้ของอื่นอันเป็นประเภทและชนิดเดียวกันมีปริมาณเท่ากันแทนได้
อสังกมทรัพย์ (อังกฤษ: non-fungible thing) คือ สังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่อาจใช้ของอื่น ที่เป็นประเภทและชนิดเดียวกัน มีปริมาณเท่ากันแทนได้
ทรัพย์สินทั้งสองประเภทนี้ ปัจจุบันกฎหมายไทยได้ยกเลิกไปแล้ว แต่ยังมีอยู่ในกฎหมายของบางประเทศ
วิญญาณกทรัพย์ หรือ สวิญญาณกทรัพย์ (อังกฤษ: living thing) คือ สิ่งที่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่งนับเป็นทรัพย์ เช่น ทาส ช้าง ม้า วัว ควาย
อวิญญาณกทรัพย์ (อังกฤษ: non-living thing) คือ สิ่งที่ไม่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่งนับเป็นทรัพย์ เช่น เงิน ทอง ที่ดิน
โภคยทรัพย์ (อังกฤษ: consumable thing) คือ สังหาริมทรัพย์ซึ่งเมื่อใช้ย่อมเสียภาวะเสื่อมสลายไปในทันใดเพราะการใช้นั้น หรือซึ่งใช้ไปในที่สุดย่อมสิ้นเปลืองหมดไป
ส่วนควบ (อังกฤษ: component part) คือ ส่วนของทรัพย์ ซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น เป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป
อุปกรณ์ (อังกฤษ: accessory) คือ สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปรกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณ เพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแลใช้สอยหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยนำมาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น
ดอกผล (อังกฤษ: fruit) คือ ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างที่เกิดขึ้นจากการมีหรือใช้ทรัพย์ที่เป็นประธาน (อังกฤษ: principal thing) หากเป็นทรัพย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ประธาน ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์ประธานโดยมีหรือใช้ทรัพย์ประธานนั้นตามปรกนิยม และเจ้าของทรัพย์ประธานสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์ประธานนั้น ทรัพย์ที่เกิดขึ้นนั้นเรียก "ดอกผลธรรมดา" (อังกฤษ: natural fruit) หากเป็นทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวแก่เจ้าของทรัพย์ประธานจากการที่ผู้อื่นใช้ทรัพย์ประธานนั้น โดยสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวันหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่เกิดขึ้นนั้นเรียก "ดอกผลนิตินัย" (อังกฤษ: legal fruit)
ทรัพยสิทธิ (อังกฤษ: real right; ละติน: jus in rem) คือ สิทธิทางทรัพย์ กล่าวคือ สิทธิเหนือทรัพย์ที่จะก่อตั้งขึ้นได้แต่ด้วยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบด้วย