ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ตำนานแทงข้างหลัง

ตำนานแทงข้างหลัง (เยอรมัน:  Dolchsto?legende (วิธีใช้?ข้อมูล) , อังกฤษ: stab-in-the-back myth) เป็นแนวคิดที่เชื่อถือกันอย่างกว้างขวางในแวดวงฝ่ายขวาในเยอรมนีหลัง ค.ศ. 1918 ว่ากองทัพเยอรมันมิได้แพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หากแต่ถูกทรยศหักหลังโดยพลเรือนหลังแนวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกนิยมสาธารณรัฐที่ล้มล้างพระมหากษัตริย์ ผู้สนับสนุนประณามผู้นำรัฐบาลเยอรมันที่ลงนามการสงบศึกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ว่า "อาชญากรพฤศจิกายน"

เมื่อพรรคนาซีเถลิงอำนาจใน ค.ศ. 1933 พรรคได้จัดให้ตำนานดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญของประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 โดยบรรยายสาธารณรัฐไวมาร์ว่าเป็นผลงานของ "อาชญากรพฤศจิกายน" ผู้ใช้การแทงข้างหลังเพื่อยึดอำนาจขณะที่ทรยศประเทศชาติ โฆษณาชวนเชื่อนาซีอธิบายไวมาร์ว่าเป็น "หล่มการฉ้อราษฎร์บังหลวง ความเสื่อม การลดเกียรติประเทศชาติ การเบียดเบียน 'ผู้ต่อต้านของชาติ' ที่ซื่อสัตย์อย่างไร้ความปรานี — สิบสี่ปีของการปกครองโดยยิว พวกนิยมมากซิสต์ และ 'บอลเชวิคทางวัฒนธรรม' ผู้ซึ่งถูกกวาดล้างโดยขบวนการชาติสังคมนิยม นำโดย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และชัยชนะของ 'การปฏิวัติแห่งชาติ' ใน ค.ศ. 1933 ในที่สุด"

นักวิชาการทั้งในและนอกประเทศเยอรมนีปฏิเสธแนวคิดดังกล่าวอย่างเป็นเอกฉันท์ โดยชี้ว่า กองทัพเยอรมันขาดกองหนุนและกำลังถูกเอาชนะในปลาย ค.ศ. 1918

แก่นของตำนานแทงข้างหลังถูกกล่าวถึงอย่างชัดเจนที่สุดโดย พลเอก อีริช ลูเดนดอร์ฟฟ์ หนึ่งในสองผู้บัญชาการสูงสุดของเยอรมนี ใน ค.ศ. 1919 เขาประณามรัฐบาลเบอร์ลินและประชากรพลเรือนแก่การสงบศึก/ยอมจำนนในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 โดยพูดว่า ทั้งสองต่างล้มเหลวที่จะสนับสนุนเขา ทำให้เขาผิดหวัง และได้พิสูจน์ตนเองแล้วว่า ไม่คู่ควรกับประเพณีของชาตินักรบ เขาทำให้ระบบคำศัพท์ดอลช์สทอสส์ (Dolchsto? terminology) แพร่หลาย และกลายเป็นผู้นำฝ่ายขวาที่โดดเด่นในคริสต์ทศวรรษ 1920

ปฏิกิริยาของประชาชนเยอรมันต่อสนธิสัญญาแวร์ซาย ค.ศ. 1919 นั้นเป็นการคัดค้านอย่างสูง ด้วยผลแห่งสนธิสัญญาฯ ดินแดนของเยอรมนีถูกตัดไปราว 13% เชื้อชาติเยอรมันหลายล้านคนอยู่ถูกต่างชาติปกครอง, แม้พวกเขาจะเป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่เหล่านี้จำนวนมาก, ไรน์แลนด์ทำให้ปลอดทหาร และทหารสัมพันธมิตรยึดครองในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ ยังบังคับให้จ่ายค่าปฏิกรรมสงครามมหาศาลภายในเวลา 70 ปี แม้จะยุติลงใน ค.ศ. 1931 (ก่อนจะกลับมาจ่ายอีกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง) ส่วนสำคัญที่สุดของสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องกับตำนานแทงข้างหลัง คือ "อนุประโยคความรับผิดในอาชญากรรมสงคราม" ซึ่งบังคับให้เยอรมนียอมรับความรับผิดชอบแก่ความเป็นปรปักษ์ทั้งหมด

