ถุงลมนิรภัย เป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของยานพาหนะ ทำหน้าที่เสมือนเป็นหมอนรองผู้โดยสารที่ประกอบด้วยวัสดุห่อหุ้มที่มีความยืดหยุ่นที่ออกแบบมาเพื่อการขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงการชนกันของรถยนต์ เพื่อป้องกันผู้โดยสารจากการกระแทกกับวัตถุภายใน เช่น พวงมาลัย หน้าต่าง ยานพาหนะปัจจุบันอาจจะมีถุงลมนิรภัยอยู่ในหลายตำแหน่ง และเซ็นเซอร์อาจถูกนำมาปรับใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่ากับถุงลมนิรภัยในบริเวณการชนที่อัตราตัวแปรขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของการชน; ถุงลมนิรภัยถูกออกแบบมาเพื่อให้ทำงานโดยขยายตัวเฉพาะการชนในระดับปานกลางถึงรุนแรงขึ้นที่ด้านหน้าหรือด้านอื่นที่ติดตั้งตัวตรวจจับการชน ถุงลมนิรภัยได้รับการออกแบบโดยปกติจะต้องทำงานร่วมกับเข็มขัดนิรภัย ส่วนใหญ่จะทำให้ขยายตัวด้วยวิธีการจุดระเบิดและสามารถดำเนินการได้ครั้งเดียว
ผู้ผลิตหลายรายเมื่อเวลาผ่านไปได้ใช้ข้อตกลงที่แตกต่างกันสำหรับการผลิตถุงลมนิรภัย บริษัทเจเนรัลมอเตอร์ ได้ผลิตโมดูลถุงลมนิรภัยเป็นครั้งแรกขึ้น ในปี 1970, ได้ทำการวางตลาดด้วยระบบเบาะอากาศนิรภัย (Air Cushion Restraint System) หรือ (ACRS)
ถุงลมนิรภัยที่กำหนดให้ใช้ในรถยนต์นั้นเมื่อมีการย้อนรอยเพื่อค้นหาจุดกำเนิดเริ่มต้นของมัน ต้นกำเนิดครั้งแรกที่ผลิตออกมามีลักษณะเป็นถุงที่เต็มไปด้วยอากาศ ซึ่งถูกผลิตขึ้นอย่างช้าที่สุดในช่วงต้นปี 1941
จากรายงานในปี 1951, วอลเตอร์ ลินเดอเรอ วิศวกรชาวเยอรมัน ได้ทำการออกแบบถุงลมนิรภัยขึ้น ลินดอเรอ ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรของเยอรมันหมายเลขที่ # 896312 เมื่อ 6 ตุลาคม 1951 ซึ่งออกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 1953 ประมาณสามเดือนหลังจากที่ชาวอเมริกัน จอห์น แฮทริค (John Hetrick) ได้มีการออกสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกา หมายเลขที่ # 2649311 ก่อนหน้านี้เมื่อ 18 สิงหาคม 1953 ถุงลมนิรภัยของลินเดอเรออยู่บนพื้นฐานของระบบอัดอากาศที่จะปล่อยอากาศออกมาสู่ภายในถุงลมโดยสัมผัสกับกันชนหรือโดยควบคุมของคนขับอย่างใดอย่างหนึ่ง