ดิออบเซิร์ฟเวอร์ (อังกฤษ: The Observer) เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับวันอาทิตย์ฉบับแรกของสหราชอาณาจักร มีแนวคิดทางการเมืองฝ่ายขวาเล็กน้อยจากหนังสือพิมพ์ เดอะ การ์เดียน (The Guardian) ในเครือเดียวกัน และยึดแนวเสรีนิยม / สังคมประชาธิปไตยในเกือบทุกประเด็นปัญหา
ในปี พ.ศ. 2454 วิลเลียม วอลดอร์ฟ แอสเตอร์ ไวส์เคาต์ แอสเตอร์ที่ 1 ได้ซื้อ ดิออบเซิร์ฟเวอร์ จากครอบครัวแฮมสเวิร์ท และกลายเป็นหนังสือพิมพ์ของพรรค "โทรี" นับตั้งแต่นั้นมาจนถึงปี พ.ศ. 2485 พร้อมกับการสิ้นสุดการเป็นบรรณาธิการที่ยาวนานถึง 34 ปีของ เจ. แอล. การ์วิน ซึ่งนับจากเวลานี้มาจนถึงปัจจุบันที่ ดิออบเซิร์ฟเวอร์ ประกาศวางตัวเป็นการไม่อยู่ฝายใด
ความเป็นเจ้าของได้ตกทอดไปถึงไวส์เคาท์ที่ 2 และตกทอดต่อถึงลูกในปี พ.ศ. 2491 คือเดวิด แอสเตอร์ซึ่งรับหน้าที่เป็นบรรณาธิการต่อเนื่องยาวนานถึง 27 ปี เดวิดได้เปลี่ยนความเป็นเจ้าของจากบุคคลเป็นมูลนิธิ ทำให้มีนักหนังสือพิมพ์และนักเขียนที่มีชื่อเสียงหลายคนมาร่วมงานด้วยเช่น พอล เจนนิง ภายใต้การเป็นบรรณาธิการของเดวิด ดิออบเซิร์ฟเวอร์ได้กลายเป็นหนังสือพิมพ์อังกฤษฉบับแรกที่คัดค้านการบุกยึดคลองสุเอซของรัฐบาลในปี พ.ศ. 2499 การปรับแนวที่ทำให้ดิออบเซิร์ฟเวอร์เสียผู้อ่านไปเป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2520 แอสเตอร์ได้ขาย ดิออบเซิร์ฟเวอร์ให้แก่บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ๋คือ "ARCO" ในปัจจุบัน ซึ่งได้ขายต่อให้กับกลุ่ม "ลอนโรห์" ในปี พ.ศ. 2524 และตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ดิออบเซิร์ฟเวอร์กลายเป็นหนังสือพิมพ์ในกลุ่ม "กลุ่มการ์เดียน มีเดีย" (Guardian Media Group)
ในปี พ.ศ. 2533 ฟาร์ซาด บาซอฟท์ นักข่าวของออบเซิร์ฟเวอร์ถูกประหารชีวิตในประเทศอิรักในข้อหาเป็นสายลับ ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้รับการโต้เถียงกันมาก
ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ดิออบเซิร์ฟเวอร์เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่เริ่ม "ดิออบเซิร์ฟเวอร์ บลอก" และ "พอดคาสท์" (podcast)แต่ละฉบับจะออกแมกกาซีนรายเดือนฟรีเน้นเรื่องเฉพาะต่างๆ หมุนเวียนกันไป เช่นกีฬา ดนตรี ผู้หญิงและอาหารเป็นต้น
ดิออบเซิร์ฟเวอร์ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็น "เบอร์ลีเนอร์" (Berliner format) ตามเดอะ การ์เดียน หนังสือพิมพ์รายวันในเครือเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2549 The Guardian and converted to 'Berliner' format on Sunday 8 January 2006 .
ดิออบเซิร์ฟเวอร์และหนังสือพิมพ์ในเครือคือ เดอะการ์เดียน ได้เปิดศูนย์รับรองผู้มาเยือนที่ลอนดอนโดยเรียกว่า "ห้องข่าว" ศูนย์ประกอบด้วยหอจดหมายเหตุ หรือกรุข่าวที่จัดเย็บข่าวเก่าเป็นรูปเล่ม ห้องสมุดรูปภาพและรายการอื่นๆ เช่นบันทึกประจำวัน จดหมาย สมุดโน้ต ฯลฯ ทรัพยากรสื่อเก่าเหล่านี้เป็นให้สาธารณชนเข้ามาใช้ได้ด้วย ห้องข่าวนี้ยังจัดนิทรรศการและจัดกิจกรรมด้านการศึกษาให้แก่โรงเรียนต่างๆ ด้วย