พวกอนุรักษนิยม ชาตินิยมและอดีตผู้นำทางทหารเริ่มพูดวิจารณ์เกี่ยวกับสันติภาพกับนักการเมืองไวมาร์ พวกสังคมนิยม พวกคอมมิวนิสต์ ยิว และบางครั้งรวมถึงคาทอลิก ซึ่งถูกมองว่ามีพิรุธเกี่ยวกับการทึกทักเอาเองว่าตนมีความจงรักภักดีต่อชาติเป็นพิเศษ มีการอ้างว่าพวกเขาไม่ได้สนับสนุนสงครามและมีส่วนขายชาติเยอรมนีให้ข้าศึก อาชญากรพฤศจิกายนเหล่านี้ หรือผู้ที่ราวกับได้ประโยชน์จากสาธารณรัฐไวมาร์ที่เพิ่งก่อตั้งใหม่ ถูกมองว่า "แทงพวกเขาจากข้างหลัง" ที่แนวหน้า ไม่ว่าจะโดยวิจารณ์ชาตินิยมเยอรมัน ยุยงความไม่สงบและการนัดหยุดงานในอุตสาหกรรมทหารที่สำคัญหรือการค้ากำไรเกินควร ที่สำคัญ การกล่าวหามีว่า คนเหล่านี้กบฏต่ออุดมการณ์ร่วมที่ "กุศลและชอบธรรม" ทฤษฎีเหล่านี้ได้รับการยอมรับจากข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อเยอรมนียอมจำนนในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 กองทัพเยอรมันยังอยู่ในดินแดนฝรั่งเศสและเบลเยียม เบอร์ลินยังอยู่ห่างจากแนวรบที่ใกล้ที่สุด 450 ไมล์ และกองทัพเยอรมันถอนตัวจากสมรภูมิอย่างเป็นระเบียบดีอยู่

กองทัพสัมพันธมิตรได้รับเสบียงจากสหรัฐอเมริกาอย่างพอเพียง ซึ่งยังมีกองทัพใหม่ที่พร้อมทำการรบ แต่สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสนั้นกรำศึกเกินกว่าจะพิจารณาการรุกรานเยอรมนีโดยมีผลกระทบตามมาที่ไม่ทราบ บนแนวรบด้านตะวันตก ไม่มีกองทัพสัมพันธมิตรทัพใดเจาะผ่านพรมแดนเยอรมนีด้านตะวันตก และบนแนวรบด้านตะวันออก เยอรมนีชนะสงครามต่อรัสเซียแล้ว ซึ่งยุติลงด้วยสนธิสัญญาเบรสต์-ลีตอฟสก์ ทางตะวันตก เยอรมนีเกือบชนะสงครามด้วยการรุกฤดูใบไม้ผลิ ความล้มเหลวของการรุกถูกประณามว่าเป็นเพราะการนัดหยุดงานในอุตสาหกรรมอาวุธในช่วงเวลาวิกฤตของการรุก อันเป็นที่มาของตำนานแทงข้างหลัง ทิ้งให้ทหารขาดเสบียงยุทธภัณฑ์ที่เพียงพอ การนัดหยุดงานดังกล่าวถูกมองว่าถูกยุยงจากกลุ่มทรยศ การนัดหยุดงานดังกล่าวมองข้ามฐานะทางยุทธศาสตร์ของเยอรมนีและละเลยว่า ความพยายามของปัจเจกบุคคลที่ถูกลดความสำคัญทางใดทางหนึ่งบนแนวรบอย่างไร เพราะคู่สงครามกำลังสู้รบกับอยู่ในสงครามรูปแบบใหม่ การปรับให้สงครามเป็นอุตสาหกรรมได้ลดลักษณะความเป็นมนุษย์ของกระบวนการ และทำให้ความพ่ายแพ้รูปแบบใหม่เป็นไปได้ ซึ่งชาวเยอรมันประสบ เมื่อสงครามเบ็ดเสร็จกำเนิดขึ้น

