ตระกูลอักษรพราหมี เป็นกลุ่มของอักษรที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี ได้แก่อักษรที่ใช้ในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ได้แก่ อักษรเทวนาครี อักษรคุรมุขี อักษรเบงกาลี อักษรคุชราต อักษรโอริยา อักษรทมิฬ อักษรมาลายาลัม อักษรเตลุกุ อักษรกันนาดาและอักษรสิงหล (ในศรีลังกา) อักษรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดอยู่ในตระกูลนี้คือ อักษรพม่า อักษรมอญ อักษรไทย อักษรลาว อักษรเขมร อักษรจาม อักษรไทลื้อ อักษรล้านนา อักษรขอมไทย อักษรขอมบาลี อักษรชวา อักษรบาหลี โดยผ่านทางอักษรปัลลวะในอินเดียใต้ และอักษรกวิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โบราณ ลักษณะที่ต่างจากอักษรในอินเดีย คือมีพยัญชนะที่ใช้แทนเสียงเดียวกันเพราะภาษาเหล่านี้มีเสียงพยัญชนะน้อยกว่า (เช่น อักษรไทย) มีพยัญชนะ 2 ชุดที่ออกเสียงต่างกันเมื่อประสมสระ (เช่น อักษรเขมร อักษรมอญ) หรือลดจำนวนพยัญชนะ (เช่น อักษรลาว)อักษรกลุ่มนี้เขียนในแนวนอนจากซ้ายไปขวา
ลักษณะของสระในกลุ่มอักษรนี้คือ วางได้รอบพยัญชนะ และแบ่งสระเป็น 2 ชุดคือ สระลอยใช้แทนเสียงสระที่ประสมกับเสียง /อ/ ซึ่งถือเป็นเสียงสระ กับสระจมที่ประสมกับเสียงพยัญชนะ อักษรเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังแบ่งสระเป็นสระลอยกับสระจม ยกเว้น อักษรไทยกับอักษรลาวที่ใช้สระจมเกาะกับอักษร อ แทนสระลอย ในตารางต่อไปนี้รูปสระจมเกาะกับเสียงพยัญชนะ /k/
พื้นฐานจากพยางค์: อักษรในอานาโตเลีย (คาเรีย ? ลิเชีย ? ลิเดีย ? ลูเวีย) ? รูปลิ่ม (ซูเมอร์ ? แอกแคด ? อีลาไมต์) ? ตงปา ? ตันกัท ? มายา ? อี้พื้นฐานจากอักษรจีน: คันจิ ? คีตัน ? อักษรจีน (ตัวเต็ม ? ตัวย่อ) ? จื๋อโนม ? จูร์เชน ? น่าซี ? สือดิบผู้จ่อง ? ฮันจา