สภาพทางยุทธศาสตร์ของเยอรมนีที่อ่อนแอถูกทำให้ทรุดหนักลงด้วยความพ่ายแพ้อย่างรวดเร็วของประเทศฝ่ายมหาอำนาจกลางอื่น ๆ ในปลาย ค.ศ. 1918 หลังจากชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรบนแนวรบมาเซโดเนียและอิตาลี บัลแกเรียเป็นประเทศแรกที่ลงนามการสงบศึกเมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1918 วันที่ 30 ตุลาคม จักรวรรดิออตโตมันยอมจำนนที่มูดรอส วันที่ 3 พฤศจิกายน ออสเตรีย-ฮังการีส่งธงสงบศึกเพื่อขอการสงบศึก เงื่อนไข ซึ่งจัดเตรียมโดยโทรเลขกับทางการสัมพันธมิตรในกรุงปารีส ถูกสื่อสารไปยังผู้บัญชาการออสเตรียและมีการตอบรับ การสงบศึกกับออสเครีย-ฮังการคีมีการลงนามในวิลลาจิอุสติ ใกล้กับปาดัว ในวันเดียวกันนั้น ออสเตรียและฮังการีลงนามการสงบศึกแยกกันหลังการล้มล้างราชวงศ์ฮับส์บูร์ก

อย่างไรก็ดี แนวคิดของการทรยศจากในประเทศได้ตรงใจบรรดาผู้ฟัง และการอ้างจะให้พื้นฐานการสนับสนุนของสาธารณะบางส่วนแก่พรรคชาติสังคมนิยมที่กำลังกำเนิดขึ้น ภายใต้ชาตินิยมรูปแบบอัตตาธิปไตย ความรู้สึกเกลียดชังยิวทวีความรุนแรงขึ้นโดย สาธารณรัฐโซเวียตบาวาเรีย รัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่ปกครองนครมิวนิกนานสองสัปดาห์ก่อนจะถูกปราบโดย ทหารอาสาสมัครไฟรคอร์พส์ ผู้นำสาธารณรัฐโซเวียตบาวาเรียจำนวนมากเป็นยิว ทำให้นักโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านยิวเชื่อมโยงยิวเข้ากับคอมมิวนิสต์ (และดังนั้นจึงเป็นกบฏ)

ช่วงปลายสงคราม เยอรมนีอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการทหารในทางปฏิบัติ โดยมีกองบัญชาการทหารสูงสุดของเยอรมนี (เยอรมัน: Oberste Heeresleitung) และ จอมพล พอล ฟอน ฮินเดนเบิร์ก ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด ถวายคำแนะนำแก่สมเด็จพระจักรพรรดิไกเซอร์ หลังการรุกครั้งสุดท้ายบนแนวรบด้านตะวันตกประสบความล้มเหลว ความพยายามทำสงครามก็ถึงวาระสุดท้าย กองบัญชาการทหารสูงสุดสนองโดยเปลี่ยนรัฐบาลพลเรือนอย่างรวดเร็ว พลเอกลูเดนดอร์ฟฟ์ หัวหน้าเสนาธิการ กล่าวว่า

ผมทูลถามจักรพรรดิในการนำบรรดาแวดวงเหล่านั้นเถลิงอำนาจ ซึ่งเราเองก็ขอบคุณมากที่มาได้นานถึงเพียงนี้ เพราะฉะนั้น เราจะนำเหล่าสุภาพบุรุษเหล่านั้นเข้าเป็นคณะรัฐมนตรี ตอนนี้ พวกเขาสามารถสร้างสันติภาพที่ต้องทำ พวกเขาสามารถกินน้ำแกงที่พวกเขาเตรียมไว้ให้เรา!

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 คณะผู้แทนสาธารณรัฐไวมาร์ที่เพิ่งตั้งใหม่นั้น ได้ลงนามการสงบศึกกับฝ่ายสัมพันธมิตร อันเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ผลกระทบที่ตามมาจากสนธิสัญญาแวร์ซายก่อให้เกิดความสูญเสียดินแดนและเศรษฐกิจอย่างมหาศาล เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิไกเซอร์ทรงถูกบังคับให้สละราชสมบัติและกองทัพสละอำนาจบริหาร รัฐบาลพลเรือนชั่วคราวก็ได้เรียกร้องสันติภาพ ลายมือชื่อของมัททิอัส เออร์ซแบร์เกอร์ พลเรือน ปรากฏบนการสงบศึก ซึ่งต่อมาเขาถูกสังหารในภายหลังเพราะการทรยศที่ถูกกล่าวหา การเสียชีวิตของเขานำไปสู่การลงนามสนธิสัญญาแวร์ซาย

การถือกำเนิดอย่างของ "ตำนานแทงข้างหลัง" อย่างเป็นทางการนั้นอาจสามารถสืบได้ถึงฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1919 เมื่อลูเดนดอร์ฟฟ์กำลังทานอาหารกับหัวหน้าทูตทหารอังกฤษในกรุงเบอร์ลิน พลเอก นีล มัลคอล์ม มัลคอล์มถามลูเดนดอร์ฟฟ์ว่า เหตุใด เขาจึงคิดว่าเยอรมนีแพ้สงคราม ลูเดนดอร์ฟฟ์ตอบคำแก้ตัวเป็นรายการของเขา รวมทั้งที่ว่า แนวหลังพังกองทัพ

มัลคอล์มถามเขาว่า "ท่านนายพล คุณหมายความว่า คุณถูกแทงข้างหลังงั้นหรือ" ดวงตาของลูเดนดอร์ฟฟ์สว่างขึ้น และเขากระโจนหาวลีนั้นเหมือนสุนัขกับกระดูก "ถูกแทงข้างหลัง?" เขาย้ำ "ใช่ นั่นแหละ แน่นอน เราถูกแทงข้างหลัง" และนั่นจึงถือกำเนิดตำนานซึ่งไม่เคยตายหมดสิ้น

ประโยคดังกล่าวเป็นที่ถูกใจลูเดนดรอฟอย่างมาก เขาได้เผยแพร่ประโยคนี้ให้กับเหล่ากองเสนาธิการทหารโดยกล่าวว่านี่เป็นแนวคิดที่ "เป็นทางการ" ก่อนที่ต่อมาคำนี้จะกระจายไปสู่สังคมเยอรมนีทุกภาคส่วน แนวคิดนี้ได้ถูกพรรคการเมืองฝ่ายขวาทั้งหลายหยิบยกมาเป็นประเด็นโจมตีรัฐบาลสาธารณรัฐไวมาร์ภายใต้การนำของพรรคเอสพีดี ตั้งแต่เถลิงอำนาจหลังการปฏิวัติเยอรมนี ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1919 สมาชิกรัฐสภาไวมาร์ได้แต่งตั้งชุด Untersuchungsausschu? f?r Schuldfragen ขึ้นเพื่อสืบหาสาเหตุของสงครามโลกและปัจจัยที่นำไปสู่ความพ่ายแพ้ของเยอรมนี ในวันที่ 18 พฤศจิกายน จอมพลฮินเดนเบิร์กได้ให้การยืนยันต่อหน้าคณะกรรมการของรัฐสภา และได้มีการกล่าวอ้างถึงบทความ Neue Z?rcher Zeitung ในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1918 ซึ่งเป็นการสรุปบทความสองบทความก่อนหน้านั้นในเดย์ลี่ เมล์ ที่เขียนโดยนายพลชาวอังกฤษ เฟรเดอริก บาร์ตัน เมาไรซ์ ด้วยประโยคที่ว่า กองทัพเยอรมันถูก "แทงข้างหลังโดยพลเมืองชาวเยอรมันเอง" (เมาไรซ์ปฏิเสธในภายหลังว่าเขาไม่ได้กล่าวถึงแนวคิดนี้แต่อย่างใด) การให้ปากคำของฮินเดนเบิร์กนี้เองที่ทำให้แนวคิดดังกล่าวแพร่กระจายไปกว้างขวางในเยอรมนีภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ส่วนทางด้านริชาร์ด สไตกมันน์-กัลล์ กล่าวว่า ตำนานแทงข้างหลังสามารถย้อนรอยไปจนถึงการเทศนาของอนุศาสนาจารย์ บรูโน เดอริง (Bruno Doehring) เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1918 หกเดือนก่อนสงครามยุติ บอริส บาร์ท นักวิชาการชาวเยอรมัน มีความเห็นแย้งกับแนวคิดของสไตกมันน์ โดยกล่าวว่า เดอริงไม่ได้ใช้คำว่า "แทงข้างหลัง" แต่อย่างใด เพียงแต่กล่าวถึงการทรยศเท่านั้น บาร์ทเขียนเอกสารที่กล่าวถึงตำนานแทงข้างหลังครั้งแรกในบันทึกการประชุมของพรรคการเมืองสายกลางในมิวนิก เลอเวนบรอย-เคลเลอร์ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 1918 ซึ่งเอิร์สต์ มึลเลอร์ ไมนิงเกน สมาชิกของรัฐบาลผสมชุดใหม่แห่งรัฐสภาไรช์สทัก ได้ใช้คำดังกล่าวเพื่อปลุกใจให้ผู้ฟังมีความรู้สึกฮึกเหิม

เมื่อการรบในแนวหน้าดำเนินไป พวกเราซึ่งมีหน้าที่ที่จะรักษาบ้านเกิดเมืองนอนเอาไว้นั้นควรละอายแก่ตนเองต่อหน้าลูกหลานของเราหากว่าเราโจมตีแนวหน้าจากข้างหลังโดยแทงมีด (wenn wir der Front in den R?cken fielen und ihr den Dolchstoss versetzten.)

บาร์ทได้แสดงให้เห็นอีกว่า คำดังกล่าวเป็นที่นิยมมากในหนังสือพิมพ์เยอรมันฉบับหนึ่งซึ่งมีเนื้อหาแสดงความรักชาติที่ชื่อ Deutsche Tageszeitung ที่มีการหยิบยกเอาบทความ Neue Z?rcher ซึ่งเป็นคำตอบของฮินเดนเบิร์กต่อหน้าคณะกรรมการไต่สวนของรัฐสภามากล่าวอ้างอยู่บ่อยครั้ง

การโจมตีแนวคิดสมคบคิดของชาวยิวในประเด็นความพ่ายแพ้ของเยอรมนีนั้นส่วนใหญ่ตกอยู่กับบุคคลที่มีชื่อเสียง อย่าง คุร์ท ไอซเนอร์ ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว ผู้อาศัยอยู่ในนครมิวนิก เขาได้เขียนเกี่ยวกับสงครามซึ่งผิดกฎหมายนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1916 เป็นต้นมา นอกจากนี้เขายังมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากในการปฏิวัติมิวนิก จนกระทั่งเขาถูกลอบสังหารในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 สาธารณรัฐไวมาร์ภายใต้การนำของฟรีดริช อีเบิร์ต ได้ปราบปรามการก่อจลาจลของเหล่าชนชั้นแรงงานอย่างรุนแรง และปราบหน่วยทหารเสรีที่จัดตั้งขึ้นทั่วประเทศเยอรมนี ด้วยความช่วยเหลือจากกุสตาฟ นอร์เก และนายพลแห่งกองกำลังป้องกันแห่งชาติ วิลเฮม โกรเนอร์ แม้ว่าการโจมตีนั้นจะมีการรับฟังความเห็นของผู้อื่นก็ตาม แต่ความชอบธรรมของสาธารณรัฐนั้นก็ได้ถูกโจมตีโดยมีการกล่าวอ้างประเด็นการแทงข้างหลัง โดยผู้แทนของหน่วยทหารเสรีจำนวนมาก อย่างเช่น มัททิอัส เออร์ซเบอร์เกอร์ และวัลเทอร์ ราเทอนาว ถูกลอบสังหาร ผู้นำของกลุ่มถูกตราหน้าว่าเป็นอาชญากรและชาวยิว โดยสื่อฝ่ายขวาของ อัลเฟรด ฮูเกนเบิร์ก

นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมัน ฟรีดิช มินเนค พยายามสืบหาร่องรอยของที่มาของคำนี้อยู่ก่อนแล้ว ตามที่ระบุในหนังสือพิมพ์เวียนนิช Neue Freie Presse เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1922 โดยในการเลือกตั้งแห่งชาติประจำ ค.ศ. 1924 วารสารเกี่ยวกับศาสนาที่ชื่อ S?ddeutsche Monatshefte ได้ลงพิมพ์บทความชุดหนึ่งในระหว่างความพยายามทรยศต่อประเทศของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และลูเดนดอร์ฟฟ์ใน ค.ศ. 1923 โดยบทความนั้นมีเนื้อหาต่อว่าพรรคเอสพีดีและสหภาพแรงงานเกี่ยวกับความพ่ายแพ้ของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังตีพิมพ์บทความ บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์พรรคเอสพีดีได้ยื่นฟ้องนิตยสารนั้นในข้อหาหมิ่นประมาท ทำให้เกิดการลุกฮือจนเป็นเหตุการณ์ที่เรียกว่า Munich Dolchstossprozess ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม ถึง 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1924 มีบุคคลสำคัญหลายคนได้ให้การเป็นพยานในศาลชั้นต้น ซึ่งรวมถึงคณะกรรมการของรัฐสภาที่สืบสวนสาเหตุความพ่ายแพ้สงครามเช่นกัน ทำให้มีผลการตัดสินคดีหมิ่นประมาทบางส่วนถูกเปิดเผยสู่สาธารณชนก่อนที่คณะกรรมการดังกล่าวจะได้ตีพิมพ์ผลการตัดสินออกมาใน ค.ศ. 1928

ตำนานแทงข้างหลังนั้นเป็นภาพพจน์ที่ใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อที่ผลิตโดยฝ่ายขวา และพรรคการเมืองหัวอนุรักษนิยมที่จัดตั้งขึ้นในช่วงแรก ๆ ของสาธารณรัฐไวมาร์ ซึ่งรวมไปถึงพรรคนาซีของฮิตเลอร์ สำหรับเขาแล้วรูปแบบการจำลองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งมีความสำคัญส่วนตัวสำหรับเขามาก เขาได้ทราบข่าวความพ่ายแพ้ของเยอรมนีในระหว่างที่รักษาตัวจากอาการตาบอดชั่วคราวจากการโจมตีด้วยแก๊สมัสตาร์ดในการรบที่แนวหน้า ในหนังสือ ไมน์คัมพฟ์ (การต่อสู้ของข้าพเจ้า) ของเขา เขาได้อธิบายถึงวิสัยทัศน์ของเขาที่ทำให้เขาเข้าสู่วงการเมือง ตลอดอาชีพของเขา เขามักกล่าวโทษเหตุการณ์ "อาชญากรรมเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918" ที่มีการลอบแทงทหารบกเยอรมันจากด้านหลังเสมอ

แม้ว่าจะมีเรื่องเล่าของประธานาธิบดีชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ ฟรีดริช อีเบิร์ต ที่่กล่าวสดุดีทหารผ่านศึกใน ค.ศ. 1919 ว่า "ไม่มีข้าศึกใดพิชิตท่าน" (Kein Feind hat euch ?berwunden!) และการกล่าวสดุดีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ว่า "พวกเขากลับจากสมรภูมิโดยไม่แพ้" (Sie sind vom Schlachtfeld unbesiegt zur?ckgekehrt) ภายหลังคำกล่าวที่ว่า พวกเขากลับมาโดยไม่แพ้ นั้นเป็นสโลแกนกึ่งทางการของไรช์เวร์ โดยย่อให้สั้นลงจนเหลือ Im Felde unbesiegt ก็ตาม แต่อีเบิร์ตเพียงเจตนาพูดเพื่อเป็นขวัญกำลังใจและโน้มน้าวใจทหารเยอรมันเท่านั้น

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2006 บทความซึ่งตีพิมพ์ลงในนิตยสารฮาร์เปอร์ที่เขียนโดย เควิน เบกเกอร์ ได้ขยายความแนวคิดดังกล่าว และได้นำมาปรับใช้กับการเมืองฝ่ายขวาในสหรัฐอเมริกา ว่า:

"ทุกรัฐจำเป็นจะต้องมีศัตรู และประเทศมหาอำนาจก็มักจะมีศัตรูที่โหดร้ายเป็นพิเศษ นอกเหนือจากนั้น ศัตรูดังกล่าวก็อาจถือกำเนิดขึ้นมาจากภายในรัฐนั้นเอง ด้วยเกียรติภูมิของชาตินั้นไม่อาจยอมรับการถูกทำลายโดยกำลังจากภายนอกได้ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมแนวคิดการลอบแทงข้างหลังจึงได้กลายมาเป็นตำนานอันเก่าแก่ของลัทธิชาตินิยมอเมริกัน แม้ว่าจุดกำเนิดของแนวคิดการลอบแทงข้างหลังจะเกิดขึ้น ณ ที่ใดก็ตาม นับตั้งแต่การสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง มันได้กลายมาเป็นเครื่องมือของนักการเมืองฝ่ายขวาอเมริกันซึ่งได้กลับฟื้นคืนและมักจะสามารถหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบในสิ่งที่ผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้อย่างบ่อยครั้ง อันที่จริงแล้ว ฝ่ายขวายังได้กลั่นเอาเรื่องเล่าของการทรยศให้กลายมาเป็นหลักเกณฑ์ ซึ่งเป็นการสนับสนุนนโยบายที่เป็นที่นิยมในระยะสั้นแต่ขาดการไตร่ตรองในระยะยาว การปฏิเสธความผิดกระทำอันเป็นหายนะของตน และกล่าวโทษเหตุหายนะนั้นกับศัตรูภายในรัฐผู้ซึ่งเกลียดอเมริกานั้นมักจะเป็นการสร้างศัตรูให้เพิ่มขึ้นจากภายในซ้ำแล้วซ้ำเล่าเสมอ"

เบกเกอร์ได้กล่าวอ้างว่า ชาวอเมริกันฝ่ายขวามักจะจับประเด็นเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาพูดถึงกับแนวคิดการลอบแทงข้างหลังเสมอ โดยเหตุการณ์ที่มีการนำแนวคิดนี้มาพูดถึงล่าสุดคือสงครามอิรัก แต่แนวคิดนี้ก็โดดเด่นในช่วงที่สงครามเวียดนามจบลงเช่นกัน เมื่อมีการเผยแพร่ทางสื่อของกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านสงครามและผู้ที่เห็นอกเห็นใจกลุ่มนี้ซึ่งกล่าวว่า สหรัฐอเมริกาสูญเสียความหวังที่จะเอาชนะสงคราม


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406